- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 31 July 2015 15:56
- Hits: 1123
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ Sideways
ตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นไทยวันพุธที่ผ่านมา SET INDEX ยังคงเผชิญกับแรงขายหุ้นกลุ่มธนาคารต่อเนื่อง กดดันให้ SET INDEX ลงไปทดสอบ 1,400-1,405 จุด เป็นวันที่ 2 ก่อนที่จะเห็นการฟื้นตัวในช่วงบ่าย หลัง SCC รายงานกำไรสุทธิ 2Q58 ดีกว่าคาดถึง 24% อีกทั้งตลาดหุ้นยุโรปเปิดบวกจากผลการดำเนินงานที่ออกมาดีต่อเนื่อง ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX บวก 9.42 จุด มาอยู่ที่ 1,417.49 จุด มูลค่าการซื้อขาย 35,484 ล้านบาท
กระแสเงินทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 6 อีก 1,353 ล้านบาท แต่คงการ Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 3 อีก 1,511 สัญญา แม้ว่าคงการขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 2 เล็กน้อย 180 ล้านบาทก็ตาม
ปัจจัยสำคัญวันนี้
เฟดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.00-0.25% ตามที่ตลาดคาด
ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนมิ.ย. รายงานโดยธปท.
iShare MSCI Thailand ETF ปิดบวกเป็นวันที่ 3 สะท้อนเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้
ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า
ติดตามการประชุมครม.วันที่ 4 ส.ค. เพื่อพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 6 ข้อ
ติดตามการประชุม กนง. วันที่ 5 ส.ค. ตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.50%
ติดตามการหารือ 3 ฝ่าย ไทย - ญี่ปุ่น - พม่า ต่อแผนการลงทุนโครงการทวาย วันที่ 5 ส.ค.
ติดตามผลการดำเนินงาน 2Q58 เช่น ADVANC / IRPC / PTTGC เป็นต้น
มุมมองต่อตลาด
เราคงน้ำหนักการลงทุนวันนี้เป็น "กลาง" วันที่ 18 ประเมินกรอบแกว่ง SET INDEX ระหว่าง 1,410-1,425 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางลง เพราะเป็นช่วงคาบเกี่ยววันหยุดยาวของตลาดหุ้นไทย ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกวานนี้ปิดบวกเป็นส่วนใหญ่ หลัง เฟด คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่ตลาดคาดการณ์ แต่คงมุมมองต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทำให้ช่วงสั้น ปัจจัยต่างประเทศเป็นกลาง
ขณะที่ รมว.คลัง เตรียมเสนอแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น 6 มาตรการต่อครม.วันที่ 4 ส.ค. หากพิจารณาในกรอบมาตรการที่ออกมา เรากลับให้น้ำหนักเป็นกลางเท่านั้น อาจยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชน และภาคเอกชนได้มากนัก แต่ความเห็นของรมว.คลัง ต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่จะมีการประชุม กนง.วันที่ 5 ส.ค. ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ณ ปัจจุบัน ก็ไม่อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ สอดคล้องกับตลาดคาดการณ์ว่า กนง.น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.50% ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งจะช่วยให้แรงกดดันต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIMs) ของธนาคารขนาดใหญ่คลายตัวลง อาจทำให้หุ้นกลุ่มนี้เห็นการฟื้นตัวได้บ้าง หลังจากที่ปรับฐานลงเกือบตลอดสัปดาห์นี้
อีกทั้งผลการดำเนินงานของกลุ่มวัสดุก่อสร้าง อย่าง SCC / SCCC / DCC ต่างออกมาดีกว่าคาด เพราะได้ประโยชน์จากต้นทุนพลังงานที่ถูกลง อีกทั้งการควบคุมต้นทุนด้านอื่นๆ ที่เข้มงวด ทำให้เราเชื่อว่าแรงกดดันต่อการปรับประมาณการกำไรปี 2558-2559 ในรอบนี้เป็นไปอย่างจำกัด เว้นเสียแต่ว่ากลุ่มน้ำมันที่จะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ทรงตัวในระดับต่ำอยู่ ณ ปัจจุบัน
เราประเมินว่าปัจจัยที่จะกลับมาเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้ในภาวะเช่นนี้ ได้แก่ 1) ค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ทรงตัวหรือแกว่งในกรอบแคบลง และ/หรือ 2) การปรับครม. โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมเศรษฐกิจ แม้ว่าปัญหาต่างๆ ที่สะสมมาเป็นเวลานาน ทำให้การทำงานของครม.ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา แต่ ณ ปัจจุบัน เศรษฐกิจภายในประเทศที่เดินหน้าในระดับต่ำเพียงเพราะขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ หากการปรับเปลี่ยน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากภาคเอกชน ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้
กลยุทธ์การลงทุน
ดังนั้น เราแนะนำ "นักลงทุนระยะกลาง ยังคงสามารถเลือกสะสมหุ้นในลักษณะ Bottom Fishing เน้นที่ประเด็นพื้นฐานการลงทุน และ/หรือ ผลตอบแทนปันผลทั้งปีไม่ต่ำกว่า 4.0% เป็นเกณฑ์การเลือกหุ้นลงทุน ภายใต้ภาวะการลงทุนที่อ่อนแอในปัจจุบัน"
Top Pick in 3Q15: BCP / BMCL/ IFEC / WHA
HOLD: ITD / TPIPL/ BJCHI/ ADVANC/ WHA/ THAI/ BCP/ IFEC/ INTUCH
Accumulative Buy: ADVANC / SCC
Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "ทยอยสะสม" ได้แก่
1. ADVANC : ราคาปิด 248.00 บาท ราคาเหมาะสม 290.00 บาท
a) ADVANC จะรายงานผลประกอบการ 2Q58 ในวันที่ 3 ส.ค. และเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาหุ้น เนื่องจากคาดว่ากำไรสุทธิ 2Q58 จะเติบโต +12.1% yoy เป็น 9.5 พันล้านบาท
b) ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลในเกณฑ์ดี โดยคาดการณ์เงินปันผล 1H58 หุ้นละ 6.50 บาท คิดเป็น Dividend Yield 2.6% และทั้งปี 2558 หุ้นละ 13.16 บาท คิดเป็น Dividend Yield 5.3%
c) คงมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มสื่อสาร เนื่องจากการประมูล 4G ทั้งคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ใน 4Q58 จะเป็นตัวปลดล็อกสัญญาสัมปทานเดิม และส่งผลบวกทั้งรายได้การให้บริการ Data ที่จะเร่งตัวขึ้นภายใต้ระบบ 4G และต้นทุนค่าธรรมเนียมลดลงจากเดิม
d) ให้เป็น Top pick ของหุ้นกลุ่มสื่อสาร
2. SCC : ราคาปิด 516.00 บาท ราคาเหมาะสม 600.00 บาท
a) SCC รายงานกำไรสุทธิ 2Q58 ที่ 13,877 ล้านบาท ทำระดับสูงสุดใหม่ +63% yoy และ +25% qoq ออกมาดีกว่าคาดการณ์ของตลาดถึง 25% จากส่วนต่างราคา HDPE-Naphtha และ PP-Naphtha ที่เพิ่มขึ้นสูงถึง US$800/ตัน จากอานิสงค์ของราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง ขณะที่ธุรกิจปูนซีเมนต์เติบโตเล็กน้อย +2% yoy
b) คงมุมมองเชิงบวกต่อทิศทางผลประกอบการ 2H58 โดยคาดว่าธูรกิจปิโตรเคมีจะดีต่อเนื่องในอีก 3-4 ปีข้างหน้า เนื่องจาก Supply ใหม่ของ HDPE และ PP เพิ่มขึ้น เพียง 3-4% ต่อปี และธุรกิจปูนซีเมนต์คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นใน 2H58 จากการเบิกจ่ายงบประมาณที่มากขึ้นของภาครัฐฯ และเงินบาทอ่อนค่าจะส่งผลบวกต่อยอดส่งออกของ SCC
c) ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2558 ขึ้นจากเดิม +8% เป็น 44,455 ล้านบาท เติบโต +32.2% yoy และมี Upside Risk เนื่องจากกำไร 1H58 คิดเป็น 56% ของประมาณการกำไรปี 2558
d) ประกาศจ่ายเงินปันผล 1H58 หุ้นละ 7.50 บาท ขึ้น XD 10 ส.ค. คิดเป็น Dividend Yield 1.5% และทั้งปี 2558 หุ้นละ 16.00 บาท คิดเป็น Dividend Yield 3.1%
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
ตลาดหุ้นเอเชียกลับมาซื้อสุทธิ US$46 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$317 ล้าน
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติทยอยปิด Short ใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 3
นักลงทุนต่างชาติคงการขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 8 อีก 1,353 ล้านบาท รวม 8 วันทำการ ขายสุทธิ 11,849 ล้านบาท และทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ ขายสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 44,996 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนต่างชาติคงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 3 อีก 1,511 สัญญา รวม 3 วันทำการ Long สุทธิ 10,188 สัญญา เทียบกับ 7 วันทำการก่อนหน้า short สุทธิ 17,213 สัญญา คาดเป็นการทยอยปิดสถานะ short ขณะที่ S50U15 ปิดต่ำกว่า Set50 Index กว้างขึ้นเล็กน้อยเป็น 11.99 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เท่ากับ 11.63 จุด ทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Short สุทธิเท่ากับ 48,101 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิเป็นวันที่ 2 อีกเล็กน้อย 180 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 727 ล้านบาท เป็นการปรับพอร์ตตลาดตราสารหนี้ช่วงสั้นๆ เท่านั้น ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยทรงตัวต่อเนื่อง ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น 0.58bps จากวันก่อนหน้าลดลง 0.29bps ปิดที่ 2.822%
Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling ลดลงเป็นวันที่ 2 เหลือ 617 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 1,066 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR กลับมาซื้อสุทธิอีกครั้ง เน้นเป็นรายตัวอย่างเห็นได้ชัด
การซื้อขายผ่าน NVDR กลับมาซื้อสุทธิ 884 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 1,068 ล้านบาท เป็นการเน้นลงทุนเป็นรายตัว และลดน้ำหนักใน BBL อย่างโดดเด่น สรุปภาพรวมได้ดังนี้
1. กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ถูกซื้อสุทธิสูงสุด 299 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มอาหาร ซื้อสุทธิ 172 ล้านบาท กลุ่มค้าปลีก ซื้อสุทธิ 163 ล้านบาท
2. ส่วนกลุ่มอสังหาฯ ถูกขายสุทธิสูงสุด แต่ก็เพียง 21 ล้านบาท เท่านั้น
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
เฟดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่ตลาดคาด: ประธานเฟด ส่งสัญญาณเฟดจะสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ภายในปีนี้ ทั้งนี้เฟดได้ปรับเพิ่มมุมมองต่อเศรษฐกิจเป็นการเติบโตปานกลางถึงบวกเล็กน้อย ซึ่งขยับดีขึ้นเล็กน้อยจาก 1Q58 ส่วนตลาดแรงงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงไม่มั่นใจต่อทิศทางอัตราเงินเฟ้อว่าจะสามารถขยับไปถึง 2.0% ตามเป้าหมายระยะกลางหรือไม่
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมากลางถึงลบ
ยอดขายบ้านรอปิดการขาย เดือนมิ.ย. หดตัว 1.8% mom สวนทางกับที่ Bloomberg consensus คาด 1.0% mom และเดือนก่อนหน้าที่ 0.6% mom ทั้งนี้การอ่อนตัวของยอดขายบ้านเกิดขึ้นในส่วนกลางของภาคใต้และตอนกลางของตะวันตก ขระที่ภาคตะวันตกและตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
GDP ใน 2Q58 เพิ่มขึ้น 2.3% qoq ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 2.9% qoq แต่ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 0.6% qoq
ยอดขอสวัสดิการว่างงาน เท่ากับ 2.67 แสนตำแหน่ง ดีกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 2.72 แสนตำแหน่ง แต่เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.55 แสนตำแหน่ง
ยุโรป
ไม่มี
จีน
ไม่มี
เอเชียแปซิฟิก
ธนาคารกลางรัสเซียหยุดการซื้อเงินสกุลต่างประเทศ: เป็นการหยุดซื้อตั้งแต่วันที่ 28 ก.ค. เพราะจะมีผลกระทบต่อเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ และความผันผวนในตลาดค้าเงินภายในประเทศกลับสูงขึ้น ดังนั้นธนาคารกลางรัสเซียจะพยายามปรับระดับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อย่างรวดเร็วเพื่อจำกัดผลกระทบ
IMF ประเมินเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2563 อาจแย่กว่าช่วงปีที่เกิดภาวะเงินฝืด: แม้ว่าเศรษฐกิจในญี่ปุ่นจะมีแนวโน้มดีขึ้นในระยะกลาง สำหรับการเติบโต แต่ยังคงอ่อนแอกว่าช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเงินฝืด เนื่องจากระดับการลงทุนของภาคเอกชน และการปฎิรูปโครงสร้างตลาดแรงงานที่ช้ากว่าที่คาดมาก ทำให้ IMF คาดญี่ปุ่นจะเติบโต เฉลี่ย 0.65% ระหว่างปี 2561-2563 ลดลงจากเฉลี่ย 0.90% ระหว่างปี 2553-2555 เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเผชิญปัญหาภาวะเงินฝืด
อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาด: เดือนมิ.ย. อัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมอาหารสด เพิ่มขึ้น 0.1% yoy ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มขึ้น 0.4% yoy ดีกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 0.3% yoy
เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวต่ำกว่าคาด: เติบโตเพียง 0.64% yoy ใน 2Q58 ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน 3.37% yoy เทียบกับ Bloomberg Consensus คาดขยายตัว 2.55% yoy นำโดยภาคส่งออกที่หดตัว 5 ใน 6 เดือนซึ่งได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่ชะลอตัว อีกทั้งการแข่งขันจากจีนที่สูงขึ้น นอกจากนี้การบริโภคในประเทศที่ชะลอตัวลงเช่นกันจากราคาอสังหาฯรวมถึงตลาดหุ้นที่ลดลง
ไทย
รมว.คลัง มองลดดอกเบี้ยไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ: รมว.คลัง ให้ความเห็นต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชนยังไม่น่าจะเกิดในภาวะเช่นนี้ พร้อมให้ภาพเศรษฐกิจไทยที่เป็นลักษณะ "U" การฟื้นตัวแบบ "V" คงไม่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ขณะนี้
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530