- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 14 September 2015 16:55
- Hits: 6101
บล.คันทรี่ กรุ๊ป : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ก่อน (7 – 11 กันยายน 58)
SET ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ท่ามกลางความผันผวนระหว่างสัปดาห์จากประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ โดยได้รับผลดีจากความเชื่อมั่นต่อภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศที่ดีขึ้น จากการดำเนินแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปิดสัปดาห์ SET Index ปิดที่ 1381.72 จุด เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น +10.97 จุด (+0.8%) WoW
ปัจจัยสำคัญในสัปดาห์นี้
(+) การคาดหมายการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของจีน จากความเสี่ยงขาลงของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การขยายตัวอาจต่ำกว่าเป้าหมายที่ 7%
(+) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดตัวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.36 แสนล้านบาทวันนี้
(-) แนวโน้มราคาน้ำมันยังคงอ่อนแอหลังโกลด์แมน แซคส์ คาดว่า ราคาน้ำมันดิบสหรัฐจะอยู่ที่ 48.10 และ 45 ดอลลาร์/บาร์เรล ในปี 58 และ 59 ตามลำดับ
(-) BOT ประเมินศักยภาพของเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากหลายปัจจัย อย่างราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง ประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจระดับ 3% อยู๋ในระดับที่น่าพอใจ
(+/-) ประเด็นการตัดสินใจด้านดอกเบี้ยจะเป็นประเด็นสำคัญที่ความผันผวนต่อการลงทุนในสัปดาห์นี้
(+/-) การเจรจารถไฟระหว่างไทย-จีนเดินหน้า คาดหมายการได้ข้อสรุปมูลค่าการลงทุนในเดือนพ.ย. ก่อนเริ่มดำเนินการได้ในเดือนธ.ค.ปีนี้
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
* การประชุม BOJ คาดหมายการคงนโยบายการเงินเดิม
* ประเด็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นประเด็นสำคัญที่ความผันผวนต่อการลงทุนในสัปดาห์นี้ โดย FED จะจัดการประชุม FOMC ขึ้นในวันที่ 16-17 ก.ย. ก่อนการประกาศผลช่วงตี 1 วันที่ 18 ตามเวลาไทย
* การประชุมกนง.ในวันที่ 16 ก.ย. คาดหมายการมีมติคงดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% ถึงสิ้นปี
* ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ยอดค้าปลีก และ CPI กลุ่มยุโรปตัวเลข CPI
* การเลือกตั้งของกรีซในวันที่ 20 กันยายน
ความคิดเห็น
ประเมินภาพรวมดัชนีมีแนวโน้มผันผวนในสัปดาห์นี้ จากประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ อย่างไรก็ตามจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และการลดค่าเงินอย่างรวดเร็วของจีน ทำให้มีความหวังมากขึ้นว่า FED จะยังคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำเพื่อรอดูสถานการณ์
ด้านในประเทศความเชื่อมั่นต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมีมากขึ้น หลังการดำเนินแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรักษาการขยายตัวที่ 3% ในปีนี้
กลยุทธ์การลงทุน
ยังคงเน้นการลงทุนเป็นรายตัวที่มีปัจจัยเฉพาะตัวอย่างการนำบริษัทย่อยเข้า IPO หรือการประกาศแผนการลงทุนใหม่ๆ ขณะที่ภาพรวมการลงทุน 4G ที่มีความคืบหน้าจะเป็นสัญญาณบวกต่อหุ้นในกลุ่มสื่อสาร เช่นเดียวกับการดำเนินแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สร้างประเด็นบวกต่อการบริโภคในประเทศ เช่นก่อสร้าง เกษตร พาณิชย์ สื่อสาร เป็นต้น
วิเคราะห์ SET ประจำสัปดาห์ 14-18 ก.ย. 58
ใช้วิชาตัวเบา
SET Closed : 1,381.72 p. SET High : 1,403.30 p. SET Low : 1,360.08 p.
Resistant : 1,400, 1,408 p. Support : 1,375, 1,356 p.
SET สัปดาห์ ที่ผ่านมาขึ้นทดสอบแนว 1,400 จุดได้ แต่เนื่องจากปริมาณการซื้อขายที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้การผันผวนเกิดขึ้นในช่วงท้ายสัปดาห์ ทำให้กราฟเกิดสัญญาณพักตัวในสัปดาห์นี้ โดย RSI อยู่ในระหว่างโค้งตัวเป็นสัญญาณปรับฐานต่ำลงกว่าสัปดาห์ก่อน และหากสามารถรับอยู่ที่ 1,356 จุด จะยังคงรักษาแนวโน้มขึ้นต่อได้ แต่หากอ่อนตัวลงต่ำกว่านี้จะเกิด sell signal ที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามแนวโน้มรวมของกราฟมีสัญญาณอ่อนตัว ดังนั้นสัปดาห์นี้ทิศทางดัชนีจะผันผวนมากขึ้น
กลยุทธ์
1. ลดน้ำหนักหุ้น ในระยะต้นสัปดาห์ เพื่อรอรับในระดับที่ต่ำกว่า หากยังดีดตัวขึ้นเน้นลดน้ำหนัก
2. เข้าเก็งกำไรได้ที่แนวรับ 1,375 จุด แบบเล่นสั้น หากหลุดให้ถอยไปตั้งรับ 1,356 จุด หากหุ้นแนวที่ 2 นี้ให้มีหุ้นน้อยลง และหันไปตั้งรับที่แนว 1,336จุดเพื่อเก็งกำไรแบบ Technical Rebound
3. เน้นเก็งกำไรแบบ Minor down trend ดังนั้นให้มีจุด cut เสมอ
หุ้นเด่นประจำสัปดาห์
BANPU ราคาปิด 20.80 บาท
* คาดผลประกอบการปกติเติบโต QoQ จากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าหงสา และ BLCP ซึ่งกลับมาเดินที่ระดับปกติ
* ประเมินราคาถ่านหินจะค่อยๆฟื้นตัว ในระยะยาวหนุนจากอุปสงค์จากประเทศอินเดีย
* เก็งกำไรประเด็นเตรียมจดทะเบียน BANPU Power ใน 1Q59 ซึ่งจะปลดล็อคมูลค่าโรงไฟฟ้าที่โดนผลประกอบการธุรกิจถ่านหินกดดัน
* ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ซื้อขายต่ำกว่า Book Value มอง Down Side Risk จำกัด
วิเคราะห์ทางเทคนิค
BANPU ราคาปิด : 20.80 บาท แนวต้าน : 22.50 บาท แนวรับ : 20.50 บาท
กราฟ BANPU ก่อตัวเป็น W-shape หลังจากลงทดสอบแนว bottom ที่ต่ำกว่า 20 บาทหลายครั้งและเกิดแรงรับสวนกลับ ขณะที่ RSI มีสัญญาณซื้อ ทำให้เรามองว่าราคาหุ้นจากนี้ไปจะสูงขึ้น หรือหากมีการย่อตัวบ้าง กลับเป็นจังหวะของการย่อเพื่อดีดตัวต่อไป
กลยุทธ์
1. เข้าซื้อในราคาปัจจุบัน หรือตั้งรับได้ และแบ่งขายเมื่อชนต้านที่ 21.50 และ 22.50 บาท
2. หากอ่อนตัวให้เข้าตั้งรับ ฟอร์มกราฟเกิด Bottom out แล้ว
ฝ่ายวิเคราะห์ฯ