WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน

     ยังให้น้ำหนักต่อประเด็นเงินบาทอ่อนค่า ทั้งจากแรงขายของต่างชาติในตลาดหุ้นและตราสารหนี้รวมถึงโอกาสที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยฯ ยังมีอยู่ กลยุทธ์ฯ ยังเน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์เงินบาทอ่อนค่า(TUF, VNG, HANA, RCL) ยังเลือก HANA(FV@B48) และ TUF(FV@B26) เป็น Top Picks

 

OPEC ยืนการผลิตที่เดิม.. หวังว่าความต้องการใช้จะขยับขึ้น
       เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาผลการประชุม OPEC ได้มีมติคงกำลังการผลิตที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน (คิดเป็นสัดส่วน 32.8% ของการผลิตโลกเฉลี่ยที่ 94.1ล้านบาร์เรลต่อวัน) ด้วยเหตุผลที่หวังว่า จะเริ่มเห็นความสมดุลระหว่างความต้องการและการผลิตน้ำมันที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยได้มีการปรับเพิ่มคาดการณ์ความต้องการ (demand) ใช้น้ำมันโลกในปี 2558 ขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน (พ.ย. 2557) จาก 91.3 ล้านบาร์เรล เป็น 92.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นอีก 1.2 ล้านบาร์เรล


       ส่วนทางด้านการผลิต (supply) ประเมินว่าในปีนี้น่าจะเห็นการปรับลดปริมาณการผลิตของกลุ่ม Non-OPEC ลง โดยคาดว่ากำลังการผลิดกลุ่ม Non-OPEC น่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 7 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นเพียง 1ใน 3 ของปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นของปีที่แล้ว (เพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน) โดยมาอยู่ที่ 57.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับประมาณการเดิมที่ 56.5 ล้านบาร์เรลต่อวันทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 61-62 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากต่ำสุดของปีนี้ที่อยู่ประมาณ 44.3 เหรียญฯร์ต่อบาร์เรลแต่ยังคงอยู่กว่าระดับสูงสุดในปีที่แล้วที่อยู่ประมาณ 110 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบ นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันราคาเฉลี่ยอยู่ที 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งยังห่างจากสมมติฐานที่ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล ทำให้ล่าสุดนักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับลดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบลงจากเหลือ 63 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยกำหนดให้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ราคาน้ำมันดูไบต้องเฉลี่ยอยู่ที่ 70 เหรียญฯ ซึ่งเป็นการสะท้อนว่าราคาน้ำมันดิบโลกน่าจะทรงกับแกว่งตัวขึ้น จึงยังคงแนะนำสะสม PTTEP (FV@B125) หลังจากนักวิเคราะห์ได้ปรับประมาณการกำไรในปี 558 ลงจากเดิม 17.7% และปรับลดปี 2559 ลง 15.8% (พร้อมปรับลด volume ขายลง 3% จึงเชื่อว่าราคาที่ตอนนี้น่าจะสะท้อนประเด็นลบดังกล่าวและผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แนะนำทยอยสะสม

 

เงินบาทอ่อนค่ายังหนุนหุ้นส่งออกต่อ TUF, HANA, RCL, VNG

        สัปดาห์นี้จะมีการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะลดดอกเบี้ยนโยบาย 50:50 เนื่องจากได้มีการลดดอกเบี้ยฯ ไปแล้ว 2 รอบในปีนี้ รวม 0.5% เหลือ 1.5% ขณะที่การประชุม กนง. ยังมีอีก 5 รอบจนถึงสิ้นปีนี้ (นับการประชุมที่จะถึง 10 มิ.ย. นี้ด้วย) ประกอบกับ แรงขายของต่างชาติทั้งในตลาดหุ้น (จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน ขายสุทธิ 10.2 พันล้านบาท) และตราสารหนี้ ซึ่งได้ขายสุทธิต่อเนื่องในเดือน พ.ค. และ มิ.ย. ทำให้มียอดขายสุทธิ นับจากต้นปี 2558 - ปัจจุบัน ราว 2.1 หมื่นล้านบาท (เทียบกับที่ซื้อสุทธิ 2.07 แสนล้านบาท และซื้อสุทธิ 4.2 แสนล้านบาท ในปี 2557 และ 2556 ตามลำดับ) ล้วนเป็นปัจจัยกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง โดยเช้านี้แตะ 33.9 บาทต่อดอลลาร์ฯ และมีแนวโน้มที่จะแตะ 34 บาท ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่ามากสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 2552 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติซับไพร์ม (อัตราแลกเปลี่ยนจากต้นปีจนถึงปัจจุบันเฉลี่ย 32.8 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในปี 2558 แต่หากในช่วงที่เหลือยืนอยู่ที่ 34 เหรียญฯ อาจจะทำให้ค่าเฉลี่ยตลอดปี 2558 อยู่ที่ 33.5 เหรียญฯ ซึ่งสูงกว่าสมมุติฐานที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ฯ) อย่างไรก็ตามการอ่อนตัวของเงินบาท พบว่าไปในทิศทางเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในอัตราน้อยกว่า กล่าวคือจากต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินบาทอ่อนค่าไปราว 2.9% เทียบกับเงินริงกิตที่อ่อนค่า 6.9% และ เงินรูเปียะห์ อ่อนค่ามากถึง 7.3% (รายละเอียดดังปรากฏในภาพข้างต้น) แต่ถือว่าเป็นผลดีต่อภาคส่งออก ที่มีรายได้ในรูปสกุลดอลลาร์สุทธิ (รายได้ดอลลาร์ มากกว่าต้นทุนดอลลาร์หรือมีต้นทุนเป็นเงินบาท) คือ


กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คือ HANA (FV@B48) รองลงมาคือ DELTA (FV@B78), KCE (FV@B60) และ SVI([email protected]) ตามด้วยผู้ส่งออก Particle board คือ VNG ([email protected]) ผู้ส่งออกอาหาร ได้แก่ TUF (FV@B26), CPF(FV@B28) และ FRESH([email protected]) รวมถึงหุ้นเดินเรือเทกองที่มีรายได้เป็นสกุลดอลลาร์ ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าแล้ว ยังได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ตกต่ำในปัจจุบัน คือ RCL ([email protected]) ยกเว้นหุ้นส่งออกสินค้าเกษตร อีกกลุ่มหนึ่ง แม้จะฐานรายได้ในรูปดอลลาร์เกือบ 100% และใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก แต่นักวิเคราะห์ ASPS มีคำแนะนำเพียงถือ เพราะนอกจากธุรกิจส่งออกไม่สดใสแล้วพบว่าราคาตลาดยังใกล้ Fair Value หรือมี upside จำกัด คือ KSL(ถือ: FV@B5) แต่อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทอ่อนค่าลงทุก 1 บาทจากสมมติฐานของ ASPS ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ จะหนุนให้กำไรของ KSL เพิ่มขึ้น 6.7% จากประมาณการปัจจุบัน ราคาหุ้นมี upside 5.9% ตามมาด้วย STA(ถือ:FV@B14) แม้ทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่า จากสมมติฐาน จะเพิ่มกำไรให้ 7.2% จากประมาณการปัจจุบัน ราคาปัจจุบันมี upside 2.1%
ตรงกันข้าม หุ้นที่เสียประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าอาจจะต้องหลีกเลี่ยงระยะสั้น ๆ คือ


เหล็ก : ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ SMIT, BSBM (นำเข้าวัตถุดิบเหล็กแท่งยาว (Billet) จากต่างประเทศ ซึ่ง Billet คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 90% ของต้นทุนขายรวม) และ TMT (นำเข้าวัตถุดิบเหล็กจากต่างประเทศบางส่วน) ล้วนเป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบเหล็กจากต่างประเทศ มากน้อยสัดส่วนต่างกัน อย่างไรก็ตาม SMIT (นำเข้าวัตถุดิบ และเครื่องจักรจากต่างประเทศ) ได้มีการทำ Forward Contract ไว้ราว 50-60% ของสินค้านำเข้าทั้งหมด จึงน่าจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง ขณะที่อีกบางบริษัทที่อาจจะไม่ได้หรือเสียประโยชน์ คือ TSTH เนื่องจากใช้วัตถุดิบจากเศษเหล็กในประเทศ และ MCS มีรายได้ในรูปสกุลเงินเยนทั้งหมด ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเยน แต่โดยรวม ยังสอดคล้องกับสมมติฐานปี 2558 ของ ASPS 28 บาท/100 เยน และ SSI น่าจะอยู่ในฐานะที่จะแข่งขัน กับเหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้มากขึ้น เพราะราคาเหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาเพิ่มขึ้น ตามเงินบาทที่อ่อนค่า


ขนส่งทางอากาศ : ส่วนใหญ่เสียประโยชน์ทั้งหมด เพราะแม้จะมีรายได้บางส่วนเป็นเงินสกุลเงินตราต่างประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นสกุลดอลลาร์ราวๆ 40%-50% ของรายได้รวม) แต่ทางด้านต้นทุนมีสัดส่วนเป็นสกุลตราต่างประเทศเช่นกัน (สัดส่วน 60%-70% ของต้นทุนรวม อาทิ น้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง ค่าประกัน ค่าเช่าเครื่องบิน) จึงมีบางส่วนที่ได้รับผลกระทบสุทธิด้านลบ


สื่อสาร : ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่นำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ (ต้นทุนเป็นดอลลาร์)มาขายในประเทศไทย (รับเป็นเงินบาท) โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายมือถือและโครงข่าย ได้แก่ SIM เพราะนำเครื่องมือถือเข้ามาจำหน่าย ซึ่งมีต้นทุนนำเข้าคิดเป็น 80% ของต้นทุน ตามมาด้วย SAMTEL และ AIT มีสัดส่วนนำเข้าราว 50%-60% ของต้นทุน ซึ่งจะกดดันประสิทธิภาพการทำกำไรในระยะสั้น ยกเว้นผู้ให้บริการมือถือได้รับผลกระทบน้อย คือ ADVANC, DTAC, TRUE และ JAS ขณะที่ THCOM ไม่ได้รับผลกระทบเลย แม้รายได้เป็นสกุลดอลลาร์ราว 80% แต่มีต้นทุนบริการ บวก หนี้สินในรูปสกุลดอลลาร์ ใกล้เคียงกัน (ต้นทุนบริการที่สัดส่วนราว 50% ของต้นทุนรวม และมีหนี้สินจากเงินกู้ดาวเทียมไทยคม 6 ราว 100 ล้าน USD ที่เป็นสกุลดอลลาร์) จึงหักล้างกันพอดี
ธุรกิจเดินเรือเทกอง โดยเฉพาะ TTA, PSL มีโครงสร้างรายได้ในรูปดอลลาร์ฯ ในอัตราใกล้เคียงกับต้นทุน แต่ในภาวะธุรกิจขาลงรายได้น้อยกว่าต้นทุน จะทำให้ผลขาดทุนที่แปลงเป็นรูปเงินบาทมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

ต่างชาติขายหุ้นกลุ่ม TIP ทุกวัน นับตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย.
วันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 294 ล้านเหรียญ แต่ยังซื้อสุทธิอยู่ประเทศเดียว คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ 79 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 7) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศถูกขายสุทธิ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิราว 306 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 6) เช่นเดียวกับกลุ่ม TIP ยังคงถูกนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิอย่างต่อเนื่องทุกวัน นับตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา เริ่มจากตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 14 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 5) ตามมาด้วย ตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 29 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 6) และ ไทยถูกขายสุทธิราว 23 ล้านเหรียญ หรือ 786 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นต่อเนื่องวันที่ 6) ขณะที่สถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 3,407 ล้านบาท และ ซื้อสุทธิต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และเช่นเดียวกับทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 21,630 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 4,364 ล้านบาท ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจากวันก่อนหน้า ล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.93 บาท/ดอลลาร์


โดยสรุป ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา (2 -5 มิ.ย. 2558) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยทุกวันรวมกว่า 5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP แต่หากนับจากต้นปีจนถึงปัจจุบันตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดหุ้นเดียวในภูมิภาคที่มียอดขายสุทธิสะสม โดยมียอดขายสุทธิราว 10.2 พันล้านบาท และหากพิจารณาสถานะการซื้อสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย นับจากปี 2552 ถึงปัจจุบันพบว่ามีมูลค่าตลาดลดลงเหลือเพียง 3.49 หมื่นล้านบาท ดังนั้น แม้แรงขายจากต่างชาติจะไม่สร้างแรงกดดันต่อ SET Index มากนัก แต่ในภาวะที่ยังไม่มีแรงซื้อกลับเข้ามาโอกาสที่จะเห็น SET Index ดีดตัวกลับขึ้นไปแรงก็เกิดได้ยากเช่นกัน เฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ค่า Current PER สูงถึง 17.6 เท่า

นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!