WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
         หากกำหนดสมมุติฐานที่ Conservative โดยให้ปรับลด EPS บริษัทจดทะเบียนลง 4% จากเดิม และกำหนดระดับ PER ที่ 15 เท่า จะให้แนวรับที่แข็งแกร่งของ SET Index ที่ราว 1378 จุด แนะนำทยอยสะสมหุ้น High Dividend โดย HANA (FV@B 48) น่าสนใจ ในฐานะที่ได้เงินบาทที่อ่อนทะลุ 35 บาท เป็นแรงส่งอีกส่วนหนึ่งด้วย

 

SET Index 1,417.49
เปลี่ยนแปลง (จุด) 9.42
มูลค่าซื้อขาย (ล้านบาท) 35,483.77

ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติ -1,352.75


บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -138.46
นักลงทุนสถาบันในประเทศ 1,842.40


นักลงทุนรายย่อย -351.19

 

Fed ยังไม่ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย แต่มุมมองต่อเศรษฐกิจเป็นบวกมากขึ้น
เศรษฐกิจของสหรัฐฟื้นตัวขึ้นจากงวด 1Q58 ซึ่งเป็นไปตามที่ Fed ประเมิน กล่าวคือ GDP 2Q58 ขยายตัว 0.575% yoy (annualized rate ที่ 2.3%) แต่ยังต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.625% โดยที่การบริโภคภาคครัวเรือนซึ่งมีขนาด 70% ของ GDP สหรัฐฯ พบว่าขยายตัวมากกว่าคาดที่ 2.9% (สูงกว่าที่ตลาดคาดและงวด 1Q58 ที่ 2.7 และ 1.8%yoy) เป็นผลจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น เช่นเดียวกับตลาดบ้านที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนนี้น่าจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อ ตรงกันข้ามกับการส่งออกและภาคการผลิตยังคงชะลอตัวอยู่ (จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า และเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวอยู่) ส่วนตัวเลขตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งอยู่ โดยล่าสุดตัวเลขการขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก สิ้นสุด 25 ก.ค. 58 เพิ่มขึ้น 1.2 หมื่นรายมาอยู่ที่ 2.67 แสนล้านราย (เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.5 หมื่นราย) แต่ยังถือว่าเป็นการลดต่ำกว่า 3 แสนรายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ ขณะที่ตัวเลขอัตราการว่างงานล่าสุดอยู่ที่ 5.3% โดยภาพรวมผลการประชุม Fed ในวันพุธที่ผ่านมายังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อไหร่ และเท่าไหร่ โดยเงื่อนไขการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในส่วนของตลาดแรงงานเข้าใกล้เป้าหมายขึ้น โดย Fed แต่ยังจะติดตามการปรับตัวดีขึ้นต่อ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อยังคงห่างจากเป้าหมายของ Fed อยู่ โดยล่าสุดเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 0.2%yoy ทาง ASPS มองว่า Fed น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค. หรืออย่างช้าในต้นปี 2559 (โดยปีนี้ Fed ยังเหลือการประชุมอีก 3 ครั้งคือ 16-17 ก.ย. , 27-28 ต.ค. และ 15-16 ธ.ค.) สอดคล้องกับผลสำรวจ Bloomberg ที่มองว่า Fed จะปรับขึ้นก่อนเดือนหรือภายในเดือน ธ.ค. ที่ 73% โดยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 0.375%

 

บาทอ่อนทะลุ 35 บาทต่อเหรียญฯ หนุนภาคส่งออก
       วานนี้เงินบาทของไทยอ่อนค่าลงอย่างมาก โดยขึ้นไปเหนือ 35 บาทต่อเหรียญฯ แล้ว ล่าสุดเช้านี้อยู่ที่ 35.11 บาทต่อเหรียญฯ ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นมาอีกครั้งหลังการประชุม FOMC เมื่อวันพุธที่ผ่านมาเสร็จสิ้นลง ซึ่งความเห็นของคณะกรรมการฯ ต่อเศรษฐกิจสหรัฐและคลาดแรงงานเป็นไปในเชิงบวกมากขึ้น บวกกับการรายงาน GDP Growth งวด 2Q58 ที่ฟื้นตัว รวมทั้ง GDP Growth งวด 1Q58 ที่มีการ revised ขึ้นมาเป็นขยายตัวอีกครั้ง ทำให้น้ำหนักการคาดการณ์ที่ว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ก.ย. นี้ เริ่มเพิ่มมากขึ้น โดยการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นในทิศทางเดียวกับค่าเงินต่างๆ ในเอเชียที่อ่อนค่ากันทั้งหมด กล่าวคือ ค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์อ่อนค่าลง 0.42% รูเปียะห์ของอินโดนีเซียอ่อนค่าลง 0.07% ริงกิตอ่อนค่าลง 0.1% ดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลง 0.37% เยนอ่อนค่าลง 0.07% และวอนเกาหลีใต้อ่อนค่าลง 0.75%
         ทั้งนี้ การอ่อนค่าลงอย่างรุนแรงของเงินบาท ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่นำเข้าเป็นหลัก รวมถึงธุรกิจที่มีหนี้สินในรูปของเงินตราต่างประเทศ แต่หากมองในมุมกลับ ย่อมส่งผลดีต่อภาคการส่งออก ซึ่งน่าจะหักล้างผลดังกล่าวไปได้ เนื่องจากภาคการส่งออก คิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของ GDP ซึ่งการอ่อนค่าของเงินบาทน่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี สถานการณ์นี้เชื่อว่าเอื้อประโยชน์ต่อผู้ส่งออกที่เน้นสินค้าที่มูลค่าสูง เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ HANA(FV@B48) ราคาหุ้นลดลงมากถึงกว่า 23% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้มี upside สูงถึงกว่า 45% ทั้งนี้สินค้าหลักๆ ของ HANA จะใช้ในกลุ่ม sensor ของ smart phone และ hearing aids ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ส่วนใหญ่ตลาดส่งออกจะอยู่สหรัฐ และจีน รวมทั้งสมมติฐานเดิมที่ใช้ 33 บาทต่อดอลลาร์ ต่ำกว่าค่าเงินบาทในปัจจุบัน 2 บาทต่อดอลลาร์ คาดว่าจะทำให้กำไรของ HANA มีโอกาสสูงจากประมาณการเดิม 12% และ มูลค่าที่เหมาะสมจะเพิ่มอีก 5.76 บาท จึงยังชื่นชอบ HANA และเลือกเป็น Top pick

 

ซื้อหุ้น High Dividend Yield และ Low Beta ที่ SET Index บริเวณ 1400 จุด
       ภายใต้ปัจจัยลบเชิงพื้นฐานที่คาดว่าจะเห็นการปรับลดทั้งประมาณการ GDP Growth และ EPS Growth อีกรอบหนึ่งหลังจากถูกปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยประมาณการ GDP Growth ของหลายสำนักวิจัยปัจจุบันถูกปรับลดลงมาอยู่ที่ราว 3% เทียบกับระดับที่เคยถูกคาดหมายเมื่อต้นปี 2558 ที่ 4.5% ส่วน EPS Growth ถูกปรับลดลงจากระดับกว่า 24% มาสู่ระดับต่ำกว่า 20% และยังมีโอกาสที่จะปรับลดประมาณการลงมาได้อีก ขณะที่มูลค่าการซื้อขายซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อน SET Index ในอดีตได้ลดลงอย่างชัดเจน สาเหตุดังกล่าวทำให้ Downside ของ SET Index ถูกเปิดขึ้นมา ประเด็นที่ต้องพิจารณา

       ณ จุดนี้จึงอยู่ที่ว่า Downside ที่เปิดออกมาในช่วงนี้น่าจะถูกจำกัดอยู่ที่ระดับใด ฝ่ายวิจัยได้ทดลองกำหนดเป้าหมาย SET Index บนฐานที่ Conservative มากขึ้น โดยการปรับลด EPS ของบริษัทจดทะเบียนลง 4% จากประมาณการเดิมที่ 95.74 บาทต่อหุ้น และกำหนดให้ SET Index กลับมาซื้อขายที่ระดับดัชนีปลายปี 2558 ที่ 15 เท่า ภายใต้สมมุติฐานดังกล่าวจะได้ระดับ SET Index เป้าหมายที่ 1378 จุด ซึ่งภายใต้สมมุติฐานที่ Conservative ดังกล่าวทำให้เชื่อว่าที่บริเวณ 1378 จุดน่าจะทำหน้าที่เป็นแนวรับที่แข็งแกร่งได้ แต่ก็เชื่อว่าเมื่อทดสอบแนวรับดังกล่าวแล้ว การดีดตัวกลับขึ้นอย่างรุนแรงก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น โดยคาดหมายว่าจะเป็นลักษณะของการย่ำอยู่กับที่ก่อนที่จะค่อยๆ ปรับตัวขึ้นไป ด้วยข้อจำกัดเรื่องปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานที่น่าจะมีพัฒนาการที่แสดงการฟื้นตัวอย่างช้าๆ
        การกำหนดกลยุทธ์ ในช่วงเวลานี้จึงกำหนดให้นักลงทุนระยะยาว ทยอยสะสมหุ้นที่ให้ Dividend Yield สูง และมีค่า Beta ต่ำ เมื่อ SET Index ปรับตัวลดลงมาที่บริเวณใกล้เคียง 1400 จุด หรือต่ำกว่า โดยตัวเลือกที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ก็เช่น INTUCH, TTW, TVO, BTS, ADVANC, EASTW, HANA เป็นต้น

 

ต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย
      วานนี้ตลาดหุ้นไทยปิดทำการเนื่องจากเป็นวันอาสาฬหบูชา แต่ตลาดเพื่อนบ้านยังคงเปิดทำการ โดยภาพรวมแล้วพบว่านักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 19 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน) โดยเป็นการซื้อสุทธิ 2 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาค 34 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน) รองลงมาคือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 21 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศถูกขายสุทธิคือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 27 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ที่ถูกขายสุทธิราว 10 ล้านเหรียญ
ส่วนวันพุธที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 102 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 21 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ถูกซื้อสุทธิราว 2 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 84 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับ ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 8 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นไทยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิราว 39 ล้านเหรียญ หรือ 1,353 ล้านบาท ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1,842 ล้านบาท
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 21,260 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 180 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทยังคงอ่อนตัวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 35.10 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าที่สุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา

นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!