WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล. เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
SET ฟื้นตัวจากปัจจัยเทคนิค และ ณ ดัชนีปัจจุบันมี Ex PER 15.6 เท่า แนะนำให้ปรับพอร์ตโดยเลือกหุ้นที่กระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวน้อย (THCOM, BTS, HANA, EASTW) ยังเลือก EASTW(FV@B14) เป็น Top pick เพราะมีแหล่งน้ำเพียงพอ แม้ต้องเผชิญภาวะภัยแล้ง ขณะที่เป็นหุ้นที่มี PER ต่ำ + จ่ายปันผล 4% เหมาะสมสำหรับนักลงทุนที่ถือลงทุนระยะกลาง-ยาว

เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว..Fed อาจขึ้นดอกเบี้ยล่าช้า
        ผลการประชุม FOMC กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้สรุปถึงมุมมองต่อเศรษฐกิจในเชิงบวกมากขึ้น โดยเฉพาะการขยายตัวของภาคแรงงาน และภาคอสังหาฯ ยกเว้นภาคส่งออกและลงทุนภาคเอกชนที่ยังไม่ค่อยดีนัก สะท้อนให้เห็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ยังไม่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ล่าสุดพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ เดือน ก.ค. (จัดทำโดย ม.มิชิแกน) ลดลงมาอยู่ที่ 93.1 (ต่ำกว่าที่คาดที่ 94) ลดลงจาก 96.1 เมื่อเดือน มิ.ย. และต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ลดลงมาอยู่ที่ 107.2 ลดลงจาก 108.9 ในเดือน มิ.ย. เป็นต้น
        ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับภาคแรงงาน แม้จะมีสัญญาณที่ดีจากอัตราว่างงานที่ลดลงมาอยู่ที่ 5.3% ต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปี แต่อัตราค่าจ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ Fed ให้ความสำคัญกลับฟื้นตัวได้ช้ามาก สะท้อนจากดัชนีต้นทุนการจ้างงาน (ECI) งวด 2Q58 เพิ่มขึ้นเพียง 0.2% (เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 33 ปี หรือตั้งแต่ปี 2525) โดยดัชนี ECI เป็นดัชนีที่ใช้วัดภาวะค่าจ้างงาน และเป็นตัวคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอนาคตว่าน่าจะยังห่างไกลจากเป้าหมายระยะยาว 2% ที่ Fed วางเอาไว้ (ปัจจุบันเงินเฟ้อสหรัฐอยู่ที่ 0.1%) ฝ่ายวิจัยยังเชื่อว่า ทั้งปัจจัยตลาดแรงงาน และภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้ Fed ไม่ตัดสินใจเร่งรีบขึ้นดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้ โดยน่าจะปรับขึ้นเร็วที่สุดในช่วงเดือน ธ.ค. นี้ 

      ส่วนกรีซ เริ่มมีความชัดเจนขึ้นมาเรื่อยๆ โดยคาดว่ากรีซจะได้รับเงินช่วยเหลือก้อนแรก 2.436 หมื่นล้านยูโร (จากจำนวนทั้งสิ้น 8.6 หมื่นล้านยูโร) ในเดือน ส.ค. นี้ (แบ่งเป็นเสริมสภาพคล่องให้กับธนาคาร 1 หมื่นล้านยูโร จ่ายชำระหนี้ระยะสั้น (Bridging Loan) 7.16 พันล้านยูโร และจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรที่ ECB ถืออยู่อีก 3.2 พันล้านยูโร) และตลาดหุ้นกรีซน่าจะกลับมาเปิดทำการได้อีกครั้งในวันนี้ (3 ส.ค.) หลังปิดทำการมานานกว่า 5 สัปดาห์ แต่ยังมีข้อห้ามมิให้คนท้องถิ่นถอนเงินจากบัญชีเพื่อการซื้อขายหุ้น สามารถทำได้เฉพาะเงินก้อนใหม่ ทั้งนี้ยกเว้นต่างชาติจะไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าว จึงเชื่อว่าตลาดหุ้นยุโรปน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง
       ส่วนจีน ภาวะเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะชะลอตัว สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ก.ค. อยู่ที่ 50.0 ลดลงจาก 50.2 ในเดือน มิ.ย. ซึ่ง นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน สะท้อนให้เห็นถึง demand ทั้งในและต่างประเทศชะลอตัว แม้ว่ารัฐบาลจีนจะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง (ลดดอกเบี้ยเหลือ 4.85% เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา) ทั้งนี้จากผลการสำรวจพบว่า การลดดอกเบี้ยฯ ของธนาคารกลางจีน จะเอื้อประโยชน์เฉพาะผู้ประกอบการขนาดใหญ่เท่านั้น ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ยังได้รับผลกระทบจากภาคส่งออกชะลอตัว หากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ ตลาดเชื่อว่าธนาคารกลางรัฐบาลจีน อาจจะต้องออกมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปีนี้

คาดเดือน ส.ค. ต่างชาติยังขายมากกว่าซื้อ
         วันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 371 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2) โดยเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศนำโดยเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 209 ล้านเหรียญ ตามด้วยไต้หวันซื้อสุทธิราว 50 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2) อินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 25 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 3) ฟิลิปปินส์ แต่ซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 4 ล้านเหรียญ และ ไทยต่างชาติซื้อสุทธิราว 83 ล้านเหรียญ หรือ 2,094 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 8 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1,912 ล้านบาท ส่วนทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 20,101 ล้านบาท ตรงข้ามกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 2,624 ล้านบาท
       โดยสรุปตลอดเดือน ก.ค. พบว่าต่างชาติ ยังขายสุทธิสะสมในตลาดหุ้นภูมิภาคสูงถึง 4.1 พันล้านเหรียญ ซึ่งใกล้เคียงกับยอดขายสุทธิสะสมในเดือน มิ.ย.(4.5 พันล้านเหรียญ) และถ้าพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่าเป็นการซื้อสุทธิอยู่ประเทศเดียวคือ อินโดนีเซีย โดยซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 10 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลือทั้งหมดขายสุทธิสะสม คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 1.7 พันล้านเหรียญ รองลงมาคือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 1.5 พันล้านเหรียญ ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 193 ล้านเหรียญ และไทยถูกขายสุทธิ 83 ล้านเหรียญ
สำหรับแนวโน้มเดือนสิงหาคม คาดว่าตลาดชาติยังไม่กลับมาซื้อตลาดหุ้นไทยเหมือนในหลายเดือนที่ผ่านมา จากปัจจัยเสี่ยงต่อตลาดหุ้นไทยยังมีทั้ง การปรับลดประมาณการกำไรลง และ การขึ้นดอกเบี้ยฯ สหรัฐในช่วงปลายปี น่าจะสนับสนุนให้ต่างชาติยังชะลอการซื้อหุ้นในภูมิภาคเอเซีย ทั้งนี้แม้ยอดขายสะสมสุทธิในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันสูงราว 1.2 พันล้านเหรียญ หรือ 4.2 หมื่นล้านบาทแล้วก็ตาม เพราะหากพิจารณาสถิติ 10 ปีย้อนหลังพบว่า ต่างชาติซื้อหุ้นไทยในเดือน ส.ค. เพียง 5 ใน 10 ปีที่ผ่านมา และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียง 0.2% ด้วยโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนเป็นบวกราว 60% เท่านั้น

การฟื้นตัวของ SET กระจายทุกกลุ่มฯ จากเหตุผลรายตัว
       การฟื้นตัวของดัชนีตลาดหุ้นไทยในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (เพิ่มขึ้น 2.3%) นับว่าสอดคล้องกับตลาดเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่ม TIP ทั้งนี้ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการกลับมาซื้อของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากได้ขายหุ้นทุกตลาดไปอย่างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาดังกล่าวข้างต้น และน่าจะเป็นผลจากตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดนานติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน ราว 8%
        อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงรายกลุ่มในช่วงปลายสัปดาห์ พบว่าแม้จะมีหลายกลุ่มฯ ที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาด แต่กลับมีหุ้นเด่นเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถชนะตลาดและชนะดัชนีกลุ่ม นำโดยกลุ่มค้าปลีก ให้ผลตอบแทน 3.6% (เทียบกับ SET ให้ผลตอบแทนเพียง 2.3%) โดยพบว่าเป็นการปรับขึ้นของ CPALL สูงสุด 6.1% ซึ่งว่าน่าจะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของธุรกิจที่ทนทานต่อเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวมากสุด จากที่เป็นธุรกิจค้าปลีก เน้นสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ตามมาด้วยกลุ่มบันเทิง (ให้ผลตอบแทน 3.2%) พบว่า RS ให้ผลตอบแทนสูงสุด 14.4% เนื่องจากมีข่าวหนุน หลังจากกลุ่มทุนใหม่เข้าซื้อหุ้น RS ในสัดส่วน 9% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (ให้ผลตอบแทน 3%) นำโดย VNG 7.9%, DCC 6.3%, TASCO 3.8%, SCC 3.1% ซึ่งล้วนมีผลประกอบการงวด 2Q58 ดีขึ้นจากงวดก่อนหน้า (มีเพียง SCC แห่งเดียวที่ประกาศงบออกมาดีกว่าคาด) และกลุ่มพลังงาน 2.6% นำโดย PTTEP 4.8%, LANNA 4.5%, PTT 3.8% เป็นต้น ซึ่งน่าจะเป็นผลจากที่ราคาหุ้นลดลงต่ำสุด จนแตะระดับจุดต่ำสุดเดิม จึงทำให้มีการ rebound ในช่วงสั้นๆ

      และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ แม้ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับ SET คือ 2.4% แต่หากพิจารณารายหุ้นพบว่าให้ผลตอบแทนชนะตลาดดังนี้ คือ KTB 4.2% , SCB 3.8% และ TMB 3.5% และ LHBANK 3% เป็นต้น
     ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก และ EPS ของตลาดที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ราว 92 บาทในปี 2558 และ 105 บาทในปี 2559 (ลดลงจากประมาณการครั้งก่อน 3.33% และ 4.% 2558 และ 2559 ตามลำดับ) ทำให้ดัชนีตลาดปัจจุบันมีค่า Expected PER 15.6 เท่า ซึ่งทำให้โอกาสที่ดัชนีจะเกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้น ๆ มีโอกาสเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยหากอิง EPS ของใหม่ดังกล่าว ดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2558 จะอยู่ที่ 1426 จุด จึงทำให้เห็น Downside ของตลาดยังมีอยู่การกำหนดกลยุทธ์ ยังเน้นถือเงินสด 60% และถือหุ้น 40% แนะนำหุ้นที่ได้ปรับผลกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศน้อย เช่น THCOM, BTS, EASTW, TTW รวมถึงหุ้นที่เงินปันผลสูง + PER ต่ำ เช่น HANA เป็นต้น

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!