- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 13 October 2015 16:16
- Hits: 2110
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+/-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA +47.37, NASDAQ +8.18, S&P +2.57, FTSE -44.98, CAC -12.69 และ DAX +23.23 หลังตลาดพันธบัตรและสถาบันการเงินส่วนใหญ่ปิดทำการในวันจันทร์ เนื่องในวันโคลัมบัส นอกจากนี้ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ส่งผลให้การซื้อขายเป็นไปอย่างเบาบาง และตลาดเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ขณะที่อยู่ระหว่างรอผลประกอบการ – 3Q/58 ของบริษัท ที่จะทยอยประกาศในสัปดาห์นี้ เช่น (1) เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค (2) โกลด์แมน แซคส์ (3) แบงก์ ออฟ อเมริกัน (4) ธนาคารเวลส์ ฟาร์โก และ (5) ซิตี้กรุ๊ป
.....ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยกดดันเพิ่ม หลังนายเบนัวต์ โคเออร์ สมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่าเร็วเกินไปที่ ECB จะตัดสินใจเกี่ยวกับการขยายวงเงิน หรือขยายเวลาในการดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
.....ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน พ.ย. -US$2.53 อยู่ที่ US$47.10 ต่อบาร์เรล หลังโอเปกเปิดเผยรายงานประจำเดือนวานนี้ ระบุว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโอเปก - กย. เพิ่มขึ้น 109,000 บาร์เรล สู่ระดับเฉลี่ย 31.57 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่ปี’55 ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด
.....ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. +US$8.6 อยู่ที่ US$1,164.5 ต่อออนซ์ โดยยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ว่าเฟดจะเลื่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไปเป็นปีหน้า
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +801 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -101,270 ล้านบาท (ปี’57 ยอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
ทิศทางตลาด :
ทิศทางตลาด : ผันผวน? คาดการเคลื่อนไหวอยู่ในลักษณะเดียวกับวานนี้ คาดมีโอกาสปรับขึ้น แต่คาดเป็นไปอย่างจำกัด หลังดัชนีปรับขึ้นต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้คาดมีโอกาสขายทำกำไรออกมาบ้าง ขณะที่ในวันนี้กลุ่มพลังงานได้รับปัจจัยกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง
.....อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยหนุนจากแรงซื้อสุทธิของต่างชาติที่มีต่อเนื่อง ล่าสุดอีกประมาณ 800 ล้านบาท (ในทิศทางเดียวกับภูมิภาค) โดยเงินบาทล่าสุดแข็งค่าขึ้นจากช่วงก่อนหน้า ทำให้คาดในระยะสั้นอาจเห็น Fund Flow ไหลเข้ามาได้บ้าง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ที่คาดจะมีการนำเข้า ครม. ในนี้ (13/10/58) ซึ่งคาดเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นในกลุ่มอสังหาฯ
.....ทางด้านปัจจัยต่างประเทศ คาดได้รับปัจจัยหนุนจากปัจจัยเดิม โดยเฉพาะประเด็นที่คาดว่าเฟดเลื่อนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปในปี’59 (เฟดเหลือการประชุม 2 ครั้งในปีนี้ วันที่ 27 – 28/10/58 และ 15 – 16/12/58) จากการเปิดเผยรายงานประชุมของเฟดเมื่อ 16 – 17/9/58 ที่ส่งสัญญาณว่าโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เริ่มมีน้อยลง รวมถึงการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางหลายๆ ประเทศยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
....โดยยังแนะติดตาม (1) หุ้นกลุ่มโรงกลั่น เช่น IRPC, PTTGC, TOP และ BCP จะได้รับผลกระทบจากการขาดทุนจากสต็อกน้ำมันในช่วง 3Q/58 แต่เรามองเป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นในช่วงที่ราคาอ่อนตัวสำหรับการลงทุนในระยะยาวกลาง – ยาว (2) กลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่คาดยังคงได้รับประโยชน์จากโครงการภาครัฐ เช่น ITD, STEC, TRC และ UNIQ (3) ค่าเงินบาท ล่าสุดเคลื่อนไหวบริเวณ 35.44– 35.46 แข็งค่าขึ้นจากช่วงก่อนหน้านี้ 36.50 บาท (4) กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น TASCO และ VNG เป็นต้น (5) กลุ่มโรงแรม (CENTEL) และหุ้นกลุ่มสายการบิน (เช่น AAV, BA) หลังสถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มทรงตัว และคาดดีขึ้น โดยเฉพาะช่วง High season ในช่วง 4Q/58 (6) กลุ่มสื่อสาร (ADVANC) หลัง กสทช. จะเปิดประมูลใบอนุญาต 4G คลื่นความถี่ 1,800 MHz และ 900 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) ในวันที่ 11/11/58 และ15/12/58 ตามลำดับ และ (7) เข้าสู่ช่วงประกาศผลการดำเนินงาน – 3Q/58 โดยเริ่มจากกลุ่มธนาคาร ประมาณกลางเดือนนี้ คาดอาจกดดันภาพรวมตลาดฯ ภายใต้ความกังวลปัญหา NPL’s
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.01 อยู่ที่ 2.09% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.91 อยู่ที่ 16.17
หุ้นแนะนำ : BCP
ประเด็นที่ต้องติดตาม (13 - 16 ตค.’58)
13/10/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) งบประมาณของรัฐบาลกลาง - กย.
14/10/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) - กย. (2) ยอดค้าปลีก - กย. (3) สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ - สค.
(4) สต็อกน้ำมัน
15/10/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) - กย. (2) ดัชนีการผลิต (Empire State Index) - ตค. (3) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน(4) ดัชนีกิจกรรมการผลิตเขตมิด-แอตแลนติก - ตค.
16/10/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) การผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต - กย. (2) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้น- ตค.(3) เงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติ - สค.