- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 30 June 2014 12:53
- Hits: 2929
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Sideway Up-คลายกังวลแผนปฎิรูปคสช.
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ ส่วนใหญ่เปิดบวก หลังญี่ปุ่นรายงานตัวเลขผลผลิตภาคอุตสหกรรมเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือน พ.ค. จากหดตัว 2.8% ในเดือน เม.ย.
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA: Chicago PMI มิ.ย. คาด 62.+9 (Vs 65.5) Pending Home Sales พ.ค. คาด +0.8%m-m (Vs 0.4%) EU: CPI มิ.ย. คาด +0.6%y-y (Vs 0.5%) Thai: ดุลบัญชีเดินสะพัด พค -$1.2bn. (จาก -643mn.)
-วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อ +1.92 พันลบ. (จากขายสะสม 13 วัน รวม -1.28 หมื่นลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อต่อ +668 ลบ. (ซื้อสะสม 3 วันรวม 3.89 พันลบ.)
+/- ความชัดเจนของแผนปฏิรูปพลังงาน เป็นบวกต่อ PTT หลังแต่งตั้งนายปิยสวัสดิ์เข้ามาเป็นบอร์ด ปตท. ซึ่งเน้นการปล่อยราคาให้อิงต้นทุนที่แท้จริง ส่วนสัปดาห์นี้จับตา กสทช. ชี้แจงการประมูลคลื่นความถี่ต่อคสช.
คาดดัชนีฯ วันนี้ Sideway Up แนวต้าน 1492/1497 จุด จากกระแสเก็งกำไรหุ้นLaggards กลุ่มพลังงาน สื่อสาร รับเหมาฯ อิงความชัดเจนของแผนปฏิรูปของคสช.
กลยุทธ์: อาจมองหาจังหวะขายเล่นรอบช่วงต้นสัปดาห์ เพื่อรอซื้อคืนปลายสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้า บริเวณแนวรับ 1460-1468 จุด เน้นหุ้น Earnings Play GOLD TMB BAY KTB SCB BIGC PTTEP SCCC IVL และหุ้นมีประเด็นบวก PTT ADVANC INTUCH CK SCCC
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 4.0%) ได้แก่ RASA VTE TWZ MAX SUPER PF TFD M หุ้นที่ลงกว่า 2.0 % ได้แก่ SSI SAPPE SEAFCO WHA MDX CCP QH TICON SOLAR
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ PTTGC+465 PTTEP+367 SCC+213 PTT+174 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ KBANK-190 BBL-104 MINT-71
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ ADVANC 147 PTT 123
Market Outlook
คาดดัชนีฯ วันนี้ ขึ้นต่อ แนวต้าน 1497-1500 จุด จากเก็งกำไรกลุ่มอิงแผนปฎิรูปของคสช.(พลังงาน สื่อสารรับเหมาฯ) และลุ้นการทำ window dressing วันสุดท้าย ด้านปัจจัยต่างประเทศ เริ่มวิตกผลกำไรบจ. สหรัฐฯแย่กว่าคาด สะท้อนตลาดอาจปรับฐานระยะสั้น เราแนะนำ ขึ้นขาย เพื่อรอซื้อคืนปลายสัปดาห์หรือสัปดาห์หน้า เน้นหุ้น Earnings Plays
คาดดัชนีฯสัปดาห์นี้ Sideway Down (ขึ้นต้นสัปดาห์ และลดลงปลายสัปดาห์) แนวต้าน 1497-1500 จุด แนวรับ 1474/1468 จุด จากแรงขายทำกำไรตลาดหุ้นโลก หลังส่วนใหญ่สร้างสถิติสูงสุดใหม่ด้วยระดับ Valuation ที่แพง (PER สูงกว่า 15 เท่า) และไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ มาสนับสนุน ประกอบกับ การสิ้นสุดการทำ Window Dressing และเริ่มวิตกต่อการส่งสัญญาณเตือนผลกำไรบจ.ไตรมาส 2/57 (สหรัฐฯ ล่าสุดพบว่าสัดส่วนบริษัทที่คาดการณ์กำไรในเชิงลบต่อบริษัทที่คาดการณ์ในเชิงบวกอยู่ที่ 4.2 ต่อ 1 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 2.6 ต่อ 1 ส่วนบจ.ไทย แบงก์ทิสโก้ จะประกาศงบฯ 14 ก.ค. คาดกำไร 1050 ลบ -9.4%y-y +12.3%q-q ขณะที่ TMB BAY KTB SCB BIGC PTTEP คาดรายงานกำไรดีขึ้น y-y q-q
อย่างไรก็ดี เราคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวดีกว่าภูมิภาค จากโมเมนตั้มเก็งกำไรหุ้นกลุ่ม Laggard Plays กลุ่มปตท.+กลุ่มสื่อสาร+กลุ่มรับเหมา อิงความชัดเจนของแผนปฎิรูปพลังงาน แผนประมูลของกสทช และแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่หุ้นเก็งกำไรขนาดเล็กและกลาง คาดว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ เนื่องจากคาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบหากตลาดหุ้นโลกปรับฐาน เราแนะนำ ซื้อเก็งกำไร PTT ADVANC INTUCH CK SCCC
ปัจจัยต่างประเทศ ประเด็นต่างประเทศ จะกลับมาให้ความสนใจต่อรายงานผลกำไรบจ.สหรัฐฯ และแนวโน้มเศรษฐกิจรวมถึงทิศทางดอกเบี้ยระยะสั้น หลังจากประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ เจมส์ บูลลาร์ด กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะ"เข้าใกล้ภาวะปกติ" ในด้านอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานก่อนสิ้น
ปี 2014 การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดไตรมาส 1/2015 จะเป็นสิ่งที่เหมาะสม โดยความเห็นนี้ตั้งอยู่บนการคาดการณ์ของเขาที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโต 3 % ในช่วง 4 ไตรมาสถัดไป
ปัจจัยในประเทศ ความชัดเจนที่เพิ่มขึ้นของแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แผนปฎิรูปโครงสร้างพลังงาน (แต่งตั้งนาย ปิยสวัสดิ์ เป็นบอร์ดปตท. เป็นบวกต่อ PTT สะท้อนรับแผนปรับโครงสร้างราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนแท้จริง ไม่ใช่ลดราคาขายตามประชานิยม) รวมถึงการประมูลของกสทช. ซึ่งคณะทำงาน คสช. ตั้งเป้าจะสรุปให้ได้ในสัปดาห์นี้ โดยหากเกิดความชัดเจน จะเป็นแรงขับเคลื่อนดันให้ SET INDEX ขยับขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้ต่อเนื่องในเดือนกค.เป้าหมาย1500-1520 จุด
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยเดือนกค. : คาดดัชนีฯ ผันผวนสูง แนวต้าน1500/1520 จุด แนวรับ 1430/1410 จุดโมเมนตัมบวกจะมาจาก นโยบายปฏิรูปพลังงาน สื่อสาร โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของคสช. ที่คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น และหนุนความเชื่อมั่นในประเทศ และเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังฟื้นตัวต่อเนื่องไปถึงปีหน้า ขณะที่ความเสี่ยงจะมาจาก ความผิดหวังต่อรายงานผลกำไรบจ.ในประเทศ (กลุ่มแบงก์เริ่มทยอยประกาศกลางเดือน ก.ค. เป็นต้นไป ต่อด้วยกลุ่มวัสดุก่อสร้าง) และบจ.ในสหรัฐฯ (เริ่มทยอยประกาศสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ก.ค.) ส่วนประเด็นที่ต้องติดตาม คือ ปัญหาสงครามในอิรักที่อาจยืดเยื้อและลุกลามกลายเป็นสงครามกลางเมือง และผลประชุมอีซีบี อาจมีความคืบหน้าต่อการออก QE ในอนาคต
Recommend Stocks: เดือน ก.ค. แนะนำลงทุน INTUCH SCCC (Dividend Play) GFPT PTTEP (Global play) KBANK QH SCP (การบริโภคการลงทุนในประเทศ) GUNKUL (พลังงานทดแทน) IVL JAS (มีประเด็นบวก)
July Statistic : สถิติย้อนหลัง 10 ปี (ปี 47-56) พบว่ามีโอกาส 70% ที่ ดัชนีฯ เดือน ก.ค. ปิดปรับขึ้น ด้วยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +2.01%m-m Max +10.68% (ปี 50) Min -12.01% (ปี 51) ขณะที่เดือน ส.ค. และ ก.ย. ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย -0.38%m-m และ +1.22%m-m ตามลำดับ
Fund Flow: สถิติเดือน ก.ค. ย้อนหลัง 10 ปี (ปี 47-56) พบว่า นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิเฉลี่ย +7.12 พันลบ. ก่อนกลับมาขายสุทธิเดือน ส.ค.-8.67 พันลบ. และกลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งเดือนก.ย. +7.78 พันลบ.
Catalysts: 1. การเดินหน้าโครงการคมนาคมภาครัฐฯ ซึ่งเป็นผลบวกทั้งกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรง (รับเหมาฯ วัสดุ นิคมฯ ธนาคาร) และกระตุ้นการจ้างงาน 2. ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนและการลงทุนคาดมีสัญญาณผ่านจุดต่ำสุด 3. มาตรการคสช. ในประเด็นปฏิรูปพลังงานและโครงการกสทช. ที่ถูกระงับ มีความชัดเจนในเดือน ก.ค.
Concerns: 1. ปัญหาความรุนแรงในตะวันออกกลาง ที่หนุนราคาน้ำมันดิบปรับสูงขึ้น 2. การส่งออกยังไม่ฟื้นตัว และคาดปีนี้อาจเติบโตได้เพียง 2.1% และความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ 3. กระแสเงินทุนต่างชาติที่ยังคงไหลออกจากไทย ทำให้การปรับขึ้นของดัชนีฯ ไม่มั่นคงนัก
Investment Strategy: เน้นหุ้น Domestic Play ที่ได้รับผลบวกจากนโยบายคสช. รวมถึงการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนประเทศ เราคาดว่าโอกาสสูงที่ดัชนีฯ จะปรับขึ้นไปซื้อขายที่บริเวณ PER 15.5 เท่า (เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี +1.0 SD) ซึ่งดัชนีฯ จะมีเป้าหมายใหม่ที่ 1,556 จุด ส่วนการประมาณการผ่านวิธี Bottom Up approach อยู่ที่ 1554 จุด จากปัจจุบันที่ 1440 จุด อิง P/E 14.4 เท่า (เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี +0.5 SD) และอัตราการเติบโตผลกำไรที่ 11.7%
ส่วน Events Play ที่จะมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทย ได้แก่
1. หุ้นเกาะกระแสฟุตบอลโลก ระหว่าง 12 มิ.ย. - 13 ก.ค. (เราพบว่า ผลกระทบต่อราคาหุ้นกลุ่ม ICT(ADVANC TRUE) กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค (CPALL MINT CENTEL) จะมีเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างการถ่ายทอดฟุตบอลโลก
2. หุ้น Earnings Plays : เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไร 2Q57 เติบโตดี อาทิ GOLD TMB BAY KTB SCB BIGC PTTEP SCCC IVL และหุ้นที่มีการปรับประมาณการกำไรดีขึ้น 10% ได้แก่ TRUE CFRESH TRT EA RML GUNKUL MALEE HANA
เทคนิค : ขึ้นสลับย่อ
คาดดัชนีฯผันผวนสูง หลังจากสามารถขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญ 1480 จุดได้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ดัชนีฯมีโอกาสสูงขึ้นจะขึ้นไปแตะแนวต้านต่อไปที่ 1497จุด (Fibonanci) ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1474 จุด (SMA 5 วัน) และ 1468 จุด(SMA10วัน) โดยมีสัญญาณเตือนการปรับฐานรอบสั้นๆ อิง Stochastic, RSI ที่เริ่มเกิดสัญญาณ Overbought และอาจเปลี่ยนเป็น Sell Signal ดังนั้น นักลงทุนที่เน้นเล่นรอบ อาจพิจารณาขายลดพอร์ต โดยมีจุดซื้อคืนบริเวณ 1468/1450 จุด
- ตลาดโภคภัณฑ์: ราคาทองคำ ปรับขึ้นเล็กน้อย +0.26%w-w (จากสัปดาห์ก่อน +3.34%w-w) เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่ๆในอิรัก แต่ยังได้ประโยชน์จากค่าเงินดอลล์สหรัฐฯที่อ่อนค่าเทียบตะกร้าสกุลหลักเป็นสัปดาห์ที่สอง ส่วนราคาน้ำมันดิบลดลง 1.02-1.32%w-w จากแรงขายทำกำไร และไม่มีสัญญาณลบเพิ่มเติมในอิรัก ขณะที่ ค่าระวางเรือลดลงอีก -8.08%w-w (จาก -0.22%w-w) จากปัจจัยฤดูกาล ที่ค่าระวางเรือจะเริ่มชะลอตัวในช่วงปลาย มิ.ย. – ส.ค.
+ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน : สกุล EUR มีการ Unwind Short Position ส่งผลบวกต่อค่าเงินยูโร และถ่วงค่าเงินดอลล์สหรัฐฯอ่อนค่าลง
USD: มีแรงขายออก -$4.9bn. ส่งผลสะสม Net Long ลดลงเหลือ +$6.1bn. โดยเป็นการลดโพสิชั่นสกุลดอลล์สหรัฐฯต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง หลังสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้
EUR : หลังอีซีบีประกาศลดดอกเบี้ยตั้งแต่ต้นมิ.ย. ก็เริ่มมีการ Unwind สกุล EUR ที่มีการ Short จำนวนมาก โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา มี Long คืน +$2.0bn. เป็นสะสมสุทธิ -$8.5bn. โดยมีแรงซื้อคืนเริ่มกลับเข้ามาต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ และถ่วงดอลล์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเทียบตะกร้าสกุลหลัก (เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นเอเชีย และสินค้าโภคภัณฑ์)
THB/USD ทรงตัว : สัปดาห์ก่อน แข็งค่าเล็กน้อย -0.06%w-w เป็น 32.43 บาท/USD (Vs สัปดาห์ก่อน +0.31%w-w ) เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินดอลล์เทียบสกุลหลัก ช่วยหนุนค่าเงินบาทและสกุลเอเชีย
ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการรัฐขนาดใหญ่
ประเด็นการเมือง (Update):
จ่อคลอดรธน.ชั่วคราว รายงานความคืบหน้าการจัดทำร่างรัฐธรรมฉบับชั่วคราวขึ้นมาบังคับใช้ว่า ขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้ร่างเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.กำหนดให้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของ คสช.ทั้งหมด 200 คน คาดว่าจะเป็นนายทหารประจำการประมาณ 50% อาทิ แม่ทัพภาค ผู้บัญชาการหน่วย เป็นต้น ที่เหลือจะเป็นการแต่งตั้งจากสาขาอาชีพต่างๆ
2.สภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน 250 คน ในจำนวนนี้จะมีตัวแทนจากจังหวัดละ 1 คน จำนวน 77 จังหวัด ที่เหลือจะสรรหาตามสาขาวิชาชีพต่างๆ สำหรับคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะมีทั้งหมด 35 คน แบ่งเป็น สภาปฏิรูปฯ 20 คน คณะรัฐมนตรี (ครม.) 5 คน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 5 คน และ คสช. 5 คน
คตร.ให้ตรวจสอบเพิ่มเติม 10 โครงการลงทุนรัฐ, สุวรรรณภูมิ เฟส 2 โดนด้วย คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) จะตรวจสอบเพิ่มเติม การดำเนินงานใน 10 โครงการใหญ่ ซึ่งเบื้องต้นพบว่า มีโครงการที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม 4 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 2) โครงการ Set Top Box ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) มูลค่าราว 2.5 หมื่นล้านบาท 3) โครงการระบบ 3G มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท ซึ่ง คตร.มีข้อสงสัยเรื่อง การแบ่งสัดส่วนรายได้ให้กับเอกชน และ 4) โครงการจัดซื้อหัวรถจักร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 20 คัน
คสช.หวัง'อียู'คำนึงสัมพันธ์หลายด้านกับไทย ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการประชุมของคณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป (อียู) แถลงการณ์ยุติความร่วมมือไทยและเรียกร้องให้ไทยมีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุดว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศกำลังดำเนินการชี้แจงอย่างเต็มที่ เชื่อว่านักธุรกิจของอียูที่อยู่ประเทศไทยรวมถึงฝ่ายการฑูตต่างๆ ที่อยู่ในไทยคงมีโอกาสชี้แจงไปยังประเทศในอียูให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ยิ่งขึ้น
คสช.สั่งแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงหลายตำแหน่ง,โยกย้ายปลัดพาณิชย์-พลังงาน หัวหน้า คสช.กล่าวว่า ขณะนี้การร่างธรรมนูญฉบับชั่วคราว เสร็จสิ้นแล้ว และคาดว่าจะนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ค. นี้ พล.อ.ประยุทธ์ ระบุด้วยว่า หลังมีธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว จากนั้น 1 เดือน จะมีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หลังจากนั้นจะตั้งคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในเดือน ก.ย. นี้ และจะมีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำงานได้ราวเดือนต.ค.เพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ
2.Fund Flow Weekly ระหว่าง 19-25 มิ.ย. พบว่า ขายหุ้น DM แต่ยังคงซื้อ EM เบาบาง ส่วนไทยยังมีแรงขายต่อ
Recommendation : แนะนำ บจ.คาดว่ารายงานกำไรเติบโตดีหรือมีปันผลระหว่างกาล ได้แก่ SCB PTTEP ADVANC TRUE MINT
Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (19-25 มิ.ย. 57) เงินทุนย้ายเข้า Bond Funds แทน Equities Funds และไหลออกจาก EU ครั้งแรกรอบ 52 สัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนโลกมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยกลับมาขายสุทธิ Equities Fund จำนวนเล็กน้อย -$0.6bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +$12.6bn. +$11.3bn. -$2bn. สะสม YTD +$68.3bn.) และกลับมาซื้อพันธบัตร +$4.7bn. หลังจากขายสุทธิสัปดาห์ก่อนเป็นสัปดาห์แรกนับตั้งแต่เดือน มี.ค. -$2.3bn. ส่วนสัปดาห์ก่อนหน้า +$1.6bn.+$4.24 bn.+$6.3bn.ตามลำดับ สะสม YTD+$99.5bn.)
ตลาดหุ้น Developed Markets กลับมาถูกขายสุทธิ -$1.9bn.(Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +$12.6bn.+$9bn. +$1.1bn.ตามลำดับ) ตลาดหุ้น USA มีแรงซื้อต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 แต่ด้วยจำนวนปานกลาง +$1.5bn. (Vs สัปดาห์ก่อน+$5.3bn. +$10bn.) ขณะที่ ตลาดหุ้น Europe ถูกขายสุทธิเป็นครั้งแรก หลังซื้อต่อเนื่อง 51 สัปดาห์ จำนวน -$1.2bn. Vs สัปดาห์ก่อน +$1.4bn. +$2.9bn +$1.1bn.) สะสมสุทธิ $98.8 bn.ส่วน Emerging markets ยังคงมีแรงซื้อต่อเนื่อง +$1.3bn.(Vs สัปดาห์ก่อน +$1.5bn. +$2.3bn.) โดยกองทุน GEM มีแรงซื้อต่อเนื่อง แต่ด้วยปริมาณเล็กน้อย +$445mn Vs +$643mn. +$2.3bn. ตามลำดับ)
6 ชาติเอเชียฯ มีแรงซื้อต่อเป็นสัปดาห์ที่ 7 แต่ด้วยปริมาณลดลงมาก ส่วนไทย กลับมามีแรงขายสุทธิสูงถึง 180 ล้านดอลล์
สำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า มีแรงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่7 แต่ด้วยปริมาณลดลงเหลือ+$240mn. (Vsสัปดาห์ก่อนหน้า+$1.6bn. +$2.1bn.ตามลำดับ) และซื้อสุทธิเพียง ไต้หวัน +646mn. (ซื้อเป็นสัปดาห์ที่ 19 สะสม $11.3bn. หรือ 2.3%ของขนาด MSCI Taiwan Market Cap.) ขณะที่ตลาดหุ้นไทย มีแรงขายสุทธิสูงสุด -$184mn.(Vs สัปดาห์ก่อนหน้า ขาย -$180mn.. +$25mn. +$68mn. -$538mn. และ -$379mn. ตามลำดับ) และเกาหลีใต้ ขายต่อเป็นสัปดาห์ที่สอง -$152mn.(Vs สัปดาห์ก่อนหน้า -$93mn.)
ผลสำรวจน้ำหนักลงทุนใน MSCI AC Asia Ex-Japan พ.ค. พบว่าเพิ่มน้ำหนักลงทุนในอินเดีย สิงคโปร์ เน้นกลุ่มการเงิน กลุ่มเทคฯ
สัปดาห์ก่อน มีการประกาสผลน้ำหนักลงทุนดัชนี MSCI AC Asia-ex Japan Index ณ สิ้นเดือนพค พบว่า มีการเพิ่มน้ำหนักลงทุน 0.5 ppt ในอินเดีย +0.3 ppt ในสิงคโปร์ และลดน้ำหนักเกาหลีใต้ลง -0.3 ppt และมาเลเซีย -0.3 ppt ส่วนอุตสาหกรรมฯ เพิ่มน้ำหนักกลุ่มการเงิน +1ppt กลุ่มเทค +0.4 ppt และลดน้ำหนักกลุ่ม Utilities -0.6 ppt Health Care -0.6 ppt ขณะที่แรงซื้อตลาดหุ้นเอเชียแปซฟิคไม่รวมญี่ปุ่น มีต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 นำโดยไต้หวัน
-3. Earnings Outlook: Bloomberg Earnings Revision: ยังคงปรับลดประมาณการกำไรลงต่อเนื่องในเดือนมิ.ย. (ปี 57 เป็น 13.7% จากเดิม 15.5%, ปี 58F เป็น 14.8% จากเดิม 15.9% นำลงโดยกลุ่มขนส่ง Tourism Bank)
BB Consensus ถูกปรับลดประมาณการกำไรเติบโตปี 57F-58F ลงต่อเนื่องในเดือน มิ.ย.
คาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปี 57F และ 58F ยังปรับลงต่อเนื่องในเดือน มิ.ย. อิง consensus ที่คาดผลกำไรของตลาดฯ เติบโตที่ 13.7% และ 14.8% จากเดิม คาดไว้ที่ 15.5% และ 15.9% ในปี 57F และ 58F ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เรามีมุมมองบวกมากขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลัง แต่จากปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อเกือบตลอดครึ่งปีแรก ทำให้กำไรของบจ. ในครึ่งปีแรกถูกปรับลดลงต่อเนื่อง และส่งผลกำไรทั้งปีลดลงด้วย สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปรับคาดการณ์กำไรปี 57F เพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 1เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ +6.8% กลุ่มสื่อสาร +2.2% และกลุ่มโรงพยาบาล +1.9% ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปรับคาดการณ์กำไรปี 57F ลดลงสูงสุด ได้แก่ กลุ่มขนส่ง -5.6% กลุ่มท่องเที่ยว -5.0%และกลุ่มธนาคาร -4.4%
สำหรับคาดการณ์ผลกำไรบจ.2Q57F พบว่า แบงก์ทิสโก้จะประกาศงบวันแรก 10 ก.ค. แต่บจ.ที่คาดว่าจะรายงานกำไรเติบโตดีขึ้น y-y q-q ได้แก่ TMB BAY SCB KTB BIGC PTTEP
+4. กสทช.คาดแจกคูปอง Set Top Box ให้ปชช.ได้ ภายใน ก.ย. แนะเก็งกำไร AJD SAMART
กสทช.ระบุในเอกสารเผยแพร่ว่า จะมีการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนต่อเรื่องการให้คูปอง Set Top Box โดยใช้เวลา 15 วัน คาดแล้วเสร็จในวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 หลังจากนั้นจะเสนอ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)พิจารณา โดย ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช.มีมติเห็นชอบให้นำเรื่องการแจกคูปองดังกล่าว ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดยประเด็นเกี่ยวกับ จำนวนครัวเรือน, ราคาคูปอง ว่าจะเป็นเริ่มต้นตามประกาศราคาขั้นต่ำ 690 บาทหรือสูงกว่านั้น, วงเงินที่จะใช้สนับสนุน ทั้งหมด, คูปองจะสามารถแลกอะไรได้บ้าง
+5. กกพ. ลุยอนุมัติโรงไฟฟ้ามิ.ย. 46 ราย แนะเก็งกำไรกลุ่มพลังงานทางเลือกต่อเนื่อง (GUNKUL SOLAR)
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความความคืบหน้าการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ ร.ง.4 ในส่วนของโครงการโซลาร์รูฟท็อฟ ในช่วงเดือน มิ.ย. กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการส่งคำขอผลิตไฟฟ้าประเภทกิจการโรงงานมายังสำนักงาน กกพ. จำนวน 23 รายกำลังการผลิตรวม 757.71 เมกกะวัตต์ แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ จำนวน 4 ราย กำลังผลิต 378.49 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) จำนวน 6 ราย กำลังผลิต 55.04 เมกกะวัตต์และโรงไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกอื่น (ลม ขยะชุมชน ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ) อีกจำนวน 13 ราย กำลังผลิตรวม 324.18 เมกกะวัตต์ ซึ่งสำนักงาน กกพ. มั่นใจว่าจะสามารถพิจารณาอนุญาตให้แล้วเสร็จได้ภายในกรอบระยะเวลา 30 วัน โดยที่ผ่านมา กกพ. ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบการออกใบอนุญาต ร.ง.4 ไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 512 ราย รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 9,241.84 เมกกะวัตต์
+/- 6. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : จับตา วันจันทร์ EU CPI มิ.ย. คาด +0.6%y-y วันอังคาร China Official PMI Mfg มิ.ย. คาด 51 (Vs 50.8) วันพุธ-พฤหัสฯ USA การจ้างงานเอกชน มิ.ย. คาด +205k(Vs +179k) และการจ้างงานนอกภาคเกษตร มิ.ย. คาด+213k (+217k)
วันจันทร์: USA: Chicago PMI มิ.ย. คาด 62.+9 (Vs 65.5) Pending Home Sales พ.ค. คาด +0.8%m-m(Vs 0.4%) EU:Flash CPI มิ.ย. คาด +0.6%y-y(Vs 0.5%) Thai: ดุลบัญชีเดินสะพัด พ.ค. คาด -$1.2bn. (จาก -643mn.)
วันอังคาร: ตลาดหุ้นไทยปิดทำการ และ CPI มิ.ย. คาด 2.5%y-y (Vs 2.6%) USA: ISM mfg มิ.ย. คาด 55.8(Vs 55.4) Australia: ผลประชุมธนาคารกลาง คาดคงดอกเบี้ยที่ 2.5%
วันพุธ: USA: การจ้างงานภาคเอกชน ADP มิ.ย. คาดเพิ่มขึ้น 205k (vs 179k) ยอดสั่งซื้อโรงงาน พค คาด +0.3%m-m (Vs 0.7%) EU:1Q57F GDP final คาด 0.2%q-q
วันพฤหัสบดี: USA:การจ้างงานนอกภาคเกษตร มิ.ย. คาดเพิ่มขึ้น 213k (Vs217k) อัตราว่างงาน 6.3% ISMภาคบริการ มิ.ย. คาด 56.7(Vs 56.3) ECB Meeting คาดคงดอกเบี้ยที่ 0.15%
ศุกร์: USA ตลาดหุ้นปิดทำการ Germany:Factory Orders พ.ค. คาด -1%m-m (Vs +3.1%)
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไทยเดือน พ.ค. ลดลง 4.08% เทียบรายปี,กำลังการผลิตอยู่ที่ 61.41% สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค. ลดลง 4.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับที่ลดลง 4.1% ในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 14ติดต่อกัน ตัวเลข MPI ดังกล่าว หดตัวมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า MPI ในเดือนพ.ค. จะลดลง 3.75% ขณะที่ เมื่อเทียบรายเดือน MPI เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 1.1% จากเดือนก่อนหน้า โดย MPI ที่ลดลง ในเดือนพ.ค.เป็นผลจาก การผลิตที่ลดลงในอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องเพชรพลอย เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง และรถจักรยานยนต์
ญี่ปุ่น เผยอัตราว่างงานแตะ 3.5% ในเดือนพ.ค. ต่ำสุดในรอบ 16 ปี อัตราการว่างงานในญี่ปุ่น ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ร่วงลงสู่ 3.5% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1997 และเป็นระดับที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ระบุว่า ใกล้มีการจ้างงานอย่างเต็มที่ ในช่วงเวลาเดียวกัน ตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1992 ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ขณะที่เขาพยายามที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากประสบภาวะชะงักงันมานาน 20 ปี
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดเพิ่มขึ้นจากหุ้น Apple หนุน
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดเพิ่มขึ้น โดยดัชนี DJIA ปิดบวก 5.71 จุดหรือ 0.03% สู่ระดับ 16,851.84 จุด, ดัชนี S&P 500 ปิดสูงขึ้น 3.74 จุด หรือ 0.19% สู่ระดับ 1,960.96 จุด Nasdaq ปิดขึ้น 18.88จุด หรือ 0.43% สู่ระดับ 4,397.93 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐปิดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ตามหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี แต่ตลาดหุ้นปรับขึ้นได้ไม่มากนักเพราะได้รับแรงกดดันจากการที่บริษัทดูปองท์คาดการณ์ผลประกอบการ 2Q57Fและผลประกอบการตลอดปีที่อ่อนแอ ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ร่วงลง 0.6%, ดัชนี 500 ปิดขยับลง 0.1 % และดัชนี Nasdaq ปิดตลาดบวกขึ้น 0.7%
หุ้นดูปองท์ดิ่งลง 3.3 % สู่ 65.44 ดอลลาร์ และถือเป็นหนึ่งในหุ้นที่ดิ่งลงมากที่สุดในดัชนีดาวโจนส์และ S&P 500 หลังจากดูปองท์ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรจากการดำเนินงานสำหรับช่วงไตรมาสสองและสำหรับตลอดทั้งปีในวันพฤหัสบดี โดยให้เหตุผลว่ายอดขายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรชะลอตัวลง ดูปองท์ถือเป็นบริษัทล่าสุดที่ออกประกาศเตือนสำหรับช่วงไตรมาสสอง โดยขณะนี้สัดส่วนบริษัทที่คาดการณ์ในทางลบต่อบริษัทที่คาดการณ์ในทางบวกอยู่ที่ 4.2 ต่อ 1 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 2.6 ต่อ 1 ฤดูการรายงานผลประกอบการจะเริ่มต้นในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งจะช่วยส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐและผลกำไรภาคเอกชนกำลังฟื้นตัวขึ้นหรือไม่
นายมาร์ค ลุสกินี หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทแจนนีย์ มอนต์โกเมอรี สก็อตต์กล่าวว่า "ราคาหุ้นในตลาดสหรัฐขณะนี้มาถึงระดับที่ทำให้นักลงทุนกังวลมากขึ้นเรื่อยๆว่าควรจะลงทุนต่อไปหรือไม่ ถ้าหากไม่มีหลักฐานชัดเจนที่ระบุว่า เศรษฐกิจกำลังดำเนินไปในแนวทางที่ถูกต้อง ค่าพีอีเรโชของดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 15.9 เท่าของคาดการณ์ผลกำไรซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008
- ตลาดหุ้นยุโรป รายสัปดาห์ปิดลดลงครั้งแรกในรอบ 11 สัปดาห์ และมีแรงขายสุทธิสูงสุดครั้งแรกสูงสุดรอบ 1 ปี
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรป ปิดคละ โดยดัชนี FTSE เพิ่มขึ้น 22.65 จุด หรือ 0.34% สู่ 6,757.77 จุด ดัชนี CAC ปิดอ่อนลง 2.64 จุด หรือ -0.06% สู่ 4,436.99 จุด และ DAX ปิดบวก 10.27 จุด หรือ 0.10% สู่ 9,815.17 จุด ตลาดหุ้นยุโรปปิดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ หลังจากเผชิญกับแรงเทขายมานานหนึ่งสัปดาห์ โดยหุ้นบริษัทแอร์บัสของฝรั่งเศสพุ่งขึ้น หลังจากแหล่งข่าวกล่าวว่า บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินแห่งนี้มีแนวโน้มที่จะบรรลุข้อตกลงกับบริษัทโรลส์-รอยซ์ของอังกฤษในการซื้อเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินแอร์บัส A330
ดัชนี FTSEurofirst 300 ดิ่งลง 1.7 % ในสัปดาห์นี้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำของสหรัฐ และจากความกังวลเรื่องเหตุการณ์รุนแรงในอิรัก หลังจากดัชนี สามารถปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกได้นานถึง 10 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่กลางปี 2012 นักลงทุนถอนเงินลงทุนจำ นวนมากออกจากตลาดหุ้นยุโรปในสัปดาห์นี้ โดยบริษัท แบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ โกลบัล รีเสิร์ชรายงานว่า กองทุนหุ้นยุโรป เผชิญกับเงินลงทุนไหลออก 1.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นยอดเงินไหลออกที่สูงที่สุดในรอบกว่าหนึ่งปี
*ราคาน้ำมันดิบ ปิดคละ รอสถานะการณ์ในอิรัก
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ส.ค. ปรับขึ้น 9 เซนต์ สู่ 113.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymexส่งมอบ ส.ค. ร่วงลง 10 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 105.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล น้ำ มันดิบปิดไร้ทิศทาง เนื่องจากนักลงทุนจับตาสถานการณ์ความไม่สงบในอิรัก ชาติผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 2 ของโอเปก
+ราคาทองคำ ปิดบวก จากการหันมาถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด เพิ่มขึ้น 3 ดอลล์ลาร์ หรือ +0.23% สู่ 1,320 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปัญหาความไม่สงบในอิรักและยูเครน ยังเป็นแรงหนุนชั้นดีที่ผลักดันให้นักลงทุนหันมาถือครองทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และประกอบกับดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเทียบสกุลหลักเป็นสัปดาห์ที่สอง แม้ดัชนีความเชื่อมั่นของ ม.มิชิแกน มิ.ย. ออกมาดีกว่าคาด 82.5 Vs คาด 82.0 จากโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น ลดลง
+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index กลับมาปิดขึ้นเล็กน้อย หลังร่วง 4 วัน
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index กลับมาฟื้นตัว 7 จุดหรือ 0.85% สู่ระดับ 831 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501
[email protected]
02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564
[email protected]
02-624-6270