WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ในประเทศ และการระบาด "เมอร์ส" กระทบผู้เดินทางเข้าไทย โดยรวมกระทบต่อธุรกิจการบินและท่องเที่ยว ระยะสั้นให้ลดน้ำหนักกลุ่มนี้ กลยุทธ์ยังให้เลือกรายหุ้น CK([email protected]), KBANK(FV@B270), BLA([email protected]) Top pick วันนี้คือ RCL([email protected]) เป็นหุ้น Turnaround แล้ว ยังเป็นหุ้นที่อาจเป็นเป้าหมาย Take over เพราะมี PBV ต่ำ 0.8 เท่า

 

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังส่อว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยปลายปี
      หลัง Fed ปรับลดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2558 ลงเหลือ ที่ 1.8-2.0% ลดลงจากการประชุมในเดือน มี.ค. ที่คาดว่าจะขยายตัว 2.3-2.7% เนื่องจากงวด 1Q58 ทำได้ต่ำกว่าเป้าหมาย จากสภาวะอากาศหนาวเย็น อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ล่าสุดยังคงส่งสัญญาณต่อการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน โดยตัวเลขขอรับสวัสดิ์การณ์การว่างงานครั้งแรก สิ้นสุด 13 มิ.ย. ลดลงถึง 1.2 หมื่นราย ปรับตัวลงมากกว่าที่ตลาดคาดและสัปดาห์ก่อนหน้าที่ลดลง 2 พันราย มาอยู่ที่ระดับ 2.67 แสนราย (ต่ำกว่าระดับ 3 แสนรายต่อเนื่อง 15 สัปดาห์) นอกจากนี้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อล่าสุด เดือน พ.ค.ขยายตัวที่ 0.4%mom (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) เป็นผลจากราคาพลังงานที่ปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สำหรับอัตราเงินเฟ้อไม่รวมอาหารและพลังงาน ขยายตัวเพียง 0.1% mom ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้หากเทียบกับปีที่แล้วอัตราเงินเฟ้อทรงตัว (เปลี่ยนแปลง 0%เท่านั้น) ถือว่ายังห่างจากเป้าหมายของอัตราเงินเฟ้อปีนี้ของ Fed อยู่ในกรอบ (0.6-0.8%) ซึ่งเป็นการยืนยันว่า Fed จะยังคงไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้ๆนี้


      ขณะที่นักวิเคราะห์ในสหรัฐ ส่วนใหญ่คาดว่า Fed น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือน ก.ย. นี้ (Barclays, Bank of America Merrill และDeutsche bank เป็นต้น) และบางส่วนที่มองว่า Fed จะปรับอัตราดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค. อย่าง HSBC, Morgan Stanley และ JPMorgan อย่างไรก็ตาม บางรายเท่านั้นเริ่มขยายเวลาการขึ้นดอกเบี้ยออกไป เช่น Goldman Sachs โดยล่าสุด ได้คาดการณ์ช่วงเวลาการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ออกไปจากก่อนหน้าที่มองว่าเป็นเดือน ก.ย. เปลี่ยนเป็นเดือน ธ.ค. และยังให้ประเมินว่า Fed อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในช่วงที่เหลือของปีนี้ (การประชุมที่เหลืออีก 4 ครั้งก่อนสิ้นปี 2558) ซึ่งสอดคล้องกับทาง ASPS คาดว่า Fed น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างเร็วใน 4Q58 หรืออย่างช้าในช่วง 1Q59

ICAO ให้ธงแดงไทย & เมอร์ส กดดันท่องเที่ยว/สายการบิน
เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับผลกระทบระยะสั้น อย่างน้อย 2 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่


1. องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization) หรือ ICAO ได้ประกาศให้สายการบินในไทยที่มีเที่ยวบินระหว่างประเทศไม่ผ่านมาตรฐานปลอดภัยการบิน ซึ่งสะท้อนว่าหน่วยงานรัฐที่เป็นผู้ควบคุมดูแลการบินในประเทศไทย ทำได้งานต่ำกว่ามาตรฐานโลก กดดันธุรกิจสายการบิน ในประเทศ ตรง ๆ แม้สายการบินทุกแห่งจะมีมาตรการทำงานในระดับสากล แต่เมื่อผู้ดูแล ไม่ได้รับการยอมรับ ผู้ให้บริการก็ต้องกระทบด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และประสิทธิภาพในการทำกำไร โดยกรณีที่แย่ หรือ กระทบในระดับปานกลาง คือทุกสายการบินถูกเข้มงวดการให้บริการ และไม่สามารถเพิ่มจุดบินใหม่ ๆ แต่กรณีที่เลวร้ายที่สุด คือประเทศปลายทาง ถูกห้ามบินเข้าประเทศ ซึ่งกรณีนี้ อาจจะมองโลกในด้านเลวร้ายเกินไปซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ประเมินว่าปัญหาดังกล่าวอาจจะมีอุปสรรคต่อการเติบโตต่อหุ้นที่ให้บริการการบินและขนส่งทางอากาศโดยตรง(THAI, AAV, BA, NOK) รวมทั้งผู้ให้บริการสนามบิน (AOT) (ติดตามอ่านรายละเอียดใน Equity Talk วันนี้)


2. พบผู้ป่วยโรคระบาด "เมอร์ส" ในไทย แม้จะเป็นชาวต่างชาติที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศเพียงรายเดียว แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรคในวงกว้าง ซึ่งหากสถานการณ์ลุกลามบานปลายไปมากกว่านี้ ย่อมจะกระทบกับ sentiment อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และโรงแรม (โรงแรม ได้แก่ ERW ซึ่งทำธุรกิจโรงแรมในประเทศเป็นหลักน่าจะกระทบมากสุด รองลงมาคือ CENTEL ซึ่งทำธุรกิจโรงแรม และอาหาร แต่มีการกระจายการให้บริการในต่างประเทศด้วย ผลกระทบอาจจะน้อยกว่า ERW และ MINT ซึ่งทำธุรกิจโรงแรม และอาหารเช่นเดียวกัน แต่การกระจายไปยังต่างประเทศมากที่สุด ผลกระทบจึงน่าจะน้อยสุด) โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความอ่อนไหวซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ จีน (จำนวนนักท่องเที่ยวงวด 1Q58 คิดเป็นกว่า 26% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด), ญี่ปุ่น และเกาหลี (ขณะที่นักท่องเที่ยวยุโรปและอเมริกาไม่ได้รับผลกระทบมากนักเนื่องจากไม่นิยมเดินทางมาในช่วงนี้)อย่างไรก็ตาม งวดไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ของทุกปี มักจะเป็นช่วง low season ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงเชื่อว่าสถานการณ์น่าจะคลี่คลายได้ทันช่วงฤดูกาล โดยหากย้อนไปเมื่อปี 2546 ที่เคยเกิดโรคระบาดซาร์ส อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหดตัวลงนานกว่า 4-5 เดือน ก่อนที่จะฟื้นตัวในช่วงไตรมาส

แนะ RCL/SAMTEL หลีกเลี่ยงสายการบิน และท่องเที่ยว


       ท่ามกลางข่าวร้าย ทั้งเรื่องที่ ICAO ให้ธงแดงกับหน่วยงานภาครัฐของไทย เท่ากับกดดันให้สายการบินของไทย ต้องถูกตรวจสอบหรือระงับการเพิ่มเที่ยวบินใหม่ ๆ ถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ต่อความสามารถในการทำกำไร (THAI, AAV, NOK, BA) แต่มิใช่เท่านั้น การเกิดระบาดของไข้หวัดนอก "เมอร์ส" ในประเทศไทยแล้วในขณะนี้จะกระทบต่อจำนวนผู้เดินทางการเข้าประเทศไทย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว ซึ่งแน่นอน จะกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม กลยุทธ์ระยะสั้นให้ลดน้ำหนักหุ้นที่กล่าวถึงทั้ง 2 กลุ่ม และให้มาลงทุนในหุ้นรายตัวที่มีประเด็นบวกหนุน พร้อมกับมีผลกำไรที่โดดเด่น (ติดตามอ่านรายละเอียดใน Equity Talk วันนี้) ได้แก่

 

SAMTEL จ่อเซ็นงานใหญ่หลายโครงการ
      แม้งานวางระบบด้าน ICT ชะลอตัวลงตามการเปิดประมูลภาครัฐที่ชะลอออกไป กดดันให้ผลประกอบการของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง SAMTEL และ AIT ในงวด 1Q58 แต่ด้วย SAMTEL มีการกระจายธุรกิจที่ดี โดยยังมีการให้บริการ ด้านเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนงานด้านอื่น อาทิ ความมั่นคงและสาธารณูปโภคช่วยให้ยังมีงานใหญ่ๆเข้ามา (ซึ่งคิดเป็น 40% ของรายได้ทั้งหมด) ทำให้สามารถประมูลงานใหม่ ๆ มาชดเชยงานวางระบบ ICT ได้แก่ งานระบบวิทยุสื่อสารของ กทม. มูลค่า 834 ล้านบาท ซึ่งเพิ่งเซ็นสัญญาไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ และภายในเดือนนี้ จะเซ็นสัญญางานระบบตรวจสอบผู้โดยสารล่วงหน้าของ AOT มูลค่าราว 3.5 พันล้านบาท (ประเมินจากการเติบโตของจำนวนผู้ใช้งานสนามบินเฉลี่ย 6% ต่อปี) ซึ่งเป็นโครงการระยะยาว 5 ปี คาดจะรับรู้รายได้ตั้งแต่ในงวด 4Q58 ราว 40 ล้านบาท และในปี 2559-63 รับรู้เฉลี่ยปีละ 600-700 ล้านบาท          

       นอกจากนี้ เตรียมเซ็นสัญญาเพิ่มเติม หลังชนะการประมูลอีกหลายโครงการ อาทิ ระบบศูนย์ข้อมูลกรมที่ดิน ระบบตรวจวัดไฟฟ้า รวมกันอีกมากกว่าพันล้านบาท ซึ่งจะเซ็นสัญญาในเดือนนี้เช่นกัน ซึ่งน่าจะหนุน Backlog คาดว่าจะเพิ่มจาก 6.1 พันล้านบาท มาอยู่ในระดับ 1 หมื่นล้านบาท ณ สิ้น 2Q58 สูงสุดในรอบ 5 ปี (ทั้งนี้ไม่ได้รับงานใหญ่ที่คาดว่าจะทราบผลประมูลในงวด 2H58 อีกกว่า 7 พันล้านบาท) ซึ่งน่าจะทำให้ผลกำไรของ SAMTEL จะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันได ตั้งแต่งวด 2Q58 และทำให้นักวิเคราะห์ ASPS มีโอกาสเพิ่มประมาณการกำไรปี 2559-60 อีกปีละ 5-6% แต่เพื่อความระมัดระวัง จึง ยังคงประมาณการเดิม ซึ่งคาดว่าทั้งปี 2558 กำไรปกติจะเติบโต 32% และปี 2559 เติบโต ขณะที่ราคาหุ้นลดลงราว 17% ตั้งแต่ เม.ย. 58 ทำให้มี upside สูงขึ้น จึงปรับเพิ่มคำแนะนำจาก "ถือ" เป็น "ซื้อ"

 

RCL เข้าข่ายถูก Take Over
      บ่ายวานนี้พบว่าราคาหุ้น RCL ที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นมาผิดปกติ เนื่องจากมีกระแสข่าวที่ว่าเป็นเป้าหมายที่อาจจะถูกซื้อกิจการ (เช้านี้มีแหล่งข่าว "ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์") แม้ว่ากระแสข่าวดังกล่าวยังไม่ได้รับการยืนยันข้อเท็จจริง แต่หากพิจารณาปัจจัยรอบด้านแล้ว RCL มีความสนใจที่น่าลงทุน คือ
1) ราคาหุ้นปัจจุบัน ยังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี โดยมี PBV 0.83 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบการเดินเรือทั่วโลกที่ราว 1.12 เท่า
2) เป็นหุ้นที่มีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน แม้รายได้ค่าระวางเรืออาจจะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก แต่ข้อดีจาก ต้นทุนในการเดินเรือที่ลดลงจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงนับจากกลางปี 2557 เป็นต้นมานับว่าเป็นประโยชน์ต่อ RCL นอกจากนี้นโยบายการบริหารและจัดการ กองเรือ ที่มีหลายขนาด (ตั้งแต่เล็ก กลาง และใหญ่) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกำไร ได้เหนือคู่แข่งขัน ซึ่งปัจจุบัน เรือคอนเทนเนอร์ มักจะใช้เรือขนาดใหญ่ เพราะปัจจุบันอู่ต่อเรือได้เลิกการ ต่อเรือขนาดเล็กแล้ว นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ ในการขยายธุรกิจ เช่น ร่วมมือกับบริษัท Tang Ming Marine Transport (ผู้ประกอบการเรือคอนเทนเนอร์สัญชาติจีน) ให้บริการขนส่งเส้นทางใหม่ระหว่าง ไทย, อินโดนีเซีย (Belawan), มาเลเซีย (Port Klang) และสิงคโปร์ (จะเริ่มให้บริการในวันที่ 22 มิ.ย. 58 ระหว่าง ไทย - สิงคโปร์ และ 1 ก.ค. 58 ระหว่าง สิงคโปร์ - อินโดนีเซีย และร่วมมือกันกับบริษัทเดินเรือคอนเทนเนอร์อีก 3 แห่ง คือ Emirates Shipping Line, Korea Marine Transport และ Hanjin Shipping เดินเรือระหว่างแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันออกกลาง โดยใช้เรือขนาด 6,500 TEUs ราว 7 ลำ และ เชื่อว่าจะหนุนผลประกอบการงวด 3Q58 เป็นต้นไป มาชดเชยผลจากการอ่อนตัวตามฤดูกาลของทุกๆปีได้บางส่วน
ด้วยเหตุผลทั้งหมด จึงเป็นโอกาสให้สะสมเข้าซื้อเก็งกำไร RCL ([email protected]) อิง PVB 1.2 เท่า ราคาตลาดยังมี Upside จากราคาปัจจุบัน 38.7%

 

ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทย
      วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 455 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการขายสุทธิ 3 ประเทศ โดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 307 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการขายสูงสุดในรอบ 103 วันที่ผ่านมา (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 3) ต่อมาตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิราว 152 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 15) และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 26 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 13) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศคือ ตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 13 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเป็นต่อเนื่อง 2 วัน) สุดท้ายตลาดหุ้นไทยนักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเป็นวันแรกราว 16 ล้านเหรียญ หรือ 538 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเป็นต่อเนื่อง 2 วัน) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,935 ล้านบาท
     ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 6,558 ล้านบาท เช่นเดียวนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2,824 ล้านบาท ล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.64 บาท/ดอลลาร์

นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!