- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 08 October 2015 17:08
- Hits: 919
บล. เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เงินเอเชียที่มีแนวโน้มแข็งค่าแรงกว่าคาด นำโดยค่าเงินรูเปียะของอินโดนีเซียและริงกิต จากแรงหนุน Fund Flow และดอลลาร์อ่อนค่ายังหนุนสินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้ SET มีโอกาสแตะ 1,400 จุด แต่จุดนี้อาจจะเริ่มมีแรงขายระยะสั้น ทั้งนี้ยังชอบ PTT(FV@B360) และ KBANK(FV@B232) แต่วันนี้เลือก KSL([email protected]) เป็น Top pick จากราคาน้ำตาลที่ดีดตัวขึ้น 2% วานนี้
หุ้นโภคภัณฑ์ยังนำตลาดหุ้นเด่น PTT, PTTEP, KSL
ประเด็นเรื่องค่าเงินเอเชียที่กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง หลังจากสหรัฐส่งสัญญาณที่จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยออกไปเป็นปีหน้า หรืออย่างน้อย 3 เดือนข้างหน้า ได้กดดันให้ค่าเงินดอลลาร์กลับมาแกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่าอีกครั้ง หลังจากที่แข็งค่าต่อเนื่องตลอดปี 2558 โดย Dollar Index ล่าสุดอยู่ที่ 95.497 จุด เทียบกับจุดสูงสุดที่ประมาณ 100 จุดเมื่อตอนต้นปีนี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ Fund Flow เริ่มกลับเข้ามาในภูมิภาคเอเชียอีกครั้ง
ขณะที่ผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) สรุปว่าให้คงระดับฐานเงิน (Monetary Base) ไว้ที่ 80 ล้านล้านเยน (6.67 แสนล้านเหรียญ) ต่อปีตามเดิม โดยตลาดยังให้น้ำหนักต่อการขยายวงเงินที่จะเกิดขึ้นในการประชุมอีกครั้ง ในช่วงปลายเดือนนี้ (30 ต.ค.) สะท้อนจากผลสำรวจจาก Bloomberg พบว่านักเศรษฐศาสตร์ 13 ราย จากทั้งหมด 35 ราย เชื่อว่าการขยายวงเงินจะเกิดขึ้นปลายเดือน ต.ค. (เพิ่มขึ้น12 ราย จากก่อนหน้า) เนื่องจากความกังวลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามในระยะสั้นพบว่าค่าเงินเยนมีแนวโน้มแกว่งตัว หลังจากที่แข็งค่าสวนทางกับดอลลาร์ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งนับว่าแตกต่างจากค่าเงินของประเทศกำลังพัฒนาในแถบเอเชีย ที่กลับมาแข็งค่าอีกครั้งหลังจากที่อ่อนค่าตลอดปีนี้ สะท้อนได้จากค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเซียที่เคยอ่อนค่าสูงสุดในช่วงที่ผ่านมาได้กลับมาแข็งค่าในอัตราที่แรงกว่าเพื่อน ๆ ได้แก่ ค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียที่แข็งค่ามากสุด โดยล่าสุดอยู่ที่ 13,800 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ หรืออ่อนค่าราว 6% จากจุดที่อ่อนค่าสุดของรอบนี้ และแข็งค่าในวันเดียวสูงถึง 3% จากวานนี้ (และยังได้รับแรงหนุนจากรัฐบาลอินโดนีเซีย ที่คาดว่าจะมีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบที่ 3 ในวันพฤหัสบดี คือวันนี้ ต้องติดตามประเด็นนี้เพราะอาจจะหนุนค่าเงินรูเปียห์ให้แข็งค่าต่อ) ตามมาด้วย เงินริงกิต ของมาเลเซียแข็งค่า 5.4% หรือแข็งค่าในวันเดียว 2% จากวานนี้ ส่วนค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์แข็งค่าราว เพียง 2.14% จากช่วงที่อ่อนค่าสูงสุด และเงินบาทไทย แข็งค่าน้อยสุดคือราว 2% จากที่อ่อนค่าสูงสุดที่ 36.6 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา
โดยสรุปดอลลาร์ที่อ่อนค่า มิใช่แต่เพียงทำให้ Fund Flow ชะลอการขายหรือ เริ่มทยอยหุ้นเอเชียเท่านั้น (อ่านรายละเอียดในย่อหน้าที่ 3) แต่ยังหนุนสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งน้ำมัน (อ่านย่อหน้า 2) และราคาทองคำ นอกจากนี้ยังพบว่าราคาน้ำตาลดิบโลก กระเตื้องขึ้นจากจุดต่ำสุดที่ 11.5 เซนต์ต่อปอนด์ เมื่อ 22 ก.ย. ฟื้นมาที่ 14.0 ออนซ์ต่อเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้น 20.8% ในช่วง 2 สัปดาห์ (และเฉพาะเมื่อวานนี้เพิ่มขึ้น 2%) ซึ่งใกล้เคียงกับสมมติฐานของ ASPS ซึ่งดีต่อ KSL([email protected]) ยังแนะนำซื้อลงทุน โดยคาดหวังว่าราคาน้ำตาลโลกจะฟื้นตัวต่อเนื่องในปีผลผลิตหน้า (2558/2559) เพราะมีการคาดการณ์กันว่าผลผลิตน้ำตาลโลกจะน้อยกว่าความต้องการราว 1.5 ล้านต้น ซึ่งถือว่า sentiment บวกในระยะสั้น –กลาง
ราคาน้ำมันดิบยังเพิ่ม ปัญหาแหล่งผลิตยังหักล้างสต๊อกที่เพิ่ม
วานนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ สิ้นสุด 2 ต.ค. เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สองราว 3.07 ล้านบาร์เรล แต่ในอัตราชะลอตัวลง ทั้งนี้ปัจจัยหลังมาจากโรงกลั่นเข้าสู่ช่วงปิดซ่อมบำรุงประจำปี เช่นเดียวกับ น้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้น แบ่งเป็นน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 1.91 ล้านบาร์เรล (เพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 7) น่าจะเกิดจากนอกช่วงฤดูกาลขับขี่ในสหรัฐ ส่วนทางกับน้ำมันดีเซลที่ปรับลดลง 2.45 ล้านบาร์เรล (เป็นสัปดาห์ที่ 2) เนื่องจากเริ่มมีความต้องการน้ำมันในภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาในแหล่งผลิตน้ำมันดิบโลกยังมีอยู่ และ กดดันมากกว่าสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ การผลิตน้ำมันในสหรัฐ ซึ่งเป็นแหล่งที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต shale oil/shale gas มีแนวโน้มลดลง ตามจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ลดลง เหลือ 640 หลุม จาก 644 หลุม (เนื่องจากผู้ประกอบการประสบปัญหาขาดทุนจากต้นทุนการผลิตที่สูงกว่ากว่าราคาตลาด) ทำให้ตัวเลขปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวลง 5 แสนบาร์เรลต่อวัน เหลือ 9.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ผนวกกับปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
หลังจากที่รัสเซียเข้าโจมตีซีเรีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายหนึ่งในตะวันออก ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกเริ่มฟื้นตัวกลับมาแตะระดับ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรลอีกครั้ง กล่าวคือ น้ำมันดูไบล่าสุดอยู่ที่ 50.72 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากจุดต่ำสุดที่ 42 เหรียญฯต่อบาร์เรลเมื่อปลายเดือน ก.ย. หรือเพิ่มขึ้น 17% และพบว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ราว 54.45 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งเมื่อเทียบกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ในปี 2558 ที่ 53 เหรียญฯต่อบาร์เรล นั่นหมายความว่าในช่วงที่เหลืออีก 3 เดือนของปีนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบต้องมีค่าเฉลี่ย 48.65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งดูแล้วมีความเป็นไปได้สูง ในสถานการณ์นี้ถือว่าดีต่อ PTTEP(FV@B94) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและสำรวจปิโตรเลี่ยม ตามมาด้วย PTT(FV@B360) ซึ่งทำธุรกิจปิโตรเลี่ยมครบวงจร กล่าวคือถือหุ้น PTTEP 65.2% และยังถือหุ้นโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีอีกหลายแห่งคือ TOP(FV@B56) ถือหุ้น 49.1% PTTGC(FV@B67) 48.9% และ IRPC([email protected]) 38.5% เป็นต้น จะเห็นว่าราคาหุ้นของโรงกลั่นส่วนใหญ่เต็มมูลค่ายกเว้น IRPC ที่ยังมี upside 45% ขณะที่หุ้น PTT, PTTEP ยังมี upside และ laggard มาก ในสถานการณ์นี้จึงแนะนำให้ switch
คาดกระแสเงินทุนน่าจะไหลกลับมาหนุนหุ้นไทยอีกครั้ง
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 255 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) โดยเป็นการซื้อเกือบทุกประเทศยักเว้น ฟิลิปปินส์ที่ยังถูกขายสุทธิราว 14 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 5 วัน) ประเทศต่างชาติยังซื้อสุทธิ คือ ไต้หวัน ซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 180 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 44 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) อินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) และไทยต่างชาติซื้อสุทธิราว 31 ล้านเหรียญ หรือ 1,119 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1,403 ล้านบาท
สัดส่วนการถือครองของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย
หากพิจารณาตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่า ต่างชาติได้ขายสุทธิสะสมหุ้นไทยราว 3 พันล้านเหรียญ หรือ 1 แสนล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องปีที่ 3) ส่งผลให้ให้สัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติถือหุ้นไทยลดลงเหลือ 31.64% (ณ วันที่ 6 ต.ค. 58) ซึ่งสอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ถูกขายสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันราว 794 ล้านเหรียญ และ 875 ล้านเหรียญ ขณะที่ ตลาดเกาหลีใต้และไต้หวันถูกซื้อสุทธิสะสมราว 569 ล้านเหรียญ และ 3.4 พันล้านเหรียญ
เนื่องจากแรงขายที่มีจำกัด บวกกับการที่ค่าเงินประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงไทย กลับมาแข็งค่าขึ้นอย่างเห็นได้ชัด น่าจะส่งผลให้ต่างชาติกลับมาสะสมหุ้นเอเชียอีกครั้ง (สอดคล้องกับการศึกษาข้อมูลในอดีตพบว่าเดือน ต.ค. ต่างชาติมักจะกลับมาซื้อตลาดหุ้นไทยด้วยความน่าจะเป็น 60% (ประเด็นนี้ได้พูดไว้ใน Invest+4th Quarterly 2015) ด้วยเหตุดังกล่าวน่าจะเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
คาดกระแสเงินทุนน่าจะไหลกลับมาหนุนหุ้นไทยอีกครั้ง
ย่างเข้าสู่เดือน ต.ค. SET Index เริ่มยืนและฟื้นตัวได้ โดยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 3 วันทำการ ทั้งนี้ หากนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. จนถึงวานนี้ SET ปรับขึ้นได้แรงถึง 3.5% โดยกลุ่มที่สามารถปรับขึ้นได้มากกว่า SET ได้แก่ ปิโตรเคมี +11%, พลังงาน 6.8%, ชิ้นส่วนฯ 6.6%, วัสดุก่อสร้าง 5.8%, ส่วนกลุ่มปรับตัวขึ้นใกล้เคียงตลาดคือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ 4% และท่องเที่ยว-โรงแรม 4% สวนทางกับกลุ่มที่ขึ้นน้อยกว่าตลาดหรือ underperform กับตลาด ได้แก่ สื่อสาร +0.9%, อสังหาฯ +1.5%, ค้าปลีก +1.7%, สื่อ-บันเทิง +2%, รับเหมาก่อสร้าง +2.6%, ส่งออกอาหาร +2.7%
การเปลียนแปลงของ SET Index ราย Sector ช่วงระหว่าง 2 - 8 ต.ค. 2558
ทั้งนี้ เชื่อว่า SET ยังมี momentum เชิงบวก จากกระแสเงินทุนที่เริ่มไหลกลับเข้ามาจากการแข้งค่าของเงินบาท อีกทั้งราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงกลุ่มที่สามารถปรับขึ้นได้มากกว่าตลาด รวมทั้งกลุ่มที่ยัง laggard จะพบว่า ยังมีหุ้นบางบริษัทที่ยังปรับขึ้นได้น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุนเก็งกำไร โดยคาดว่าน่าจะมีการปรับตัวขึ้นในระยะสั้น อาทิ
► กลุ่มวัสดุก่อสร้าง : SCCC ปรับเพิ่มเพียง 3.2%, DCC ปรับเพิ่มเพียง 4.2%
► กลุ่มธนาคารพาณิชย์ : TCAP ปรับเพิ่มเพียง 0.8%, BBL ปรับเพิ่มเพียง 2.8%
► กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม : ERW ปรับเพิ่มเพียง 2.2%
► กลุ่มโรงพยาบาล : BDMS ปรับเพิ่มเพียง 3.2%
► กลุ่มขนส่ง : BA ปรับเพิ่มเพียง 2%
► สื่อ-บันเทิง : WORK ราคาไม่เปลี่ยนแปลง, RS ราคาลดลง 0.9%
► อสังหาฯ : PS ราคาลดลง 3%, SC ราคาลดลง 1%
หุ้นที่แนะนำใน Market talk