WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล. เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      SET ผันผวนติดแนวต้าน 1,425-1,430 จุด ยังมีแรงหนุน fund flow แต่อาจถูกกดดันแรงขาย sale on fact หุ้น ธ.พ. หลังประกาศงบเสร็จสัปดาห์นี้ จึงยังเน้นหุ้นที่มีกำไรเด่น 2H58 โดยเฉพาะที่อิงท่องเที่ยว BA([email protected]) และลงทุนระยะสั้น SIAM([email protected]) เป็น Top picks

ปัจจัยภายนอกยังให้น้ำหนักจีนรายงาน GDP งวด 3Q58
      วันนี้เชื่อว่าปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อตลาดยังมาจากประเด็นของจีน โดยสายวันนี้ จะมีการประกาศตัวเลข GDP Growth งวด 3Q58 ซึ่งรัฐบาลคาดการณ์ไว้ที่ 7% สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 6.8% ซึ่งนับเป็นตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่ 1Q52 และเป็นการชะลอตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้หากการประกาศ GDP Growth ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ อาจจะกดดันตลาดหุ้นโลกอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตามจากการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หุ้นจีน ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ามีผลกำไรสูงขึ้น โดยถ่วงน้ำหนักจากกลุ่ม เหล็กกล้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เกษตรกรรม มีอัตราการเพิ่มขึ้น 9M58 ราว 332%, 256%, 96% ตามลำดับ สอดคล้องตลาดคาด

       ขณะที่ทางสหรัฐ ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งยังคงส่งสัญญาณทรงตัว โดยพบว่าภาคครัวเรือนยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนดัชนีความรู้สึกของผู้บริโภค สำรวจโดย ม. มิชิแกน เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 92.1 สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 87.2 แต่อย่างไรก็ตามฝั่งภาคการผลิตที่ส่งสัญญาณทรงตัว สะท้อนจาก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. ออกมาติดลบ 0.2% เท่ากับที่ตลาดคาด ด้วยเหตุนี้ ทำให้ตลาดประเมินว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ในสัปดาห์หน้า 27-28 ต.ค. เป็นไปได้ยาก (เหลือการประชุม อีก 2 ครั้งในปีนี้คือ 27-28 ต.ค. และ 15-16 ธ.ค.) โดยคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุดคือต้นปีหน้า

      ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ สะท้อนผ่านงบงวด 3Q58 ของตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งแม้จะรายงานกำไรสุทธิลดลง 4.6% yoy แต่ในจำนวนนี้พบว่ามีถึง 46 บริษัท จาก 58 บริษัท ที่มีผลกำไรเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย และหากพิจาณาในแง่ยอดขายพบว่ามี 29 บริษัท ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยหากพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรม พบว่ากลุ่มพลังงาน มีผลกำไรลดลงมากถึง 64.9% เนื่องจากราคาน้ำมันโลกที่ลดลง ตามมาด้วยวัสดุฯ (Materials) ลดลง 19.9% และกลุ่ม Consumer Staples ลดลง 3.3% ตรงข้ามกับกลุ่ม Consumer Discretionary ที่เพิ่มขึ้นราว 9.7% ทั้งนี้หากพิจารณาในแง่ของ Valuation พบว่า Expected PER ณ สิ้นปี 2558 อยู่ที่ 16 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังที่ 14 เท่า และ 10 ปี ที่ 14.1 เท่า แต่คาดว่าผลกำไรตลาดหุ้นสหรัฐที่ดีขึ้นในปี 2559 น่าจะช่วยทำให้ ค่า Expected PER ตลาดหุ้นสหรัฐมีแนวโน้มลดลงได้

เน้นหุ้นที่มีผลกำไรเด่นในงวด 2H58 : BA, ERW, SIAM
      สัปดาห์นี้ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ คือ ผลการดำเนินงานงวด 3Q58 โดยกลุ่ม ธ.พ. คาดว่าน่าจะรายงานงบเสร็จสิ้นภายในสัปดาห์นี้) ในภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 3Q58 ของกลุ่ม ธ.พ. ภายใต้ coverage ของฝ่ายวิจัย คาดว่ากำไรสุทธิจะหดตัวถึง 13.6%qoq และ 17.9%yoy ส่วนคาดการณ์งวด 4Q58 คาดว่าผลการดำเนินงานทรงตัวเนื่องจากแนวโน้มการตั้งสำรองหนี้และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากช่วงฤดูกาล ส่งผลให้ทั้งปี 2558 กำไรหดตัว 11.7%yoy แต่จะฟื้นตัวได้ถึง 17.7%yoy ในปี 2559 จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่เข้าสู่ระดับปกติ และเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ จะมีการทยอยประกาศงบฯ ตามมา ในส่วนของกลุ่มพลังงาน อาจได้รับผลกระทบจากการตั้งด้อยค่าสินทรัพย์ของ PTTEP นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อเนื่องจากกรณีที่ SSI และบริษัทย่อย ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหลังจากนี้จะเห็นการสะท้อนภาพดังกล่าวสู่งบการเงินของ SSI โดยอาจต้องทำการบันทึกรายการด้อยค่าเงินลงทุน และรายการภาระหนี้สินของบริษัทย่อย ซึ่งหากรวมผลกระทบจากกรณีของ PTTEP และ SSI เข้ามาด้วยกันแล้ว ก็เป็นไปได้ที่จะมีกระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2558 ของบริษัทจดทะเบียนรวม อย่างไรก็ตาม การปรับประมาณการกำไรจะเกิดขึ้นการประกาศงบการเงินงวด 3Q58 เสร็จสิ้น

       ดังนั้น ตัวเลือกการระยะสั้น จึงให้น้ำหนักไปที่หุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการในช่วง 4Q58 เติบโตโดดเด่น เนื่องจากจะเป็นช่วง High Season ของฤดูกาลท่องเที่ยว ส่งผลบวกต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องคือ ธุรกิจการบิน ฝ่ายวิจัยชื่นชอบ BA([email protected]) ที่ในช่วงสั้นจะมีประเด็นบวกมากกว่าทั้ง earnings momentum และหากพิจารณาเฉพาะ PER ของธุรกิจการบินถือว่าต่ำสุดเพียง 12 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของสายการบินครบวงจรทั่วโลกที่ 14.2 เท่า ขณะที่ EPS Growth ของ BA โดดเด่นกว่าคู่แข่งขันทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้ง AOT(FV@B344) ในฐานะเป็นผู้ผูกขาดบริการสนามบินเพียงรายเดียว ทั้งยังมีความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 ที่มีความคืบหน้าอีกครั้ง และกำลังเข้าสู่ขั้นตอนที่ AOT เปิดประมูลหาผู้ก่อสร้างในปีนี้ และเริ่มสร้างปีหน้า จะช่วยเพิ่มกำลังให้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 60 ล้านคน

      ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคท่องเที่ยวอีกกลุ่มคือ โรงแรม ฝ่ายวิจัยชอบ ERW([email protected]) น่าจะเห็นการฟื้นตัวกลับมามีกำไรใน 4Q58 และมากขึ้นใน 1Q59 ซึ่งเป็นช่วง Peak Season ของการท่องเที่ยว และมี upside สูงสุดราว 24%
นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ที่มีปัจจัยบวกหนุน แต่ราคาหุ้นยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นไปสะท้อนปัจจัยบวกได้อย่างเต็มที่ ได้แก่

       SYNTEC(FV@B 3.86) แทบไม่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมอสังหาฯ ที่ชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ปัจจุบันมี Backlog เพิ่มเป็น 1.42 หมื่นล้านบาท และเป็นงานที่มี Gross Margin สูง นอกจากนี้ยังมีแผนขยายการลงทุนไปยังธุรกิจพัฒนาอสังหาเพื่อสร้างรายได้ค่าเช่าเพิ่ม ปัจจุบันราคาหุ้นมีค่า PER เพียง 11 เท่า ถือว่าต่ำมากในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง

       SIAM(FV@B 4.86) มีแผนงานชัดเจนที่จะขยายไปทำธุรกิจพลังงานทดแทนในส่วนโรงไฟฟ้าโซล่าร์ และขยะ โดยคาดว่าจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 49 MW ภายในปี 2561 ทั้งนี้ ราคาหุ้นปัจจุบันยังไม่สะท้อนมูลค่าธุรกิจส่วนเพิ่ม และยังมี Discount จากมูลค่าของฐานธุรกิจเดิม

      MCS(FV@B 12.91) กำไรปี 2558 เติบโตกว่า 5 เท่าตัว และจะอยู่ในวัฏจักรขาขึ้นไปอีกนานด้วย Backlog รองรับรายได้ 5 ปีข้างหน้า ขณะที่ยังได้ประโยชน์จากเงินแยนที่แข็งค่า และโอกาสของการรับงานใหม่ๆ ในญี่ปุ่นในช่วงก่อนการจัดงานโอลิมปิกปี 2563

ต่างชาติยังซื้อหุ้นไทย แต่อาจกดดันจากแรงขายระยะสั้นพอร์ตโบรกเกอร์
       วันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 75 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิพียงวันเดียว )โดยเป็นการขายสุทธิ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิสูงสุด ในภูมิภาคราว 212 ล้านเหรียญ( หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 19 ล้านเหรียญ และ อินโดนีเซียขายสุทธิราว 6 ล้านเหรียญ( ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 (ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิคือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 140 ล้านเหรียญ( ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 (และไทยซื้อสุทธิราว 23 ล้านเหรียญ หรือ 812 ล้านบาท( ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,474 ล้านบาท
แม้เม็ดเงินลงทุนต่างชาติเริ่มไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทยบ้าง แต่ในระยะสั้นคาดว่า SET Index อาจมีความเสี่ยงจากแรงขายทำกำไรของพอร์ตโบรกเกอร์ ที่มียอดซื้อสุทธิสะสมต่อเนื่องกัน 10 วันทำการเกือบ 1.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงกว่าปกติ จึงมีโอกาสที่จะเห็นแรงขายทำกำไรออกมาจากนักลงทุนกลุ่มดังกล่าวได้ตลอดเวลา
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 8,680 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 3,310 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 35.22 บาท/ดอลลาร์
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค

หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!