- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 02 July 2014 21:40
- Hits: 2271
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“เก็งกำไรผลประกอบการกลุ่มแบงค์”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
• ภาพตลาดวันก่อน : ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นต่อ 2.51 จุด ปิดที่ 1485.75 จุด มูลค่าซื้อขาย 3 หมื่นกว่าล้านบาท โดยในวันปรับขึ้นไปสูงสุด 1493.14จุด แล้วมีแรงขายทำกำไรลดช่วงบวกออกมาในช่วงบ่าย ต่างชาติซื้อสุทธิ 2.4 พันล้านบาท สถาบันในประเทศซื้อ-ขายใกล้เคียงกัน พอร์ตบล.และรายย่อยขายสุทธิ
• ปัจจัยและกลยุทธ์ : # ปัจจัยจับตาระยะสั้น คือ 1) คาดการณ์ผลประกอบการ 2Q57 กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งคาดว่า SCB จะมีกำไรสุทธิโดดเด่นที่สุดในไตรมาสนี้ เพราะมีกำไรจากการขายหุ้นไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย (SCSMG) ให้กับ ACE INA International Holding Limited เราแนะนำซื้อ SCB ให้ราคาเป้าหมาย 220 บาท สำหรับคาดการณ์กำไรของ Real sectors จะตามมา ซึ่งประเมินว่ากลุ่มพลังงานจะมีกำไรดีขึ้นเพราะได้อานิสงค์ทางบวกจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นทำให้มีกำไรจากสต็อกช่วยเสริม และ 2) ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรมิ.ย.ของสหรัฐ ซึ่งจะออกมาในวันพฤหัสฯนี้
# ปัจจัยที่ติดตามต่อเนื่อง คือ ความคืบหน้าของการปฎิรูปในภาคส่วนต่างๆของคสช. เช่น การปฏิรูปพลังงานและโครงสร้างบริษัท PTT, การเปิดประมูล4G, การแจกคูปองทีวีดิจิตอล, การเปิดประมูลรถไฟทางคู่มูลค่าราว 1 หมื่นล้านบาท, การเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้า ฯลฯ เป็นต้น, ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศชั้นนำต่างๆ และสถานการณ์การเมืองภายนอก (อิรัก, ยูเครน)
# สำหรับปัจจัยต่างประเทศ ในวันนี้ Sentiment เป็นบวก โดยมีแรงหนุนจาก PMI ภาคการผลิตช่วงท้ายเดือนมิ.ย.57 ของสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น และเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 4 ปี รวมทั้ง PMI ภาคการผลิตของจีนกระเตื้องขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน
# กลยุทธ์ทางเทคนิค : ซื้อใหม่เน้นซื้อตามค่าบวก การอ่อนตัวต่ำกว่าแนวฟิวเตอร์ 1470 จุด มีแนวเด้ง 1450-1440 จุด ส่วนการปรับขึ้นต่อมีแนวต้านระยะสั้น 1490-1500 จุด หุ้นพื้นฐานแนะนำซื้อลงทุนระยะยาววันนี้เป็น SCB
Fundamental Pick
SCB แนะนำซื้อปิด 168.50 บาท ราคาเป้าหมาย 220 บาท
• สินเชื่อ 5M57 เติบโต 6.4%YoY และอ่อนตัวเล็กน้อย 0.6%YTD โดยเป็นผลจากสินเชื่อ SMEที่อ่อนแอลง แต่สินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อรายย่อยยังขยายตัวได้ โดยเฉพาะสินเชื่อที่พักอาศัย แต่สินเชื่อเช่าซื้อยังลดลงตามการชะลอตัวของยอดขายยานยนต์ในประเทศและการชำระคืนหนี้อย่างไรก็ตาม โมเมนตัมของสินเชื่อใน 2H57จะดีขึ้น ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว
• คาดการณ์ว่ากำไรสุทธิ 2Q57 จะออกมาแข็งแกร่งและเติบโตได้โดดเด่นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพราะมีกำไรจากการขายหุ้น ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย (SCSMG) ให้กับ ACEINA International Holding Limited เข้ามาช่วยเสริม ซึ่งมีกำไรประมาณ 3 พันกว่าล้านบาท(ก่อนหักภาษี)
• แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 220 บาท โดยใช้ Gordon Growth Model (ให้สมมติฐาน ROE20.8%, อัตราการเติบโต 6% และ Cost of equity 17%) ซึ่งเทียบเท่ากับ P/BV ปี 58 ที่ 2.2 เท่า
ปัจจัยต่างประเทศและโภคภัณฑ์
•/- ยูโรโซน : PMI ภาคการผลิตมิ.ย.57 ชะลอลง
•/- ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนมิ.ย.ปรับตัวลงที่ 51.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน จาก 52.2 ในเดือนพ.ค. และต่ำกว่าการประเมินเบื้องต้นที่ 51.9 ... ส่งสัญญาณว่าการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องมาราว 1 ปี กำลังชะลอตัวลง
+ สหรัฐ : PMI ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี
+มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายในเดือนมิ.ย.ของสหรัฐเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 57.3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.53 หรือในรอบกว่า 4ปี จาก 56.4 ในเดือนพ.ค.57 ซึ่งเป็นผลจาก PMI ด้านผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นเป็น 61และ 61.2 จาก 59.6 และ 58.8 ในเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ
+ จีน : PMI ภาคการผลิตกระเตื้องขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน
+ สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) และสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS)เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นแตะ 51 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน เทียบกับระดับ 50.8 ในเดือนพ.ค. ส่งสัญญาณบวกว่าเศรษฐกิจของจีนกำลังมีเสถียรภาพมากขึ้น
+ เอชเอสบีซีระบุว่าดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนดีดตัวขึ้นเป็น 50.7 ในเดือนมิ.ย. จาก 49.4ในเดือนพ.ค. สอดคล้องกับตัวเลขของ CFLP และ NBS ข้างต้น
+ ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นแรง หนุนโดย PMIภาคการผลิตที่แข็งแกร่งของสหรัฐและจีนปัจจัยจับตา คือ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.ในวันพฤหัสฯนี้
+ เมื่อคืนนี้ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,956.07 จุด พุ่งขึ้น 129.47 จุด หรือ+0.77% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,458.65 จุด เพิ่มขึ้น 50.47 จุด หรือ +1.14% ดัชนี S&P500ปิดที่ 1,973.32 จุด เพิ่มขึ้น 13.09 จุด หรือ +0.67% ปัจจัยหนุน คือ PMI ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.ของสหรัฐและจีนออกมาดีขึ้น หนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยใน 2Q57 ซึ่งขณะนี้นักวิเคราะห์ประเมินว่าจะขยายตัวกว่า 3%QoQ หลังจากร่วงลงแรงในไตรมาสแรก ปัจจัยที่จับตา คือ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนมิ.ย.ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยในวันพฤหัสบดีนี้ รวมทั้งถ้อยแถลงจากเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในที่ประชุมกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คืนวันนี้ (เวลาไทย)
• สัญญาน้ำมันดิบทรงตัว
• สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 3 เซนต์ ปิดที่ 105.34 ดอลลาร์/บาร์เรลส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 7 เซนต์ ปิดที่112.29 ดอลลาร์/บาร์เรล
+ สัญญาทองคำ COMEX ปรับขึ้นต่อ...สถานการณ์ในอิรักและยูเครน + รายงานว่ากองทุน SPDR Gold Trust ซื้อทองคำเพิ่มช่วยหนุน
+ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 4.6ดอลลาร์ หรือ 0.35% 1,326.6 ดอลลาร์/ออนซ์ ปัจจัยหนุน ยังคงเป็นสถานการณ์รุนแรงในอิรักและยูเครน โดยกองทัพยูเครนได้กลับมาใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อปราบกลุ่มกบฎในพื้นที่ทางตะวันออกของประเทศหลังข้อตกลงหยุดยิงเป็นเวลา 10 วันได้สิ้นสุดลง ส่วนในอิรัก กลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ (ISIL) ซึ่งล่าสุดประกาศเรียกตนเองว่ารัฐอิสลามเข้ายึดเมืองทางตะวันออกของซีเรียที่ติดกับพรมแดนของอิรักได้แล้วหลังจากปะทะกันอย่างรุนแรงกับกลุ่มจีฮัดมานานหลายวัน รวมทั้งมีรายงานว่า กองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองคำที่ใหญ่สุดของโลก ได้ถือครองทองคำเพิ่มขึ้นเป็น 25.4 ล้านออนซ์ ณ วันจันทร์ที่ 30 มิ.ย.57 จาก25.2 ล้านออนซ์ในวันที่ 27 มิ.ย.57
ปัจจัยในประเทศและหลักทรัพย์
• เดือนก.ค.57 – Recovery & Turnaroundหุ้น Top Picks ของเดือนคือ AP, BBL,ROJNA, SVI, VGI และ Dark Horse เป็นBLAND, IVL
• ปัจจัยที่จับตาในระยะใกล้ คือ คาดการณ์ผลประกอบการไตรมาส 2/57 โดยเริ่มจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ก่อน แล้วตามมาด้วย Real Sectors ต่างๆ ซึ่งคาดการณ์ว่ากำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (Core Profit) ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะเติบโตได้เมื่อเทียบ YoY จากฐานสินเชื่อที่มีอยู่และการขยายตัวของสินเชื่อ (แม้ว่าจะไม่มาก็ตาม) รวมถึงการตั้งสำรองค่าเผื่อฯในระดับทรงตัว-ลดลง แต่จะอ่อนลงเล็กน้อย QoQ เนื่องจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยต่ำลงอย่างไรก็ตาม ทั้งรายได้ดอกเบี้ยและไม่ใช่ดอกเบี้ยคาดว่าจะเติบโตดีขึ้นใน 2H57 ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่คาดว่าจะมีกำไรดีขึ้นในไตรมาส 2/57 คือ พลังงาน โดยได้อานิสงค์ทางบวกจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้มีกำไรจากสต็อก แต่กลุ่มที่อิงกับอุปสงค์ในประเทศยังซบเซา เพราะเศรษฐกิจภายในประเทศเพิ่งเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายไตรมาส
• ปัจจัยที่ติดตามต่อเนื่อง คือ การบริหารราชการแผ่นดินของคสช. ทั้งความคืบหน้าของการตั้งสภานิติบัญญัติ & สภาปฏิรูปของคสช. รวมถึงการเดินหน้าลงทุนในโครงการต่างๆ ของภาครัฐ
• เมื่อเดือนมิ.ย.57 เราปรับเพิ่มมุมมองทางบวกกับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่นรับเหมาก่อสร้าง, วัสดุก่อสร้าง, นิคมอุตสาหกรรม และธนาคารพาณิชย์ (โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ที่มีฐานลูกค้า Corporate, SME และโครงการรัฐเป็นสัดส่วนที่สูง ได้แก่BBL, KBANK, KTB ) เพราะคาดว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีการเติบโตที่ดีต่อเนื่องในระยะยาวทั้งจากโครงการลงทุนภาครัฐ & เอกชน ซึ่งเป็น Key growth ของเศรษฐกิจไทยในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า (ธปท.คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนในปี 58 จะเพิ่มขึ้น11.2% จาก -2.6% ในปีนี้ และการลงทุนภาครัฐจะเติบโต 9.7% จาก 1.1% ในปี 57)
• ปัจจัยภายนอกมีน้ำหนัก Neutral คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตดีขึ้นในไตรมาส 2/57จากที่ติดลบถึง 2.9%QoQ ในไตรมาสแรก เพราะสภาพภูมิอากาศย่ำแย่มาก ส่วนญี่ปุ่นก็รอดูการฟื้นตัวของการบริโภค ซึ่งธนาคารโลกคาดว่าจะกระเตื้องขึ้นตั้งแต่ก.ย.57 เป็นต้นไป หลังชะลอตัวในเดือนเม.ย.-มิ.ย.57 เพราะอัตราภาษีขายที่ปรับขึ้นเป็น 8% มีผลตั้งแต่ 1 เม.ย.57(เดิม 5%) สำหรับยูโรโซน กำลังลุ้นว่า ECB จะออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะขณะนี้อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อต่ำมาก และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจค่อนข้างเปราะบาง ด้านจีน ซึ่งได้ผ่อนคลายมาตรการลงในบางภาคส่วน ก็เริ่มเห็นการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตดีขึ้นเล็กน้อย และภาคที่อยู่อาศัยกระเตื้องขึ้นในบางพื้นที่
• ความเสี่ยง 1) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอาจเร็วกว่าที่เคยประเมินไว้ คือ กลางปี58 เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มสูงจนแตะระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายระยะยาวที่ 2.0%, 2)เศรษฐกิจญี่ปุ่น & จีนเติบโตได้ช้ากว่าคาด, 3) ความคาดหวังต่อการปฏิรูปและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่มากและเร็วเกินไป, 4) ผลกระทบต่อภาคส่งออกจากประเด็นสถานการณ์ค้ามนุษย์และรัฐบาลอียูลดความสัมพันธ์กับไทยลงอาจจะมากกว่าคาด รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง และ 5) Valuation ของหุ้นบางตัวสูงมาก เนื่องจากคาดหวังกับภาพบวกไปใน 1-2 ปีข้างหน้ามากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดความผันผวนตามมา
• กลยุทธ์ : Recovery & Turnaround โดยแนะนำเลือกซื้อหุ้นที่คาดว่าจะมีผลประกอบการแกร่งในปี 57 -58 ธุรกิจมั่นคง และฐานะการเงินแข็งแรง เอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจในระยะยาว หลักทรัพย์ Top Picks ของเดือนก.ค.57 ได้แก่ AP, BBL, ROJNA, SVI, VGI
***ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Wealth Perspective Equity – ก.ค.57 ด้านใน***
• ธปท.คาดเศรษฐกิจ 2H57 ของไทยจะฟื้นตัวเป็น V-Shape และขยายตัวแกร่ง 5.5%ในปี 58
• ภาวะเศรษฐกิจเดือนพ.ค.57 ปรับดีขึ้นเมื่อเทียบ MoM โดยมาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรม การใช้จ่ายภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณขยายตัว รวมถึงการส่งออกไปประเทศอุตสาหกรรมหลักปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าการส่งออกในภาพรวมยังฟื้นตัวได้ช้า (มูลค่าส่งออกพ.ค.57 หดตัว 1.2%YoY) จากผลของราคาสินค้าเกษตร (ราคายางพาราและน้ำตาลลดลง) และอุปสงค์จากภูมิภาคในเอเชียที่ยังอ่อนแอ อย่างไรก็ดี สินค้าส่งออกหลายอุตสาหกรรมเริ่มปรับตัวดีขึ้น เช่น ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์, ปิโตรเคมี, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มขณะที่ภาคการท่องเที่ยวพ.ค.ยังไม่ดี จำนวนนักท่องเที่ยวพ.ค.57 หดตัว 10.7%YoY เป็น 1.7ล้านคน (หลักๆ เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนและมาเลเซีย) สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเดือนพ.ค.57 หดตัว 2.9%YoY เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการลงทุนใหม่ออกไปเพื่อรอความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและแนวนโยบายภาครัฐ
• ธปท.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยถึงจุดต่ำสุดของรอบนี้ไปแล้วเมื่อเม.ย.57 และเริ่มกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยในเดือนพ.ค.57 แต่ยังหดตัวเมื่อเทียบ YoY คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไตรมาส 2/57 จะหดตัว 0.4% และใน 1H57 หดตัว 0.5% ส่วนใน 2H57 ฟื้นตัวแบบ V-Shape ที่3.4% ทำให้ทั้งปี 57 เติบโต 1.5%YoY
• สำหรับปี 58 ธปท.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวสูงขึ้นเป็น 5.5% โดย Keygrowth คือ การลงทุนภาคเอกชน (+11.2% จาก -2.6% ในปี 57) และการลงทุนภาครัฐ (+9.7% จาก +1.1% ในปี 57) ส่วนการส่งออกคาดว่าจะเติบโตดีขึ้นแต่ไม่ได้แข็งแกร่งมากเพราะมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น มีการย้ายฐานลงทุนกลับไปในยุโรปตะวันออกเพื่อตอบสนองอุปสงค์ภายในสหภาพยุโรปทั้งหมดมากขึ้น, บริษัทส่งออกหันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า (+6% จาก 3% ในปี 57) สำหรับการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น แต่ไม่มากเพราะหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูง (+4.7% จาก+0.2% ในปี 57)
• กลยุทธ์การลงทุน เราเห็นว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มฟื้นตัวและเติบโตดีในปี 58 และในระยะยาว คือ ธนาคารพาณิชย์ (หุ้นเด่น BBL, KTB, KBANK), รับเหมาก่อสร้าง (หุ้นเด่นCK, STEC), วัสดุก่อสร้าง (หุ้นเด่น SCC, SCCC, TASCO), นิคมอุตสาหกรรม (หุ้นเด่นAMATA, ROJNA, HEMRAJ) และท่องเที่ยว (หุ้นเด่น AOT, CENTEL, MINT) แนะนำให้หาจังหวะเลือกซื้อสะสมช่วงอ่อนตัวเพื่อลงทุนระยะกลาง-ยาว
•/+ PTT : กรรมการใหม่จะจัดโครงสร้างบริษัทให้มีความโปร่งใสและลดการผูกขาดบางธุรกิจ เช่น ท่อส่งก๊าซ เป็นต้น
• นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรมว.พลังงานและกรรมการ PTT กล่าวว่าเมื่อเข้ามาเป็นกรรมการแล้ว จะเร่งผลักดันให้ PTT ขายหุ้นใน BCP (ถือ 27.22%) และโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม (ถือ 36%) ออกมา เพื่อลดส่วนแบ่งการตลาดขายส่งจากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งเกินกว่า 50% และสนับสนุนการแก้ไขพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าที่ใช้กับ PTT และรัฐวิสาหกิจอื่นเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่แท้จริง และเห็นควรให้แยกกิจการท่อก๊าซออกจาก PTT โดยอาจจัดตั้งเป็นบริษัทย่อยบริหารท่อก๊าซ และทำให้การบริหารงานโปร่งใส รวมทั้งอาจให้บุคคลที่ 3 เข้ามาใช้ท่อก๊าซได้ เพราะขณะนี้ต้องยอมรับธุรกิจท่อก๊าซ เป็นธุรกิจลักษณะผูกขาด เนื่องมาจากธรรมชาติของธุรกิจเช่นเดียวกับสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)
• ทั้งนี้นาย ปิยสวัสดิ์ อัมมระนันทร์ นาย พรชัย รุจิประภา และ นาย คุรุจิต นาครทรรพ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ PTT โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 57
ความเห็น Retail Research : เรามองว่ากรรมการชุดใหม่ของ PTT ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญในธุรกิจพลังงานจะช่วยผลักดันให้บริษัทเดินหน้าไปได้อย่างดี และแม้ว่าจะมีการปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ และแยกธุรกิจโรงแยกก๊าซ & ท่อส่งก๊าซออกไปเพื่อความโปร่งใส ก็ไม่น่าจะกระทบกับมูลค่าของ PTT มากนัก ขณะเดียวกันเมื่อโครงสร้างใหม่แล้วเสร็จก็จะเน้นพัฒนาด้านประสิทธิภาพ ซึ่งนายปิยสวัสดิ์เคยดำเนินการในช่วงที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของTHAI และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สำหรับผลดำเนินงานใน 2Q57 คาดการณ์ว่าจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 1Q57 เพราะธุรกิจสำรวจ & ผลิต และโรงกลั่นมีกำไรจากสต็อกเข้ามาช่วยเสริมหลังจากราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นประมาณ 4% จากสิ้นมี.ค.57 ฝ่ายวิจัยฯ DBSV แนะนำถือเนื่องจากมองว่าการเติบโตของกำไร PTT ในปี 57-58 ค่อนข้างจำกัด เพราะราคาน้ำมันที่ค่อนข้างทรงตัวในระยะกลาง-ยาว สำหรับหลักทรัพย์
• หุ้นในกลุ่มพลังงานที่เรามองว่าจะมีการเติบโตของกำไรที่ดีในระยะยาว โดยเป็นผลจากการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตและมีผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม (Value addedproduct) ในสัดส่วนที่สูงขึ้น BCP และ IRPC อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการ 2Q57 ของ BCPอาจจะชะลอตัวจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นช่วง 1 พ.ค.-15 มิ.ย.57 ขณะที่ IRPC มีปัญหาเพลิงไหม้ในหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเตา Vacuum Gas Oil Hydrotreater unit (VGOHT)ต้องปิดซ่อม ซึ่งอาจมีความเสี่ยงถึงขั้นขาดทุนจากการดำเนินงานใน 2Q57 ได้ อย่างไรก็ดีแนวโน้มผลประกอบการจะดีขึ้นใน 2H57 จึงมองว่าการอ่อนตัวของราคาหุ้นเพราะผลประกอบการ 2Q57 ที่อ่อนแอเป็นจังหวะซื้อลงทุนระยะกลาง-ยาวใน BCP และ IRPC
+ SGP : เซ็นสัญญาขาย LPG ให้กับฟิลิปปินส์ 6 เดือน มูลค่า 180 ล้านUS$...แนะนำซื้อลงทุน ให้ราคาเป้าหมาย 26 บาท
+ SGP ได้ตกลงเซ็นสัญญาการขายก๊าซ LPG ให้กับ บริษัท Liquigaz PhilippinesCorporation ประเทศฟิลิปปินส์ (ทำธุรกิจค้าปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ) จำนวน 30,000 ตัน/เดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน หรือคิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 180,000 ตัน มูลค่าที่ได้จากการขายก๊าซในครั้งนี้รวมประมาณ 180 ล้านUS$ โดยจะรับรู้รายได้ใน 2H57
ความเห็น Retail Research : นับเป็นข่าวดีที่บริษัทจะมียอดขายก๊าซ LPG เข้ามาเพิ่มและทำให้โอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายยอดขายในปีนี้ที่ 7.6 หมื่นล้านบาท (+15%YoY) มีมากขึ้นประกอบกับประเมินว่าราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกจะกระเตื้องขึ้นในครึ่งปีหลังเพราะอุปสงค์เพิ่มขึ้นตามปัจจัยฤดูกาล (Seasonal effect) ซึ่งจะช่วยหนุนผลประกอบการครึ่งหลังของปีนี้ให้ดีขึ้น จากที่ประสบผลขาดทุนสุทธิ 170 ล้านบาทใน 1Q57 และผู้บริหารคาดว่าจะพลิกเป็นกำไรสุทธิได้ใน 2Q57 นี้ แนะนำซื้อ SGP โดยฝ่ายวิจัยฯ DBSV ให้ราคาเป้าหมายระยะยาว 1ปีไว้ที่ 26 บาท มี Upside จากราคาปิดล่าสุด 52%
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829
[email protected]