WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KK copyบล.เคเคเทรด : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

คาด SET พักฐานไม่แรงเพราะมี
SET View
       ภาวะตลาดหุ้น เมื่อวานนี้ SET ขึ้นไปทดสอบแนวต้านบริเวณ 1400-1405 จุด แต่ยืนไม่อยู่ และ ถอยลงมาปิดที่ 1392.15 จุด พร้อมมูลค่าการซื้อขายที่ยังคงหนาแน่น 5.3 หมื่นล้านบาท เรามองว่า วันนี้ SET น่าจะเผชิญกับแรงขายทำกำไรระยะสั้นหลังจากปรับตัวขึ้นมาเร็วกว่า 46 จุดภายในเวลาเพียง 4 วันทำการ อย่างไรก็ดี การพักฐานวันนี้ ไม่น่าจะรุนแรงมากเพราะ (1) แนวโน้มกระแสเงินทุนดูเป็นบวก เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 1.7 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิ 3 วันติดต่อกันรวม 4 พันล้านบาท) (2) ราคาน้ำมันยังหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี วานนี้ Brent และ WTI ฟื้นตัวแรง 3.4% เนื่องจากความกังวลว่า การโจมตีทางทหารของรัสเซีย ในประเทศซีเรีย อาจลุกลามขยายวงกว้างไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาค ประเมิน SET วันนี้ มีแนวรับ 1385 จุด แนวต้าน 1400 จุด

ประเด็นข่าว / ดัชนีเศรษฐกิจ
•จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐฯ เท่ากับ 2.63 แสนคน ต่ำกว่าตลาดคาดที่ระดับ 2.74 แสนคน ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 42 ปี สะท้อนความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐฯ และเพิ่มโอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้

•วานนี้ มีการเปิดเผยรายงานการประชุม Fed ครั้งก่อนเมื่อ 16-17 ก.ย. พบว่า ผู้บริหาร Fed ตัดสินใจเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยออกไป เพราะความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ส่วนความเห็นล่าสุดของผู้บริหาร Fed คือ John Williams ซึ่งเป็นประธาน Fed สาขาซาน ฟรานซิสโก (สมาชิกผู้สิทธิ์โหวตในปีนี้) ยังคงส่งสัญญาณว่า Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มเติบโต ทั้งนี้ การประชุม Fed ครั้งถัดไป จะมีขึ้นในวันที่ 27-28 ต.ค.

•ผลสำรวจล่าสุดของ Wall Street Journal กว่า 64% ของผู้ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุม 15-16 ธ.ค.นี้
กลยุทธ์การลงทุน : เก็งกำไรหุ้นที่มีประเด็นบวกเฉพาะตัว
Top Daily Pick : PTT (มูลค่าเหมาะสม 363 บาท) และ BCP (มูลค่าเหมาะสม 38 บาท) ได้รับ Sentiment บวกจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลก
Technical Pick : CPF SAWAD HMPRO GRAND CKP (โปรดอ่านบทวิเคราะห์ Technical เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน)
Theme Plays : หุ้นท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศเริ่มคลี่คลาย (MINT, ERW)/ เก็งมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ (PS, LPN, SPALI, SIRI)/ หุ้นเกี่ยวข้องกับการลงทุนภาครัฐ (CK, ITD, STEC, SEAFCO, SAMTEL)

Strategy Talk
ประเมินผลกระทบเบื้องต้นจากการที่ไทยไม่ได้เข้าร่วม TPP
      หุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) คือ การเจรจาการค้าเสรีของสมาชิก 12 ประเทศซึ่งมีขนาด GDP รวมกันสูงถึง 40% ของ GDP โลก นับเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่สุดในโลก เพิ่งมีการบรรลุข้อตกลงเมื่อ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศไทย ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มนี้ ส่งผลให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่า ไทยจะเสียเปรียบในการส่งออกสินค้าเพื่อแข่งขันกับเวียดนามและมาเลเซีย ซึ่งเข้าไปเป็นสมาชิก TPP แล้ว
สมาชิก 12 ประเทศของ TPP

เบื้องต้น เราประเมินผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ในการศึกษาของเรา ได้แก่
       กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ คาดผลกระทบทางตรงจำกัด กล่าวคือ SVI มีลุกค้าอยู่ในสแกนดิเนเวียเป็นหลัก (70%) ซึ่งไม่อยู่ในกลุ่ม TPP อยู่แล้ว, KCE ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของยุโรป แม้อุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่น จะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วม TPP แต่เรามองว่า สินค้ารถยนต์จากญี่ปุ่นและจากยุโรป จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่างกัน, HANA อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมเพราะมีลูกค้าหลักคือ จีน ซึ่งไม่อยู่ในกลุ่ม TPP หากลูกค้าในจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าปลายน้ำ ส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯยากขึ้น อาจกระทบต่อการสั่งซื้อสินค้าต้นน้ำจาก HANA

     กลุ่มยานยนต์ คาดผลกระทบเชิงลบจำกัดเช่นกัน เพราะอัตราภาษีของประเทศคู่ค้า (สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย) ในการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว คือ ชิ้นส่วนรถยนต์อยู่ในอัตรา 0-3%, ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 0-10% ทำให้แรงจูงใจในการที่ค่ายรถยนต์จะย้ายฐานการผลิตจากไทย ไปสู่ประเทศที่เป็นสมาชิก TPP น่าจะน้อย
    อย่างไรก็ดี แม้ประเทศสมาชิกจะเห็นชอบในหลักการของ TPP แต่ในทางปฏิบัติ แต่ละประเทศ ต้องนำประเด็นนี้เข้าสู่สภาเพื่อพิจารณา นั่นคือ ต้องใช้เวลาสักระยะก่อนนำมาบังคับใช้จริงและสร้างผลกระทบต่อการค้าโลก ตัวอย่าง ในกรณีของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องแจ้งสภาคองเกรสล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วันก่อนจะมีสิทธิ์ลงนามในข้อตกลง TPP คาดว่า อย่างเร็วที่สุด สภาคองเกรสน่าจะมีการลงมติในเดือน ก.พ.59
ทั้งนี้ จากการศึกษาของบริษัท ไบรอัน เคลฟ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เสนอต่อ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เมื่อ มี.ค.55 ประเมินว่า หากไทยต้องการจะเข้าร่วมกลุ่ม TPP ในอนาคต กระบวนการทั้งหมดอาจกินเวลายาวนานถึง 2 ปี เพราะต้องรอการอนุมัติจากประเทศสมาชิกเดิมเสียก่อน นอกจากนี้ การที่ไทยถูกจัดให้อยู่ในบัญชีกลุ่ม 3 (Tier 3) ของรายงานการค้ามนุษย์ ถือเป็นอุปสรรคหนึ่งที่สำคัญในการเข้าร่วม TPP เพราะสหรัฐฯ พยายามผลักดันให้ประเทศสมาชิก TPP ต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อมเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงระดับของการพัฒนาที่แตกต่างกัน

Smart Port Note
Beta ของพอร์ตลงทุนแสดงถึงความเสี่ยงของหุ้นในพอร์ตเทียบกับตลาด SET หากค่า Beta สูงกว่าหนึ่งเท่า แสดงถึงความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนที่สูงกว่า SET
Growth Port มีค่า Beta เท่ากับ 1.04
Trading Port มีค่า Beta เท่ากับ 0.95
Dividend Port มีค่า Beta เท่ากับ 0.85
Quant Port มีค่า Beta เท่ากับ 0.65 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!