- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 11 August 2015 18:02
- Hits: 4952
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“เน้นการเลือกซื้อเป็นรายบริษัท”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : THAI (จากขายเป็นถือ)
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลง 8.66 จุด ปิดที่ 1420.13 จุด โดยหุ้นใหญ่ในกลุ่มหลักปรับตัวลงต่อเพราะขาดปัจจัยกระตุ้น โดยเฉพาะหุ้นพลังงานที่ยังคงถูกกระทบจากราคาน้ำมันที่ร่วงลง อย่างไรก็ตาม มีแรงซื้อเก็งกำไรหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่เห็นการฟื้นตัวและเติบโตดีจากฐานกำไรต่ำ นักลงทุนต่างชาติและสถาบันในประเทศขายสุทธิ รายย่อยซื้อสุทธิ พอร์ตบล.ซื้อ/ขายใกล้เคียงกันการรีบาวด์ขึ้นของราคาน้ำมันดิบและการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเพราะตลาดประเมินว่าเฟดอาจจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วหลังอัตราเงินเฟ้อต่ำมาก ทำให้ Sentiment ของตลาดหุ้นโดยรวมดีขึ้น ผนวกกับการซื้อเก็งกำไรข่าว M&A ในสหรัฐ (วอร์เรน บัฟเฟตต์ ประกาศซื้อบริษัทผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมการบิน) และผลประกอบการ 2Q58 ซึ่งบริษัทขนาดกลาง-เล็กหลายแห่งมีกำไรเติบโตดี
อย่างไรก็ตาม ยังต้องระวังระยะทางของการปรับขึ้นว่าอาจจะจำกัดเพราะสภาพเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกโดยรวมยังซบเซา เราประเมินค่า Median ของSET Index ในช่วงที่เหลือของปีนี้ไว้ที่ 1432 จุด เชิงกลยุทธ์ แนะนำให้ถอยรับหุ้นพื้นฐานดีเป็น Step โดยหุ้นพื้นฐานที่เลือกมาแนะนำในวันนี้เป็น AP
การวิเคราะห์ทางเทคนิค ภาพตลาดเป็นลบ การซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก โดยมีแนวต้านระยะสั้น 1430-1440, 1450 จุด ค่าลบให้ Wait& See โดยมีโอกาสลงไปยังแนวรับถัดไป 1400-1380 จุด หุ้นที่ SCAN ด้วยเงื่อนไขทางเทคนิคว่าราคามีโอกาสปรับขึ้นได้ในระยะสั้นที่เข้ามาใหม่ คือ M, ASIMAR ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List ต่อเป็น PTG, SYNTEC, AJP ส่วนหุ้นที่แนะนำไปแล้วและควรพิจารณาหาจังหวะ Take Profitโดยเฉพาะเมื่อราคาปรับขึ้นต่อ คือ TIPCO, SAWAD, CGH, STAR, MCS สำหรับหุ้นที่หลุด List เป็น TRC
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
+/- OECD ระบุเศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มดีขึ้น แต่สหรัฐอังกฤษ จีน ชะลอตัวลง องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจประเทศชั้นนำของโลก พบว่าดัชนีของยูโรโซนในเดือนมิ.ย.58 เท่ากับ 100.7 เพิ่มขึ้น 4เดือนติดต่อกัน ขณะที่สหรัฐร่วงลงสู่ 99.4 จาก 99.5 ในเดือนพ.ค.ส่วนของจีนยังคงอ่อนตัวลงเป็น 97.4 จาก 97.5 ทั้งนี้ระดับค่าเฉลี่ยระยะยาวของดัชนีอยู่ที่ระดับ 100 โดยรวมแล้ว OECD ระบุว่าตัวเลขบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจอิตาลี และฝรั่งเศส รวมทั้งภาพรวมยูโรโซนมีสัญญาณแข็งแกร่งขึ้น แต่เศรษฐกิจสหรัฐและอังกฤษมีแนวโน้มชะลอตัวลงในระยะยาว ขณะที่เศรษฐกิจจีนและบราซิลมีทิศทางอ่อนตัวลงด้านเศรษฐกิจเยอรมนี ญี่ปุ่น และอินเดียอยู่ในระดับทรงตัว รัสเซียต่ำกว่าแนวโน้มระยะยาวแต่ก็มีเสถียรภาพ
• สหรัฐ : จับตาทีท่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด โดยนายเดนนิสล็อคฮาร์ท ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา เปิดเผยล่าสุดว่า เฟดใกล้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีแล้ว โดยระบุว่าความคืบหน้าของเศรษฐกิจนับตั้งแต่ต้น 58 นี้ค่อนข้างน่าพอใจและเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น แต่นายสแตนลีย์ ฟิสเชอร์ รองประธานเฟดกล่าวว่าเงินเฟ้อที่ต่ำในสหรัฐยังเป็นประเด็นที่เฟดกังวลเมื่อมีการพิจารณาถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
+ ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้น 1.2-1.4% หนุนโดยข่าวที่ว่าวอร์เรนบัฟเฟตต์ ประกาศซื้อกิจการพรีซิชั่น แคสต์พาร์ท ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมการบินที่กำลังประสบปัญหาด้วยมูลค่าเงินลงทุนสูงหลักหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และการรีบาวด์ของหุ้นกลุ่มพลังงาน
+ ราคาน้ำมันดิบรีบาวด์ โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 1.09 ดอลลาร์ ปิดที่ 44.96 ดอลลาร์/บาร์เรล และ BRENTเพิ่มขึ้น 1.8 ดอลลาร์ ปิดที่ 50.41 ดอลลาร์/บาร์เรล ปัจจัยหนุน คือรายงานของสำนักงานศุลกากรจีนที่ว่า จีนนำเข้าน้ำมันดิบในเดือนก.ค.58 เพิ่มขึ้น 29% สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
+ ราคาทองคำดีดขึ้นปิดเหนือ 1100 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาทองคำ COMEX เมื่อคืนนี้ปิดเพิ่มขึ้น 10 ดอลลาร์ ที่ 1104.10ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนลง และการเข้าซื้อเก็งกำไรหลังจากที่ราคาอ่อนตัวลงมาต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังขาดปัจจัยกระตุ้นที่มีนัยสำคัญ และอ่อนไหวต่อโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดมาก ดังนั้นจึงยังต้องระวังว่า Gap กำไรอาจจะยังไม่มากนัก
ปัจจัยในประเทศและหุ้นเด่น
-/• ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเดือนส.ค.58 ร่วงลงแรงเป็น 57.27จุดในเดือนส.ค. ลดลง 41.73% และต่ำสุดในรอบ 14 เดือน โดยปัจจัยที่กระทบต่อความเชื่อมั่นมากที่สุด คือ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซา
สำหรับอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนของนักลงทุนรายย่อย คือ กลุ่มไอซีที,ของบริษัทหลักทรัพย์เป็น กลุ่มก่อสร้าง, ของนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็น กลุ่มไอซีทีและกลุ่มก่อสร้าง และของสถาบันต่างประเทศเป็น กลุ่มก่อสร้าง เช่นกัน
ส่วนอุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน นักลงทุนรายย่อยมองว่าเป็น กลุ่มอาหารและธนาคาร, บริษัทหลักทรัพย์มองว่าเป็น กลุ่มเหล็ก, สถาบันในประเทศมองว่า กลุ่มเหล็กเช่นกัน และสถาบันต่างประเทศเห็นว่าเป็นกลุ่มพลังงาน ที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด
• กลุ่มสื่อสาร : DTAC เพิ่มงบลงทุนปีนี้เป็น 2 หมื่นล้านบาท(เดิม 1.4 หมื่นล้านบาท) เร่งขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมมากขึ้นเป็น95% เพื่อให้สามารถแข่งขันในธุรกิจได้ หลังจากที่ฐานลูกค้าบริษัทลดลงโดยส่วนใหญ่ย้ายไปอยู่กับ TRUE ที่มีบริการ Internet ที่ดีกว่าบริษัทมีเป้าหมายที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ที่ 29% หลังจากลดลงจากปีก่อนที่ประมาณ 30-31%
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ : เราประเมินว่า DTAC ยังคงมีแรงกดดันจากการย้ายค่ายของลูกค้าอีกระยะหนึ่ง ขณะเดียวกันการลงทุนใหม่บนคลื่น 850 MHz อยู่บนสัญญาสัมปทานที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 30%และต้องตัดค่าเสื่อมราคาภายใน 3 ปี ตามอายุสัมปทาน ขณะที่การลงทุนบนเครือข่าย 2100 MHz เสียค่าธรรมเนียมต่ำที่ 5.3% แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุนจะมากกว่า 3 เท่าตัวแต่สุทธิแล้วจะได้
ผลประโยชน์มากกว่า ทั้งนี้ปัจจุบัน ADVANC จ่ายค่าธรรมเนียมในอัตรา 25% สำหรับ 900 MHz และ 5.3% สำหรับ 2100 MHz ขณะที่TRUE จ่าย 10% บน 850 MHz และ 5.3% บน 2100 MHz แต่ DTACจ่ายที่ 30% บน 850 MHz, 30% บน 1800 MHz และ 5.3% บน 2100MHz ซึ่งเห็นไว้ว่า DTAC จะมีอัตราการจ่ายค่าธรรมเนียมเฉลี่ยที่สูงกว่าคู่แข่งขัน ทำให้ผลประกอบการโดยรวมจะด้อยกว่า และการลงทุนเพิ่มทำให้มีค่าเสื่อมราคาเข้ามาอีก ดังนั้นในกลุ่มสื่อสารขนาดใหญ่ เราจึงชอบ ADVANC และ INTUCH ซึ่งมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ (ส่วนแบ่งการตลาด 52-53%) โครงข่ายดี และฐานะการเงินแข็งแกร่ง มากกว่าDTAC และ TRUE (ส่วนแบ่งการตลาด 18-19%)
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]