- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 08 September 2015 17:15
- Hits: 1181
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET มีกรอบลบจำกัดก่อนลุ้นขึ้นใหม่ ดังนั้นอ่อนตัวน่าซื้อ!
กลยุทธ์ : ช่วงนี้ SET อาจจะยังมีลักษณะแกว่งตัวผันผวนและย้อนลบให้เห็นอยู่ แต่ FSS คาดว่ากรอบการปรับตัวลงค่อนข้างจำกัด และยังลุ้นโอกาสพลิกกลับไปขยับบวกต่อเนื่องอีกครั้งในช่วงถัดไปได้ ดังนั้นเรายังแนะนำเลือกหุ้นทยอยซื้อช่วงลบ แล้วเน้นถือไว้ก่อน
หุ้นเด่นทางเทคนิค : LPN, PSTC, MONO(short)
แนวโน้ม : เมื่อวานนี้ SET เริ่มแกว่งทรงตัวได้ดี ถึงแม้ว่าจะยังมีช่วงอ่อนตัวลงไปเคลื่อนไหวในด้านลบอีก แต่กรอบลบก็เริ่มจำกัดมากขึ้น และมีจังหวะขยับบวกได้บ้างเล็กน้อย ขณะที่เมื่อคืนนี้แม้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐจะปิดทำการเนื่องในวันแรงงาน แต่ตลาดหุ้นยุโรปที่เปิดทำการปกติส่วนใหญ่ก็ยังปิดเป็นบวกได้ดี เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจจีนไปได้บางส่วน แต่ยังจับตาดูข้อมูลการค้าต่างประเทศเดือน ส.ค.ของจีนที่จะเปิดเผยในวันนี้ รวมทั้งรอติดตามการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้าอยู่(16-17 ก.ย.) นอกจากนี้ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สก็ยังเคลื่อนไหวในด้านบวกได้ดี ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เริ่มปรับลงในกรอบแคบและมีจังหวะฟื้นตัวกลับมาแกว่งด้านบวกได้บ้างอีกครั้ง ซึ่งน่าจะช่วยหนุนตลาดหุ้นไทยได้ด้วยเช่นกัน ขณะที่ในบ้านเรายังมีประเด็นบวกจากการที่หัวหน้าทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ เตรียมนำมาตรการช่วยเหลือ SMEs เข้าสู่ที่ประชุม ครม.ในวันนี้ด้วย ทำให้ FSS คาดว่า SET ยังมีแนวโน้มที่จะกลับไปแกว่งบวกต่อเนื่องได้อีกในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตามยังต้องระวังเรื่องการแกว่งตัวผันผวนของตลาดอยู่ เนื่องจากแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติยังมีออกมากดดันอยู่เรื่อยๆ หลังปัจจัยต่างประเทศยังไม่มีความชัดเจน
แนวรับ 1370-1365 , 1360-1355 จุด
แนวต้าน 1375-1380 , 1385-1388 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคหนาแน่น US$354 ล้าน ไหลออกจากเกาหลีใต้มากที่สุด US$208 ล้าน ตามด้วยไต้หวันและไทยเท่ากัน US$54 ล้าน เข้าเวียดนามแห่งเดียวแต่เล็กน้อย US$1 ล้าน แนวโน้มเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคเนื่องจากไม่แน่ใจในทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ขณะที่อินโดนีเซียสร้างความกังวลให้กับการลงทุนในกลุ่ม TIP หลัง S&P เตือนว่าอินโดนีเซียมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อสงครามการเงินต่อจากมาเลเซียหลังระดับเงินสำรองฯลดลงมาก
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) GDP 2Q15 ของญี่ปุ่นหดตัวน้อยลง ญี่ปุ่นทบทวน GDP 2Q15 เพิ่มจากเดิมที่คาด -1.6% เป็น -1.2% ตลาดหุ้นปรับตัวบวกเพียง 15 นาทีแรกของการซื้อขายแล้วปรับลง นักลงทุนยังกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอและการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed
(-) ค่าเงินในเอเชียถูกกดดัน นับตั้งแต่จีนลดค่าเงินหยวน 11 ส.ค. ค่าเงินหยวนอ่อนค่า 2.5% ส่วนค่าเงินในเอเชียอื่นๆอ่อนค่าเฉลี่ย 4.3% โดยเฉพาะค่าเงินริงกิตมาเลเซียและรูเปียห์อินโดนีเซียที่อ่อนค่าหนักมาตั้งแต่ต้นปี ล่าสุด S&P เตือนว่าอินโดนีเซียมีความเสี่ยงมากขึ้นหลังระดับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงมาก ขณะที่ Moody’s เตือนเศรษฐกิจมาเลเซียว่าอ่อนไหวต่อราคา Commodity ที่มีแนวโน้มลดลง ยิ่งกดดันให้เกิดแรงขายเงินในเอเชีย สำหรับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าแล้ว 10% YTD มากเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาค รองจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเกาหลี จึงมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อตามภูมิภาค (เชื่อว่าแรงขายหุ้นของต่างชาติยังมีอยู่) อย่างไรก็ตาม ฐานะการเงินและการคลังของไทยยังแข็งแกร่ง หนี้ต่างประเทศต่ำ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูง
(0) BEAUTY แม้ว่าจะเรายังคงแนะนำซื้อเพราะ upside ของราคาหุ้นที่สูงกว่า 10% จากราคาเป้าหมาย 4.90 บาท แต่เราเริ่มชอบ KAMART มากกว่าเพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการฟื้นตัวหลังปรับโครงสร้างธุรกิจ และมี upside สูงกว่าเมื่อเทียบกับราคาเป้าหมายที่ 9 บาท ทั้งนี้ BEAUTY ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี มีการพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสร้างความต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ เหตุระเบิดที่ราชประสงค์กระทบยอดขายเพียงระยะสั้น (BEAUTY มีฐานลูกค้าเป็นชาวจีนค่อนข้างมาก) เพียงแต่การสร้างรายได้และกำไรที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ได้สร้างความคาดหวังที่สูงขึ้นจากนักลงทุนเช่นกัน ทำให้อ่อนไหวต่อปัจจัยลบง่ายขึ้น ราคาหุ้น BEAUTY เคยขึ้นไปถึงเป้าของเราแล้วเมื่อต้น ส.ค. ขณะนี้แม้จะอ่อนตัวลงมาแต่ยังมี PE ถึง 34 เท่า สูงกว่า KAMART ที่ 20 เท่า จึงแนะนำให้เปลี่ยนไปลงทุนใน KAMART แทน
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนปิดทำการเนื่องในวันแรงงาน
(+) ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แม้จะได้รับแรงกดดันจากฝั่งตลาดหุ้นเอเชียที่ยังปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามตลาดจับตาดูผลการประชุม FED ในช่วงปลายสัปดาห์หน้า
(0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในกรอบแคบโดยขาดปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้นตลาด โดยประเด็นที่นักลงทุนเฝ้าจับตาคือการประชุม FED ในวันที่ 16-17 ก.ย. นี้ว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
(-) ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าลงต่อเนื่องและล่าสุดหลุดระดับ 36 บาท/ดอลลาร์แล้ว
น้ำมันดิบตลาด NYMEX ปิดทำการเนื่องในวันแรงงานของสหรัฐฯ
ทองคำตลาด COMEX ปิดทำการเนื่องในวันแรงงานของสหรัฐฯ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
8 ก.ย. - จีน: ดุลการค้า (ส.ค.)
- ญี่ปุ่น: 2Q15 GDP
- ยูโรโซน: 2Q15 GDP
10 ก.ย. - จีน: อัตราเงินเฟ้อ (ส.ค.), ยอดสินเชื่อใหม่ (ส.ค.)
11 ก.ย. - เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BOK) ประชุม
13 ก.ย. - จีน: Industrial Production, Retail sales (ส.ค.)
14 ก.ย. - ยูโรโซน: Industrial Production (ก.ค.)
15 ก.ย. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม
- สหรัฐ: Retail sales (ส.ค.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (ก.ย.)
16-17 ก.ย. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
16 ก.ย. - ไทย: กนง.ประชุม
- ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดทำการ
- สหรัฐ: อัตราเงินเฟ้อ (ส.ค.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ส.ค.)
17 ก.ย. - ตลาดหุ้นอินเดียปิดทำการ
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research