- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 09 July 2015 18:02
- Hits: 5685
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
ผันผวน (ลงอีก)
วันนี้คาด ลงตามภูมิภาค แนวรับ 1,470/1,465 จุด แนวต้าน 1,478 จุด ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด (-) ตลาดเอเชียเปิดลงต่อเช้านี้ จากวิตกเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจีน ด้านโบรกต่างชาติ NOMURA คาดตลาดหุ้นจีนที่ตกแรงช่วงนี้เป็นเพราะแรงบังคับขาย Force sell ระยะสั้น ไม่ได้เกิดจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่เกิดวิกฤต โดยการระดมทุนในตลาดหุ้นจีนมีสัดส่วนเพียง 2% ของแหล่งเงินในการดำเนินธุรกิจของเศรษฐกิจจีน ด้าน รมว.คลังสมหาย และ ธปท. คาดไม่กระทบต่อตลาดหุ้นและตลาดเงินของไทยมากนัก เพราะไทยไม่มีการลงทุนโดยตรงมีเพียงผ่านกองทุนรวมประเภท FIF ซึ่งมีอยู่ไม่มาก (-) เมื่อวานรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ส่งสัญญาณใดๆต่อการชะลอการขึ้นดอกเบี้ย
ระยะสัปดาห์ แนวรับ 1,460 ต้าน 1,500 จุด คาดดัชนีฯผันผวน ตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ จาก 1) รอพัฒนาการ หนี้กรีซ ซึ่ง EU จะประชุมเพื่อหาข้อเสนออีกครั้งในวันที่ 12 กค.นี้ 2) วิตกผลกระทบจากตลาดหุ้นจีน-ฮ่องกง ที่ดิ่งแรงเมื่อวาน (ขณะที่การจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้น 1.2 แสนล้านหยวน และ การอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มอย่างต่อเนื่องของทางการจีน จะเป็นความหวังในการฟื้นความเชื่อมั่นตลาดหุ้นจีน)
Update เดือน กค.หลังจากดัชนีฯหลุด 1,480 จุด คาดแนวรับถัดไป (trend line) 1,450 จุดแนวต้านลดลงเหลือ 1,520 จุด คาดตลาดผันผวน รอดูพัฒนาการ หนี้กรีซจากนี้ไป โดยกรีซมีหนี้EURO bond ที่จะครบกำหนดชำระ 3.5 พันล้านยูโรในวันที่ 20 กค.นี้ (วิตกกรีซจ่ายหนี้ไม่ได้และออกจากยูโรโซน) กลยุทธ์รายเดือน คงคาดหุ้นกลุ่ม แบงก์ บ้าน และการบริโภคในประเทศ Under-perform กลุ่ม Global cyclical ต้นน้ำ (BANPU PTTEP), หุ้นปันผลสูง (JASIF) และ หุ้นกลาง-เล็กที่มีข่าวบวกรายตัว
หุ้นแนะนำ : PLANB
MS รายงานวันนี้
(+) MS คาดราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในช่วง ครึ่งหลังปีนี้จะอยู่ในระดับ $60-70 จากปัจจุบันที่ $57 โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะไม่ลงไปแตะระดับต่ำสุดรอบปีที่ $45
BLS รายงานพื้นฐานวันนี้ (ดูรายละเอียดฉบับเต็ม)
(+) กลุ่มแบงก์ จากการศึกษากรณีแย่สุด (Stress test) เราได้ใส่สมมุติฐานการขยายตัวของสินเชื่อเหลือแค่เพียง 1 เท่าของ GDP โดยคาดสินเชื่อแบงก์เฉลี่ยโต 3.3% เท่ากับ GDP ซึ่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมาไม่ว่า GDP ไทยจะติดลบแค่ไหน สินเชื่อแบงก์ก็ขยายตัวในระดับเกิน 1.5 เท่าของ GDP และเรามองว่าราคาหุ้นกลุ่มแบงก์ที่โดนแรงขายจากความเสี่ยงตลาดที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐานที่แย่ลง ขณะที่ตลาดวิตกเกินกว่าเหตุในประเด็นหนี้เสีย เพราะหนี้เสียของกลุ่มแบงก์ตอนนี้เหลือไม่เกิน 5% เทียบเมื่อ 5 ปีก่อน เฉลี่ย NPL ยังเกือบ 10% ขณะที่ตั้งสำรองเฉลี่ยในนั้นยังเฉลี่ย 80-90% แต่ตอนนี้มีการตั้งสำรองต่อ NPL สูงกว่า 120% โดยเฉลี่ย
(+) PLANB คาดกำไร 2Q15 Bt106 ล้านบาท +111% YoY and +96% QoQมีแนวโน้มรายงานกำไรสูงกว่าคาดการณ์ของตลาด
หุ้นมีข่าว
(+) TSR (ที่มาทันหุ้น) เหตุภัยแล้ง และน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้เครื่องกรองน้ำรุ่น RO ขายดีกว่าปกติ
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(+) กลุ่ม BRICS ประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ เตรียมจัดตั้งกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศวงเงิน 1 แสนล้านดอลล์ เพื่อช่วยเหลือประเทศกลุ่ม BRICS ในยามที่ประสบปัญหาทางการเงิน มีผลบังคับใช้ 30 กค.นี้
(-) ผลสำรวจนักวิเคราะห์ของ Morgan Stanly ต่อตลาดหุ้นจีน คาดยังมี Downside ลงได้อีกราว 3%:แม้ตลาดหุ้นจีนจะปรับลดลงราว 28% ในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนทิศทางการปรับลดกำไร บจ. แต่นักวิเคราะห์ยังคงคาดว่ามีโอกาสที่ตลาดหุ้นจีนจะปรับลงได้อีกเล็กน้อย โดยมอง MSCI China เริ่มเข้าสู่จุดที่น่าสนใจเข้าลงทุน อิง PBV ปัจจุบันลดลงเหลือ 1.8 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 5 ปี แล้ว ซึ่งระดับต่ำสุดที่เทรดในรอบ 5 ปี อยู่ที่ 1.4 เท่า และ สูงสุดอยู่ที่ 2.6 เท่า โดย MS มองเหลือ Downside อีกไม่มาก
(-) รายงานการประชุมเฟด เมื่อวานนี้ (FOMC minute) ไม่ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินมากกว่าเดิม
(-) ผลลงประชามาติกรีซ เกิน 61% ปฏิเสธเงื่อนไขรัดเข็มขัด ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกดิ่งแรง ตลาดกังวล 19-20 กค.นี้ หากการกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาระหว่างกรีซและเจ้าหนี้ล้มเหลว จะส่งผลต่อ หนี้ ECB ที่จะครบกำหนดชำระ 3,500 ล้านยูโร และวิตกกรีซหลุดจากการเป็นสมาชิก EU ส่งผลลามเป็นลูกโซ่ในกลุ่มประเทศที่มีปัญหาหนี้กับ EU ก่อนหน้านี้ อาทิ สเปน อิตาลี โปรตุเกส
(+) เช้านี้ ธ.กลาง เกาหลีใต้ คงดอกเบี้ยที่ 1.5%
(0) พฤหัส ธนาคารกลางอังกฤษ ประชุมดอกเบี้ยนโยบายคาด คงดอกเบี้ย 0.5% ต่อไป, จีนรายงาน CPI (มิย.) คาด +1.3% จาก +1.2%
(-) ศุกร์ US whole sale inventory (พค.) คาด +0.2% จาก 0.4% m-m, ญี่ปุ่น รายงาน เงินเฟ้อ CPI, อินเดีย รายงาน Industrial production คาดดีขึ้นเป็น 4.5% จาก 4.1% ส่วนมาเลเซียคาด Industrial production ลดลงเหลือ 3% จาก 4%, ฟิลิปปินส์ รายงานส่งออก (พค.) คาด -8.6% จาก -4.1% y-y
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336 นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน