WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FSS copyบล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

SET ลงลึกกว่าคาด แต่ยังลุ้นรอบรีบาวด์ขึ้นก่อนค่อยคิดขาย...

  กลยุทธ์ : SET ยังอ่อนแอกว่าที่คาด ทำให้มีโอกาสที่จะยังปรับตัวลงอีก แต่ FSS คาดว่ากรอบการปรับลดน่าจะค่อยๆ แคบลง และมีลุ้นจังหวะรีบาวด์กลับขึ้นไปแกว่งตัวด้านบวกได้ในที่สุด ดังนั้นหลังจากเลือกหุ้นทยอยซื้อช่วงลบทั้งเทรดดิ้งและถือลงทุนระยะกลางแล้ว แนะนำให้เน้นถือไว้ก่อน เพื่อรอ SET รีบาวด์ขึ้นไปแกว่งบวก แล้วค่อยมองหาจังหวะขายทำกำไรตามรอบกันต่อไป


  หุ้นเด่นทางเทคนิค : NUSA, TUF, SF(buy back)
  แนวโน้ม : SET ยังปรับตัวลงต่อเนื่องอีก หลังนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก จากการที่ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนและยุโรปยังอ่อนแอ และยังต้องการรอดูท่าทีของเฟดหลังการประชุมในช่วง 2 วันนี้(28-29 ก.ค.) ว่าจะมีการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้หรือไม่ด้วย ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ยังปรับตัวลงอยู่ รวมทั้งค่าเงินบาทที่แม้ว่าจะเริ่มชะลอการอ่อนตัวบ้าง แต่ก็ยังเป็นลักษณะแกว่งทรงตัวแคบๆ ทำให้นักลงทุนยังไม่มั่นใจนัก ส่งผลให้ FSS คาดว่า SET ยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงต่อเนื่องอีกได้ อย่างไรก็ตามเราคาดว่ากรอบการปรับตัวลงน่าจะเริ่มมีจำกัดมากขึ้น หลังจากช่วงที่ผ่านมาดัชนีไหลลงมาค่อนข้างลึกพอควรแล้ว ทำให้ราคาหุ้นพื้นฐานดีหลายตัวลงมาอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งน่าจะสามารถดึงดูดให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาช่วยหนุนตลาดได้บ้าง และมีโอกาสที่จะช่วยผลักดันให้ SET มีจังหวะรีบาวด์ขึ้นไปแกว่งตัวด้านบวกได้ในเร็วๆ นี้ด้วย ดังนั้น FSS จึงยังแนะนำให้เลือกหุ้นทยอยเข้าซื้อในจังหวะตลาดเป็นลบได้ แล้วเน้นถือไว้ก่อน เพื่อรอรอบรีบาวด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป


  แนวรับ 1410-1405 , 1400-1396 จุด
  แนวต้าน 1420-1425 , 1430-1435 จุด
  Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคทุกตลาดรวม US$236 ลาน นำโดยไต้หวัน US$89 ล้าน เกาหลีใต้ US$75 ลาน และ ไทย US$43 ลาน การดิ่งตัวลงของตลาดหุ้นจีนซึ่งเกิดจากความกังวลว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวถ่วงตลาดหุ้นทั้งภูมิภาคภายหลังการประกาศดัชนีภาคการผลิต PMI เบื้องต้นที่ลดลงสู่ 48.2 ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน

ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
  (-) ค่าเงินบาทอ่อนไม่ช่วยส่งออก ยอดส่งออกเดือน มิ.ย. ลดลง 7.9% Y-Y หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 แม้ไม่รวมทองคำ ส่งออกของไทยก็หดตัว 8% Y-Y ส่วนใหญ่มาจากสินค้าเกษตร (ข้าว ยางพารา) และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน ส่งผลให้ยอดส่งออก 6M14 หดตัว 4.9% Y-Y หากยอดส่งออกยังอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ มีโอกาสที่ทั้งปีจะติดลบต่อเนื่องเป็นปีที 3 อีก 4-5% ซึ่งน่าจะทำให้ GDP ในปีนี้โตต่ำกว่า 3%
  (+) MAJOR เราคาดกำไรสุทธิ 2Q15 +137% Q-Q, +6% Y-Y เพราะมีกำไรจากการขายหุ้น SF 48 ล้านบาท หากไม่รวมรายการดังกล่าว กำไรปกติยังเพิ่ม 158% Q-Q เพราะมีหนังฟอร์มใหญ่ทำเงินหลายเรื่อง คือ Fast & Furious 7, ตำนวนสมเด็จพระนเรศวร 6, The Avengers: Age of Ultron, และ Jurassic World แต่ลดลง 10% Y-Y เพราะรายได้จากบริษัทย่อยลดลง แนวโน้มกำไร 2H15 มีทิศทางที่ดีเพราะยังมีหนังฟอร์มยักษ์อีกหลายเรื่องเช่น Terminator, Minions, Ant-Man, Star Wars และการคุมต้นทุน ราคาหุ้นปรับลงมาจน upside เปิดกว้างขึ้นและมี PE 21 เท่าใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็นถือ จากเดิมขาย ราคาเป้าหมาย 31 บาท
  (-) ธุรกิจไก่มีแนวโน้มแย่กว่าคาดใน 2Q15 และอาจต่อเนื่องถึง 3Q15 จากราคาชิ้นส่วนไก่ (By Product) ที่ลดลงมาก (ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการต่างเร่งขยายการผลิตเพื่อส่งออก ชิ้นส่วนไก่ซึ่งไม่สามารถส่งออกได้แต่ต้องขายในประเทศ มีปริมาณเกินความต้องการ ราคาจึงลดลง) และไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเพราะค่าเงินของคู่ค้า (ยุโรปและญี่ปุ่น) และคู่แข่ง (บราซิล) อ่อนกว่าค่าเงินบาทมาก แนวโน้มกำไร 2Q15 ของ GFPT และ CPF น่าจะแย่กว่าคาดและอาจต่อเนื่องถึง 3Q15 เราอยู่ระหว่างปรับลดกำไรปีนี้ของ GFPT ราคาเป้าหมายอาจลดเหลือ 9-10 บาท แนะนำหลีกเลี่ยงทั้ง CPF และ GFPT ไปก่อน
  (-) สหรัฐคงอันดับไทยด้านการค้ามนุษย์เป็น Tier 3 (ขั้นต่ำสุด) ในรายงานค้ามนุษย์ปี 2015 ถือเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน สำหรับสินค้า 5 กลุ่ม คือ ปลา กุ้ง เครื่องนุ่งห่ม อ้อย และสื่อลามก (ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ยังอยู่ Tier 3 ขณะที่มาเลเซียถูกปรับขึ้นมาเป็น Tier 2 Watch List จาก Tier 3 ในปีก่อน) การจัดอันดับนี้เป็นเรื่องของภาครัฐ ส่วนภาคเอกชนยังทำการค้าได้เสรี ดังนั้น กระทบต่อผู้ประกอบการไทย (CPF, TUF, CFRESH) ค่อนข้างจำกัด ราคาหุ้นทั้ง 3 ตัววันที่สหรัฐประกาศลดอันดับของไทยเมื่อ มิ.ย. 2014 ปรับลงเฉลี่ย 2.9% ในวันแรก หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ยังคงปรับลงเฉลี่ย 4.5% แต่เริ่มคลี่คลายในช่วง 3 เดือนหลังจากนั้น +6.5%

  (-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมายังปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 5 หลังได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของตลาดหุ้นจีนรวมถึงราคาสินค้า Commodity ที่ยังปรับตัวลงต่อ
  (-) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ปิดลบค่อนข้างแรงเช่นกันโดยนักลงทุนกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้นรวมถึงแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวของจีน
  (-) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ยังปรับตัวค่อนมาในแดนลบต่อเนื่องจากบรรยากาศการลงทุนที่เป็นลบ
  (0) ค่าเงินบาทเริ่มแกว่งตัวออกข้างได้ได้ต่อเนื่อง ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 34.80-34.90 บาท/ดอลลาร์
  ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ก.ย. ปิดที่ 47.39 เหรียญ/บาร์เรล ลดลง 0.75 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยความกังวลเรื่องภาวพ Oversupply ยังเป็นปัจจัยกดดัน
  ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดที่ 1,096.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ปรับตัวขึ้น 10.90 เหรียญ/ออนซ์ โดยเริ่มมีแรงซื้อกลับหลังจากที่ราคาทองคำร่วงแรงในช่วงหลายวันก่อนหน้า อย่างไรก็ตามยังต้องจับตาดูผลการประชุม FED ในสัปดาห์นี้

 

ปัจจัยที่ต้องติดตาม
28 ก.ค. - ไทย:WICEเข้าเทรดวันแรก (ราคา IPO 2.10 บาท), PK กลับเข้ามาเทรดโดยไม่มีCeiling & Floor)
- สหรัฐ:S&P/CaseShiller Index (พ.ค.), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ก.ค.)
28-29 ก.ค. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
30 ก.ค. - สหรัฐ: 2Q15 GDP (คาดการณ์ครั้งที่ 1)
- ยูโรโซน:ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจ (ก.ค.)
31 ก.ค. - ไทย:ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน มิ.ย.
- ไต้หวัน: 2Q15 GDP
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ก.ค.)
1 ส.ค. - จีน: Manufacturing & Non-manufacturing PMI(ก.ค.)
3 ส.ค. - ไทย:อัตราเงินเฟ้อ (ก.ค.)
- สหรัฐ:Personal Income, Personal Spending (มิ.ย.)
4 ส.ค. - ออสเตรเลีย: ธนาคารกลาง (RBA)ประชุม
- อินเดีย: ธนาคารกลาง (RBI)ประชุม
5 ส.ค. - ไทย: กนง.ประชุม
- ยูโรโซน:Markit Eurozone Composite PMI (ก.ค.)

Contact person : Somchai Anektaweepon 
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!