WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBS copyบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

“ถ้ามีเด้งแล้วไม่ผ่าน 1500 ก็ขายก่อน”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี


       ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยเมื่อวานนี้ร่วงแรง 19.18 จุด ปิดที่ 1476.87 ซึ่งเป็นการลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาค เพราะกังวลกับปัญหาหนี้กรีซ และความเสี่ยงว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ในเดือนมิ.ย.นี้ถ้ายังไม่บรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยก็ยังซบเซา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1.7 พันล้านบาท สถาบันในประเทศและพอร์ตบล.ขายสุทธิเช่นกัน ด้านรายย่อยสวนซื้อสุทธิ

 

       ปัจจัยต่างประเทศที่กดดันตลาดหลักเป็นปัญหาหนี้กรีซ อย่างไรก็ตามประเด็นนี้สะท้อนเข้ามาในตลาดพอควรแล้ว และส่วนใหญ่เชื่อว่ากรีซจะไม่ Default ในรอบ 5 มิ.ย.นี้ นอกจากนั้นตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ของยูโรโซนที่เพิ่มขึ้นในรอบ 6 เดือนก็เป็นปัจจัยบวกเล็กๆ ที่ช่วยให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้น ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลงก็ทำให้ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยเฟดผ่อนคลาย (โดย DBS คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ใน 4Q58 จากปัจจุบันที่ 0.25%) ส่วนในประเทศมีกระแสเรื่องดอกเบี้ยเช่นกัน โดยกนง.จะประชุม 10 มิ.ย.นี้ ทางด้านผู้ส่งออกต้องการให้ลดดอกเบี้ยเพื่อกดเงินบาทให้อ่อนอีก แต่ภาคธุรกิจบางกลุ่มมองว่าดอกเบี้ยปัจจุบันเหมาะสมแล้ว ด้าน DBSคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยทรงตัวที่ 1.50% ไปถึง 1Q59 เราจึงให้น้ำหนักลงทุน Neutral ในกลุ่มที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย เช่นธนาคาร, ไฟแนนซ์ & ลิสซิ่ง, ที่พักอาศัย, ค้าปลีก เป็นต้น กลยุทธ์เป็น Selective Play หุ้นเด่นในกลุ่มดังกล่าวคือ KBANK, GL, AP, CPALLหุ้นแนะนำซื้อรอบสั้นวันนี้เป็น KBANK

 

        การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณเป็นลบ แต่ดัชนีมีโอกาสรีบาวด์ก่อนลงต่ำต่อ กรอบแนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1490-1500 จุดแนะนำซื้อเก็งกำไรตามด้วยค่าบวก ค่าลบดูไม่ดี แนะนำให้ Wait & See หรือลดพอร์ตตาม สำหรับแนวเด้งของ SET อยู่ที่ 1470-1460 จุด

 

Market Drivers


ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
-/• กรีซ : ยังอยู่ในการเจรจา นายกรัฐมนตรีกรีซกล่าวว่าได้ยื่นแผนปฎิรูปฉบับเบ็ดเสร็จให้เจ้าหนี้แล้ว ด้านผอ.IMF ก็กดดันกรีซโดยกล่าวว่าเจ้าหนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะบรรลุข้อตกลงกับกรีซได้หรือไม่อย่างไรก็ตาม ตลาดเชื่อว่ามีโอกาสที่กรีซจะไม่ผิดนักชำระหนี้ในวันศุกร์ที่ 5 มิ.ย.นี้ เมื่อพิจารณาจากการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นสำคัญที่อ่อนตัวเพราะความกังวลมากกว่าความวิตกรุนแรง

+ ยูโรโซน : ดัชนี CPI เดือนพ.ค. +0.3%YoY ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่

+0.2%YoY ซึ่งการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนกระเตื้องขึ้น หลังใช้มาตรการกระตุ้นมาหลายรูปแบบซึ่งรวมถึง QEและเป็นการเริ่มต้นที่จะหลุดพ้นภาวะเงินฝืด

-/• สหรัฐ : ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยผ่อนคลายลงล่าสุดตัวเลขยอดสั่งซื้อโรงงานเดือนเม.ย.ลดลง 0.4%MoM ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะทรงตัว อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลง ทำให้ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยเฟดผ่อนคลาย

• สหรัฐ : ติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.58 ที่จะออกมาวันศุกร์นี้ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่ม 225,000 ตำแหน่งจาก 223,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย.58 และอัตราการว่างงานทรงตัวที่ 5.4% (ต่ำสุดในรอบ 7 ปี)

+ ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นหนุนการรีบาวด์ของหุ้นกลุ่มพลังงานโดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI และ BRENT ส่งมอบก.ค.58 เพิ่มขึ้น 1.06และ 0.61 ดอลลาร์ ปิดที่ 61.26 และ 65.49 ดอลลาร์/บาร์เรล เพราะคาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐจะลดลงอีก (สัปดาห์ก่อนลดลง2.8 ล้านบาร์เรลมาที่ 479.4 ล้านบาร์เรล) จับตาผลประชุมกลุ่มโอเปกวันที่ 5 มิ.ย.นี้ แต่ตลาดคาดว่ากลุ่มจะไม่เปลี่ยนนโยบายการผลิต

+ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนหนุนราคาทองคำขยับขึ้น ปิดตลาดสัญญา COMEX +5.7 ดอลลาร์ ที่ 1194.40 ดอลลาร์/ออนซ์

•/- ฟิลิปปินส์เร่งปรับโครงสร้างรับ FDI…เป็นลบกับไทยในระยะยาว ล่าสุดมีกระแสข่าวว่าประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ออกคำสั่งให้กำหนดกรอบกลยุทธ์ฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์แบบเบ็ดเสร็จ เพื่อกระตุ้นประสิทธิภาพโดยรวม เพื่อดึงดูดเงินลงทุนใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายให้ฟิลิปปินส์เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของภูมิภาคด้านบริษัทญี่ปุ่นในหลายอุตสาหกรรมก็ส่งสัญญาณความร่วมมือในการเข้าไปลงทุนในฟิลิปปินส์มากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์,เสื้อผ้าแบรนด์ยูนิโคล่, อาหาร & เครื่องดื่ม เป็นต้น

 

ปัจจัยในประเทศและหุ้นเด่น
+ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พ.ค.58 ลดลง 1.27%YoY แต่เพิ่ม0.17%MoM สำหรับ 5M58 ดัชนีลดลง 0.77%YoY ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนพ.ค.58 เพิ่มขึ้น 0.94%YoY และเพิ่ม 0.05%MoM และงวด 5M58 เพิ่มขึ้น 1.27%YoYสำหรับทั้งปี 58 ทาง DBS ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยไว้ที่ 0.8% ซึ่งอยู่ใน Range ต่ำที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้เนื่องจากคาดว่าราคาพลังงานในช่วงที่เหลือของปีนี้จะทรงตัว ขณะที่อุปสงค์ในประเทศจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้อัตราเงินเฟ้อทางฝั่งดีมานด์จะไม่ได้เพิ่มมาก

• เงินเฟ้อไม่ได้เป็นแรงกดดัน...แล้วอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะลดลงอีกหรือไม่ ในการประชุมวันที่ 10 มิ.ย.58 (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.50%) ในส่วนของภาคธุรกิจส่งออกเรียกร้องให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยอีกรอบเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าแล้วช่วยกระตุ้นภาคส่งออก ขณะที่บางคน เช่น ประธานกลุ่มคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คือ คุณบุญทักษ์หวังเจริญ มองว่าดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและกำลังปรับตัวดีขึ้นสำหรับ DBS คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวที่ 1.50% ถึง1Q59 และประมาณการค่าเงินบาทไว้ที่ 33.0-33.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2Q58-1Q59

 

• ให้น้ำหนักลงทุน Neutral ในหุ้นกลุ่มที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย เช่น ธนาคาร, ไฟแนนซ์ & ลิสซิ่ง, ที่พักอาศัย, ค้าปลีก ฯลฯคาดว่าน้ำหนักจากอัตราดอกเบี้ยจะไม่มีผลกระทบต่อกลุ่มดังกล่าวมากนัก โดยปัจจัยที่กระทบ NIM ของธนาคารพาณิชย์น่าจะเป็นระดับการค้างชำระดอกเบี้ย, ระดับNon Performing Loans และตัวหารคือระดับสินเชื่อคงค้างเป็นหลัก, ส่วนกลุ่มไฟแนนซ์ & ลิสซิ่งซึ่งผลประกอบการ Perform ดีในปีนี้นั้นมาจากความต้องการใช้สินเชื่อลิสซิ่ง จำ นำ สินทรัพย์ และติดตามหนี้มีมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจซบเซาเป็นหลัก ด้าน Spread ของดอกเบี้ยค่อนข้างทรงตัวส่วนกลุ่มที่พักอาศัยและค้าปลีก ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยไม่มาก เนื่องจากในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ปัจจัยที่จะมีน้ำหนักต่อการอุปโภค บริโภค และการซื้อที่พักอาศัยมาก คือ ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ก็มีความหวังว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นใน 2H58 กลยุทธ์ลงทุนเป็น Selective Play โดยหุ้นเด่นในกลุ่มดังกล่าวได้แก่ KBANK (ราคาพื้นฐาน 280 บาท), GL (ราคาพื้นฐาน 13 บาท), AP (ราคาพื้นฐาน 8.8 บาท), CPALL (ราคาพื้นฐาน 50 บาท)
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!