- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 13 October 2015 16:03
- Hits: 932
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET จะแกว่งพักตัวสักระยะก่อนบวกต่อ จึงน่าทยอยซื้อลบ
กลยุทธ์ : SET เริ่มแกว่งผันผวนหลังขยับบวกขึ้นมาเร็วและแรงแล้ว ทำให้คาดว่ามีลุ้นโอกาสแกว่งพักตัวลงให้เป็นจังหวะในการเลือกหุ้นทยอยเข้าซื้อใหม่อีกครั้งได้ในช่วงนี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นการแกว่งพักตัวระยะสั้น ก่อนจะกลับไปขยับขึ้นใหม่ได้ ดังนั้นเลือกหุ้นทยอยซื้อสะสมช่วง SET อ่อนตัวได้
หุ้นเด่นทางเทคนิค : ERW, MONO, CBG(buyback)
แนวโน้ม : เมื่อวานนี้ SET เริ่มมีจังหวะแกว่งตัวผันผวนและเน้นหนักทางด้านลบมากขึ้น หลังจากในช่วงสัปดาห์ก่อนดัชนีดีดขึ้นมามากและเร็วพอควรแล้ว ทำให้เริ่มมีแรงขายทำกำไรออกมากดดัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่ รวมทั้งเริ่มเข้าสู่ช่วงประกาศผลดำเนินงานรายไตรมาสของบริษัทเอกชนของแต่ละประเทศด้วย ทำให้นักลงทุนต่างประเทศอาจเริ่มระมัดระวังมากขึ้นในการเข้าซื้อขาย โดยตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อคืนนี้แม้ว่าจะปิดบวกแต่ก็มีจังหวะแกว่งตัวผันผวนในระหว่างชั่วโมงซื้อขายมากขึ้นเช่นกัน ส่วนตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ จึงทำให้ส่วนใหญ่ปิดเป็นลบ และส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เกือบทั้งหมดเปิดมาแกว่งตัวด้านลบด้วยเช่นกัน รวมทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังกลับมาปรับตัวลงแรงถึงกว่า 5% หลังจากกลุ่มประเทศโอเปกรายงานการผลิตน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ก.ย. ทำให้นักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาดอยู่ ทำให้ FSS ยังคาดหมายว่า SET จะมีรอบปรับพักตัวลงก่อนได้ แต่กรอบปรับพักคาดว่าจะไม่ลึกมากนัก และสุดท้ายยังลุ้นโอกาสกลับไปแกว่งบวกขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้น SET ลบน่าทยอยซื้อ
แนวรับ 1408-1406 , 1403-1398 , 1390(+/-) จุด
แนวต้าน 1415-1418 , 1420-1426 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคหนาแน่นรวม US$477ล้าน ไหลเข้าทุกประเทศยกเว้นเวียดนาม เม็ดเงินไหลเข้าไต้หวันมากที่สุด US$323.3ล้าน ตามด้วยเกาหลีใต้ US$112.7ล้าน และไหลเข้าตลาด TIP ทุกตลาดโดยไหลเข้าอินโดนีเซียและไทยในปริมาณที่พอๆกันที่ราว US$23ล้าน กระแสเงินทุนมีแนวโน้มไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงแต่อาจต้องจับตาการประกาศผลประกอบการประจำ 3Q15 และราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวลงอีกครั้งเนื่องจากรายงานการผลิตของกลุ่มโอเปกที่ยังสูงขึ้น รวมถึงรายงานเศรษฐกิจของสหรัฐและจีนด้วย
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) กลุ่มอสังหาฯ ระยะสั้นอาจมี sell on fact แต่ PS และ QH ยังน่าสนใจ เป็นที่คาดการณ์ว่ามาตรการกระตุ้นอสังหาฯจะเข้าครม.วันนี้ มาตรการโดยรวมน่าจะเป็นการลดภาระผู้ซื้อและเพิ่มกำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อย เราแนะนำ PS (ราคาเป้าหมายปีนี้ 36 บาท) เพราะมีสินค้าพร้อมขายมากสุดและสร้างบ้านได้เร็วสุด และ QH (เป้าหมายปีนี้ 4 บาท) เพราะราคาหุ้น underperform กลุ่มมาก ขณะที่ PE ต่ำและปันผลสูง
(+) เม็ดเงินโฆษณาเดือน ก.ย. ไหลสู่สื่อทีวีดิจิตอลต่อเนื่อง ทำให้มูลค่าตลาดโฆษณาของทีวีดิจิตอล+เคเบิ้ลทีวี+ทีวีดาวเทียมเพิ่ม 19% Y-Y ขณะที่ตลาดรวมหดตัว 8% Y-Y (หลักๆจากการหดตัวของสื่อทีวีอนาล็อค 17% Y-Y) ส่วนภาพรวม 9M15 มูลค่าตลาดโฆษณาทั้งหมดเพิ่มเพียง 6% Y-Y แต่สื่อทีวีดิจิตอล+เคเบิ้ลทีวี+ทีวีดาวเทียมโตกระโดด 102% Y-Y กินส่วนแบ่งตลาดของสื่ออื่นอย่างรวดเร็ว จากที่มีส่วนแบ่ง 12% ปีก่อน เป็น 22% ในปัจจุบัน เราคงน้ำหนัก Underweight กลุ่ม Media แนวโน้มกำไรส่วนใหญ่ใน 3Q15 ลดลง Y-Y ยกเว้น PLANB (เป้าหมายปีหน้า 7 บาท), TVT (เป้าหมายปีหน้า 3 บาท) ที่กำไรน่าจะโตสูง เราแนะนำซื้อทั้งคู่ และปรับคำแนะนำของ VGI (เป้าหมายปีหน้า 4 บาท) และ MAJOR (เป้าหมายปีหน้า 35 บาท) ขึ้นจากขาย เป็น ถือ
(+) TPCH โรงไฟฟ้าแม่วงศ์ จ.นครสวรรค์ กำลังผลิต 8MW เริ่มขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วบ่ายวานนี้หลังล่าช้ามาจาก ก.ย. รวมเป็นโรงไฟฟ้าที่ COD แล้วทั้งหมด 17.2MW ส่วนโรงไฟฟ้ามหาชัย (10MW) คาดเริ่ม COD ใน 4Q15 รวมแล้วจะใกล้เคียงเป้าที่บริษัทตั้งไว้ 30MW สิ้นปีนี้ เรายังคงคาดกำไรปีนี้โต 40% Y-Y และโตก้าวกระโดดในปีหน้าจากโรงไฟฟ้า 3 แห่งที่จะเข้ามา คงราคาเป้าหมาย 28.50 บาท แนะนำซื้อ
(+) KCE การใช้กำลังการผลิตของโรงงานใหม่ที่สูงขึ้นและผลของ high season จะทำให้กำไรปกติ 3Q15 +21% Q-Q, +22% Y-Y เป็น 607 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่จะมี Fx loss เล็กน้อยทำให้กำไรสุทธิ +17% Q-Q, -6% Y-Y เราคาดกำไรปกติปีนี้ +17% Y-Y และปีหน้าโตมากขึ้น +24% Y-Y หลังรับรู้รายได้จากโรงงานใหม่เฟส 1 และ 2 เต็มปี ประสิทธิการผลิตดีขึ้น อัตราของเสียและต้นทุนลดลง และมีแผนสร้างเฟส 3 ปลายปี 2016 ยังคงแนะนำซื้อ ปรับราคาเป้าหมายปีหน้าขึ้นจาก 63 บาทเป็น 68 บาทจากการปรับ PE ขึ้นเป็น 15 เท่าจากเดิม 14 เท่า
(0) PTTEP กำไรปกติใน 3Q15 มีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย Q-Q จากการลดค่าใช้จ่าย แต่ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและขาดทุนจากสต็อกน้ำมัน และยังมีโอกาสตั้งด้อยค่าโครงการต่างๆ ทำให้สุทธิแล้ว น่าจะเหลือกำไรเพียงเล็กน้อยและมีโอกาสขาดทุนเล็กน้อยในไตรมาสนี้ แต่ราคาหุ้นสะท้อนแล้ว เราแนะนำซื้อลงทุนระยะยาว เป้าหมาย 108 บาท แต่ระะยะสั้นราคาหุ้นยังผันผวนตามราคาน้ำมัน
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมายังขยับบวกได้อีกเล็กน้อย แต่ปริมาณการซื้อขายค่อนข้างเบาบางเนื่องจากนักลงทุนจับตาดูการประกาศผลประกอบการ 3Q15 ของบริษัทจดทะเบียนในสัปดาห์นี้
(0) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดผสมหลังจากปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์ก่อน โดยนักลงทุนเริ่มกลับกังวลต่อราคาน้ำมันดิบที่เริ่มปรับตัวลงอีกครั้ง
(0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่หลังกรอบการบวกของตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นแคบลง ขณะที่นักลงทุนจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวของจีนในสัปดาห์นี้
(0) ค่าเงินบาทแข็งคาขึ้นอีกเล็กน้อยวานนี้ก่อนที่จะแกว่งตัวออกข้าง โดยล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.35-35.55 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ย. ปิดที่ 47.10 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 2.53 ดอลลาร์/บาร์เรล จากแรงขายทำกำไรหลังพุ่งขึ้นแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันของ OPEC ที่จะสูงขึ้นจากการปล่อยให้ราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับต่ำเพื่อสกัดอุปสงค์ของ Shale Oil
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. ปิดที่ 1,164.50 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 8.60 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยตลาดยังคาดการณ์ว่า FED จะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยออกไป ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
13-ต.ค. - ไทย: SCIเริ่มเทรด (ราคา IPO 5.90 บาท)
- จีน: ดุลการค้า (ก.ย.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (ต.ค.)
14-ต.ค. - ตลาดหุ้นมาเลเซีย และอินโดนีเซียปิดทำการ
- สิงคโปร์: 3Q15 GDP
- สหรัฐ:ยอดค้าปลีก (ก.ย.)
15-ต.ค. - เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BOK)ประชุม
- อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI)ประชุม
- สหรัฐ:Fed Beige Book, อัตราเงินเฟ้อ (ก.ย.)
16-ต.ค. - ยูโรโซน:อัตราเงินเฟ้อ (ก.ย.)
19-ต.ค. - ไทย: DTAC ประกาศผลประกอบการ 3Q15
- จีน:3Q15 GDP, Industrial Production (ก.ย.), ยอดค้าปลีก (ก.ย.)
20 ต.ค. - ไทย:ยอดขายรถ (ก.ย.)
- สหรัฐ: Housing starts, Building permits (ก.ย.), Fed's Dudley and Powell Speak at Market Conference in New York
22 ต.ค. - สหรัฐ:ยอดขายบ้านเก่า (ก.ย.)
- ยูโรโซน:ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ต.ค.)