WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KK copyบล.เคเคเทรด : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับฐานเพราะ
SET View
       แนวโน้ม เราคาดว่าตลาดหุ้นกรีซมีโอกาสปรับฐานแรงตามตลาดหุ้นทั่วโลก หลังจากกรีซเลือกเส้นทางที่มีโอกาสนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ (Default) ค่อนข้างสูง (ดูรายละเอียดในหัวข้อ Strategy Talk) ส่วนตลาดหุ้นเอเชีย เช้านี้เปิดตัวในแดนลบราว 1-2% และดาวโจนส์ฟิวเจอร์ส วานนี้ปรับตัวลดลง 1.6%

       เบื้องต้น เราประเมินตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับฐานแรงในระยะสัปดาห์ แต่มีโอกาสฟื้นตัวได้เร็ว เพราะปัญหาหนี้ของกรีซใกล้ดำเนินมาถึงจุดสิ้นสุด (แม้ไม่ใช่ตอนจบที่เป็นแง่ดี ในกรณีที่กรีซ Default และออกจากยุโรโซน) ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกซึมซับข่าวกรีซในรอบนี้ มาตั้งแต่ช่วงต้นปีแล้ว และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ใช้มาตรการ QE ในการอัดฉีดเงินอยู่ ทำให้ความกังวลต่อสภาพคล่องของประเทศต่างๆในยูโรโซน (ยกเว้น กรีซ) น่าจะพอทุเลาลงได้

      เราคาดว่า เงินดอลล่าร์สหรัฐฯจะแข็งค่าอย่างรวดเร็ว เพราะนักลงทุนโยกเงินเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย ดังนั้นการเก็งกำไรหุ้นส่งออกที่ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท จึงเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสม

      หุ้น HPT (โฮม พอตเทอรี่) เริ่มซื้อขายวันแรกในวันนี้ (ตลาด mai หมวด Consumer products) ราคา IPO 1.00 บาท และราคาพาร์ 0.25 บาท

      กลยุทธ์การลงทุน : สำหรับนักลงทุนระยะสั้นแนะนำให้ขายหุ้นก่อนเพื่อจำกัดความเสี่ยง สำหรับนักลงทุนระยะกลางอาจเลือกถือหุ้นที่มีปันผลดี, พื้นฐานดี, ราคายังขึ้นไม่สูงมาก

     Top Daily Pick : ADVANC (มูลค่าเหมาะสม 288 บาท) มีโอกาสทำ window dressing, ปันผลสูง 5.7%, ความคืบหน้าการประมูล 4G ชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่กลาง ก.ค. และ SVI (มูลค่าเหมาะสม 5.70 บาท) ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า คาดผลประกอบการปีนี้ Turnaround กลับมาเป็นกำไร

       Technical Pick : PS TNPC VIBHA TVD TLUXE (โปรดอ่านบทวิเคราะห์ Technical เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน)

Theme Plays : เก็งกำไรหุ้นที่มี่โอกาสในการทำ Window dressing (ADVANC, INTUCH, BBL) / หุ้นอสังหาฯที่ซื้อขายด้วย P/E ratio ค่อนข้างต่ำ (SPALI, QH) / หุ้นได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (KCE, SVI, SAPPE) /หุ้นที่ได้รับคัดเลือกเข้า SET50-SET100 (ITD, BEAUTY, SAPPE)

 

Strategy Talk
ดราม่าของกรีซ (รอบสุดท้าย?)

สถานการณ์ รัฐบาลกรีซตัดสินใจทำประชามติเร่งด่วน เพื่อถามประชาชนว่า จะยอมรับเงื่อนไขแผนปฏิรูปที่เสนอโดยเจ้าหนี้หรือไม่ ในวันอาทิตย์ที่ 5 ก.ค.

 

วิเคราะห์
•กำหนดวันทำประชามติ 5 ก.ค. เกิดขึ้นหลังเส้นตายชำระหนี้แก่ IMF 30 มิ.ย.นี้ แปลว่า กรีซ น่าจะผิดนัดชำระหนี้งวดนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเจ้าหนี้ไม่ยอมขยายเวลา ตามที่กรีซร้องขอ และมีโอกาสสูงที่ประชาชนกรีซ จะไม่ยอมรับแผนของเจ้าหนี้ เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนทั้งนโยบายบำเหน็จบำนาญและภาษี

•ตอนนี้ ECB ยังไม่ตัดความช่วยเหลือแก่กรีซ โดยยังปล่อยเงินสภาพคล่องฉุกเฉินแก่ธนาคารพาณิชย์ในกรีซแต่คงเพดานไว้ที่ 8.9 หมื่นล้านยูโร

•ประชาชนกรีซ แห่ถอนเงิน (Bank run) อย่างล้นหลาม ทำให้หลายธนาคารขาดสภาพคล่อง รัฐบาลกรีซจึงใช้มาตรการ Capital control ให้วันจันทร์นี้เป็นวันหยุดของธนาคาร และจำกัดการถอนเงินบัญชีละ 60 ยูโรต่อวัน เมื่อธนาคารเปิดทำการในวันอังคาร
หากกรีซ Default ผลกระทบเชิงพื้นฐาน น่าจะจำกัด

 

•หนี้กรีซมีมูลค่ารวมทั้งหมด 3.23 แสนล้านยูโร โดยเจ้าหนี้หลักของกรีซส่วนใหญ่หรือกว่า 83% เป็นองค์กรที่ไม่ใช่เอกชน กล่าวคือ 62% ของมูลค่าพันธบัตรกรีซถือโดยรัฐบาลของประเทศในกลุ่มยูโรโซน, 10% เป็น IMF, 8% เป็นธนาคารกลางยุโรป (ECB), 3% เป็นธนาคารกลางกรีซ ส่วนอีก 17% ถือครองโดยภาคเอกชน เช่น ธนาคารพาณิชย์ในกรีซ, กองทุนรวมระดับโลก เป็นต้น ขณะที่ปัญหาหนี้กรีซเรื้อรังมายาวนานและพันธบัตรกรีซ ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ปี 2553 แล้ว ทำให้เราเชื่อว่า ภาคเอกชน ได้รับรู้การด้อยค่าของพันธบัตรไปพอสมควรแล้ว

•ขนาด GDP ของกรีซเล็กมาก คิดเป็นเพียง 0.31% ของ GDP โลก ส่วนไทย ส่งออกโดยตรงไปยังกรีซน้อยมากเพียง 0.6% ของยอดส่งออกรวม


ผลกระทบเชิงจิตวิทยาน่าห่วง เพราะหากกรีซออกจากยูโรโซนจริง จะตอกย้ำภาพลักษณ์ความแตกแยกของกลุ่มยูโรโซน อาจสร้างเงื่อนไขให้ประเทศอื่นที่มีหนี้สาธารณะสูงมากและมีขนาด GDP ใหญ่ เช่น อิตาลี และสเปน เดินตามรอยกรีซ ซึ่งจะสร้างความกลัวให้กับตลาดได้มากกว่านี้
เหตุการณ์ Default ที่สำคัญในอดีต

 

•รัสเซีย (ส.ค.2541) ส่งผลให้เกิดความผันผวนรุนแรงในตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก และมีผลต่อเนื่องไปยังกองทุนที่มีขนาดใหญ่สุดกองหนึ่งของโลกในเวลานั้น คือ LTCM (มูลค่าสินทรัพย์ 1.25 แสนล้านเหรียญฯ) ต้องเผชิญสถานะขาดทุนมหาศาลอย่างรวดเร็ว จนทำให้ Fed ต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ผลกระทบต่อตลาดหุ้น ดัชนี S&P500 ปรับฐานตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค. และพบจุดต่ำสุดในเดือน ก.ย. ราว 21% หลังจากนั้น S&P500 ทำขาขึ้นต่อเนื่องจนถึงปี 2543 และพบฟองสบู่ Dotcom ส่วน SET เริ่มฟื้นตัวจากวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 จึงไม่ได้รับผลลบมากนัก

•อาร์เจนตินา (ธ.ค.2544) ช่วงนั้นตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) ทรงตัว ส่วน SET ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2% ในเดือนดังกล่าว

 

Smart Port Note
Beta ของพอร์ตลงทุนแสดงถึงความเสี่ยงของหุ้นในพอร์ตเทียบกับ ตลาด SET หากค่า Beta สูงกว่าหนึ่งเท่า แสดงถึงความเสี่ยงของ พอร์ตลงทุนที่สูงกว่า SET
Growth Port มีค่า Beta เท่ากับ 1.27
Trading Port มีค่า Beta เท่ากับ 1.24
Dividend Port มีค่า Beta เท่ากับ 0.97
Quant Port มีค่า Beta เท่ากับ 0.42

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!