- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 02 July 2015 18:48
- Hits: 2505
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ซื้อตามด้วยค่าบวก+SET ยืนเหนือ 1500”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปปรับขึ้นแรงหลังจากที่กรีซมีทีท่าว่าอ่อนลง และมีโอกาสยอมรับเงื่อนไขของกลุ่มเจ้าหนี้เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางการเงิน ทั้งนี้ประชาชนกรีซจะทำประชามติว่าจะยอมรับมาตรการรัดเข็มขัดหรือไม่ในวันที่ 5 ก.ค.นี้ขณะเดียวกันตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปก็ออกมาดีด้วย โดยการจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย.ที่เพิ่มขึ้นเกินคาด ทำให้คาดว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.ที่จะออกมาวันนี้จะดีเช่นกัน รวมทั้งดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.ของสหรัฐและยูโรโซนก็เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับในประเทศ มีประเด็นเรื่อง NPL ของสถาบันการเงินที่ยังคงเพิ่มขึ้น และธนาคารต่างๆ มีการปรับลดเป้าหมายการเติบโตในปีนี้ รวมถึงเพิ่มCredit Cost ให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ ยังผลให้ผลประกอบการกลุ่มแบงค์ในปี 58 จะเติบโตอย่างจำกัดหรือเป็นเพียงทรงตัวโดยภาพรวมแล้วกลุ่มที่อิงกับอุปสงค์ในประเทศยังอ่อนแอ แต่กลุ่มท่องเที่ยวยังไปได้ดี หลังจากควบคุมโรคเมอร์สได้ ส่วนกลุ่มส่งออกได้รับประโยชน์จากเงินบาทอ่อน ซึ่งทำให้รายได้และมาร์จิ้นรูปบาทจะดีขึ้น หุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น TUF
การวิเคราะห์ทางเทคนิค ภาพตลาดโดยรวมเป็นลบ การอ่อนตัวต่อในวันนี้จะดูไม่ดี ดังนั้นการซื้อใหม่จึงเน้นตามด้วยค่าบวก ค่าลบส่งสัญญาณว่าดัชนีอาจร่วงลงต่ำกว่า 1500 อีกรอบ การปรับขึ้นมีแนวต้าน 1510-1520, 1530 จุด
สำหรับการ SCAN หาหุ้นที่มีโอกาสทำ New High พบว่าหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ TVO, CPN, CENTEL ส่วนหุ้นที่เข้ามาใหม่เป็น ANAN,STAR, TCMC, CPALL และหุ้นที่หลุด List ได้แก่ FANCY และหุ้นที่อยู่ในพื้นที่ Take Profit เป็น CEI, TNPC, RCI, SMT
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
• กรีซ : ยังเจรจากับเจ้าหนี้ต่อ แม้ผิดนัดชำระหนี้ IMF ไปแล้วเมื่อ 30 มิ.ย.58 โดยทางรัฐบาลกรีซพยายามยื่นข้อเสนอใหม่ให้กับกลุ่มเจ้าหนี้เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน แต่เจ้าหน้าที่ยุโรปปฎิเสธข้อเสนอครั้งใหม่เพราะมองว่าเงื่อนไขยังไม่เพียงพอ กรีซจึงต้องมีการปรับข้อเสนอและเจรจากันรอบใหม่ ด้านเยอรมนีกล่าวว่า ความช่วยเหลือกรีซครั้งใหม่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผ่านการทำประชามติวันที่ 5ก.ค.ไปแล้ว
+ ยูโรโซน : ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.เพิ่มเป็น 52.5 จาก52.2 ในเดือนพ.ค.58
+ สหรัฐ : ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย.ออกมาดีกว่าคาดโดยเพิ่มขึ้นถึง 2.37 แสนตำแหน่ง สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่2.2 แสนตำแหน่ง
+ สหรัฐ : ดัชนี PMI ภาคการผลิตของ ISM เดือนมิ.ย.อยู่ที่ 53.5เพิ่มจาก 52.8 ในเดือนก่อนหน้า และดีกว่าที่ตลาดประเมินไว้ ส่วนของมาร์กิตปรับลงเป็น 53.6 จาก 54.0 ในเดือนพ.ค. แต่ตลาดมักจะให้น้ำหนักกับตัวเลขของ ISM มากกว่า
+สหรัฐ : ภาคก่อสร้างฟื้นตัวดี ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 0.8%MoM เป็น 1.04 ล้านดอลลาร์ สูงสุดนับตั้งแต่ต.ค.51
• สหรัฐ : จับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของเดือนมิ.ย.58ที่จะมีรายงานออกมาในวันนี้ ซึ่งตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 2.33แสนตำแหน่ง และอัตราการว่างงานลดลงเป็น 5.4%
+/• จีน : ภาคบริการขยายตัวดี ส่วนภาคผลิตทรงตัว ดัชนี PMIภาคการผลิตเดือนมิ.ย.ทรงตัวที่ 50.2 นับว่าการผลิตยังฟื้นตัวไม่ดีนักเมื่อพิจารณาระดับดัชนีที่ปริ่มๆ 50 ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการขยายตัวดีกว่า โดยเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 53.8 เพิ่มจาก 53.2 ในเดือนพ.ค.
+ ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับขึ้นราว 0.7% เมื่อ 1 ก.ค.58 โดยดัชนีดาวโจนส์ปิด +138.40 จุด ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 26.25 จุด และดัชนี S&P500 ปิดเพิ่มขึ้น 14.31 จุด ปัจจัยหนุนคือ การจ้างงานภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ส่วนประเด็นกรีซนั้น ตลาดรอดูผลทำประชามติ 5ก.ค.นี้
+ ตลาดหุ้นยุโรปบวกขึ้นราว 2% ตอบรับข่าวกรีซมีทีท่าว่าจะยอมรับเงื่อนไขของกลุ่มเจ้าหนี้เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางการเงินซึ่งทำให้นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกกับประเด็นกรีซมากขึ้น โดยหวังว่ากรีซและเจ้าหนี้จะประนีประนอมกันได้ในที่สุด
• ค่าเงินดอลลาร์ 2 วันที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้น เช้าวันนี้อยู่ที่ 1.1047ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งการแข็งค่าของเงินดอลลาร์กดดันราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำให้อ่อนตัวลง
- ราคาน้ำมันดิบดิ่ง...กดดันจากดอลลาร์แข็งและสต็อกน้ำมันสหรัฐเพิ่ม โดย WTI และ BRENT ปิดลดลง 2.51 และ 1.58 ดอลลาร์ปิดที่ 56.96 และ 62.01 ดอลลาร์/บาร์เรล ปัจจัยกดดัน คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งขึ้น และสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์สิ้นสุด 26 มิ.ย.58 ของสหรัฐที่กลับมาเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรลเป็น 465.4 ล้านบาร์เรลโดยเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 สัปดาห์ และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลงต่อ 1.2 ล้านบาร์เรล
- ราคาทองคำอ่อนลง โดยสัญญา COMEX ปิดลบต่อ 2.5 ดอลลาร์จากที่ลดลง 7.2 ดอลลาร์ในวันอังคาร ล่าสุดปิดที่ 1,169.30 ดอลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นผลจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์
ปัจจัยในประเทศและหุ้นเด่น
- กลุ่มธนาคารพาณิชย์ – ปรับลดคาดการณ์กำไรปี 58F อีก 8-15% สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซายาวนานกว่าคาด ทำให้ NPL และการตั้งสำรองค่าเผื่อฯ เพิ่มขึ้น รวมถึงการเติบโตของสินเชื่อก็น้อยกว่าที่เคยประมาณการไว้ สำหรับผลประกอบการ 2Q58F คาดว่าจะอ่อนแอเพราะมีการตั้งสำรองค่าเผื่อฯเพิ่มขึ้น และกำไรก่อนสำรองเติบโตไม่มาก จากสินเชื่อที่ขยายตัวได้จำกัดและรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเติบโตน้อย ส่วนภาพรวมทั้งปี 58F เรามีการปรับลดประมาณการกำไรธนาคารพาณิชย์อีกรอบ ดังนี้
# KTB : ปรับลดประมาณการกำไรปี 58F ลง 8% ปรับราคาพื้นฐานเป็น18.50 บาท แนะนำถือ – ดูรายละเอียดด้านใน
# SCB : ปรับลดประมาณการกำไรปี 58F ลง 10% ปรับราคาพื้นฐานเป็น 180 บาท แนะนำซื้อ – ดูรายละเอียดด้านใน
# KBANK : ปรับลดประมาณการกำไรปี 58F ลง 15% ปรับราคาพื้นฐานเป็น 224 บาท แนะนำซื้อ
เชิงกลยุทธ์การลงทุน เน้นซื้อสะสมจังหวะอ่อนตัว โดย Sentimentระยะสั้นยังไม่ดี แต่ในระยาวคาดว่าผลประกอบการของธนาคารจะสามารถพลิกฟื้นกลับขึ้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว หุ้นแบงค์ที่เรายังแนะนำซื้อ ประกอบด้วย KBANK, SCB และ BBL
- ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.ติดลบ 7.6% ซึ่งหดตัวต่ำสุดในรอบ 14 เดือน โดยหลักมาจากกำลังซื้อที่หดตัว การใช้จ่ายภาครัฐและเอกชนชะลอตัว การส่งออกที่ยังติดลบ แนวโน้มยังไม่ดีนักเพราะการนำเข้าวัตถุดิบยังลดลงถึง 10.6% และการนำเข้าสินค้าทุนหดตัว 8% โดยอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เคยเริ่มฟื้นตัวเมื่อ 1-2 เดือนก่อนก็กลับมาชะลอตัวอีกรอบ แม้ว่าการส่งออกรถยนต์จะดีขึ้นแต่ยอดขายในประเทศซบเซามากเพราะผลกระทบจากโครงการรถคันแรก และกำลังซื้อของประชาชนลดลง หนี้ภาคครัวเรือนสูง ปัญหาภัยแล้ง ฯลฯ ทำให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ยังลดลง อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์หดตัวจากอุปสงค์ในประเทศและส่งออกที่อ่อนแอและมีการย้ายฐานการผลิตออกไปประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียนด้วย
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]