- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 14 October 2015 20:36
- Hits: 1039
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ Selective Buy
ตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นไทยวานนี้เกิดการปรับฐานลง จากแรงกดดันของราคาน้ำมันดิบที่ลดลงกว่า 5% ในคืนก่อนหน้า บวกกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงแรงขาย sell on fact กลุ่มอสังหาฯ อย่างไรก็ตาม แนวรับ 1,400 จุดยังทำงานได้อย่างแข็งแกร่ง ปิด ณ สิ้นวันที่ 1,406.69 จุด ลบเล็กน้อย 5.80 จุด มูลค่าการซื้อขาย 47,395 ล้านบาท
เงินทุนต่างชาติขายทำกำไรเล็กน้อยในตลาดหุ้นไทย ขายสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 6 วันทำการ เพียง 81 ล้านบาท Short สุทธิใน SET50 Index Futures วันแรกในรอบ 11 วันทำการ เพียง 1,366 สัญญา แต่ยังคงซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 6 อีก 8,639 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญวันนี้
ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของจีนในเช้านี้
ธนาคารกลางสิงคโปร์ผ่อนคลายนโยบายการเงินเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปีนี้
ติดตามรายงาน Beige Book คืนนี้ เพื่อประเมินภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ
มาตรการอสังหาฯ เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นยอดขายบ้านและคอนโดมิเนียมราคาไม่เกิน 3.0 ล้านบาท เด่นใน 4Q58-1Q59
มุมมองต่อตลาด
เราคงมุมมองการลงทุน "กลางถึงบวก" วันที่ 5 แนวรับบริเวณ 1,400 จุด ยังทำงานได้อย่างแข็งแกร่ง การปรับฐานรอบสั้นๆ หลังจากที่ SET INDEX ดีดตัวขึ้นเกือบ 5% ในสัปดาห์ก่อนหน้า เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล แต่ในภาพรวมเรายังคงให้น้ำหนักกับการไต่ระดับขึ้นทดสอบด่านสำคัญ 1,440-1,450 จุด ทั้งนี้จับตากลุ่มธนาคาร แนวโน้มผลการดำเนินงาน 3Q58 อาจไม่แย่อย่างที่ตลาดคาดการณ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน และ ต้นทุนการเงิน มีโอกาสที่จะออกมาต่ำกว่าที่ตลาดประเมิน ซึ่งหุ้นหลักในกลุ่มธนาคารจะทยอยประกาศในต้นสัปดาห์หน้า ดังนั้น แรงขายในกลุ่มธนาคารจะจำกัดไประยะหนึ่ง แต่หากราคาหุ้นย่อตัวลง เราเชื่อว่าสถาบันทั้งในและต่างประเทศจะทยอยสะสมหุ้นกลุ่มนี้ ที่ลดน้ำหนักการลงทุนมาตลอด 9 เดือนก่อนหน้านี้
ขณะที่กลุ่มอสังหาฯ วานนี้เกิดเหตุการณ์ Sell on Fact โดยกลุ่มนี้ปรับฐานลง 1.74% หลัง ครม.อนุมัติมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ เป็นเวลา 6 เดือน โดยมีมาตรการเพิ่มเติมคือ การนำ 20% ของมูลค่าบ้านที่มีราคาไม่เกิน 3.0 ล้านบาท มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ เป็นมาตรการกระตุ้นที่มีนัยยะสำคัญในมุมมองของเรา ยอดการโอนที่อยู่อาศัยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ ต่อเนื่องถึง 1Q59 จะฟื้นตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ เป็นบวกต่อหุ้นที่มีฐานลูกค้าระดับกลางถึงล่าง อย่าง PS / LPN / SPALI เป็นต้น
ด้านเงินทุนต่างชาติในมุมมองของเรายังคงเป็นบวก แม้ว่าวานนี้จะขายสุทธิในตลาดหุ้นวันแรกในรอบ 6 วันทำการ แต่ก็เพียงเล็กน้อย และการปิดสถานะ Long ใน SET50 Index Futures วันแรกในรอบ 11 วันทำการ ถือว่าเป็นเพียงเล็กน้อยเช่นกัน และสมเหตุสมผล เมื่อ S50Z15 ต่ำกว่า SET50 Index เพียง 1-2 จุด ระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย แต่ยอดสุทธิสะสม QTD ยังคงเป็น Long สูง 65,451 สัญญา เราจึงยังเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติยังคงให้ความสนใจกับตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง
ปัจจัยต่างประเทศ วันนี้ เราแนะนำให้ติดตามรายงาน Beige Book เพื่อสรุปภาวะเศรษฐกิจ การจ้างงาน ตลาดอสังหาฯ การผลิต/บริการ ใน 12 เขตเศรษฐกิจ ก่อนประชุมเฟดในช่วงปลายเดือนต.ค. หากภาพรวมส่งสัญญาณชะลอตัวจากผลกระทบของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่า และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ย่อมเป็นการยืนยันว่า เฟดจะเลื่อนการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปเป็นปีหน้าย่อมมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น เป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Markets) ต่อเนื่อง และทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าต่อเนื่อง
กลยุทธ์การลงทุน
ดังนั้น เราแนะนำ "นักลงทุนที่เก็งกำไรมาก่อนหน้านี้ ควรถือเพื่อรอขายทำกำไรรอบนี้บริเวณ 1,440 จุด +/- แต่หากหุ้นเป้าหมายกลับปรับฐานลงระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย กลายเป็นจังหวะของการเพิ่มน้ำหนักเก็งกำไรมากขึ้น"
Top Pick in 4Q15: BMCL / ITD/ TMB/ TPIPL
HOLD: ITD / TPIPL/ ADVANC/ WHA/ IFEC/ INTUCH/ KTB
Speculative Buy: KTB
Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" ได้แก่
1. KTB : ราคาปิด 17.80 บาท ราคาเหมาะสม 19.42 บาท (อิงเป้าหมายของ Consensus)
a) MBKET ประเมินว่าหุ้นกลุ่มธนาคารมี Downside Risk ที่จำกัดและได้สะท้อนปัจจัยลบของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวไปมากแล้ว โดยพิจารณาจาก SET BANK ที่ลดลงถึง -19% ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (YTD) เทียบกับ SET INDEX ที่ -6%
b) คาดสินเชื่อจะเข้าสู่การฟื้นตัวตั้งแต่ 4Q58 เป็นต้นไป และต่อเนื่องในปี 2559 ตามความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น จากการอัดฉีดนโยบายของภาครัฐฯ เข้าสู่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และภาค SME ตั้งแต่ต้น 3Q58 ที่ผ่านมา ขณะที่การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐฯจะเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2559
c) KTB ได้ประโยชน์โดยตรงเนื่องจากเป็นธนาคารหลักที่ปล่อยกู้สูงสุดให้กับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐฯ ขณะที่งบ 3Q58 แม้จะมีทิศทางลดลงมากทั้ง yoy และ qoq จากการตั้งสำรองหนี้ของ SSI แต่เชื่อว่าจะเป็นจุดต่ำสุดของผลประกอบการแล้ว และด้วยมุมมองที่ระมัดระวังมากแล้วของ Consensus จึงเชื่อว่ามีโอกาสเช่นกันที่กำไร 3Q58 จะออกมาดีกว่าคาดการณ์ของตลาด
d) Valuation ค่อนข้างถูก ซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ที่ PBV 2559 เพียง 0.9 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มธนาคารที่ 1.1 เท่า และให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลราว 4.5% ต่อปี
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
ตลาดหุ้นเอเชียซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 ลดลงเหลือ US$22 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$477 ล้าน
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติ ขายทำกำไรเล็กน้อยในตลาดหุ้นไทย
นักลงทุนต่างชาติ กลับมาขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันแรกในรอบ 6 วันทำการ เพียง 81 ล้านบาท เทียบกับ 5 วันทำการก่อนหน้าซื้อสุทธิ 6,169 ล้านบาท ทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ยังคงสูงกว่า 1.0 แสนล้านบาท เป็น 101,351 ล้านบาท
และ SET50 Index Futures นักลงทุนต่างชาติกลับมา Short สุทธิเป็นวันแรกในรอบ 11 วันทำการ เพียง 1,366 สัญญา เทียบกับ 10 วันทำการก่อนหน้า Long สุทธิ 80,288 สัญญา น่าจะเป็นการปิดสถานะ Long บางส่วน ส่งผลให้ QTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Long สุทธิลดลงเล็กน้อยเป็น 65.451 สัญญา ส่งผลให้ S50Z15 ปิดต่ำกว่า SET50 Index กว้างขึ้นเล็กน้อย เป็น 2.97 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เพียง 0.53 จุด ทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเท่ากับ 4,727 สัญญา
แต่ตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 อีก 8,639 ล้านบาท รวม 6 วันทำการ ซื้อสุทธิ 60,639 ล้านบาท ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยทรงตัวต่อเนื่อง ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงเล็กน้อย 0.35bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.41bps ปิดที่ 2.626%
Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling ลดลงเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ เท่ากับ 653 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 970 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7 ยังคงเป็นลักษณะ Basket orders ที่เน้นกลุ่มธนาคารต่อเนื่อง
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิอีก 1,736 ล้านบาท ชะลอตัวจากวันก่อนหน้าที่ซื้อสุทธิมากถึง 2,717 ล้านบาท รวม 7 วันทำการซื้อสุทธิ 7,957 ล้านบาท ยังคงเน้นสะสมหุ้นกลุ่มธนาคารอย่างโดดเด่น สรุปภาพการลงทุนได้ดังนี้
1. กลุ่มธนาคาร ซื้อสุทธิสูงสุดเป็นวันที่ 3 อีก 692 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 1,208 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มพลังงาน ซื้อสุทธิ 284 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 503 ล้านบาท กลุ่มขนส่ง ซื้อสุทธิ 197 ล้านบาท กลุ่มวัสดุก่อสร้างซื้อสุทธิ 132 ล้านบาท และกลุ่มอสังหาฯ ซื้อสุทธิ 129 ล้านบาท
2. ขณะที่กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ถูกขายสุทธิสูงสุด แต่ก็เพียง 21 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ไม่มี
ยุโรป
สวิส เตรียมให้ธนาคารขนาดใหญ่เพิ่มฐานทุน: รมว.คลัง สวิส เตรียมให้ธนาคารขนาดใหญ่ มีฐานทุนเท่ากับ 5% ของสินทรัพย์รวม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ Basel เช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ กำหนดสำหรับธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ที่อัตราส่วน 3%
อัตราเงินเฟ้ออังกฤษลดลงสวนทางกับที่คาด: เดือนก.ย. อัตราเงินเฟ้อ -0.1% yoy เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้อติดลบ และเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ปี 2503 ขณะที่ Bloomberg consensus คาดว่าจะทรงตัว ทั้งนี้เป็นผลจากราคาเสื้อผ้า, รองเท้า และ น้ำมันสำเร็จรูป ที่ปรับตัวลงแรง
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมันลดลง: ดัชนีเดือนต.ค. เท่ากับ 1.9 จุด จากเดือนก.ย.ที่ 12.1 จุด เป็นระดับต่ำสุดในรอบปี และเป็นเดือนที่ 7 ที่ดัชนี ปรับตัวลง เทียบกับ Bloomberg consensus คาด 6.5 จุด เป็นผลจากกรณี Volkswagen AG และเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว
จีน
ดุลการค้าเดือนก.ย.ของจีนเกินดุลมากกว่าคาด: แต่จุดสำคัญอยู่ที่การนำเข้าหดตัวมากกว่าคาดในเดือนก.ย.
การนำเข้าหดตัว 17.7% yoy ในเดือนก.ย. หดตัวเป็นเดือนที่ 11 และเร่งขึ้นจากเดือนส.ค.ที่ลดลง 14.3% yoy ในรูปสกุลเงินหยวน เป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงแรงในปีนี้ แต่หากพิจารณาในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นำเข้าหดตัว 20.4% yoy มากกว่า Bloomberg consensus คาดที่ -16.0% yoy
การส่งออก ลดลง 1.1% yoy ในเดือนก.ย. ในรูปของสกุลเงินหยวน ชะลอตัวจากเดือนส.ค.ที่ลดลง 6.1% yoy โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.7% yoy ในรูปของดอลลาร์สหรัฐฯ หากพิจารณาในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกลดลง 3.7% yoy ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาดที่ -6.0% yoy
ดุลการค้าเกินดุล 3.762 แสนล้านหยวนในเดือนก.ย. หรือคิดเป็น US$6.034 หมื่นล้าน ใกล้ระดับสูงสุดของการเกินดุล
เอเชียแปซิฟิก
ธนาคารกลางสิงคโปร์ผ่อนคลายนโยบายการเงินเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้: โดยเตรียมลดกรอบทิศทาง (Slope) ของอัตราแลกเปลี่ยนลง เมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า ส่งผลกระทบต่อค่าเงินในตะกร้าเงินของธนาคารกลาง ทำให้ธนาคารกลางต้องปรับเปลี่ยน Slope เพื่อให้กรอบการเคลื่อนไหวและค่าเฉลี่ยคงที่
เศรษฐกิจสิงคโปร์เติบโตใกล้เคียงคาด: ขยายตัว 1.4% yoy ใน 3Q58 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ +2.0% yoy เทียบกับ Bloomberg Consensus คาดขยายตัว 1.3% yoy นอกจากนี้ยังเป็นการเติบโต 0.1% qoq สวนทางกับที่ตลาดคาดหดตัว 0.1% qoq ทั้งนี้ภาคการผลิตและก่อสร้างหดตัว 3.6% และ 0.8% qoq ตามลำดับ ขณะที่ภาคบริการเติบโต 0.8% qoq
ไทย
ยืดภาษีนิติบุคคลเป็น 20% ถาวร: รมว.การคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ต.ค.ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบให้มีการกำหนดให้การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20% เป็นมาตรการถาวร จากเดิมที่จะสิ้นสุดในปีนี้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและคลายข้อกังวลให้กับภาคธุรกิจ รวมทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติด้วย แม้ว่าภาษีนิติบุคคลของไทยที่ปรับลดลงแล้วอาจจะยังสูงกว่าบางประเทศในกลุ่มเพื่อนบ้านก็ตาม พร้อมกันนี้ ครม.ยังมีมติอนุมัติมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือกิจการร่วมลงทุน (เวนเจอร์แคปปิตอล) โดยให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ปัจจุบันเก็บอยู่ที่อัตรา 20% และภาษีเงินปันผล สำหรับกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการร่วมลงทุนของภาคธุรกิจมากขึ้น
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530