WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
      คาด SET ยังคงอยู่ในภาวะปรับฐานต่อเนื่อง เพราะยังมีปัจจัยกดดันรอบด้าน และ ณ ดัชนีปัจจุบันมี PER ที่ 15.6 เท่า ยังแนะนำให้ปรับพอร์ต และเลือกหุ้นที่กระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวน้อยยังชื่นชอบ THCOM, BTS, HANA, EASTW และเลือก SCC(FV@B580) เป็น Top pick

 

ความเสี่ยงต่อตลาดยังมีอยู่รอบด้าน
       ตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันรอบด้าน ทั้งเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวล่าช้า การดำเนินนโยบายกดดันรัฐบาลไทยในรูปแบบต่าง ๆ มีเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบบริษัทจดทะเบียนในวงกว้าง โดยเฉพาะทางด้านสายการบิน ซึ่งปัจจุบันกรมการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)ยังคงให้ธงแดงแก่ กรมการบินพลเรือนของไทย เนื่องจากปฏิบัติงานได้ต่ำกว่ามาตรฐานสากล อย่างน้อย 2 เรื่องคือ การรวมหน่วยงานกำกับดูแล และตรวจสอบสายการบินไว้ในหน่วยงานเดียว ขาดความโปร่งใส และมาตรฐานความปลอดภัยที่ไม่ได้มีการพัฒนาหรือปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ เช่น ด้านบุคลากร ซึ่งเป็นผลให้กรมการบินในหลายประเทศได้ห้ามเพิ่มเที่ยวบินให้กับ สายการบินสัญชาติไทยแล้ว ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี และล่าสุดคือ อินโดนีเซีย ซึ่งแน่นอนส่งผลกระทบต่อสายบินสัญชาติไทยที่มีเส้นทางบินข้ามประเทศ โดยเฉพาะ THAI เป็นต้น (ยกเว้น AAV และ BA ที่เน้นเส้นทางบินในประเทศ และภูมิภาคเอเซีย หรือประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนตอนใต้ ลาว พม่า เวียดนาม ผลกระทบจึงน้อย) สถานการณ์นี้ถือว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน ขณะที่ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว กดดันปริมาณผู้โดยสายที่บินระหว่างประเทศแล้ว การแข่งขันตัดราคาที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อ THAI อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และทำให้งวด 2Q58 อาจขาดทุนปกติ 6 พันล้านบาท และทำให้นักวิเคราะห์ ASPS มีแนวโน้มปรับลดประมาณลงจากเดิม 40% เป็นขาดทุน 1 หมื่นล้านบาท (รายละเอียดใน Equity Talk วันนี้)
     ขณะเดียวกันปัญหาที่รัฐบาลไทยเผชิญคือ เรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมาย ทั้งนี้หลังจากที่สหรัฐได้ลดความน่าเชื่อประเทศไทยในเรื่องการค้ามนุษย์จากเดิมที่อยู่ในระดับ 2 เฝ้าระวังมาเป็นระดับ 3 เมื่อ มิ.ย. 2557 และปีนี้ยังคงอันดับเดิมระดับ 3 ต่อไป แต่จะไม่มีผลต่อการห้ามนำเข้าสินค้าประมงจากไทย ประเด็นนี้จึงเป็นเพียงผลกระทบในเชิงจิตวิทยาเท่านั้น ขณะที่การส่งออกกุ้งของไทยไปสหรัฐปัจจุบันถือว่าไม่มาก เมื่อเทียบกับการส่งออกโดยรวม (คิดเป็นเพียง 0.6% ของรายได้รวมของ CPF และ 3% ของรายได้รวมของ TUF) นอกจากนี้เดือน ต.ค. ถึงเวลาที่สหภาพยุโรป จะต้องพิจารณายกเลิกใบเหลืองที่ให้กับประเทศไทยหรือไม่ เนื่องจากประเทศไทยเข้าข่ายการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งแก้ไขในหลายเรื่องคือ การจัดทำทะเบียนเรือประมง อุปกรณ์และแรงงานในการทำประมง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่ากระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการไทย แต่เนื่องจากผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย (TUF, CPF) ต่างเปิดเผยว่าแหล่งที่มาของวัตถุดิบทั้งกุ้ง และปลา จะมาจากฟาร์ม (TUF สั่งซื้อปลาทูน่าจะเรือประมงในต่างประเทศ) จึงคาดว่าประเด็นนี้อาจจะกระทบต่อประมาณการกำไรของผู้ประกอบการน้อยมาก แต่ปัจจัยที่จะกดดันให้มีการปรับลดประมาณการกำไรในกลุ่มเกษตรคือ CPF, TUF, GFPT คือเรื่องต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นตามราคาตลาดโลก ทั้งราคาข้าวโพด และกากถั่วเหลือง

 

ความเสี่ยงต่อการปรับลดประมาณกำไรตลาดยังมีอยู่
      ประเด็นความเสี่ยงของตลาดหุ้นไทย ยังคงเป็นเรื่องของการปรับลดประมาณการกำไรตลาด โดยนักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยปรับลดประมาณการกำไรตลาดหุ้นในปี 2558 และ 2559 ของหุ้นในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเพิ่มเติม โดยช่วงปลายเดือน ก.ค. ได้ปรับลดประมาณการฯ ของ
       อาหาร-เครื่องดื่ม : M คาดการณ์กำไรงวด 2Q58 เติบโต 28.5% yoy จากการขยายสาขาร้านอาหารใหม่ แต่ SSSG โดยเฉพาะ MK สุกี้ กลับหดตัว 4% ทั้งนี้จากภาวะเศรษฐกิจแนวโน้มชะลอตัวถึงสิ้นปี ทำให้ธุรกิจค้าปลีก และศูนย์การค้าเลื่อนเปิดออกไป จึงกระทบต่อแผนเปิดสาขาใหม่ของ M ไม่เป็นไปตามเป้า จึงปรับลดประมาณการปี 2558-59 ลง 12.1 และ 15.3% ตามลำดับ ส่งผลให้กำไรปี 2558 ลดลงจากประมาณการเดิมราว 12%
     ค้าปลีก : HMPRO คาดการณ์กำไรงวด 2Q58 ทรงตัว yoy แต่ SSSG ยังคงหดตัว 0.4%yoy (แต่ดีขึ้นจาก 1Q58 ที่หดตัว 2.7%yoy) ส่วนการเปิดสาขาใหม่ยังถือว่าเติบโต อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศที่ยังชะลอตัวต่อเนื่องและมีแนวโน้มถึงสิ้นปี เชื่อว่าการฟื้นตัวของกำไรจะยังไม่เห็นชัดเจนเหมือนที่คาดไว้ ขณะที่กำไร 1H58 เพียง 41% ของประมาณการเดิม จึงปรับลดประมาณการปี 2558-59 ลง 10% และ 17% ตามลำดับ จากการปรับลดสมมติฐานยอดขายสาขาเดิมและการเปิดสาขาใหม่ รวมทั้งอัตราการทำกำไรที่ต่ำกว่าคาด โดยคาดกำไรปีนี้จะทำได้เพียงทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่จะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปีหน้าราว 17%

 

ล่าสุดวานนี้และวันนี้ ได้มีการปรับประมาณการเพิ่มเติม ดังนี้
       พลังงาน-ถ่านหิน : BANPU ปรับลดประมาณการกำไรปี 2558 และ 2559 ลงถึง 61% และ 44% ตามลำดับ เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยถ่านหินต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากปัญหา oversupply และความต้องการใช้ที่หดตัวตามเศรษฐกิจ รวมทั้งยังมีรายการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและการ Hedging
       ส่งออกอาหาร : CPF คาดการณ์กำไรสุทธิ 2Q58 หดตัว (เนื่องจากไม่มีกำไรพิเศษ) แต่กำไรปกติคาดว่าจะเติบโตได้ อย่างไรก็ตามแรงกดดันจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและการส่งออกที่ล่าช้า บวกกับราคาผลิตภัณฑ์สัตว์บกในประเทศที่อ่อนตัวลง บวกกับต้นทุนราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำกำไร จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2558-59 ลง 6.7% และ 22.8% ตามลำดับ โดยหลังปรับประมาณการคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2558 จะลดลง 29.5% yoy แต่จะกลับมาเติบโตสูงในปี 2559 ตามมาด้วย GFPT คาดการณ์ผลประกอบการในช่วง 1H58 ชะลอตัวลง จากปัจจัยในเรื่องของยอดขายไก่ที่ลดลง โดยยอดขายในประเทศลดลงจากราคาไก่ที่ปรับตัวลงและปริมาณขายได้น้อยลงตามกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนตัวเช่นเดียวกับยอดขายต่างประเทศที่ลดลงตามปริมาณส่งออกที่ชะลอตัว สวนทางกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้แก่ กากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่สูงขึ้นจากปัญหาภัยแล้ง กดดัน GM ให้ลดลง โดยรวมแล้วกำไรสุทธิ 1H58 คิดเป็นเพียง 34% ของประมาณการเดิม จึงปรับลดประมาณกำไรปี 2558-59 เฉลี่ยราว 25% สำหรับช่วง 2H58 คาดว่าผลประกอบการน่าจะดีกว่า 1H58 ตามการฟื้นตัวของยอดขายในประเทศและการส่งออก รวมทั้ง supply ไก่ที่จะออกสู่ตลาดน้อยลง หนุนให้ราคาไก่ฟื้นตัวในช่วงดังกล่าว
       สื่อ-บันเทิง : VGI กำไรปกติ 1Q58/59 ลดลง 31% yoy เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนานกว่าคาด กระทบอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาบน BTS สวนทางกับต้นทุนที่สูงขึ้นจากค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ดิจิทัลใหม่ที่มีต้นทุนคงที่สูงในช่วงแรก รวมทั้งต้องรับรู้ต้นทุนสัมปทานของสถานีส่วนต่อขยายอีก 7 แห่ง ทั้งนี้ กำไรงวด 1Q58/59 คิดเป็นเพียง 20% ของประมาณการทั้งปี จึงปรับลดประมาณการฯ ของ VGI ในปีนี้ลงราว 15% - 20% จากประมาณการเดิม และปรับลดคำแนะนำเป็น ถือ

 

แม้ต่างชาติซื้อสุทธิ แต่ยังคงขายหุ้นกลุ่ม TIP
        วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 121 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) แต่เป็นการซื้อสุทธิอยู่ 2ประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 122 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 76 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่องเพียงวันเดียว) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศคือ กลุ่ม TIP ต่างชาติยังคงขายสุทธิ นำโดยอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 39 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 4 วัน) เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ที่ถูกขายสุทธิราว 7 ล้านเหรียญ ส่วนไทย วานนี้แรงขายจากต่างชาติบวกกับสถาบันในประเทศ ทำให้ตลาดหุ้นไทยลดลง 9.88 จุด หรือ -0.69% โดยต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 30 ล้านเหรียญ หรือ 1,058 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และสถาบันในประเทศขายสุทธิราว 286 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน)
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 30,086 ล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 3,844 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 35.08 บาท/ดอลลาร์

 

ยังเน้นหุ้นกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศน้อยและกำไรดีใน 2H58
        แม้นักวิเคราะห์ ASPS ยังทยอยปรับลดประมาณการกำไรตลาดหุ้นในปี 2558 และ 2559 เป็นรอบที่ 2 และคาดว่าจะเสร็จสิ้นอย่างเป็นททางการเมื่อมีการประกาศงบในงวด 2Q58 เสร็จสิ้น แต่ในเบื้องต้นคาดว่า EPS ของตลาด จะลดลงมาอยู่ที่ราว 92 บาทในปี 2558 และ 105 บาทในปี 2559 (ลดลงจากประมาณการครั้งก่อน 3.33% และ 4.% 2558 และ 2559 ตามลำดับ) ซึ่งทำให้ดัชนีตลาดปัจจุบันมีค่า Expected PER 15.6 เท่า ซึ่งแม้จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน ( ฟิลิปปินส์สูงสุด 20 เท่า อินเดียที่ระดับ 16.7 เท่า มาเลเซีย 16.3 อินโดนีเซีย 15.3 และ จีน 15 เท่า) แต่การปรับลด EPS ตลาดจะทำให้ PER รวมของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเบื้องต้นหากอิง EPS ใหม่ คาดว่าดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2558 จะอยู่ที่ 1426 จุด จึงทำให้เห็น Downside ของตลาดยังมีอยู่ จึงยังเน้นกลยุทธ์ลงทุน โดยเน้นถือเงินสด 60% และถือหุ้น 40%

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!