WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FSS copyบล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

SET รีบาวด์มาพอควรแล้ว น่าเน้นขายช่วงบวก เพื่อรอปรับลง!

  กลยุทธ์ : หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว SET รีบาวด์กลับขึ้นมาพอควรแล้ว ขณะที่ FSS คาดว่ากรอบการรีบาวด์จะมีอยู่ค่อนข้างจำกัด และสุดท้ายยังต้องระวังการแกว่งตัวลงต่ออีก เพราะยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจไทย ดังนั้นเราแนะนำให้ทยอยขายลดพอร์ตในช่วงตลาดบวก และยังไม่ต้องรีบกลับเข้าซื้อจนกว่า SET จะไหลลงต่ำ


  หุ้นเด่นทางเทคนิค : GUNKUL, IVL, SGP(short)
  แนวโน้ม : สัปดาห์ที่แล้ว SET รีบาวด์กลับมาแกว่งบวกได้ดีตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ แม้ว่าตลาดหุ้นต่างประเทศอื่นๆ จะมีจังหวะปรับตัวลง หรือแกว่งผันผวนอยู่ก็ตาม โดยคาดว่าส่วนหนึ่งน่าจะมาจากแรงซื้อเก็งกำไรหลังราคาหุ้นหลักหลายตัวได้ปรับตัวลงมาค่อนข้างมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มแบงก์ อย่างไรก็ตาม FSS มองว่าประเด็นเศรษฐกิจในประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการฟื้นตัว น่าจะยังส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มแบงก์ และผลกำไรของ บจ.อื่นๆ อีกพักใหญ่ ทำให้กรอบการรีบาวด์กลับของ SET ช่วงนี้ยังมีค่อนข้างจำกัด และยังต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีออกมากดดันให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนและมีจังหวะย้อนลบต่อได้อีกด้วย ขณะที่เช้านี้บรรยากาศการลงทุนจากตลาดหุ้นต่างประเทศก็ยังอ่อนแอต่อเนื่อง หลังการเจรจาแก้ปัญหาหนี้ของกรีซยังไม่ได้ข้อสรุป เพียงแต่ชะลอการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซออกไปก่อนเท่านั้น รวมทั้งตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาดก็น่าจะส่งผลให้ความวิตกเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐกลับมากดดันตลาดหุ้นเอเชียอีกครั้ง ดังนั้น FSS ยังแนะนำให้ชะลอการกลับเข้าซื้อไว้ก่อน เพื่อรอช่วงตลาดปรับลงดีกว่า
  แนวรับ 1505-1503 , 1497-1495 จุด
  แนวต้าน 1510-1513 , 1518-1522 จุด


  Fund Flow เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนยังไหลออกจากตลาดภูมิภาคต่อเนื่องอีก US$298 ล้าน นำโดยไต้หวัน US$306ล้าน และ TIP ที่ขายรวมกัน US$67ล้าน และต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 จากความกังวลว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยหลัง Yield curve ทั่วโลกสูงขึ้น โดย US Yield curve ปรับขึ้นทุกช่วงอายุ เงินดอลลาร์แข็งค่า แนวโน้มเงินทุนน่าจะพักอยู่ในสินทรัพย์ระยะสั้นเพื่อรอความชัดเจนด้านดอกเบี้ยก่อนจะกลับมาในตลาดหุ้น

ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
  (-) กรีซขอเลื่อนการจ่ายหนี้เป็นสิ้นเดือนนี้ โดยขอเลื่อนการคืนหนี้ที่ต้องจ่าย 4 งวดในเดือนนี้ไปเป็นงวดเดียว US$1.5 พันล้าน 30 มิ.ย. นี้ ประเด็นกรีซจะกลับมากดดันตลาดหุ้นทั่วโลกเป็นระยะ ซึ่งเป็นการจำกัดไม่ให้ flow จากต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทย
  (-) ราคาน้ำมันร่วงเพราะ OPEC คงการผลิต ที่ 30 ล้านบาร์เรล/วันในการประชุม 5 มิ.ย. ที่ผ่านมา (ประชุมครั้งต่อไป 4 ธ.ค.) เพิ่มภาวะ Oversupply ของน้ำมันให้แย่ลง และในอนาคตมีแนวโน้มว่าลิเบีย อิรัก และอิหร่านจะกลับมาผลิตและส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้น
  (-) คาดกนง.คงอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 10 มิ.ย. เพื่อรอดูผลของการลดดอกเบี้ย 2 ครั้งก่อนหน้า (11 มี.ค., 29 เม.ย.) แต่ควรติดตามมุมมองที่ธปท.มีต่อเศรษฐกิจและการปรับประมาณการ GDP ที่ปัจจุบันคาดไว้ที่ 3.8% (ธปท.จะมีรายงานเป็นทางการ 19 มิ.ย.) หากกนง.คงดอกเบี้ย จะทำให้ sentiment ของกลุ่มแบงก์ดีขึ้น แต่เรายังเป็นห่วงคุณภาพหนี้ แต่หากผิดคาด กนง.ลดดอกเบี้ย จะกดดันตลาดโดยรวมโดยเฉพาะกลุ่มแบงก์ แต่เป็นบวกกับกลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ (SVI, KCE) และท่องเที่ยว (CENTEL)


  (-) ห่วงคุณภาพหนี้ของแบงก์ จาก Special-mention loans (สินเชื่อที่ค้างชำระตั้งแต่ 1-3 เดือน) ที่เพิ่มสูงมากใน 1Q15 เป็น 2.81% ของสินเชื่อรวม มากสุดนับตั้งแต่ 3Q10 และมากกว่าการเพิ่มขึ้นของ Classified loans โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในธุรกิจรายใหญ่ ทำให้มีความเสี่ยงที่สินเชื่อดังกล่าวจะตกชั้นเป็น NPL และสะท้อนว่าหนี้ด้อยคุณภาพที่เกิดกับรายย่อยและ SME อาจลามสู่ Corporate ขนาดใหญ่ แบงก์ที่มีความเสี่ยงที่หนี้ดังกล่าวจะตกชั้นมากที่สุดคือ BBL, BAY, KTB ขณะที่หนี้ที่อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างเป็นอีกกลุ่มที่ต้องระวัง แบงก์ที่มีหนี้ประเภทนี้มากสุดคือ KTB, KBANK (กรณีของ SSI จะครบกำหนดผ่อนผันสิ้นเดือนนี้) แม้ว่าผลกระทบต่อฐานทุนของแบงก์จะจำกัดเพราะมีเงินสำรองหนี้สูญมากพอ แต่จะกระทบกำไรและ sentiment ของราคาหุ้น แม้ราคาหุ้นจะปรับลงมาอยู่ในจุดที่น่าสนใจแต่ story ที่เป็นลบยังรออยู่ ไม่จำเป็นต้องรีบซื้อ หุ้นเด่นในระยะยาวของเรายังเป็น KBANK (เป้าหมาย 245 บาท) และเริ่มชอบ TISCO (เป้าหมาย 56 บาท) มากขึ้นเพราะปันผลจูงใจ


  (0) SINGER Singer Thailand ขายหุ้นทั้งหมด 108 ล้านหุ้น (40% ของหุ้นทั้งหมด) ให้ JMART 24.9% หรือ 67 ล้านหุ้น และส่วนที่เหลือ 41 ล้านหุ้นให้พันธมิตร กรณีนี้จะไม่มี Tender offer เรามองว่า SINGER จะได้ประโยชน์จากการขายสินค้าที่หลากหลายขึ้น จากที่มีแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่เรายังคงแนะนำขาย ราคาเป้าหมาย 12 บาท เนื่องจากแนวโน้มกำไรปีนี้ลดลงจากกำลังซื้อซบเซา ส่วน JMART จะได้ใช้สาขาของ SINGER เป็นแหล่งกระจายสินค้า และอาจใช้ JMT ในการเก็บหนี้ให้กับ SINGER แต่อาจทำให้กำไรเพิ่มเพียง 3-6 ล้านบาท/ปี หรือ 0.75-1.5% ของกำไร เพราะแม้จะรับรู้กำไรจาก SINGER ประมาณ 58 ล้านบาท/ปี แต่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย 50-55 ล้านบาทจากการกู้เงินมาซื้อ

  ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดปรับตัวลงอีก 56.12 จุดหรือคิดเป็น 0.31% เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของกรีซ ถึงแม้ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐจะออกมาแข็งแกร่งเกินคาดก็ตาม


  ตลาดหุ้นยุโรปปลายสัปดาห์ที่แล้ว ก็ปิดเป็นลบด้วย หลังกรีซพยายามซื้อเวลาด้วยการขอเลื่อนการชำระหนี้ไปเป็นวันที่ 30 มิ.ย.
  ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ยังเปิดเป็นลบกันส่วนใหญ่ เพราะยังมีความกังวลเกี่ยวกับกรีซ และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ
  ค่าเงินบาทอ่อนตัวมาแกว่งในกรอบ 33.80-34.0 บาท/ดอลลาร์


  ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ก.ค. ปิดที่ 59.13 เหรียญ/บาร์เรล ขยับเพิ่มขึ้น 1.13 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังโอเปกมีมติคงโควต้าการผลิตในการประชุมรอบล่าสุด
  ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดที่ 1,168.10 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 7.10 เหรียญ/ออนซ์ เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ

 


ปัจจัยที่ต้องติดตาม

8 มิ.ย. - ญี่ปุ่น: 1Q15 GDP
- จีน:ดุลการค้า (พ.ค.)
9 มิ.ย. - จีน:อัตราเงินเฟ้อ (พ.ค.)
10 มิ.ย. - ไทย: กนง.ประชุม
- จีน: ยอดสินเชื่อเดือน พ.ค.
11 มิ.ย. - จีน: ยอดค้าปลีก, Industrial production (พ.ค.)
- เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BOK) ประชุม
- สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (พ.ค.)
12 มิ.ย. - สหรัฐ:Industrial Production (พ.ค.)
- ยูโรโซน:Industrial Production (เม.ย.)
16 มิ.ย. - สหรัฐ: Housing starts, Building permits (พ.ค.)
- ยูโรโซน:ZEW Survey Expectations (มิ.ย.)
17 มิ.ย. - สหรัฐ: FOMCประชุม
- ยูโรโซน:อัตราเงินเฟ้อ (พ.ค.)
18 มิ.ย. - อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI)ประชุม
- สหรัฐ:อัตราเงินเฟ้อ (พ.ค.)
Contact person : Somchai Anektaweepon 
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!