WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ตลาดยังขาดแรงหนุนที่ชัดเจน ขณะที่ตลาดยังรอผลการดำเนินงานของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ และที่จะประกาศเพิ่มเติมคือ การลดภาษีการโอนและจดจำนอง ซึ่งช่วยหนุนกำลังซื้อ นับว่าดีต่อ Developers ยังเลือก SPALI([email protected]) เป็น Top Pick

สหรัฐยังฟื้นตัว แต่ยังมีความเสี่ยงจากภายนอกทำให้มีโอกาสยืดการขึ้นดอกเบี้ยออกไป
       การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจีนยังคงสะท้อนภาวะชะลอตัวต่อเนื่อง โดยวานนี้พบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเดือน ก.ย. ของจีน (Markit PMI) ยังคงทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าคือ 49.8 เทียบกับ 49.7 ในเดือนก่อนซึ่งเป็นค่าต่ำสุดในรอบ 3 ปี (สอดคล้องกับ PMI ของ Caixin ปรับตัวลดต่ำสุดในรอบ 6.5 ปี ที่ 47.2 จากเดือนก่อนที่ 47.3 สะท้อนการหดตัวของเศรษฐกิจจากดัชนีที่ยังคงอยู่ระดับต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2) ขณะที่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ส.ค. (ซึ่งสะท้อนต้นทุนผู้ผลิต) ที่ยังคงหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 42 โดยที่ลดลง 5.9% ตรงกันข้ามกับอัตราเงินเฟ้อ ของผู้บริโภคเดือนเดียวกัน ยังคงปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 1.6% จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์จำพวกอาหารสดราคาเพิ่มขึ้น อันเป็นผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในปีก่อน จึงคาดว่ามีโอกาสที่ธนาคารกลางจีนจะใช้นโยบายทางการเงิน ผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและ RRR อีกครั้งแม้ว่าจะได้ทำการปรับลดไปแล้ว 4 ครั้งในปีนี้ ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นบวกที่ตลาดน่าจะให้น้ำหนักมากขึ้นในระยะถัดไป
       ตรงข้ามกับสหรัฐ การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ เพิ่มเติมเป็นการตอกย้ำการฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังมีความขัดแย้งกันบ้างกล่าวคือ ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก สัปดาห์ล่าสุดพบว่าเพิ่มขึ้น 10,000 รายจากสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ภาคการผลิตยังทรงตัว กล่าวคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)ที่รายงานอยู่ที่ระดับ 53.1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากเดือนก่อนที่ 53 ทำให้ ASPS ประเมินว่าโอกาสที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย น่าจะเลื่อนเป็นปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า (2559)

แม้เงินเฟ้อยังติดลบ แต่มาตรการกระตุ้นฯ จะช่วยหนุนกำลังซื้อในงวด 4Q58
       วานนี้กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. ติดลบ 1.07%YoY ดีขึ้นเล็กน้อยจาก ติดลบ 1.19%YoY ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังเป็นการติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ทั้งนี้เหตุผลหลักๆ ที่เงินเฟ้อยังคงติดลบ เกิดจากสินค้าที่มิใช่หมวดอาหาร ได้แก่ หมวดพลังงานลดลง 16.58% และน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 23.58% ตรงกันข้ามกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.31% อย่างไรก็ตามตลอด 9 เดือนของปี 2558 (YTD) พบว่าเงินเฟ้อยังคงติดลบ 0.9% ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยประมาณการอัตราเงินเฟ้อ ตลอดทั้งปีไว้ที่ติดลบ 0.83% (ภายใต้สมมติฐาน ราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 53 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ทั้งนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อยังติดลบต่อเนื่องแต่เชื่อว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เหลืออีก 2 ครั้ง จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ ณ ระดับเดิมที่ 1.5% เนื่องจากรัฐบาลได้ออกมาตรการทางการคลังเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น–กลาง-ยาวไว้แล้ว ซึ่งคาดว่าได้ทยอยอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. เป็นต้นไป ซึ่งน่าจะเห็นผลชัดเจนขึ้นในงวด 4Q58 นอกจากนี้ เงินบาทได้อ่อนค่าต่อเนื่องนับตั้งแต่กลางเดือน เม.ย. จนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องมากถึง 12.69% (จาก 32.38 มาอยู่ที่ 36.48บาทต่อดอลลาร) เช่นเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคคือ เงินเปโซของฟิลปิ ปินส์ ออ่ นค่า 5.86% ค่าเงินรูเปียะห์ของอินโดนีเซีย อ่อนค่า 13.9% ยกเว้นเงินริงกิตของมาเลเซียที่อ่อนค่า 25.35% นับว่า อ่อนค่ามากสุดในภูมิภาค
      และการที่ฟิทช์เรทติ้งส์ ซึ่งเป็น 1 ในบริษัทจัดอันดับเครดิตระดับโลก ได้ทำการปรับลด GDP Growth ของไทยเหลือ 2.7% ในปีนี้และ 3.5% ปีหน้า แต่ยังคงให้อันดับเครดิตประเทศไทย BBB+ และมีมุมมองที่เป็น Stable แต่อย่างไรก็ตามการตัดลด GDP ถือว่าสอดคล้องกับหน่วยงาน/นักเศรษฐศาสตร์ของไทยหลายแห่งที่ทยอยปรับลดไปแล้วก่อนหน้านี้ และนับว่าใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของ ASPS (รายละเอียดดังปรากฏใน Economic Update 17 ก.ย. 2558) เชื่อว่าประเด็นนี้จึงน่าจะมีน้ำหนักต่อตลาดน้อย แต่เชื่อว่าตลาดน่าจะให้ความสำคัญกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเริ่มเห็นผลนับจากนี้

มาตรการลดภาษีอสังหาฯ กระตุ้นกำลังซื้อ: SIRI, PS, SPALI
      ตลาดหุ้นไทยระยะนี้แกว่งตัวค่อนข้างแคบ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ขาดปัจจัยบวกใหม่ๆ โดยเชื่อว่าตลาดน่าจะรอดูผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐที่ได้ประกาศมาก่อนหน้า อาทิ การอัดฉีดเม็ดเงินผ่านกองทุนหมู่บ้าน การอัดฉีดเม็ดเงินตำบลละ 5 ล้านบาท และการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) จะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายของประชาชนฐานรากได้ในระยะสั้น รวมทั้งล่าสุดที่ ก.คลังเตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่ที่ประชุม ครม. ในวันที่ 6 ต.ค. นี้ โดยมาตรการช่วยเหลือน่าจะประกอบด้วย การปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองลงเหลือ 0.01% ของราคาประเมิน โดยจะกำหนดระยะเวลาของมาตรการดังกล่าวเป็นช่วงสั้น 6 เดือน ถึง 1 ปี พร้อมผ่อนปรนเงื่อนไขสินเชื่อ ผ่านการขยายสัญญาเงินกู้มากกว่า 30 ปี ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเชื่อว่าจะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝั่ง คือ ผู้บริโภคที่เกิดความลังเล เกิดการตัดสินใจซื้อบ้านเร็วขึ้น ส่วนผู้ประกอบการที่ชะลอการลงทุน ก็อาจจะทบทวนแผนการลงทุนเพิ่มได้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ตลาดอสังหาฯ คึกคักมากขึ้น
      ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินกลุ่มผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยที่ได้ประโยชน์มากสุด ประกอบด้วย กลุ่มบริษัทที่มีสต๊อกบ้านสร้างเสร็จพร้อมขาย ซึ่งโดยปกติจะสามารถโอนฯ ได้ระยะสั้น 1.5-2 เดือน รวมถึงการระบายสต๊อกคอนโดฯ ที่สร้างเสร็จพร้อมโอนฯ จะทำให้ได้ง่ายขึ้นกลุ่มที่มี Backlog สะสมอยู่ในระดับสูงของผู้ประกอบการที่จะรอโอนฯ ใน 2H58 และผู้พัฒนาบ้านพร้อมอยู่ เนื่องจากสามารถขายบ้านใหม่ได้ทันในช่วงอายุมาตรการ
สำหรับ Rejection Rate นั้น ฝ่ายวิจัยประเมินว่าไม่น่าเป็นห่วงนัก เนื่องจากระดับ 20-30% ถือเป็นระดับปกติ และมักเกิดขึ้นกับแนวราบที่มีราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทลง ขณะที่ผู้ประกอบการจะมีสินค้าที่กระจายไปยังกลุ่มอื่นๆ ที่จะมาช่วยชดเชย ดังนั้นประเด็นดังกล่าวจึงไม่น่ากังวล
โดยฝ่ายวิจัยประเมินว่า ผู้ประกอบการ 15 รายภายใต้ coverage มีแนวโน้มที่จะบันทึกรายได้ในงวด 2H58 ดีขึ้นกว่า 1H58 เนื่องจากมีกำหนดการโอนฯ และบันทึกรายได้จากคอนโดฯ กว่า 5.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นสร้างเสร็จ 3Q58 ประมาณ 2.39 หมื่นล้านบาท และจะสูงสุดใน 4Q58 อีก 3.2 หมื่นล้านบาท กลุ่มบริษัทที่คาดโดดเด่นสุดใน 3Q58 ได้แก่ SPALI, SIRI, LPN และ AP ส่วนบริษัทที่คาดจะโดดเด่นสุดใน 4Q58 คือ PS, SC, ANAN, QH และ LH ทั้งนี้ หากพิจารณาในส่วนของหุ้นที่มีพื้นฐานโดดเด่น 2H58 อีกทั้งราคาหุ้นยังมี upside และ Div Yield สนใจ รวมถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นยัง Laggard ในกลุ่มฯ และ PER ปัจจุบันยังต่ำกว่า 10 เท่า ฝ่ายวิจัยเลือก SPALI ([email protected]) เป็น Top pick

ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2
     วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 196 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) โดยเป็นการซื้อเกือบทุกประเทศ ยกเว้น อินโดนีเซียที่การขายสุทธิอยู่ประเทศเดียว คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 12 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 107 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 88 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิราว 7 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนไทยต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 5 ล้านเหรียญ หรือ 198 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 446 ล้านบาท แม้ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง แต่คาดว่ากระแสเงินทุนจากต่างชาติน่าจะยังไม่ไหลกลับเข้ามามากนัก เนื่องจากยังมีความเสี่ยงจาก ทิศทางค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 36.49 บาท/ดอลลาร์ ส่งผลให้ต่างชาติน่าจะชะลอการลงทุนออกไปก่อน
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 16,534 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1,647 ล้านบาท

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!