- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 13 August 2015 16:52
- Hits: 1406
บล.ซีไอเอ็มบี : Thailand Trading Picks(PM)
SET Index : ทดสอบกรอบแนวโน้มลง 1385 และ 1395
SET Index : 1388.77 ปรับตัวลดลงค่อนข้างแรงทำจุดต่ำสุดใหม่ในระยะสั้นต่อเนือ่เนื่องตามกรอบแนวโน้มขาลงหลังจากปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดใหม่หลุดแนวรับที่ 1400 จุดลงไป แต่เราคาดว่า การปรับตัวลดลงของ SET Index ลงไปทดสอบแนวรับที่ 1395 หรือ 1385 จุดตามกรอบแนวโน้มขาลง น่าจะมีโอกาสฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ในระยะสั้น และเป้าหมายของการปรับฐานตามสัดส่วนของ Fibonacci อยู่ที่บริเวณ 1375 จุด ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดที่เคยทำไว้เมื่อเดือนธันวาคม จึงทำให้การปรับตัวลดลงเข้าใกล้ระดับ 1380 หรือต่ำกว่า ควรใช้เป็นจังหวะเข้าซื้อเพื่อปรับฐานต้นทุนสำหรับหุ้นที่ติดอยู่ด้านบน และมีแนวต้านในระยะสั้นที่ 1400 จุด
TRUE = 10.00 / 10.20, KBANK = 169 / 172, PIMO = 2.30 / 2.60, JAS = 5.00 / 5.10, AOT = 267 / 274
PTT (PTT TB; THB 296.00) - ซื้อ
แนวต้าน : 305 และ 310
แนวรับ : 296 และ 294
ราคาหุ้นปรับตัวลดลงต่อเนื่องค่อนข้างแรงหลังจากปรับตัวลดลงหลุดแนวรับที่ 310 ลงไปทำจุดต่ำสุดใหม่ต่อเนื่อง แต่โครงสร้างในระยะยาวของราคหุ้นมีจุดต่ำสุดที่ 295-296 ทำให้ราคาหุ้นมีโอกาสฟื้นตัวที่แนวรับสำคัญ
MACD ปรับตัวลดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยในแดนลบ แต่เริ่มให้สัญญาณขัดแย้งในเชิงบวก RSI ปรับตัวลดลงไปทดสอบระดับ 25.00
แนะนำซื้อ PTT โดยมีแนวรับที่ 296 และ 294 และมีแนวต้านที่ 305 และ 310 เป็นจุดขายทำกำไร
ถ้าราคาหุ้นปิดต่ำกว่า 294 ลงไป จะมีแนวรับถัดไปที่ 260
IRPC (IRPC TB; THB 3.96) - ซื้อ
แนวต้าน : 4.10 และ 4.20
แนวรับ : 3.96 และ 3.92
ราคาหุ้นปรับตัวลดลงต่อเนื่องทำจุดต่ำสุดใหม่ตามกรอบแนวโน้มขาลง ไปทดสอบแนวรับของเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน และจุดต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ในขณะที่ปริมาณการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง ทำให้แนวโน้มของราคาหุ้นมีโอกาสฟื้นตัวทางเทคนิค
MACD ปรับตัวลดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยในแดนลบ เครื่องมือทางเทคนิคชี้วัดแนวโน้มลงปรับตัวเพิ่มขึ้นเหนือแนวโน้มขึ้น RSI ปรับตัวลดลงเข้าใกล้ระดับ 30
แนะนำซื้อ IRPC โดยมีแนวรับที่ 3.96 และ 3.92 และมีแนวต้านที่ 4.10 และ 4.20 เป็นจุดขายทำกำไร
STOP LOSS ถ้าราคาหุ้นปิดต่ำกว่า 3.84 ลงไป
Analysts :
Teerasak Tanavarakul +662 657-9231 [email protected]
บล.ซีไอเอ็มบี : Investment Strategy(AM)
SET...ยังผันผวน
ตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดความผันผวนหนัก หลังธนาคารกลางจีนมีการปรับลดค่าเงินหยวนในช่วง 2 วันที่ผ่านมา เดิมค่าเงินหยวนจะสามารถแกว่งตัวทั้งขึ้นและลง ประมาณ 2% แต่ที่ผ่านมาลงไปอีกเกือบ 2% ส่งผลให้เกิดความกังวลเรื่องที่จะเกิดสงครามค่าเงิน คือ แย่งกันลดค่าเงิน โดยทางธนาคารกลางของจีนบอกเหตุผลของการลดค่าเงินหยวนว่าต้องการกระตุ้นการส่งออก หลังตัวเลขส่งออกเดือนล่าสุด หดตัวประมาณ 8% และคงมองว่าการใช้นโยบายให้ค่าเงินอ่อนตัวน่าจะได้ผลกว่าการลดดอกเบี้ยและ RRR
ส่วนประเด็นที่ตลาดยังกังวลอยู่ก็คือ จีนน่าจะยังมีการลดค่าเงินหยวนต่อไปอีก เพราะหลายฝ่ายมองว่าค่าเงินหยวนที่อ่อนตัวลงในปัจจุบัน ยังไม่น่าจะช่วยกระตุ้นการส่งออกและเศรษฐกิจได้มาก โดยตอนนี้ตลาดมองว่าธนาคารกลางจีนจะค่อยๆให้ค่าเงินหยวนอ่อนตัวลงไปอีก แต่ยังไม่รู้ว่าจะอีกกี่เปอร์เซ็นต์ จากการสำรวจของ Reuters พบว่านักเศรษฐศาสตร์คาดว่าค่าเงินหยวนจะอ่อนตัวลงอีกประมาณ 5.6-8.8% บ้างก็บอกว่า 10% ไปถึง 14% หลังค่าเงินหยวนที่แท้จริง(Trade weighted Yuan) แข็งตัวขึ้นมาประมาณ 14% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผลกระทบที่เห็นชัดๆ คือตลาดหุ้น ค่าเงินและเศรษฐกิจของตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลก โดยเฉพาะค่าเงินของประเทศที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ของเอเชีย อย่าง อินโดนีเชีย มาเลเชีย อินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย นอกนั้นจะเป็นค่าเงินของประเทศคู่ค้าจีน เช่น เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์
ส่วนผลกระทบกับตลาดหุ้นในเอเชีย ถือว่ายังไม่นิ่ง แม้เมื่อคืนนี้ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ สามารถดีดตัวขึ้นมาหลังดิ่งลงไปเกือบ 280 จุด เนื่องจากยังมีความกังวลว่าการส่งออกของเอเชีย จะได้รับผลกระทบ จากการอ่อนค่าของเงินหยวน อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ดี หากจีนสามารถปรับโครงสร้างและปฎิรูประบบเศรษฐกิจได้สำเร็จก็น่าจะส่งผลดีในระยะยาวกับเศรษฐกิจเอเชีย ผลการอ่อนตัวของค่าเงินหยวนเริ่มส่งผลไปถึงทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยในสหรัฐ โดยความน่าจะเป็นที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. ลดลงจาก 50% กว่าๆ ลดลงเหลือประมาณ 40-45%
เรามองว่าการที่จีนเริ่มปรับลดค่าเงินหยวน คงจะเริ่มส่งผลด้านลบกับตลาดไปอีกสักพัก แม้รัฐบาลจีนจะออกมายืนยันว่าจะไม่มีการปรับลดค่าเงินหยวนลงไปอีก อย่างไรก็ตามจุดดีของตลาดหุ้นไทย อยู่ที่สัดส่วนการถือครองของต่างชาติทั้งพันธบัตรและหุ้น มีน้อย ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงไม่มาก ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันเริ่มยืนทรงตัว หลังราคาน้ำมันไม่ลงไปทำจุดต่ำสุดใหม่ และสามารถดีดตัวกลับมายืนใกล้ 50 ดอลลาร์ หลัง IEA ออกมาบอกว่าตลาดน้ำมันเริ่มมีการปรับสมดุลและเริ่มเห็นสัญญาณปริมาณการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น
ปัจจัยภายในที่น่าจะพอหักล้างผลของการลดค่าเงินหยวนได้บ้าง คือ การปรับ ครม. ซึ่งทางนายกได้ออกมาบอกว่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่รอประกาศวันไหน แม้การปรับครม. จะไม่ได้ช่วยอะไรกับเศรษฐกิจ แต่หากออกมาแล้วตลาดพอใจก็น่าจะเรียกความเชื่อมั่นได้พอสมควร ดังนั้นทิศทางดัชนี SET ในช่วงปลายสัปดาห์ยังมีแนวโน้มที่จะลงไปเล่นต่ำกว่า 1400 จุด ขึ้นอยู่กับ หน้าตาของ ครม. ใหม่ ราคาน้ำมันและทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยวันนี้มองดัชนี SET เปิดขึ้นมาจะอ่อนตัวลงไปต่ำกว่า 1400 จุด คือที่บริเวณ 1395+/- แล้วน่าจะดีดตัวกลับจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานเข้ามาพยุง โดยแนวรับวันนี้อยู่ที่ 1390-1395 จุด ส่วนแนวต้านที่ 1415-1420 จุด
Analysts :
Kiatkong Decho +662 657-9236 [email protected]
บล.ซีไอเอ็มบี : Trend Spotter(PM)
Morning Market Summary...
SET ช่วงเช้าปิดที่ระดับ 1,388.77 จุด ลดลง 19.55 จุด (-1.39%) มูลค่าการซื้อขาย 26,416.29 ล้านบาท หุ้นไทยเช้านี้ดิ่งลง หลังเปิดทำการ โดยมีแรงกดดันหลังจากจีนประกาศลดค่าเงินหยวน ส่งผลให้ SET ในช่วงเช้าเทรดต่ำกว่า 1400 จุด
Afternoon Perspective...
แนวโน้มตลาดภาคบ่าย ลุ้นรีบาวน์กลับ ช่วงเช้า เกิด Panic sell จากประเด็นเรื่องการลดค่าเงินหยวนของธนาคารกลางจีน ประกอบกับตลาดหุ้นไทยเจอแรงขายตกค้างจากการที่ตลาดเราปิดในขณะที่ตลาดเอเชียอื่นๆปรับตัวลงไปเมื่อวาน ส่งผลให้วันนี้ตลาดไทยปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เรามองว่าระดับ SET Index ที่ 1388 จุด ถือเป็นจังหวะเข้าซื้อที่น่าสนใจ เนื่องจากระดับ PE15 และ PE16 ของหุ้นขนาดใหญ่ ลดลงมาอยู่ที่ระดับเพียง 14.2 เท่า และ 12.5 เท่า ตามลำดับ ซึ่งต่ำเพียงพอที่ชดเชยความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันได้ในระดับหนึง เราแนะนำให้เข้าซื้อหุ้นขนาดใหญ่ โดยเราชอบ PTTEP, KBANK, AOT, SCC, ADVANC, JAS ,PTTGC, AAV, IRPC
Fundamental Picks & Technic (PM) ...
Turnover List Preview (Cash Balance) : คาดหลักทรัพย์ที่มีโอกาสติด Cash Balance สัปดาห์หน้า : PICO, AJD* (* ดูรายละเอียดของเงื่อนไขในบทวิเคราะห์ และกรณีหุ้นแม่ติด ฯ Warrant ทุกตัวของหุ้นนั้นจะติดตามด้วย)
PTT (PTT TB; THB 296.00) - ซื้อ
IRPC (IRPC TB; THB 3.96) - ซื้อ
Analysts :
Teerawut Kanniphakul +66(2) 657 9233 - [email protected]/ [email protected]