- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 08 September 2015 17:13
- Hits: 1102
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ Selective Buy
ตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นไทยวานนี้เปิดย่อตัวลงเล็กน้อย ก่อนที่จะฟื้นตัว นำโดยกลุ่มอสังหาฯ และ กลุ่มค้าปลีก คาดหวังเชิงบวกต่อมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบของทีมเศรษฐกิจ แม้ว่าค่าเงินบาทอ่อนค่าหลุดแนว 36.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายก็ตาม ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX ฟื้นตัวเล็กน้อย 0.46 จุด ปิดที่ 1,371.40 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบาง 26,668 ล้านบาท
นักลงทุนต่างชาติคงการขายสุทธิทั้ง 3 ตลาดเป็นวันที่ 4 ด้วยการขายสุทธิตลาดหุ้นเป็นวันที่ 4 อีก 1,936 ล้านบาท Short สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 4 อีก 3,475 สัญญา และขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 13 เพียง 1,439 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญวันนี้
ติดตามการประชุม ครม. กับแผนช่วยเหลือ SMEs ที่ทีมเศรษฐกิจเสนอวันนี้
การขึ้นเครื่องหมาย XD ของหุ้น BAY / BBL / KBANK / KKP วันนี้ มีผลต่อ SET INDEX เพียง 0.93 จุด
มุมมองต่อตลาด
เรายังคงมุมมองต่อการลงทุนเป็น 'กลางถึงบวก' วันที่ 6 พร้อมประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX ระหว่าง 1,360-1,380 จุด แม้ว่าหุ้นหลักในกลุ่มธนาคารจะขึ้นเครื่องหมาย XD แต่มีผลกระทบเพียง 0.93 จุดเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม มูลค่าการซื้อขายที่กลับมาเบาบางต่ำกว่า 3.0 หมื่นล้านบาท/วันอีกครั้ง กลายเป็นจุดสะท้อนความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศอีกครั้ง เราเชื่อว่านักลงทุนต่างรอดูผลการประชุมเฟดในปลายสัปดาห์หน้า (16-17 ก.ย) ว่าจะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามที่ตลาดประเมินไว้หรือไม่ ด้าน IMF เตือนเฟดเป็นครั้งที่ 2 ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นควรพิจารณาถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อ เพื่อให้แน่ใจว่ายังเป็นไปตามเป้าหมายที่เฟดประเมินไว้ สำหรับ IMF ประเมินว่าเฟดควรยืดเวลาการพิจารณาออกไปเป็นต้นปีหน้า
แต่เรายังไม่ปิดโอกาสที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนัดนี้ เพราะแรงกดดันด้านการเมืองน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญ นอกเหนือจากความพร้อมของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ หากเฟดเลือกที่จะลดแรงกดดันทางการเมืองด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ น่าจะทำให้บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมามีความชัดเจน ทรงถึงฟื้นตัว หลังตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมาของเฟด เราเชื่อว่าเฟดจะสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เพียงครั้งเดียว ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาแข็งค่าในอัตราเร่ง กดดันภาคการส่งออก การจ้างงาน ผลผลิตภาคอุตฯ จนกลายเป็นข้ออ้างให้เฟด ต้องกลับมาผ่อนคลายนโยบายการเงินอีกครั้งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
ปัจจัยสำคัญวันนี้ เราให้น้ำหนักกับผลการประชุมครม. เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือ SMEs ที่รมว.คลัง และทีมเศรษฐกิจ เสนอต่อครม.พิจารณาและอนุมัติ เราเชื่อว่ากลุ่มธนาคารจะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากนโยบายดังกล่าว ช่วยปิด downside risk ให้แก่ตลาดหุ้นไทยโดยรวม
อีกทั้งความตึงเครียดในซีเรีย จนทำให้ประชาชนต้องอพยพลี้ภัยสงครามเข้ามายังยุโรป มากขึ้นเป็นลำดับ เป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เพราะมีความเกี่ยวโยงกับซาอุดิอาราเบีย อาจทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรงตัวได้อย่างแข็งแกร่งในช่วงนี้ แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบางอยู่มากก็ตาม
กลยุทธ์การลงทุน
ดังนั้น เราแนะนำ "นักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรรอบสั้น ควรหาจังหวะซื้อเมื่ออ่อนตัว และอาจพิจารณาซื้อหุ้นเป้าหมายมากขึ้น บริเวณ 1,350 จุด +/-"
Top Pick in 3Q15: BCP / BMCL/ IFEC / WHA
HOLD: ITD / TPIPL/ BJCHI/ ADVANC/ WHA/ BCP/ IFEC/ INTUCH/ KTB
Accumulative Buy: KTB
Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "สะสม" ได้แก่
1. KTB : ราคาปิด 17.80 บาท ราคาเหมาะสม 21.03 บาท
a) MBKET ประเมินว่าหุ้น KTB จะตอบรับเชิงบวกต่อแผนช่วยเหลือธุรกิจ SME ที่รมว.กระทรวงการคลังจะเสนอให้ครม.พิจารณาในวันนี้
b) หลังวานนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเผยว่าแผนช่วยเหลือธุรกิจ SME จะแบ่งเป็น 2 มาตรการ ได้แก่
I. เสริมสภาพคล่องให้ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น ผ่านธนาคารของรัฐฯ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารออมสิน
II. เสริมความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการ SME ผ่านตลาดใหม่ๆ เช่น ตลาดออนไลน์ หรือ E-Commerce
c) ดังนั้น KTB จึงได้ประโยชน์โดยตรงจากการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น และมีสภาพคล่องคงเหลือเพียงพอ เนื่องจาก Loan to Deposit Ratio อยู่ที่ระดับ 90% จึงเชื่อว่าสินเชื่อของ KTB จะ ขยายตัวสูงกว่ากลุ่มธนาคารตั้งแต่เดือน ต.ค. และต่อเนื่องถึง 4Q58 ที่เป็น High Season ของความต้องการใช้ทุนหมุนเวียนของภาคธุรกิจ
d) Valuation ค่อนข้างถูก โดยซื้อขายระดับ PER2558 เพียง 7.9 เท่า และ PBV2558 ที่ 0.9 เท่า และให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลในเกณฑ์ดีที่ 4.8%
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
ตลาดหุ้นเอเชียขายสุทธิเป็นวันที่ 2 อีก US$354 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$171 ล้าน
แต่ยังคงซื้อสุทธิตลาดเวียดนามต่อเนื่อง
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติขายสุทธิทั้ง 3 ตลาดเป็นวันที่3
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 4 อีก 1,936 ล้านบาท รวม 4 วันทำการ ขายสุทธิ 5,703 ล้านบาท และทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ยังคงขายสุทธิเกิน 9 หมื่นล้านบาท เป็น 91,367 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนต่างชาติคงการ Short สุทธิเป็นวันที่ 4 แต่ลดลงเหลือ 3,475 สัญญา รวม 4 วันทำการ Short สุทธิเท่ากับ 14,772 สัญญา น่าจะการเร่งเปิดสถานะ Short มากขึ้น หลัง SET50 Index ทรงตัวต่ำกว่า 900 จุด โดย S50U15 ปิดต่ำกว่า SET50 Index กว้างขึ้นเล็กน้อยเป็น 9.37 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เท่ากับ 8.64 จุด ทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Short สุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 39,708 สัญญา
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิเป็นวันที่ 13 อีก 1,439 ล้านบาท รวม 13 วันทำการ ขายสุทธิ 38,357 ล้านบาท ทั้งนี้ราคาพันธบัตรไทยปรับตัวลงค่อนข้างแรง ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น 2.39bps จากวันก่อนหน้าลดลงเล็กน้อย 0.05bps ปิดที่ 2.872%
Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling ลดลงเหลือ 523 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 677 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR กลับมาขายสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 8 วันทำการ เน้นกลุ่มธนาคาร
การซื้อขายผ่าน NVDR กลับมาขายสุทธิ 542 ล้านบาท เทียบกับ 7 วันทำการก่อนหน้าซื้อสุทธิ 4,863 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นการลดน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มธนาคารหนาแน่น อาจประเมินว่าราคาหุ้นหลังขึ้นเครื่องหมาย XD จะลงแรงกว่าเงินปันผลที่ได้รับ สรุปภาพรวมได้ดังนี้
1. กลุ่มธนาคารถูกขายสุทธิสูงสุดเป็นวันที่ 2 อีก 654 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 180 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่ม ICT ขายสุทธิ 110 ล้านบาท
2. ด้านกลุ่มโรงพยาบาลถูกซื้อสุทธิสูงสุด แต่ก็เพียง 96 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มอสังหาฯ ซื้อสุทธิ 86 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ไม่มี
ยุโรป
ผลผลิตภาคอุตฯ ของเยอรมันฟื้นตัว แต่ยังต่ำกว่าคาด: เดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 0.7% mom จากเดือนมิ.ย.ที่ชะลอตัว 0.9% mom แต่ยังต่ำกว่า Bloomberg consensus ที่คาดว่าจะขยายตัว 1.1% mom เป็นผลจากความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงประเทศในอียู แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกก็ตาม
จีน
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนลดลงในเดือนส.ค.: เป็น US$3.56 ล้านล้าน ณ สิ้นเดือนส.ค. จาก US$3.65 ล้านล้าน ณ สิ้นเดือนก่อนหน้า ใกล้เคียงกับที่ Bloomberg consensus คาดไว้ที่ US$3.58 ล้านล้าน เนื่องจากธนาคารกลางจีน ขายดอลลาร์สหรัฐฯ ซื้อหยวน เพื่อไม่ให้เงินหยวนอ่อนค่ามากเกินไป หลังประกาศลดค่าเงินหยวนไป 2 วันในเดือนส.ค.
ทางการจีนควบคุมการไหลออกของเงินลงทุน: โดย State Administration of Foreign Exchange ไม่ได้อนุมัติให้สถาบันภายในประเทศของจีน นำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ ผ่านโครงการ Qualified Domestic Institutional Investor Program ตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่ผ่านมา เป็นหยุดให้โควต้ายาวนานที่สุดในรอบ 6 เดือน
เอเชียแปซิฟิก
S&P เตือนอินโดนีเซียให้ระวังเงินทุนต่างชาติไหลออก: หลังมาเลเซียเผชิญกับปัญหาด้านการเมือง และราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง ส่งผลให้ค่าเงินริงกิตอ่อนค่าลงแรงสุดในอาเซียน และลำดับถัดไป อินโดนีเซีย จะมีความเสี่ยงเป็นลำดับถัดไป ซึ่งในแง่ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของอินโดนีเซียดูจะมีความเสี่ยงเช่นกัน หลังลดลงเกือบ 7% ในช่วง 5 เดือนสิ้นสุดเดือนก.ค.ที่ผ่านมา
BoJ เริ่มไม่มั่นใจต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ: รวมถึงแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ หลังผลผลิตภาคอุตฯ และการส่งออกเริ่มฟื้นตัวในอัตราที่อ่อนแรงลง แรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงกลับมาอีกครั้ง
ยอดส่งออกไต้หวันหดตัวต่อเนื่อง: หดตัว 14.8% yoy ในเดือน ส.ค. ต่อจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 11.9% yoy และเป็นการหดตัวแรงกว่าที่ Bloomberg Consensus คาด -13.0% yoy ทั้งนี้การส่งออกไปจีนและสหรัฐฯหดตัว 17.6% yoy และ 6.0% yoy ตามลำดับ ด้านยอดนำเข้าหดตัว 16.7% yoy ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลอยู่ที่ US$3.96 พันล้าน
ไทย
ไม่มี
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530