- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 30 July 2015 00:22
- Hits: 4298
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA +189.68, NASDAQ +49.43, S&P +25.61, FTSE +50.15, CAC +49.72 และ DAX +117.51 จากการเข้าซื้อเก็งกำไร หลังตลาดลดลงติดต่อกันในช่วงก่อนหน้านี้ และยังได้รับปัจจัยบวกจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ รวมถึงฟอร์ด มอเตอร์ และยูพีเอส อย่างไรก็ตามอยู่ระหว่างรอผลการประชุมเฟด (เช้าวันพฤ. ตามเวลาไทย) โดยเฉพาะทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด
.....ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจ (-) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค – กค. อยู่ที่ 90.9 ลดลงจาก 99.8 เมื่อมิย. และ (+) ดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐฯ – พค. เพิ่มขึ้น 4.9%yoy แต่ต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.6%
....ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยบวกเพิ่มจากข่าวการซื้อกิจการและควบรวมกิจการของบริษัทบางแห่ง รวมถึงบริษัทเมลโรส อินดัสทรีส์ ที่ประกาศขายธุรกิจ Elster ให้กับฮันนีเวลล์ อินเตอร์เนชันแนล
...ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน กย. +US$0.59 อยู่ที่ US$47.98 ต่อบาร์เรล ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ที่ช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันส่วนเกินจาก (1) จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯ ล่าสุด เพิ่มขึ้น 21 แห่ง เป็น 659 แห่ง และ (2) อิหร่านอาจจะผลิตและส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น เมื่อการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านมีผลบังคับใช้
......ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน สค. -US$0.2 อยู่ที่ US$1,096.2 ต่อออนซ์ ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่า ขณะที่การซื้อขายเป็นไปอย่างระมัดระวังก่อนทราบผลการประชุมเฟด (เช้าวันพฤ. ตามเวลาไทย)
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,823 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -43,643 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
(-) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) - มิย. ลดลง 8.0%yoy โดยลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และมากกว่าที่คาดว่าจะลดลง 5.15% ขณะที่ 1H/58 ลดลง 3.7%
ทิศทางตลาด :
ทิศทางตลาด : Sideway? คาดมีโอกาสปรับขึ้น แต่เป็นไปอย่างจำกัด คาดยังถูกกดดันจากปัจจัยในประเทศ (1) การเติบโตเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหลือของปี รวมถึงผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งคาดหลายๆ หน่วยงานมีโอกาสปรับลดเป้าหมาย GDP ลงอีกครั้ง ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดGDP ปี’58 จากเดิม 3.7% เป็น 3.0% และคาดส่งออกหดตัว 4.0% จากเดิมที่คาด ขยายตัว 0.2% จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะจีน อย่างไรก็ตามแนะติดตามการปรับ ครม. โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจที่คาดเป็น Sentiment บวกเข้ามาในตลาดได้บ้าง รวมถึงการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของรัฐบาล โดยเน้นกลุ่มที่มีรายได้น้อย เพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ (C) นอกจากการลงทุนผ่านโครงการต่างๆ ของภาครัฐ (G)
...(2) ทางด้าน Fund Flow ยังมีแรงขายออกมาต่อเนื่อง ขณะที่ค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่า คาดเป็นปัจจัยเร่งให้นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจปรับพอร์ตเร็วขึ้น นอกเหนือปัจจัยจากขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ซึ่งแนะติดตามการประชุมของเฟดในวันที่ 28 – 29/7/58 (3) ราคาน้ำมันที่ลดลง คาดส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน ขณะที่อยู่ในช่วงของการประกาศผลการดำเนินงาน – กลางสค. คาดอาจมีแรงเก็งกำไรเข้ามาบ้าง
...ทางด้านประเด็นต่างประเทศ ยังคงให้น้ำหนักต่อประเด็นที่เฟดจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี) ภายในปีนี้ หลังประธานเฟดส่งสัญญาณค่อนข้างชัดเจน และคาดกดดันต่อตลาดฯ เพิ่มขึ้นหลังจากนี้ไป รวมถึงความกังวลต่อทิศทางการเติบโตเศรษฐกิจของจีน
และยังแนะติดตาม (1) หุ้นกลุ่มโรงกลั่น เช่น IRPC, PTTGC และ BCP คาดผลการดำเนินงาน 2Q/58 จะออกมาโดดเด่น เรามองเป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นในช่วงที่ราคาอ่อนตัวสำหรับการลงทุนในระยะยาวกลาง – ยาว (2) กลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่คาดยังคงได้รับประโยชน์จากโครงการภาครัฐ เช่น ITD, CK, SEAFCO และ UNIQ (3) ค่าเงินบาท ล่าสุดมีทิศทางอ่อนค่า โดยเคลื่อนไหวบริเวณ 34.82 – 34.84 คาดส่งผลดีต่อกลุ่มส่งออก (4) กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น SCC และ TASCO, VNG เป็นต้น (5) กลุ่มท่องเที่ยวยังคงได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยวที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หุ้นที่ได้รับผลดี เช่น CENTEL
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.02 อยู่ที่ 2.25% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) -2.16 มาอยู่ที่ 13.44
หุ้นแนะนำ : CK
ประเด็นที่ต้องติดตาม (29 – 31 กค.’58)
29/7/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) - มิย. (2) สต็อกน้ำมัน (3) เฟดประกาศมติการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน
30/7/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (2) ตัวเลขประมาณการ GDP – 2Q/58
31/7/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก - กค. (2) ดัชนีต้นทุนการจ้างงาน – 2Q/58 (3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้าย - กค.
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788