- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 29 September 2015 18:06
- Hits: 2009
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
'เศรษฐกิจจีนชะลอตัว...กดหุ้นโภคภัณฑ์ร่วงแรง'
Stock Picks-Sep 2015 : Fundamental : CK, INTUCH, KBANK, QH, RATCH
Fundamental Pick -Today: -
Top Picks-High Div Yield : ADVANC, INTUCH, BTS, DCC, AP, QH, SPALI, SNC, MODERN, TCAP, TISCO, TMT, BTSGIF, CPNRF, SPF
Shot Sell-Prev : BEC 26%, KTB 21%. LH 20%, PTTEP 17%, TRUE 15%
Technical View ตลาดเป็นลบ เน้นซื้อเมื่ออ่อนตัว
Support Resistance Stop loss
SET 1330-1320 1360-1370 ค่าลบ
SET50 850-840 880,900 ค่าลบ
Technical Picks- Today : AJD, NCH, DCC, QTC
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยร่วงแรง 24.70 จุดปิดที่ 1352.13 โดยมีแรงขายหุ้นกระจายไปทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยเฉพาะจีนที่มีมูลค่าการค้าขายกับประเทศต่างๆทั่วโลกในระดับที่มีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันส่งออกของไทยติดลบมากขึ้นเป็น 6.7% ในเดือนส.ค.58 นักลงทุนต่างชาติและพอร์ตบล.ขายสุทธิกลุ่มละ 1.8-2.0 พันล้านบาท สถาบันในประเทศซื้อสุทธิเพียงเล็กน้อย รายย่อยซื้อสุทธิ 3.7 พันล้านบาท
ตลาดหุ้นปรับลงแรงเพราะวิตกเศรษฐกิจจีนชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มเหมืองแร่ โลหะ โภคภัณฑ์ ซึ่งจีนมีการบริโภคสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก รวมถึงกลุ่มเดินเรือด้วย นอกจากนั้นหุ้นในกลุ่มยาและเวชภัณฑ์ก็ร่วงด้วย เนื่องจากนางคลินตันโจมตีบริษัทยาเรื่องกำหนดราคาแพง และหากได้ชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีก็จะปรับลดราคาลง นับว่าปัจจัยภายนอกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ซึ่งยังไม่นับรวมผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดเงินและตลาดทุนอีก ส่วนภายใน เศรษฐกิจไทยก็ยังซบเซาต่อเนื่อง แม้ว่าการลงทุนภาครัฐและภาคท่องเที่ยวจะเติบโตดีกว่าคาด แต่ก็ไม่สามารถชดเชยกับการบริโภค&การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกที่อ่อนแอ สำหรับการลงทุนภาครัฐและการเปิดประมูล 4G ก็ต้องติดตามว่าจะเลื่อนไปจากแผนเดิมอีกหรือไม่ โดยรวมแล้วเศรษฐกิจไทยยังมี Downside Risk อยู่พอควร ดังนั้นการลงทุนช่วงนี้ยังควรใช้ความระมัดระวังสูง(มาก)
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพตลาดเป็นลบและค่าลบในวันนี้ดูไม่ดี โดย SET Index มีโอกาสอ่อนลงไปที่ 1330-1320, 1300 จุด หลังจากนั้นอาจมีเด้งสั้นก่อนปิดงวดไตรมาส 3/58 สำหรับหุ้นที่มีสัญญาณทางเทคนิคดี สามารถเลือกซื้อเก็งกำไรระยะสั้น (แต่ไม่บวกไม่เล่น) ได้แก่ AJD, NCH, DCC, QTC เป็นต้น
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
- จีน : กำไรบริษัทเดือนส.ค.ร่วงเกินคาด สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนระบุว่าตัวเลขกำไรของบริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ของจีนเดือนส.ค.ลดลง 8.8%YoY ซึ่งร่วงมากจากเดือนก.ค.ที่ลดลง 2.9%YoY
- สหรัฐ : ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending home sales) ร่วงลง 1.4%MoM สู่ระดับ 109.4 ในเดือนส.ค.58 จาก 110.9 ในเดือนก.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีจะเพิ่มขึ้น 0.4%MoM
- ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งแรง ดัชนี DJIA ปิดลดลง 312.78 จุด หรือคิดเป็น -1.92% ปัจจัยกดดัน คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และกังวลผลกระทบจากการที่เฟดเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ โดยกลุ่มที่พักอาศัยถูกกระทบจากดัชนี Pending home sales ลดลง หุ้นกลุ่มการเงินร่วงลงจากความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ย กลุ่มผู้ผลิตได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และกลุ่มเวชภัณฑ์ & กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพร่วงหนักจากการที่นางฮิลลารี คลินตัน ผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสังกัดพรรคเดโมแครทได้ออกมาโจมตีบริษัทเวชภัณฑ์ที่กำหนดราคาสูงเกินไป พร้อมกับให้คำมั่นว่าจะปรับลดต้นทุนราคายา หากเธอได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง
- ราคาน้ำมันดิบร่วงแรง โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย.ลดลง 1.27 ดอลลาร์ หรือ 2.8% ปิดที่ 44.43 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ลดลง 1.26 ดอลลาร์ หรือ 2.6% ปิดที่ 47.34 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนกดดัน เพราะจีนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภครายใหญ่ของโลก
- ราคาทองคำร่วงลงเช่นกัน โดยสัญญาตลาด COMEX ส่งมอบธ.ค.58 ลดลง 13.9 ดอลลาร์สหรัฐ ปิดที่ 1131.7 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ & Theme เด่น
- ไทย : มูลค่าส่งออกเดือนส.ค.58 ลดลงมากกว่าคาด โดยมูลค่าส่งออกลดลงเป็น 17,669 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (-6.69%YoY) ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 สำหรับงวด 8M58 มูลค่าส่งออกอยู่ที่ 142,747 ล้านดอลลาร์ (-4.92%YoY) ซึ่งการส่งออกลดลงจากราคากลุ่มปิโตรเลียมและสินค้าเกษตรต่ำลง สำหรับกลุ่มที่ส่งออกกระเตื้องขึ้นคือ ยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงมันสำปะหลังที่ดีขึ้นเพราะจีนห้ามใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล จึงนำเข้ามันสำปะหลังจากไทยเพิ่มขึ้น โดยภาพรวม การส่งออกของไทยยังอ่อนแอมาก และคาดว่าจะเติบโตจำกัดในปี 59
ขยายระยะเวลาจัดเก็บ VAT ที่ 7% ไปอีก 1 ปี ถึงสิ้นก.ย.59 และหากไม่มีการขยายระยะเวลาอีก อัตราภาษีจะกลับไปอยู่ที่ 10% ตั้งแต่ 1 ต.ค.59 เป็นต้นไป...เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว เพื่อประคับประคองกำลังซื้อและเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไป ขณะที่ภาครัฐก็ไม่ได้กระทบมาก เพราะคาดว่าประมาณการงบรายได้ฯอิงกับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ระดับ 7% อยู่แล้ว
/- Key Takeaways : ธปท.ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจปี 58 ลงเป็น 2.7% และปี 59 เป็น 3.7% จากเดิม 3.0% และ 4.1% ตามลำดับ โดยสมมติฐานที่ปรับลดลงมากเป็นมูลค่าส่งออก ซึ่งในปี 58 จะลดลงเป็น -5.0% (จากเดิม -1.5%) และปี 59 ปรับลงเป็น +1.2% (จากเดิม +2.5%) ทั้งนี้ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าซบเซา เช่น อาเซียน, ตะวันออกกลางและออสเตรเลียที่ถูกกระทบจากราคาน้ำมันและถ่านหินตกต่ำ ซึ่งมูลค่าส่งออกทั้งสามส่วนนี้คิดเป็น 35% ของมูลค่าส่งออกของไทย ปัญหาเชิงโครงสร้างของกลุ่มอิเลคทรอนิกส์ก็เป็นอีกเรื่องที่ฉุดการส่งออก ราคาสินค้าเกษตรส่งออกตกต่ำ และราคาส่งออกปิโตรเลียมลดลงมาก สำหรับการเติบโตของส่งออกในปี 59 มาจากปริมาณส่งออกที่เพิ่มขึ้น แต่ในด้านราคาส่งออกมองว่าจะอ่อนลงได้อีก ส่วนลงทุนภาคเอกชนปีนี้ก็แย่กว่าคาด จากเดิมคาดไว้ที่ +2.7% ก็ปรับเป็น -0.5%
สิ่งที่ดี คือ การลงทุนภาครัฐปี 58 จะเพิ่มขึ้นเกินคาดและภาคท่องเที่ยวที่ขยายตัวแกร่ง ธปท.ได้ปรับเพิ่มประมาณการใหม่เป็น +21.8% จากเดิม +16.3% และภาคท่องเที่ยวที่เติบโตแข็งแกร่ง ประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 58 เพิ่มเป็น 29.4 ล้านคน (สูงขึ้นจากคาดการณ์เดิมราว 6 แสนคน) และปี 59 ขยายเป็น 30.3 ล้านคน (สูงขึ้นจากเดิม 8 แสนคน) แต่ก็ไม่สามารถชดเชยกับรายการที่แย่ลงได้
ธปท.มองราคาน้ำมันดิบปี 59 อ่อนลงจากปีนี้ 2.8% เป็น 51.3 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ส่วนปี 58 เท่ากับ 52.8 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์เดิมในปี 58-59 ที่ 61.7 และ 70.0 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากภาวะอุปทานล้นเกินในตลาดน้ำมันดิบ
อัตราเงินเฟ้อยังไม่เป็นประเด็นที่ต้องกังวล และความเสี่ยงเรื่องเงินฝืดยังต่ำ โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 58-59 ไว้ที่ -0.9% และ +1.2% ตามลำดับ ทั้งนี้ความเสี่ยงเรื่องเงินฝืดยังต่ำมากเพราะอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบมาจากเงินเฟ้อด้านต้นทุนที่ลดลงตามราคาพลังงานเป็นหลัก แต่เงินเฟ้อทางฝั่งดีมานด์ยังเป็นบวกอยู่
อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มทรงตัว เมื่อพิจารณาจากประสิทธิผลในการส่งผ่านนโยบายผ่อนคลายทางการเงินสู่ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มากสำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.3 แสนล้านบาท คาดว่าจะเริ่มเห็นผลดีตั้งแต่ต้นปี 59 เป็นต้นไป ส่วนมาตรการกระตุ้น SME เป็นแค่ช่วยประคองธุรกิจขนาดกลาง-ย่อมแต่คาดว่าจะไม่ได้มีการลงทุนใหม่มากนัก โดยรวมแล้วคาดการณ์ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะทำให้ GDP ปี 59 เติบโตได้ 0.1% (ต่ำกว่าที่ตลาดประเมินไว้ก่อนหน้าที่ 0.3%)
กลยุทธ์การลงทุน : เน้น Defensive & ปันผลสูง จากปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่มีอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว กังวลผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และกำลังซื้อของประเทศที่มีเศรษฐกิจอิงกับธุรกิจพลังงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่เศรษฐกิจไทยก็ยังซบเซามาก ทำให้ผลดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนที่แท้จริง (Core Profit) โดยรวมยังไม่สดใส การลงทุนจึงเน้นไปยังหลักทรัพย์ที่มีธุรกิจมั่นคง ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวไม่มาก และจ่ายปันผลสูง
Update อุตสาหกรรมและหุ้นรายบริษัท
STEC (ราคาปิด 24.50 บาท) : โครงการก่อสร้างรัฐสภาล่าช้า อาจขาดทุนถึง 1 พันล้านบาท เนื่องจากการส่งมอบที่ดินไม่ได้ตามกำหนดเวลา ทำให้งานก่อสร้างคืบหน้าช้ามาก และการส่งมอบงานน่าจะเลื่อนไปเป็นปี 60 (จากแผนเดิมคือปี 59) ซึ่งส่วนนี้อาจทำให้บริษัทต้องตั้งสำรองฯผลขาดทุนในโครงการนี้เพิ่ม สำหรับโครงการสนามบินภูเก็ตที่มีผลขาดทุน บริษัทได้ตั้งสำรองไปแล้ว 350 ล้านบาท หรือ 7% ของมูลค่างานที่ 5 พันล้านบาท และงานใกล้เสร็จแล้วจึงมีความเสี่ยงในการตั้งสำรองฯสำหรับโครงการนี้จำกัดแล้ว
วิเคราะห์ความอ่อนไหว โดยหากให้ STEC ตั้งสำรองฯอีก 500 ล้านบาท พบว่ากำไรสุทธิในปี 58 จะลดลงเป็น 867 ล้านบาท (-43%YoY) จากประมาณการปัจจุบันที่ทำกำไรสุทธิไว้ 1,267 ล้านบาท (-17%YoY) อย่างไรก็ดี บริษัทจะได้ค่าชดเชยจากรัฐแต่ก็จะมาทีหลัง โดยต้องตั้งสำรองไปก่อนหากมีผลขาดทุนเกิดขึ้นไปก่อน ในเชิงกลยุทธ์ ระยะสั้นแนะนำให้ลดน้ำหนักการลงทุนไปก่อน หรือหากจำเป็นต้องมี Position ในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างก็เปลี่ยนไปถือ CK (ราคาพื้นฐาน 33 บาท) แทน
นักวิเคราะห์ & กลยุทธ์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค [email protected]