- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 11 September 2015 17:53
- Hits: 4236
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+/-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA +76.83, NASDAQ +39.72 และ S&P +10.25 ภายใต้การเคลื่อนไหวที่มีความผันผวน โดยอยู่ระหว่างรอการประชุมเฟดสัปดาห์หน้า ซึ่งคาดมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เฟดจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจมีทั้ง + / - โดย (1) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ล่าสุดลดลง 6,000 ราย อยู่ที่ 275,000 ราย สอดคล้องกับคาดการณ์ และยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 27 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง และ (2) ดัชนีราคานำเข้า – สค. ลดลง 1.8%MoM โดยปรับตัวลงมากสุดนับแต่มค. ที่ผ่านมา หลังได้รับผลกระทบจากดอลลาร์ที่แข็งค่าและราคาน้ำมันที่ปรับลง เช่นเดียวกับดัชนีราคาส่งออก – สค. ลดลง 1.4%MoM และลดลง 7%YoY
.....ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปรับลดลง โดย FTSE -73.20, CAC -68.06 และ DAX -92.68 จากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเอเชียหลังญี่ปุ่นเปิดเผยยอดสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชน – กค. ลดลง 3.6% และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีน – สค. ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี
.....ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ต.ค. +US$1.77 อยู่ที่ US$45.92 ต่อบาร์เรล ภายใต้ปัจจัยบวกจากข้อมูลของ EIA ซึ่งระบุว่า การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ล่าสุด ลดลง 83,000 บาร์เรล อยู่ที่ 9.135 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะเดียวกัน EIA ประเมินการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ – สค. จะลดลง 140,000 บาร์เรล เมื่อเทียบกับเดือนกค. และคาดว่าการผลิตจะยังคงลดลงจนถึงช่วงกลางปี’59 ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอีกครั้งปลายปี’59 ซึ่งปัจจัยบวกดังกล่าวสามารถชดเชยปัจจัยลบจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบ ล่าสุดเพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล (มากกว่าที่คาดจะเพิ่มขึ้น 1.0 ล้านบาร์เรล) อยู่ที่ 458 ล้านบาร์เรล
......ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. +US$7.3 อยู่ที่ US$1,109.3 ต่อออนซ์ จากการกลับมาซื้อหลังลดลงในวันก่อนหน้า โดยยังอยู่ระหว่างรอการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้า
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +825 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -93,132 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
ทิศทางตลาด :
ทิศทางตลาด : Sideway? คาดโอกาสเคลื่อนไหวทั้ง + / - โดยปัจจัยต่างประเทศยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ คาดส่วนใหญ่อยู่ระหว่างรอการประชุมเฟดที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูงเกี่ยวกับระยะเวลาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด? และคาดยังมีความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัว อาจส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ที่เป็นคู่ค้า อย่างไรก็ตามจีนพยายามฟื้นฟูความเชื่อมั่น เพิ่มสภาพคล่อง รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้มาตรการผ่อนคลาย ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) และอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ แนะติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของจีนที่คาดอาจเป็นปัจจัยบวกต่อภาพรวมตลาดหลังจากนี้ไป
.....ทางด้านปัจจัยในประเทศ คาดได้รับปัจจัยบวกจาก (1) Fund Flow หลังต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ จำนวน 825 ล้านบาท พร้อมกับสถาบันในประเทศที่ยังซื้อสุทธิต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามแนะติดตามค่าเงินบาท ที่คาดยังมีทิศทางอ่อนค่า และคาดอาจส่งผลต่อ Fund Flow (2) การกลับเข้ามาเก็งกำไรหุ้นกลุ่มพลังงาน ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และ (3) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่คาดออกมาต่อเนื่อง จากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและธุรกิจ SME ไปแล้ว คาดหลังจากนี้เป็นการเร่งรัดเปิดประมูลโครงการต่างๆ ของภาครัฐ
....ขณะที่ยังแนะติดตาม (1) หุ้นกลุ่มโรงกลั่น เช่น IRPC, PTTGC, TOP และ BCP จะได้รับผลกระทบจากการขาดทุนจากสต็อกน้ำมันในช่วง 3Q/58 แต่เรามองเป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นในช่วงที่ราคาอ่อนตัวสำหรับการลงทุนในระยะยาวกลาง – ยาว (2) กลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่คาดยังคงได้รับประโยชน์จากโครงการภาครัฐ เช่น CK, STEC, TRC และ UNIQ (3) ค่าเงินบาท ภาพรวมยังมีทิศทางอ่อนค่า โดยเคลื่อนไหวบริเวณ 35.97 – 35.99 คาดเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มส่งออก (4) กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น TASCO และ VNG เป็นต้น (5) กลุ่มโรงแรม (CENTEL) และหุ้นกลุ่มสายการบิน (เช่น AAV, BA) หลังสถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มทรงตัว และคาดดีขึ้นตามลำดับ (6) กลุ่มสื่อสาร (ADVANC) หลัง กสทช. จะเปิดประมูลใบอนุญาต 4G คลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 เมกะเฮิร์ตซ์(MHz) ในวันที่ 11/11/58 และ15/12/58 ตามลำดับ และ (7) Window Dressing – 3Q/58 ในวันที่ 30/9/58
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.04 อยู่ที่ 2.22% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) -1.86 อยู่ที่ 24.37
หุ้นแนะนำ : GL
ประเด็นที่ต้องติดตาม (11 - 16 กย.’58)
11/9/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) - สค. (2) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้น - กย. (3) งบประมาณของรัฐบาลกลาง - สค.
16/9/58 : ประชุม กนง.
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788