- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 18 September 2015 17:37
- Hits: 8832
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
'เฟดคงดอกเบี้ยตามคาด...แกว่งหาปัจจัยใหม่'
Stock Picks-Sep 2015 : Fundamental : CK, INTUCH, KBANK, QH, RATCH
Fundamental Pick -Today: CPNRF (ดูรายละเอียดด้านใน)
Top Picks-High Div Yield :ADVANC, INTUCH, BTS, DCC, AP, QH, SPALI, SNC, MODERN, TCAP, TISCO, TMT, BTSGIF, CPNRF, SPF
Shot Sell-Prev : IVL 21%, LH 18%, BJC 14%
Technical View ตลาดพลิกเป็นบวก แต่ควรระวังการแกว่งจากแรงขายทำกำไร
Support Resistance Stop loss
SET ซื้อค่าบวก 1400,1410-20 หลุด 1380
SET50 ซื้อค่าบวก 910-920 หลุด 890
Technical Picks- Today : SPALI, AEONTS, PT, TUF, MINT, CENTEL, STAR
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน: ตลาดหุ้นไทยเมื่อวานนี้ปิดปรับขึ้น 7.9 จุดปิดที่ 1389.70 นำโดยกลุ่มพลังงาน ซึ่งได้อานิสงค์จากราคาน้ำมันดิบที่ดีดขึ้นหลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลงเกินคาด นอกจากนั้นยังคาดว่าเฟดจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศ ต่างชาติ และพอร์ตบล.ซื้อสุทธิ ส่วนรายย่อยขายสุทธิ
คณะกรรมการเฟดมีมติ 9 ต่อ 1 คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.25% แต่เจ้าหน้าที่เฟด 13 ใน 17 รายคาดการณ์ว่าเฟดจะเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ 0.25% (โดยเฟดเหลือประชุมอีก 2 ครั้งในเดือนต.ค.และธ.ค.58)...หลังจบการประชุม ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลง, Bond Yield สหรัฐลดลง, ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สและดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้าวันนี้แกว่งแคบหาปัจจัยกระตุ้นเรื่องใหม่ ต่อไป ส่วนในประเทศ รัฐบาลกำลังเร่งออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน ซึ่งเราซึ่งเรามีมุมมองที่เป็นบวกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะข่วยให้การบริโภคและการลงทุนของไทยกระเตื้องขึ้นได้ในปี 59 กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลดี คือ พาณิชย์, รับเหมาก่อสร้าง & วัสดุก่อสร้าง, ท่องเที่ยว เป็นต้น ส่วนกลุ่มธนาคาร ยัง Wait & See ตัวเลข NPL ไตรมาส 3 ที่จะมีรายงานออกมาก่อนกลยุทธ์ : เก็งกำไรระยะสั้นเมื่อราคาหุ้นและ SET ยืนเหนือ 1380 โดยไม่ควรหวัง Gap กำไรมากเพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงและไม่แน่นอนอีกหลายปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน การถือลงทุนระยะกลาง-ยาวเน้นไปที่หุ้น Defensive & ปันผลสูง สำหรับหุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น CPNRF
การวิเคราะห์ทางเทคนิค: ตลาดเป็นบวก แต่ควรระวังการแกว่งจากแรงขายทำกำไรระยะสั้น การซื้อเก็งกำไรตามรอบใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก แนวต้านระยะสั้น 1400, 1410-1420 จุด ค่าลบดูไม่ดี การหลุด 1380 จุด ควร Wait & See หรือลดพอร์ตตามเมื่อมีเงินสดเหลืออยู่น้อย สำหรับหุ้นที่มีสัญญาณทางเทคนิคดี น่าสนใจเลือกซื้อเก็งกำไรระยะสั้น ได้แก่ CENTEL, MINT, SPALI, SAMART, STAR, AEONTS ส่วนหุ้นที่แนะนำไปแล้วและยังถือต่อได้/หาจังหวะขายทำกำไรเมื่อราคาปรับขึ้น คือ MAX, SYNEX, LH, M, TUF
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
สหรัฐ : คณะกรรมการเฟดมีมติ 9 ต่อ 1 คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.25% ในการประชุม 16-17 ก.ย.58 โดยเฟดระบุว่า แม้ตลาดแรงงานจะฟื้นตัวแข็งแกร่ง แต่ความผันผวนในตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลกอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวและการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
สหรัฐ : เจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ภายในปีนี้ ในแถลงการณ์ยังเปิดช่องสำหรับการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเล็กน้อยในช่วงที่เหลือของปีนี้ (ซึ่งเฟดจะมีการประชุมอีก 2 รอบในเดือนต.ค.และธ.ค.58)โดยเจ้าหน้าที่เฟด 13 ใน 17 รายระบุว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ที่ระดับ 0.25%
+/- สหรัฐ : เฟดปรับคาดการณ์ GDP Growth ของสหรัฐ โดยปี 58 เป็น 2.0%-2.3% จากคาดการณ์เดิมที่ 1.8%-2.0% ปรับลดคาดการณ์ของปี 59 เป็น 2.2%-2.6% จากเดิม 2.4%-2.7% และคาดว่าจะเติบโต 2.2% ในปี 60 สำหรับอัตราเงินเฟ้อ ปรับลดคาดการณ์ของปีนี้เป็น 0.4% (เดิม 0.7%) ส่วนปี 59-60 คาดไว้ที่ 1.7% และ 1.9% ด้านอัตราการว่างงานคาดสิ้นปี 58 จะอยู่ที่ 5.0%-5.1% (จากคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือนมิ.ย.58 ที่ 5.2%-5.3%) ส่วนปี 59 คาดว่าจะลดลงเป็น 4.7%-4.9% (จากคาดการณ์ครั้งก่อน 4.9%-5.1%)
- สหรัฐ : เศรษฐกิจเขตมิด-แอตแลนติกหดตัวในเดือนก.ย. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียระบุว่าดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิด-แอตแลนติกหดตัวลงเกินคาดในเดือนก.ย.สู่ระดับ -6.0 จาก 8.3 ในเดือนส.ค.
+ สหรัฐ : ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่ำกว่าคาดใน 2Q58 โดยลดลง 7.3% เป็น 1.097 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 2.5% ของ GDP ลดลงจาก 2.7% ของ GDP ใน 1Q58 แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ
สหรัฐ : ตัวเลขภาคที่อยู่อาศัยยัง Mixed ตัวเลขการเริ่มก่อสร้างบ้านเดือนส.ค.ลดลง 3%MoM เป็น 1.126 ล้านยูนิต แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ แต่ตัวเลขการขออนุญาตก่อสร้างบ้านเพิ่มขึ้น 3.5%MoM เป้น 1.17 ล้านยูนิต
+ อังกฤษ : ยอดค้าปลีกส.ค.58 ปรับขึ้น 0.2%MoM และ 3.7%YoY ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะทรงตัว
/- ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 0.39% ในช่วงแรกของการซื้อขายตลาดพุ่งขึ้นรับข่าวเฟดไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แล้วอ่อนตัวลงจากการขายทำกำไรระยะสั้น เพราะเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่ประเมินว่าสหรัฐจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมถึงกังวลกับภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซาด้วย
/- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบธ.ค.ลดลง 2 ดอลลาร์ หรือ -0.18% ปิดที่ 1,117.00 ดอลลาร์/ออนซ์
ราคาน้ำมันดิบอ่อนลงเล็กน้อยจากแรงขายทำกำไร โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ลดลง 25 เซนต์ ปิดที่ 46.9 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ลดลง 67 เซนต์ ปิดที่ 49.08 ดอลลาร์/บาร์เรล
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
- กลุ่มเจ้าหนี้ SSI ประชุมแก้ปัญหาบริษัทขาดสภาพคล่องบริษัท และการขอเลื่อนชำระหนี้ออกไปก่อน โดยเจ้าหนี้หลักของ SSI ประกอบด้วย KTB, SCB และ TISCO ซึ่งกรณีนี้คาดว่าจะทำให้ธนาคารต้องตั้งสำรองค่าเผื่อฯ เพิ่มขึ้นใน 3Q58 (ดูรายละเอียดใน Sector Focus หน้า 3 วันนี้)
สำหรับ SSI ที่เราได้วิเคราะห์ไว้เมื่อ 14 ส.ค.58 เป็นดังนี้…ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทติดลบในสิ้นมิ.ย.58 โดยใน 2Q58 บริษัทมีรายได้จากการขายและบริการลดลง 34% เป็น 11.9 พันล้านบาท และมีอัตราขาดทุนขั้นต้น 16% เมื่อหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ดอกเบี้ยจ่าย บวกกำไรจาก FX และการกลับรายการภาษีเป็นรายได้แล้ว มีผลขาดทุนสุทธิ 3.24 พันล้านบาท ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ 1.78 พันล้านบาท (ของบริษัทใหญ่) ด้านหนี้สินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ณ สิ้นมิ.ย.58 เท่ากับ 5.28 หมื่นล้านบาท โดยมีเงินสดในมือ 140 ล้านบาท เมื่อพิจารณาจากงบกระแสเงินสด พบว่าในช่วง 6M58 บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก 1.37 พันล้านบาท แต่เมื่อหักกระแสเงินสดจากการลงทุน 614 ล้านบาทและกระแสเงินสดในทางการเงิน 975 ล้านบาทแล้วพบว่ากระแสเงินสดติดลบ 216 ล้านบาท ซึ่งหากใน 2H58 ยังมีงบกระแสเงินสดแบบนี้เงินสดในมือที่เหลือ 140 ล้านบาทในสิ้น 2Q58 ก็ไม่สามารถรองรับได้ แนวทางของบริษัท คือ ต้องปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดภาระการชำระคืนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย และเพิ่มทุน/แปลงหนี้เป็นทุนเพื่อให้ส่วนของผู้ถือหุ้นกลับมาเป็นบวก
กระทรวงการคลังกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นการลงทุน โดยคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ ซึ่งจะมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราภาษีสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทย รวมถึงการพิจารณาข้อเสนอที่ให้ขยายระยะเวลาลดอัตราภาษีรายได้นิติบุคคลจาก 8 ปีเป็น 13 ปีด้วย
วันนี้ (18 ก.ย.) ธนาคารออมสินจะเซ็น MOU กับสถาบันการเงิน 20 แห่ง เพื่อปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำตามมติครม.ที่มอบหมายให้ธนาคารปล่อยกู้วงเงิน 1 แสนล้านบาทให้กับสถาบันการเงินในอัตราดอกเบี้ย 0.1% และให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยกู้ต่อที่อัตราดอกเบี้ย 4% ระยะเวลา 7 ปี ทั้งนี้ธนาคารออมสินมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับโครงการนี้ (โดยปัจจุบันมีสภาพคล่องอยู่ราว 3 แสนล้านบาท)
/+ คาดว่าผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะเห็นชัดเจนในปี 59 เพราะโดยปกติจะมี Lag Time ประมาณ 3-6 เดือนในการส่งผ่าน อย่างไรก็ตาม การลงทุนในตลาดหุ้นจะรับผลดีล่วงหน้าไปก่อน แล้วค่อยประเมินกันอีกรอบเมื่อถึงเวลานั้นว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ ซึ่งเรามีมุมมองที่เป็นบวกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะข่วยให้การบริโภคและการลงทุนของไทยกระเตื้องขึ้นได้ในปีหน้า กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลดี คือ พาณิชย์, รับเหมาก่อสร้าง & วัสดุก่อสร้าง, ท่องเที่ยว เป็นต้น ส่วนกลุ่มธนาคาร ยัง Wait & See ตัวเลข NPL ไตรมาส 3 ที่จะมีรายงานออกมาก่อน
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]