- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 10 September 2015 17:10
- Hits: 1381
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
SET ดีดบวกต่อแล้ว แต่ยังมีสิทธิผันผวน ดังนั้นรอซื้อช่วงลบ!
กลยุทธ์ : SET ขยับขึ้นออกจากกรอบแกว่งได้แล้ว แต่หลังจากขึ้นแรงก็เริ่มมีแรงขายทำกำไรกดดัน ประกอบกับความกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐยังมีอยู่ ทำให้ในช่วงก่อนการประชุมเฟด 16-17 ก.ย.นี้ SET มีสิทธิปรับพักตัวเพื่อรอความชัดเจนก่อนได้ ดังนั้นยังรอเลือกหุ้นซื้อช่วงลบได้
หุ้นเด่นทางเทคนิค : THCOM, THANI, CPN(short)
แนวโน้ม : แม้ว่า SET ยังขยับบวกขึ้นต่อเนื่องได้ดี เนื่องจากช่วงหลังตลาดหุ้นต่างประเทศดีดตัวบวกกันค่อนข้างแรง หลังจากที่ทางการจีนและญี่ปุ่นออกมาให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มเติม รวมทั้งบ้านเรายังมีประเด็นการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ภาครัฐทยอยประกาศช่วยหนุนด้วย อย่างไรก็ตามดัชนีขยับขึ้นแรงพอควรจึงทำให้เริ่มมีแรงขายทำกำไรระยะสั้นกดดันให้แกว่งผันผวนในระหว่างวันมากขึ้น จึงต้องระวังการปรับพักตัวย้อนลงไปเคลื่อนไหวในด้านลบไว้ด้วย โดยเฉพาะเช้านี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียเริ่มมีจังหวะปรับพักตัวลงกันพอควร เพราะเมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มพลิกกลับมาปิดเป็นลบถึงกว่า 1% เนื่องจากข้อมูลตำแหน่งงานว่างในสหรัฐพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในเดือน ก.ค. ส่งผลให้มีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่เฟดอาจจะขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมกลางสัปดาห์หน้าได้ ทำให้ FSS คาดว่า SET น่าจะยังมีจังหวะแกว่งตัวผันผวนและย้อนลบให้เห็นอยู่ แต่เรายังคาดหมายว่ากรอบลบช่วงนี้ค่อนข้างจำกัด และสุดท้ายดัชนีหุ้นไทยยังมีแนวโน้มที่จะค่อยๆ ไต่ระดับกลับขึ้นไปหา SET Target ของปีนี้ที่เราประเมินไว้แถว 1450 จุดได้ต่อไป
แนวรับ 1393-1390 , 1386-1383 จุด
แนวต้าน 1398-1402 , 1404-1408 , 1414 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคหนาแน่นรวม US$507 ล้าน แต่ไหลเข้าไต้หวันประเทศเดียวมากถึง US$681 ล้าน มากสุดในรอบ 4.5 เดือน และเวียดนาม US$3ล้าน ขณะที่ยังขายเกาหลีใต้ US$76.9 ล้าน และกลุ่ม TIP รวม US$101 ล้าน เงินไหลเข้าไต้หวันในปริมาณมากหลังจีนประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการลดความผันผวนให้ตลาดหุ้น แต่เราคาดว่าแนวโน้มเงินทุนยังไม่กลับมาไหลเข้าได้อย่างน่าวางใจนักเพราะตลาดยังรอคอยผลการประชุม Fed
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ความกังวลกับการประชุม Fed ยังอยู่ แม้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับตัวขึ้นดีในช่วง 3 วันที่ผ่านมาเพราะคลายกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed (นักวิเคราะห์จำนวนมากขึ้นเริ่มคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค.แทนเดือนนี้) และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน แต่ยิ่งเข้าใกล้วันประชุม Fed 16-17 ก.ย. ตลาดหุ้นโลกยิ่งผันผวน แรงขายของต่างชาติยังกดดันตลาดหุ้นไทยโดยเฉพาะหุ้นที่มี market cap ใหญ่
(-) ภาพของตลาดเกิดใหม่ยังเปราะบาง S&P ปรับลดเครดิตเรทติ้งของบราซิลลงอีก 1 ขั้นเหลือ BB+ ซึ่งเป็นระดับขยะไปแล้วและให้ Outlook เป็น “Negative” ขณะที่เช้านี้ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เป็น 2.75% เป็นการปรับลดเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 3 เดือน และส่งสัญญาณปรับลดอีกเพราะเศรษฐกิจเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็น ภาพเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ที่ยังเปราะบาง ไม่หนุนให้ Flow ไหลเข้า แต่เหล่านี้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเลื่อนขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ไปเป็นปีหน้า
(-) ราคาน้ำมันปรับลง 4% ทั้ง WTI และ Brent เพราะปัญหา Supply ที่ล้นตลาดจากปริมาณการผลิตทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูง และความกังวลว่าอิหร่านจะกลับมาส่งออกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นหลังนานาชาติยุติมาตรการคว่ำบาตร ขณะเดียวกัน EIA ปรับลดคาดการณ์ Demand น้ำมันดิบของโลกในปีนี้ลง 90,000 บาร์เรล เหลือ 1.17 ล้านบาร์เรล/วัน และปรับปีหน้าลง 150,000 บาร์เรลเหลือ 1.31 ล้านบาร์เรล/วัน จากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอ
(+) บาทอ่อนหนุนกำไรกลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ ค่าเงินบาทปีนี้ที่อ่อนค่า 10% YTD มาเฉลี่ยที่ 33.53 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่ากว่าปีก่อนที่เฉลี่ย 32.48 บาท/ดอลลาร์ และมีทิศทางอ่อนค่าต่อไปในปีหน้า เราจึงปรับสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนปี 2016 เป็น 35 บาท/ดอลลาร์ จากเดิม 33 บาท/ดอลลาร์ ทำให้กำไรปกติของกลุ่มฯปรับขึ้น 4.8% เป็นเติบโต 18% Y-Y จากเดิมคาดโต 12.6% Y-Y แต่กระทบกำไรในปีนี้ไม่มากนัก ไม่เกิน 3% เพราะสมมติฐานของเราอยู่ที่ 33 บาท/ดอลลาร์ ดังนั้น ราคาหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ที่ปรับขึ้นมา 19% YTD (outperform มากสุดเป็นอันดับ 2 ของตลาด) มากกว่าการอ่อนค่าของเงินบาท สูงเกินปัจจัยพื้นฐานในปีนี้ไปแล้ว ยกเว้น SVI (ราคาเป้าหมายปีนี้ 5.20 บาท ปีหน้า 6.40 บาท) ที่ยังมี upside แต่หากมองกำไรในปีหน้า KCE (เป้าหมายปีนี้ 57 บาท ปีหน้า 63 บาท) เป็นอีกหนึ่งหลักทรัพย์ที่ซื้อได้ ขณะที่ DELTA (เป้าหมายปีนี้ 67 บาท ปีหน้า 80 บาท) แพงเกินไป ส่วน HANA (เป้าหมายปีนี้ 28 บาท ปีหน้า 33 บาท) ถือได้
(+) เน้น Domestic plays ที่ laggard กลุ่ม Domestic plays ที่จะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังเป็นกลุ่มน่าสนใจในระยะนี้ และโดยเฉพาะหุ้นที่ราคายัง laggard เช่นกลุ่มที่อยู่อาศัย (AP, LPN, QH) กลุ่มก่อสร้างและวัสดุ (CK, SEAFCO, SCC) ค้าปลีก (GLOBAL, ROBINS) แบงก์ (TMB, KTB)
(0) หุ้น XD วันนี้มีผลกระทบ SET 2 จุด มี PTT (6 บาท), TOP (0.90 บาท), DRT (0.12 บาท), MONTRI (0.35 บาท), SSTPF (0.3471 บาท)
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาพลิกกลับมาปิดลบกว่า 1% หลังจากพุ่งขึ้นแรงในวันก่อนหน้าและสวนทางตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ร่วงลง
(0) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างดีตามตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นๆที่พุ่งขึ้นก่อนหน้าจากความคาดหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากฝั่งเอเชีย
(-) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวลดลงค่อนข้างแรงตามตลาดหุ้นสหรัฐฯรวมถึงจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจจีนเพิ่มเติมเพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ
(-) ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าทะลุระดับ 36 บาท/ดอลลาร์อีกครั้งโดยล่าสุดเคลื่อนไหวบริเวณ 36.20 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ต.ค. ปิดที่ 44.15 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงแรง 1.79 ดอลลาร์/บาร์เรล จากอุปทานที่ยังล้นตลาด ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯได้มีการปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบปีนี้และปีหน้าลง
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. ปิดที่ 1,102.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 19.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ต่ำสุดในรอบเกือบ 4 สัปดาห์จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า การพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงความไม่แน่นอนในช่วงเวลาการขึ้นดอกเบี้ยของ FED
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
10-ก.ย. - จีน: อัตราเงินเฟ้อ (ส.ค.), ยอดสินเชื่อใหม่ (ส.ค.)
11 ก.ย. - เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BOK) ประชุม
13-ก.ย. - จีน: Industrial Production, Retail sales (ส.ค.)
14-ก.ย. - ยูโรโซน: Industrial Production (ก.ค.)
15-ก.ย. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
- สหรัฐ: Retail sales (ส.ค.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (ก.ย.)
16-17 ก.ย. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
16-ก.ย. - ไทย: กนง.ประชุม
- ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดทำการ
- สหรัฐ: อัตราเงินเฟ้อ (ส.ค.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ส.ค.)
17-ก.ย. - ตลาดหุ้นอินเดียปิดทำการ
- อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI) ประชุม
- สหรัฐ: Housing starts, Building permits (ส.ค.)
20-ก.ย. - ไทย: ยอดขายรถ (ส.ค.)