- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 02 September 2015 17:28
- Hits: 1075
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ผันผวนอีกครั้ง หลังไม่ผ่าน 1,384 จุด (ใกล้ดัชนีเป้าหมายปี 2558 อิง PER 15.5 เท่า) และได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว กดดันราคาน้ำมันดิบโลกอีกครั้ง กลยุทธ์เน้นหุ้นได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ ROBINS, SCC, BTS, EASTW, WORK เลือก SCC(FV@B580) เป็น Top pick PER ต่ำ และแนะเก็งกำไร LIT(FV@B10) ได้ประโยชน์จากงบจัดซื้อพัสดุภาครัฐ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจีนอ่อนตัว หนุน PBOC ลดดอกเบี้ย และ RRR ต่อ
ต่างประเทศโลกปรับฐานอีกครั้ง หลังจากพื้นตัวได้เพียงไม่กี่วัน ทั้งนี้เนื่องจากความกังวลต่อเศรษฐกิจจีนชะลอตัวกลับมาถ่วงน้ำหนักตลาดอีกครั้ง ทั้งนี้หลังจากที่วานนี้จีนได้ประกาศตัวเลขดัชนีภาคการผลิต (PMI) เดือน ส.ค. อยู่ที่ 49.7 ลดลงจากเดือน ก.ค. ซึ่งอยู่ที่ 50 ถือว่าลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เช่นเดียวกับตัวเลขนอกภาคการผลิต อยู่ที่ 53.4 ลดลงจากเดือน ก.ค. ที่ 53.9 ซึ่งสอดคล้องกับ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อไฉซิน (PMI) ประจำเดือน ส.ค. ลดลงแตะระดับ 47.1 เทียบกับเดือน ก.ค. อยู่ที่ 47.8 (นับว่าต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.52 ช่วงวิกฤติการเงินโลก รวมทั้งต่ำกว่าระดับ 50 จุดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6)
อย่างไรก็ตามทำให้มีความหวังว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) น่าจะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง แม้ล่าสุดเมื่อปลายเดือน ส.ค. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (เงินกู้ระยะ 1 ปี) ลง 0.25% มาอยู่ที่ 4.6% นับเป็นการปรับลดลงครั้งที่ 5 (นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2557) พร้อมกับลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% มาอยู่ที่ 18% (เป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้) แต่เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อจีนอยู่ที่ 1.6% ในเดือน ก.ค. และจากต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 1.32%ytd จึงคาดว่า PBOC น่าจะใช้วิธีการลด RRR เนื่องจากระดับ 18% ยังถือว่าสูง ดังนั้นในภาวะที่มีความกังวลต่อเศรษฐกิจจีนอาจจะเติบโตต่ำกว่า 7% ตามเป้าหมายของรัฐบาล แต่ความหวังต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้นโยบายการเงินยังเป็นประเด็นที่ยังช่วยหนุนตลาดหุ้นเอเซียในระยะสั้นๆ อย่างไรก็ตามในอีกมุมหนึ่งอาจจะหนุนให้ค่าเงินหยวนกลับมาอ่อนค่าได้อีกรอบ หลังจากที่มีการลดค่าเงินกว่า 3% เมื่อ 11 ส.ค. ที่ผ่านมา
แม้เงินเฟ้อติดลบ แต่คาด กนง. จะยืนดอกเบี้ยต่อไป
กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อประจำเดือน ส.ค. ติดลบ 1.19%YoY เพิ่มขึ้นเทียบกับเดือนที่แล้ว ซึ่งติดลบ 1.05%YoY และเป็นการติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ทั้งนี้เหตุผลหลักๆ ที่เงินเฟ้อยังคงติดลบเพิ่มขึ้น เกิดจากสินค้าที่มิใช่หมวดอาหาร ได้แก่ หมวดพลังงานลดลง 17.04% และน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 24.72% ตรงข้ามกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.27% อย่างไรก็ตามตลอด 8 เดือนของปี 2558 (YTD) พบว่าเงินเฟ้อยังคงติดลบ 0.89% ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยประมาณการอัตราเงินเฟ้อ ตลอดทั้งปีไว้ที่ติดลบ 1% (ภายใต้สมมติฐาน ราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 53 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ลดลงจากจากประมาณการเดิมที่ 0.5% (สมมติฐานเดิมที่ราคาน้ำมันดิบดูไบ 58 เหรียญฯ)
นอกจากนี้ ยังได้ปรับเพิ่มสมมติฐานราคาอาหารขึ้น 0.25% ในไตรมาสสุดท้ายของปี จากปัญหาภัยแล้งที่กดดันให้ผลผลิตเกษตรลดลง และกำลังซื้อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนับจากนี้
ทั้งนี้ หากพิจารณาอัตราเงินเงินเฟ้อที่ติดลบต่อเนื่อง อาจจะทำให้โอกาสที่ กนง. จะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังมีความเป็นได้ในการประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้งในปีนี้ (การประชุมรอบถัดไปคือ 16 ก.ย. 58) อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยคาดว่า กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ ณ ระดับเดิมที่ 1.5% เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่คาดว่าน่าจะเริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้นในงวด 4Q58 เป็นต้นไป รวมทั้งเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่อง นับตั้งแต่กลางเดือน เม.ย. จนถึงปัจจุบัน อ่อนค่ามากถึง 10.35% (จาก 32.38 มาอยู่ที่ 35.73 บาทต่อดอลลาร์) ซึ่งถือเป็นระดับที่อ่อนค่ามากกว่าประเทศในภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ เงินเปโซของฟิลิปปินส์ อ่อนค่า 5.6% ค่าเงินรูเปียะห์ของอินโดนีเซีย อ่อนค่า 8.4% ยกเว้นเงินริงกิตของมาเลเซียที่อ่อนค่า 17.3% นับว่า อ่อนค่ามากสุดในภูมิภาค
LIT ได้ประโยชน์ตรง ๆ จากการเพิ่มวงเงินจัดซื้อภาครัฐ
วานนี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ตามที่ได้นำเสนอไปวานนี้ คือ 1) ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยจะอัดฉีดเงิน 5.9 หมื่นล้านบาท และ 2) เร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐเข้าสู่ตำบล โดยกระทรวงมหาดไทยใช้เงิน 3.5 หมื่นล้านบาท จัดสรรเงินให้เปล่าเข้าสู่ตำบล ๆ ละ 5 ล้านบาท เพื่อจ้างงานในชนบท นอกจากนี้ยังอนุมัติวงเงินในการจัดซื้อพัสดุส่วนราชการอีก 8 หมื่นล้านบาท ด้วยการร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น โดยการลดยอดจัดซื้อแต่ละครั้งให้เหลือ 5 แสนบาท จากเดิม 1 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่จะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ความคืบหน้าของการกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่งวด 4Q58 เป็นต้นไป แต่น่าน่าจะสร้าง sentiment เชิงบวกต่อตลาด โดยเฉพาะหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภค ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ราคาหุ้นได้ปรับชึ้นรับข่าวไปแล้ว อาทิ CPALL, HMPRO, GLOBAL ยกเว้น ROBINS (FV@B 54) ที่ยัง LAGGARDS ขณะที่คาดว่าจะได้ประโยชน์โดยตรงจากภาครัฐ เนื่องจากฐานลูกค้าของ ROBINS จะเน้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดหรือพื้นที่รอง เช่น อุดรธานี, อุบลราชธานี, ภูเก็ต, ศรีราชา จึงไม่มีการแย่งลูกค้าจาก CPN
อีกกลุ่มที่ได้ประโยชน์คือ กลุ่มธุรกิจการเงิน-เช่าซื้อ ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้างคือ LIT ให้บริการ factoring (รับซื้อลูกหนี้) จะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการการเข้าผู้ที่ให้การสนับสนุนการเงินแก่ suppliers ที่ขายพัสดุให้กับหน่วยงานราชการ วันนี้ทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่ม Fair value จากเดิม 7 บาท เป็น 10 บาท อ่านรายละเอียดใน Equity Talk วันนี้ ขณะที่หุ้นอื่น ๆ ในกลุ่มธุรกิจการเงิน ที่คาดจะได้ประโยชน์ และฝ่ายวิจัยชื่นชอบ SINGER ([email protected]) เนื่องจากสินค้าจะเน้นที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ที่ถือเป็นช่องทางการลงทุน เช่น ตู้เติมน้ำมัน หรือบัตรเติมเงินโทรศัพท์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีศักยภาพเพิ่มขึ้นหลังจับมือเป็นพันธมิตรร่วมกับ JMART([email protected]) ปรับธุรกิจสร้างนวัตกรรมใหม่ของสินค้าบริการ
ส่วนโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้จะเดินหน้าประมูลอีกหลายโครงการมูลค่ากว่า 1.1 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้า กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ซึ่งน่าจะเอื้อประโยชน์ต่อหุ้นต่อไปนี้คือกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง นำโดย CK([email protected]) STEC(FV@B B23.20), ITD([email protected]), UNIQ([email protected]) แต่ส่วนใหญ่ราคาหุ้นเกิน Fair Value ปี 2558 ยกเว้น CK ที่ยังมี upside 18% ตามมาด้วยวัสดุก่อสร้าง SCC (FV@B 580) และ TASCO (FV@B 29)
แนะนำขายหุ้นราคาเกินพื้นฐาน/upside จำกัด
ในสภาพตลาดผันผวน และ SET มีโอกาสกลับลงมาทดสอบ 1,360 -1,350 จุด แนะนำให้เลือกขายหุ้นเป็นรายบริษัทที่มีความเสี่ยงที่จะปรับลดลงมากกว่าตลาด ขณะที่ upside จำกัด โดยใช้ ASP Smart ในการคัดเลือกหุ้น โดยกำหนดเงื่อนไขหลักๆ 5 ประการคือ
1. Beta มากกว่า 1.2 เท่า
2. PER ปี 2558 มากกว่า 16 เท่า
3. PER ปี 2559 มากกว่า 21 เท่า
4. upside จาก fair value น้อยกว่า 5%
แนะนำสะสมหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด : EASTW
ในสภาพตลาดผันผวนแนะนำให้ใช้ ASP Smart ในการคัดเลือกหุ้นที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่เป็นนักลงทุนระยะกลาง-ยาว โดยกำหนดเงื่อนไขหลักๆ 5 ประการคือ
1. Beta น้อยกว่า 1 เท่า
2. PER ปี 2558 น้อยกว่า 14 เท่า
3. Dividend Yield มากกว่า 4%
4. upside จาก fair value มากกว่า 20%
5. เป็นหุ้นพื้นฐานที่ ASPS แนะนำซื้อ
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : ภราดร เตียรณปราโมทย์