- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 23 June 2014 17:16
- Hits: 3246
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Sideway Up
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ Sideway Up จากโมเมนตั้มบวกของตลาดหุ้นโลก และจับตาตัวเลขภาคการผลิต จีน ญี่ปุ่น / ปัญหาอิรัก
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA ยอดขายบ้านเดิม พ.ค. คาด +1.5%m-m (Vs1.3%) Japan: Flash PMI Mfg มิ.ย. คาด 50.5 (Vs 49.9) China: HSBC Mfg PMI มิ.ย. คาด 49.4
-วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติขายอีก -365 ลบ. (ขายสะสม 9 วันรวม -1.10 หมื่นลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อต่อ +2.63 พันลบ. (ซื้อสะสม 2 วัน รวม +6.11 พันลบ.)
+Weekly Fund Flow 12-18 มิ.ย. (ดูรายงาน) กระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจาก Bond เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ มี.ค. และหันเข้ามาซื้อต่อเนื่องในตลาดหุ้น แต่ EM มีแรงซื้อน้อยกว่ามากเทียบ DM ส่วนไทยมีแรงขายสุทธิต่อเนื่อง
+ การเมือง/เศรษฐกิจ จับตาการพิจารณา 4 โครงการของกสทช. ที่ระงับไว้ ซึ่งรวมถึงการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ และการจากคูปองทีวีดิจิตอล
คาดดัชนีฯ วันนี้ Sideway Up แนวต้าน 1470/1480 จุด แรงหนุน มาจากโมเมนตั้มบวกจาก Window Dressing (กลุ่มมิเดีย ICT ปิโตร Laggards QTD) นโยบายปฏิรูปของคสช.(รับเหมาฯ วัสดุฯ นิคมฯ ICT)
กลยุทธ์: Accumulate Buy: ADVANC INTUCH IVL SCB KBANK GUNKUL MINT CENTEL เก็งกำไรแบบมีจุดขายตัดขาดทุน 3% EFORL EPCO UTP BMCL LHBANK TWZ (เทคนิค)
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 5.0%) ได้แก่ TWZ PF EFORL SOLAR LHBANK EPCO VIBHA GUNKUL หุ้นที่ลงกว่า 2.0% ได้แก่ TSR TAE UTP BAY MINT BH
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ BBL+295 PTTGC+254 BIGC+245 TRUE+199 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ ADVANC-156 CPALL -79
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ ADVANC 162 PTT 147 PTTEP 102
Market Outlook
คาดดัชนีฯ วันนี้ Sideway Up แนวต้าน 1470/1480 จุด ลุ้นการทำ Window Dressing และความคืบหน้าของการปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจของ คสช. แนะนำเก็งกำไรกลุ่ม สื่อสาร(ADVANC INTUCH) ปิโตรฯ (IVL PTTGC) แบงก์ (SCB KBANK) พลังงานทดแทน (GUNKUL) บอลโลก (MINT CENTEL)
คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ Sideway Up (ผันผวนสูงในวันศุกร์ ที่จะเป็นวันปิดสัญญาอนุพันธ์ของงวดสิ้นสุดไตรมาส 2/57) แนวต้านอยู่ที่ 1470/1480 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1459/1450 จุด โมเมนตั้มบวกยังคงเป็น การลุ้นการทำ Window Dressing (เฉลี่ย +1.9%w-w ในสัปดาห์สุดท้ายของ 2Q) และความคืบหน้าของนโยบายเศรษฐกิจสำคัญๆ ของคสช. (ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มบลูชิพขนาดใหญ่ แนะนำ กลุ่มแบงก์ สื่อสาร) ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ อาจมีแรงขายทำกำไร หลังพุ่งแรงสัปดาห์ก่อนหน้า จาก Sell on Fact (ต่างชาติซื้อหุ้น DM สูงเป็นสัปดาห์ที่สอง รับข่าวดีเฟดส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยนโยบายต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง) และอาจผิดหวัง 1Q57F GDP USA ครั้งสุดท้าย (คาดลดลง 1.6%-2.4%q-q Vs เดิม -1.0%q-q) รวมถึงปัญหาอิรักที่อาจยืดเยื้อและกระทบเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจเอเชียฯ ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ
สัปดาห์นี้ เราเน้นลงทุนหุ้นกลุ่ม Laggard Play สำหรับ 2Q57F Performance ของตลาดหุ้นไทย ได้แก่ ICT ปิโตรฯ พลังงาน จากคาดว่าจะมีการทำราคาปิดก่อนสิ้นงวดบัญชี เงินดอลล์ที่อ่อนค่าเทียบตะกร้าสกุลหลัก ช่วยหนุนราคากลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (น้ำมันดิบ หรือพลังงานทดแทน) แนะนำ PTTEP IVL ADVANC KBANK เก็งกำไรหุ้นอิงนโยบายรัฐ (GUNKUL) RS SAMART EFORL UTP EPCO(Chart)
ปัจจัยต่างประเทศ แรงขายสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุนต่างชาติ เพื่อหันไปหาสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตร ทองคำ ฯลฯ อาจเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป เพื่อล็อคทำกำไร ก่อนรายงานผลกำไรบจ.1Q57 (สหรัฐฯจะประกาศกลางเดือนหน้า และมีแนวโน้มรายงานกำไรแย่ อิง 1Q57 GDP หดตัวกว่าคาด) หุ้นสหรัฐมีราคาค่อนข้างแพงในปัจจุบัน โดยมีค่าพี/อี เรโชอยู่ที่15.6 เท่าของคาดการณ์ผลกำไร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย10 ปีที่13.8 เท่า และความเสี่ยงของ ราคาน้ำมันดิบโลก ที่ขยับขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยในประเทศ ตลาดรอความชัดเจนของแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แผนปฏิรูปโครงสร้างพลังงานรวมถึงการประมูลของกสทช. ซึ่งคณะทำงาน คสช. ตั้งเป้าจะสรุปให้ได้ภายในสิ้นเดือนนี้ โดยหากเกิดความชัดเจน อาจกลับกลายเป็นตัวแปรผลักดันให้ SET INDEX ขยับขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้เช่นกัน ส่วนประเด็นการเก็บภาษี Capital Gain ที่นายกิติพงษ์ กรรมการ ตลท.ให้ข้อมูลว่า คณะกรรมการ ตลท.อยู่ระหว่างการศึกษา คาดใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือนจะมีข้อสรุป อาจกดดันจิตวิทยาการลงทุนชั่วคราว
ส่วน Events Play ที่จะมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทย ได้แก่
1. Window Dressing สถิติ 8 ปีหลังสุด (49-56) ในไตรมาส 2 ดัชนี SET ให้ผลตอบแทนเป็นบวก +1.9% ในช่วง 1 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นไตรมาส โดยกลุ่มที่ปรับขึ้นดี ได้แก่ กลุ่มธนาคาร (BBL KBANK BAY KTB SCB) กลุ่มสื่อสาร (JMART INTUCH ADVANC SIM THCOM) วัสุก่อสร้าง (RCI GEL TCMC SCCC SCC) และอิเล็กทรอนิกส์ (TEAM DRACO DELTA EIC CCET
2. หุ้นเกาะกระแสฟุตบอลโลก ระหว่าง 12 มิ.ย..-13 กค. (เราพบว่า ผลกระทบต่อราคาหุ้นกลุ่ม ICT(ADVANC TRUE) กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค (CPALL MINT CENTEL) จะมีเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างการถ่ายทอดฟุตบอลโลก
กลยุทธ์ แนะนำ RS ADVANC INTUCH SAMART IVL ซึ่งเป็นหุ้นบลูชิพในกลุ่มสื่อสาร มีเดีย ปิโตรฯ ซึ่ง QTD มีผลตอบแทนแย่กว่าตลาด -2.92% -1% และ+0.17%q-q ตามลำดับ VS SET +6.61%q-q รวมถึงกลุ่มแบงก์ KBANK BBL SCB จากคาดว่าจะมี Upward Revision ต่อมูลค่ากิจการปี 58F และหุ้นที่มีประเด็นบวก PTTEP CPALL MINT CENTEL
เทคนิค : ขึ้นสลับย่อ แต่แนะนำพิจารณาขายเล่นรอบปลายสัปดาห์นี้
คาดดัชนีฯผันผวนสูง แนวต้านสำคัญ 1480 จุด(แนวต้านเดิม) และ 1497จุด (Fibonanci) ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1459 จุด (SMA 10 วัน) และ 1442 จุด(SMA25วัน) โดยมีสัญญาณเตือนการปรับฐานรอบสั้นๆ อิง Stochastic, RSI ที่เริ่มเกิดสัญญาณ Overbought และอาจเปลี่ยนเป็น Sell Signal ดังนั้น นักลงทุนที่เน้นเล่นรอบ อาจพิจารณาขายลดพอร์ตในช่วงปลายสัปดาห์นี้ออกไปก่อน เพื่อรอซื้อคืนเมื่ออ่อนตัว
+ ตลาดหุ้นโลก: ผลประชุมเฟดกลางสัปดาห์ ที่ส่งสัญญาณดอกเบี้ยทรงตัวในระดับต่ำต่อไป และการปรับลดเป้าหมายเติบโตเศรษฐกิจปีนี้เหลือ 2.1-2.3% จากเดิม 2.9% ส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว นำขึ้นโดยญี่ปุ่น +1.67%w-w (ตลาดเริ่มคาดว่า แผนการลดภาษีนิติบุคคลและGPIF อาจซื้อเพิ่ม REITs และตราสารทุน ของอาเบะรอบใหม่ เป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นมี Upside มากกว่า 20%) รองลงมา คือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P500 +1.38%w-w Nasdaq +1.33%w-w ขณะที่ อินโดนีเซีย แย่สุด -1.6%w-w
ส่วนตลาดหุ้นไทย สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับสูงขึ้น +0.77%w-w (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า -0.14%w-w) และยังคงดีที่สุดในกลุ่ม TIPs (ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย -1.6%w-w ฟิลิปปินส์ -0.8%w-w) โดยกลุ่มอุตฯที่ปรับขึ้นสูงสุด ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์(นำโดย CPALL ได้ประโยชน์จากกระแสบอลโลกและมาตราการกระตุ้นของคสช) ขนส่ง(นำโดย BTS) พลังงาน(PTTEP) ส่วนกลุ่มที่แย่สุด ได้แก่ มีเดีย -1.01%w-w (กสทช.เลื่อนแจกคูปอง) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ (เงินบาทแข็งค่าเทียบดอลล์)
หากเทียบ 2Q57(QTD) พบว่า กลุ่มมิเดีย ไอซีที ปิโตรเคมี พลังงาน เป็นกลุ่ม Laggards เมื่อเทียบกับ SET Index ที่+6.61%w-w และอาจเป็นเป้าหมายสำหรับการทำ Window Dressing สัปดาห์นี้
+ ตลาดโภคภัณฑ์: ผลจากเหตุรุนแรงในอิรัก และเฟดส่งสัญญาณดอกเบี้ยต่ำ รวมถึง เงินดอลล์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่าเทียบตะกร้าสกุลหลัก ส่งผลบวกต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะทองคำ 3.34%w-w ดีสุดรอบ 3 เดือน และราคาน้ำมันดิบ ขึ้นต่อเนื่องอีก 0.3-1.1%w-w ทำสถิติสูงสุดใหม่รอบ 9 เดือน ส่วนค่าระวางเรือลดลงอีก -0.22%w-w จากปัจจัยฤดูกาล ที่ค่าระวางเรือจะเริ่มชะลอตัวในช่วงปลายมิ.ย.-สค
+ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน : หันมา Long สกุล GBP ส่วนการ Short สกุล EURO และ JPY ลดลงอย่างมีนัย สะท้อนสกุลเงินดอลล์สหรัฐฯมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องสัปดาห์นี้ (เป็นบวกต่อ สินค้าโภคภัณฑ์)
EUR : สัปดาห์ก่อนหน้า มีแรงขายสกุล EUR ลดลงมากเหลือ -$0.2bn.(Vs สัปดาห์ก่อนหน้า -$5.9bn. -$2.8 bn.ตามลำดับ) เป็นสะสมสุทธิ -$10.5bn. ซึ่งเป็นปริมาณ Short สูงสุดตั้งแต่ เดือนพ.ค.. โดยมีแรงซื้อคืนเริ่มกลับเข้ามาในช่วงปลายสัปดาห์ และอาจมีต่อเนื่องตลอดสัปดาห์นี้ ถ่วง ดอลล์สหรัฐฯ อาจอ่อนค่าลงเทียบตะกร้าสกุลหลัก(เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นเอเชีย และสินค้าโภคภัณฑ์)
JPY: โพสินชั่นเปลี่ยนมาเป็น Long +$1.7bn.(Vs สัปดาห์ก่อน Short จำนวน -$0.5bn. -$2.1bn. ตามลำดับ) เป็นสะสมสุทธิ -$8.3bn. สะท้อนตลาดหุ้นญี่ปุ่นสัปดาห์นี้ อาจอ่อนตัวจากการแข็งค่าของสกุลเยนเทียบดอลล์สหรัฐฯ
GBP: มี Net Long สูงสุดสัปดาห์ก่อน จำนวน $2bn. ส่งผล Long สะสม เพิ่มเป็น +$5.8bn. ซึ่งเป็นระดับ Long สูงสุดตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา
USD เราคาดว่า รายงาน 1Q57F GDP ครั้งสุดท้าย ปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งอาจมีการปรับลดการเติบโตลง จากเดิม -1% เป็น -1.6%q-q (บางโบรกคาด -2.4%q-q) จะส่งผลลบต่อค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ผันผวน (อ่อนค่า) สัปดาห์นี้
ส่วนค่าเงินบาท/USD กลับมาอ่อนค่าเล็กน้อย +0.31%w-w เป็น 32.42 บาท/ดอลล์สหรัฐฯ (VS สัปดาห์ก่อน -0.25%w-w -1.07%w-w ตามลำดับ ) เนื่องจาก การปรับลดเป้าหมายเติบโตไทยปีนี้ของธปท.เหลือ 1.5% จากเดิม 2.7% และปัญหาข้อพิพาทกับสหรัฐฯ ยุโรป เรื่องการปกครองแบบรัฐประหาร โดยล่าสุด ไทยถูกสหรัฐฯ ลดอันดับสิทธิมนุษยชน เป็น Tier 3 (จากเดิม Tier 2 Watch List) ซึ่งอาจส่งผลให้การส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ ประสบปัญหา
ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการรัฐขนาดใหญ่ คาดมีความชัดเจนปลายเดือนนี้
ประเด็นการเมือง (Update):
กห.ออกคำสั่งให้นายทหารออกจากราชการ เนื่องจากเกษียณอายุราชการตามวาระ ก.ย.นี้ พรึบบิ๊ก คสช."ประยุทธ์-ธนะศักดิ์-ณรงค์-ประจิน"โดยในส่วนของกองทัพบกมีจำนวน 117 นาย
"รสนา" ขอ คสช.ชะลอสัมปทานปิโตรเลียม ทางกลุ่มได้เสนอให้ชะลอการให้สัญญาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไปก่อน เพื่อให้ทบทวนกฎหมายสัญญาสัมปทานให้รัฐได้ประโยชน์มากขึ้น และสามารถกำหนดราคาพลังงานได้อย่างเหมาะสมในอนาคต โดยไม่ให้เอกชนผูกขาด นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการจัดตั้งบริษัทพลังงานแห่งชาติ โดยให้รัฐถือหุ้น 100 % เพื่อให้การดูแลด้านพลังงานของประเทศครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งทาง คสช. ได้รับฟังเพื่อนำไปพิจารณาประกอบเป็นแผนในการปฏิรูปพลังงานของประเทศต่อไป
จี้คสช.ยึดหลักสิทธิฯปล่อยตัวผู้ไม่มีความผิด สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเสนอแนะแนวทางปฎิบัติบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนและความสมานฉันท์ อยากเรียกร้อง ให้ คสช.ยกเลิกการประกาศใช้กฏอัยการศึก พร้อมจัดเลือกตั้งโดยเร็ว นอกจากนี้ให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังโดยไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา แต่หากผู้ใดมีความผิดติดตัว คสช.จะต้องดำเนินให้มีความชัดเจน คือใช้กระบวนการทางกฎหมายที่ถูกต้อง และเป็นธรรม
โพลเผยปชช.สบายใจไร้ข่าวการเมือง สวนดุสิตโพล เผย ผลสำรวจปชช.ชี้ไม่มีข่าวการเมืองทำบ้านเมืองสงบขึ้น อันดับ 1 บอกว่าทำให้บ้านเมืองสงบมากขึ้น ไม่ต้องการเห็นนักการเมืองทะเลาะกัน ไม่มีเรื่องวุ่นวาย 39.07% อันดับ 2 บอกว่า รู้สึกดี สบายใจ โล่งใจ ไม่มีเรื่องการเมืองที่ทำให้ต้องเครียดและกังวล 37.15% อันดับ 3ไม่ต้องรับรู้หรือฟังข้อมูลที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ประชาชนจะได้ไม่ทะเลาะกัน ไม่แตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย13.80%
2 Weekly Fund Flow: 12-18 มิ.ย. ขาย Bond ซื้อ Developed markets ส่วนไทยกลับมาถูกขายสุทธิ
Recommendation : แนะนำ หลักทรัพย์ที่คาดว่าจะเกิด Window Dressing ได้แก่ KBANK SCB BBL ADVANC TRUE MINT
Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (12-18 มิ.ย. 57) เงินทุนไหลออกจาก Bond Funds ครั้งแรกนับตั้งแต่ มี.ค. และเข้าซื้อต่อเนื่อง Equities Funds
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนโลกมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยกลับมาขายสุทธิตลาดพันธบัตร เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มี.ค. -$2.3bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +$1.6bn.+$4.24 bn.+$6.3bn.สะสม YTD+$94.8bn.) และยังคงซื้อต่อเนื่อง Equities Fund ด้วยปริมาณสูงถึง +$12.6bn.(Vs สัปดาห์ก่อน +$11.3bn. -$2bn. +$1.-$7bn และ $11bn. สะสม YTD +$68.9bn.)
แรงซื้อเพิ่มขึ้นมากใน Developed Markets +$12.6bn. (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า+$9bn. +$1.1bn. ตามลำดับ) สูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมีค ตลาดหุ้น USA มีแรงซื้อต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 จำนวน +$5.3bn.(Vs สัปดาห์ก่อน+$10bn.) และตลาดหุ้น Europe มีแรงซื้อต่อเป็นสัปดาห์ที่ 51 จำนวน +$1.4bn. (Vs +$2.9bn +$1.1bn.) สะสมสุทธิ $100 bn.
ส่วน Emerging markets มีแรงซื้อเพียง +$1.5bn. (ลดลงจาก +$2.3bn ในสัปดาห์ก่อน) โดยกองทุน GEMมีแรงซื้อต่อเนื่องที่ +$643mn Vs +$2.3bn.) สำหรับกองทุนเอเชียแปซิฟิกยังมีแรงขาย แต่ลดลงเหลือ -$320mn จากสัปดาห์ก่อนที่ -$980mn.
6 ชาติเอเชียฯ มีแรงซื้อต่อเป็นสัปดาห์ที่ 6 แต่ด้วยปริมาณลดลง ส่วนไทย กลับมามีแรงขายสุทธิสูงถึง 180 ล้านดอลล์
สำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า มีแรงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6 แต่ด้วยปริมาณลดลงเหลือ +$1.6bn.(Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +$2.1bn. +$1.3bn. +$843mn. +$2.9bn. +$1.46bn. ตามลำดับ) โดยไหลเข้าเกือบทั้งหมดไป ไต้หวัน +$974mn. (ซื้อเป็นสัปดาห์ที่ 18) และอินเดีย +$680mn..(Vs+$1bn.+$608mn +$19mn. +$1bn. ตามลำดับ) ส่วนเกาหลีใต้ กลับมามีแรงขายสุทธิ -$93mn.(สิ้นสุดการซื้อต่อเนื่อง 5 สัปดาห์) ส่วนในกลุ่ม TIPs พบว่า กลับมาซื้อ อินโดนีเซีย เป็นสัปดาห์ที่ 6 ใน 7 สัปดาห์จำนวน+$191mn. Vsสัปดาห์ก่อน-$64mn) และกลับมาขายฟิลิปปินส์ -$8.7mn.(Vs สัปดาห์ก่อน +$53mn.) และขายไทยสูงถึง -$180mn. (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +$25mn. +$68mn. -$538mn. และ -$379mn. ตามลำดับ)
มีโอกาสที่ต่างชาติจะขายน้อยลง หรือกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยสัปดาห์นี้ จากการเก็บข้อมูลการซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ พบว่าจากการขายสุทธิต่อเนื่อง 9 วันรวม -11.0 หมื่นล้านบาท ส่งผลยอดซื้อสะสมในรอบหลังสุดกลับมาติดลบ ทำให้การขายสุทธิต่อจากนี้ จะเป็นการนำหุ้นที่ซื้อในหลายปีก่อนมาขาย (จากการคำนวณของเราต้องเป็นหุ้นที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 2009 หรือก่อนหน้านั้น) โดยเคยเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์หลังรัฐประหาร แต่มีแรงซื้อกลับทันทีหลังจากนั้น ทำให้คาดว่าในสัปดาห์นี้แรงขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติจะเบาบางลง หรืออาจมีแรงซื้อกลับในตลาดหุ้นไทยได้
-3. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : จับตา China HSBC Mfg PMI มิ.ย. (จันทร์) USA 1Q57F GDP ครั้งสุดท้าย (พุธ) ประชุมสภาอียูเลือกตั้งประธาน(พฤหัสฯ-ศุกร์) ผลผลิตภาคอุตฯไทย พ.ค. (ศุกร์)
วันจันทร์ : USA ยอดขายบ้านเดิม พ.ค. คาด +1.5%m-m (Vs 1.3%) Japan: Flash PMI Mfg มิ.ย. คาด 50.5 (Vs 49.9) China: HSBC Mfg PMI มิ.ย. คาด 49.4
วันอังคาร: USA ยอดขายบ้านใหม่ พ.ค. คาด 0.45 ล้านหน่วย(Vs 0.43 ล้านหน่วย) ดัชนีราคาบ้าน S&P Shiller เมย คาด +1%m-m(Vs 1.2%)
วันพุธ: USA 1Q57F GDP ครั้งสุดท้าย คาด -1.6%q-q (Vs -1%) และยอดขายสินค้าคงทน พ.ค..คาด +0.2%m-m (Vs +0.6%) ไทย (ประกาศระหว่าง 25-27 มิ.ย.)
วันพฤหัสบดี : EU:ประชุมสภายุโรปเพื่อเลือกประธานคนใหม่ USA การใช้จ่ายส่วนบุคคล พ.ค. คาดคงที่ +0.2%m-m รายได้ส่วนบุคคล พ.ค. คาดคงที่ +0.3%m-m Taiwan: ผลประชุมธนาคารกลาง คาดคงดอกเบี้ยที่ 1.875%
วันศุกร์: USA ดัชนีวัดความเชื่อมั่นของม.มิชิแกน เดือน มิ.ย. คาด 82.3 (Vs 81.2) Japan: ยอดค้าปลีก พ.ค. คาด -1.9%y-y (Vs -4.3%) Thai: Mfg Production พ.ค. คาด -3.3%y-y(Vs -3.9%)
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
จีน เผยบริษัทรัฐกำไรพุ่ง 7% มากกว่า 9 แสนล้านหยวนช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ กระทรวงการคลังจีนระบุในแถลงการณ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซท์ว่า บริษัทของรัฐบาลที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน มีกำไรรวมกัน 9.43 แสนล้านหยวน (1.52 แสนล้านดอลลาร์) ในเดือน ม.ค.-พ.ค. เพิ่มขึ้น 6.9% จากปีก่อน การขยายตัวของผลกำไรในเดือน ม.ค. - พ.ค.เพิ่มขึ้นจากการขยายตัว 6.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วง เดือนแรกของปีนี้
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เดินหน้าทำสถิติสูงสุดใหม่ เพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 5 ในรอบ 6 สัปดาห์
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกทำสถิติสูงสุดใหม่ โดยดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้นi 25.62 จุด หรือ 0.15% สู่ระดับ 16,947.08 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 3.39 จุดหรือ 0.17% สู่ระดับ 1,962.87 จุด Nasdaq ปิดเพิ่ม 8.71 จุด หรือ 0.20%สู่ระดับ 4,368.04จุด ดัชนี DJIA, S&P500 เดินหน้าขึ้นต่อเนื่อง 6 วัน และสร้างสถิติสูงสุดใหม่ จากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง
+ตลาดหุ้นยุโรป ปิดสูงสุดรอบ 6.5 ปี
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรป ปิดคละ FTSE ปิดเพิ่ม 17.09 จุด หรือ 0.25%สู่ 6,825.20 จุด ดัชนี CAC40 ปิดลดลง 21.70 จุด หรือ -0.48% สู่ 4,541.34 จุด และ DAX ปิดร่วง 16.76 จุด หรือ -0.7% สู่ 9,987.24 จุด ส่วนทั้งสัปดาห์ทำสถิตสูงสุดรอบ 6.5 ปีเพิ่มขึ้น 0.5%w-w จากข่าวควบรวมกิจการและเก็งกำไรกลุ่มได้ประโยชน์จากอิรัก
+ราคาน้ำมันดิบ ปิดคละ ไนเม๊กซ์ปิดสูงสุดรอบ 9 เดือน
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ สค. ปิดลดลง 0.38 ดอลลาร์ สู่ 114.68 ดอลลา ร์ต่อบาร์เรล หลังขึ้นไปแตะ 115.06 ดอลล์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ กค. หมดสัญญาวันศุกร์ เพิ่มขึ้น 0.83ดอลลาร์มาปิด ที่ระดับสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 107.26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยตลาดยังคงให้ความสนใจต่อปัญหาอิรัก ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะอุปทานขาดแคลน หากกลุ่มต่อต้านสามารถบุกยึดแหล่งน้ำมันได้
+ราคาทองคำ ปิดขึ้นรายสัปดาห์ สูงสุดรอบ 3 เดือน
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด ขยับขึ้นเล็กน้อย 2.60 ดอลล์ สู่ 1,316.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนทั้งสัปดาห์ปรับสงขึ้น 3.34%w-w สูงสุดรอบ 3 เดือน จากการหันมาซื้อสนทรัพย์ปลอดภัย วิตกปัญหาอิรัก
+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดบวกวันที่ 3 หลังร่วงแตะระดับต่ำสุดปีนี้
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดบวกอีก 2 จุด หรือ 0.22% เป็น 904 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270