- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 02 October 2015 16:25
- Hits: 1107
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
แม้ SET ยังผันผวนย้อนลบ แต่คาดมีลุ้นแรงซื้อดันกลับขึ้นได้!!
กลยุทธ์ : แม้ว่า SET จะแกว่งผันผวนและกลับมาย้อนลบอีกครั้ง แต่แรงขายไม่หนาแน่นมากนัก ทำให้ FSS ยังคาดว่ากรอบลบน่าจะมีค่อนข้างจำกัด ขณะที่ราคาหุ้นยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ทำให้ยังมีสิทธิมีแรงซื้อกลับเข้ามาช่วยหนุนได้อีก ดังนั้นเลือกหุ้นทยอยซื้อช่วงลบได้ แล้วเน้นถือต่อเนื่องไว้ก่อน
หุ้นเด่นทางเทคนิค : COM7, S, ANAN(short)
แนวโน้ม : SET กลับปรับย้อนลบอีกครั้งในภาคบ่ายวานนี้ หลังจากช่วงเช้าแกว่งด้านบวกต่อเนื่องได้ แต่ก็ยังมีแรงขายกดดันให้ผันผวนตลอด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่ต่อเนื่อง ขณะที่เช้านี้ยังมาถูกกดดันจากการปรับตัวลงของตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปเมื่อคืนนี้อีก หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทาง โดยแม้ว่าข้อมูลด้านแรงงานจะยังคงแข็งแกร่ง แต่ข้อมูลภาคการผลิตกลับอ่อนแรงลง โดยขยายตัวต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีในเดือน ก.ย. นอกจากนี้ IMF ยังออกมาตอกย้ำด้วยการคาดการณ์ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มอ่อนแอลงในปีนี้ด้วย ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็ยังอ่อนแอต่อเนื่อง และตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ก็กลับมาเปิดปรับตัวลดลงอีกครั้ง ทำให้มีสิทธิกดดัน SET ให้มีลักษณะแกว่งตัวด้านลบต่อเนื่องด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามในช่วงสายตลาดหุ้นเอเชียบางแห่งเริ่มมีจังหวะรีบาวด์กลับมาแกว่งด้านบวกได้ ขณะที่แรงขายในตลาดหุ้นบ้านเราวานนี้ก็ไม่ได้มีออกมาหนาตาเท่าใด ทำให้ FSS ยังคาดว่า SET น่าจะมีกรอบปรับตัวลงที่ค่อนข้างจำกัด และมีแนวโน้มที่จะพลิกกลับไปแกว่งตัวด้านบวกได้อีกครั้งตามคาดเดิม ดังนั้นยังแนะนำเน้นถือต่อเนื่องได้อยู่
แนวรับ 1343-1341 , 1339-1336 จุด
แนวต้าน 1348-1352 , 1356-1358 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$64 ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าไต้หวัน US$107 ล้าน ตามด้วยฟิลิปปินส์และไทย US$6.9 ล้าน และ US$5.5 ล้าน ตามลำดับ ขณะที่พลิกกลับมาไหลออกจากเกาหลีใต้ US$43.6 ล้าน และอินโดนีเซีย US$12.4 ล้าน เงินทุนส่วนใหญ่ที่ไหลกลับเข้าตลาดภูมิภาคในช่วงนี้หลังจากจีนรายงานภาคการผลิตปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มกระแสเงินทุนยังมีทิศทางไหลออกเพราะแม้ดัชนี PMI จะฟื้นตัวขึ้น แต่ยังอยู่ภาวะหดตัว
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) เงินบาทมีทิศทางทำนิวไฮต่อเนื่อง หากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่ประกาศคืนนี้ดีกว่าคาด (ตลาดคาดเพิ่ม 2.01 แสนตำแหน่งในเดือน ก.ย.) ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าต่อ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ก.ย. ยังลดลง 1.07% Y-Y (9M15 -0.9% Y-Y) เงินบาทมีโอกาสทำ new high ต่อเนื่อง หนุน fund flow ไหลออก
(+) ก.คลังจะเสนอมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ เข้าครม.สัปดาห์หน้า มาตรการที่จะใช้คาดว่าจะเป็นการลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% (ผู้ซื้อ-ผู้ขายรับคนละ 1%) เหลือ 0.01% และลดค่าจำนอง (เก็บจากผู้ซื้อ) จาก 1% เหลือ 0.01% ของราคาประเมิน มีผลใช้ชั่วคราว มาตรการดังกล่าวเป็นการช่วยลดภาระของผู้ซื้อ และเพิ่มกำลังซื้อสำหรับผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยจริง ถือว่าผู้ซื้อได้ประโยชน์ตรงจุดและไม่สร้างหนี้เสียในระบบเพิ่ม ส่วนผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์ในการได้ระบายสินค้าที่เหลือขายและได้ขายสินค้าใหม่ การมี Net profit margin เพิ่มขึ้นประมาณ 1% จากการลดค่าธรรมเนียมการโอน ถือเป็นผลพลอยได้ที่ผู้ประกอบการไม่ได้ต้องการนักแต่ต้องการขายสินค้ามากกว่า เราแนะนำ PS (ราคาเป้าหมายปีนี้ 36 บาท) เพราะมีสินค้าพร้อมขายมากสุดและสร้างบ้านได้เร็วสุด
(+) GUNKUL เรากลับมาเริ่ม Coverage ใหม่ ประเมินราคาเป้าหมายปี 2016 ได้ 26 บาท ความน่าสนใจของ GUNKUL อยู่ที่การเติบโตของกำไรใน 3 ปีข้างหน้า (2015-17) ที่คาดโตเฉลี่ย 40% ต่อปี และเป็นกำไรที่ผันผวนน้อยลงเพราะทยอยรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้ามากขึ้น ชดเชยธุรกิจขายอุปกรณ์ไฟฟ้าและงานรับเหมาสร้างโรงไฟฟ้าที่ไม่แน่อน โดยในปีนี้มีโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ของบริษัทเอง “IAE” 58 MW ส่วนปี 2016 จะรับรู้รายได้เต็มปีจาก IAE และเริ่มรับรู้รายได้โครงการลม “WED” เฟสแรก 10 MW ปลาย 1Q16 และเฟสสอง 50 MW กลาง 2Q16 ปี 2017 มีรายได้จากโครงการลม KWE 50 MW และ GNP 60 MW รายได้จากโรงไฟฟ้าจะช่วย ทั้งนี้ ราคาเป้าหมายของเรายังมี Upside จากโอกาสในการได้กำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มจากโครงการโซลาร์ฟาร์มราชการและสหกรณ์ และโครงการ Bio-Mass ที่จะเปิดประมูลปลาย 4Q15-1H16 รวมทั้งกำลังผลิตส่วนเพิ่มจากโครงการ Solar Farm ในญี่ปุ่น ยังคงแนะนำซื้อ
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในกรอบแคบหลังตัวเลข ISM ภาคการผลิตเดือน ก.ย. ออกมาต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ตามตลาดจับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรคืนนี้
(0) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดค่อนมาในแดนลบจากความกังวลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกหลังตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิตหลายประเทศออกมาต่ำกว่าคาด
(0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในกรอบแคบๆค่อนไปในแดนลบโดยนักลงทุนจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯคืนนี้
(-) ค่าเงินบาทเริ่มกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง ล่าสุดเคลื่อนไหวบริเวณ 36.40-36.52 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ย. ปิดที่ 44.74 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 0.35 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิตของทั้งจีนและสหรัฐฯออกมาค่อนข้างอ่อนแอ รวมถึง IMF ที่คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกอ่อนแอลงในปีนี้
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. ปิดที่ 1,113.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 1.50 ดอลลาร์/ออนซ์ ลบติดต่อกันเป็นวันที่ 5 โดยนักลงทุนยังจับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรคืนนี้ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในอนาคต
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
1-7 ต.ค. - จีน: ตลาดการเงินปิดทำการ เนื่องในวันชาติ
2-ต.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตร (ก.ย.) (ตลาดคาดเพิ่ม 2.01 แสนคน มากกว่าเดือนก่อนหน้าที่เพิ่ม 1.73 แสนคน), อัตราว่างงาน (ก.ย.)
5 ต.ค. - สิงคโปร์: 3Q15 GDP
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ก.ย.), ยอดค้าปลีก (ส.ค.)
6 ต.ค. - ออสเตรเลีย: ธนาคารกลาง (RBA) ประชุม
7-ต.ค. - ญี่ปุ่น: ธนาคารกลาง (BOJ) ประชุม
8-ต.ค. - ไทย: TFG เริ่มเทรด (ราคา IPO 1.95 บาท)
- สหรัฐ: ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์
9-ต.ค. - ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และไต้หวัน ปิดทำการ
- สหรัฐ: รายงาน Fed Minutes ของวันที่ 16-17 ก.ย.
10 ต.ค. - จีน: ยอดสินเชื่อเดือน ก.ย.
12 ต.ต. - สหรัฐ: ตลาดการเงินปิดทำการ เนื่องในวัน Columbus Day
13-ต.ค. - ไทย: SCI เริ่มเทรด (ราคา IPO 5.90 บาท)
- จีน: ดุลการค้า (ก.ย.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (ต.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch