- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 02 June 2015 16:52
- Hits: 1037
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แนวโน้มดัชนียังคงแกว่งตัว โดยคาดว่ายังขาดปัจจัยชี้นำที่ชัดเจน ทั้งนี้ยังให้เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่อ่อนตัว/เงินบาทอ่อนค่า (TUF, VNG, HANA, RCL) เลือก VNG([email protected]) และ TUF (FV@26) เป็น Top Picks
ปัจจัยภายนอกไม่มีประเด็นใหม่
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังมีทิศทางผันผวน หรือมีความขัดแย้งกัน ดังที่นำเสนอยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่ (Initial Jobless Claims) ล่าสุดเพิ่มขึ้น 7 พันราย เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้า 5 พัน แต่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน เดือน พ.ค. ลดลงมาอยู่ที่ 90.7 (ลดลงจากเดือน เม.ย. อยู่ที่ 95.9) และการใช้จ่ายรายบุคคล (Personal spending) ในเดือน เม.ย. ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 0.5% mom แม้ว่ารายได้ส่วนบุคคลเดือน เม.ย.จะเพิ่มขึ้น 0.4% ก็ตาม ซึ่งอาจกดดันการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ถือเป็นประมาน 70% ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ 2Q58 (หลังจากที่มีการรายงาน GDP 1Q58 ที่มีการทบทวนครั้งใหม่พบว่า -0.7% ลดลงจากที่รายงานครั้งแรก +0.2% qoq)
ทั้งนี้ นับว่าสวนทางกับตัวเลขภาคการผลิตที่ออกมาแข็งแกร่งขึ้น โดย ISM (สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ) รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตฝ่ายจัดซื้อเดือน พ.ค. ปรับตัวมาอยู่ที่ 52.8 (เดือน มี.ค. และ เม.ย. ที่อยู่ที่ 51.5) เช่นเดียวกันตัวเลข PMI มาร์กิต ด้านการผลิตเดือน พ.ค. ที่อยู่ที่ 54 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 53.8 และตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างเพิ่มขึ้นสูงถึง 2.2% mom (สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 0.8%) ซึ่งอาจเป็นผลเนื่องจากการเร่งบริโภคซื้อบ้านในช่วงเดียวกัน ทั้งนี้จะเห็นว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ทั้งภาคตลาดแรงงาน การบริโภคภาครัวเรือน และภาคการผลิต ยังคงมีความผันผวนอยู่ ทาง ASPS ยังคงมองว่า fed น่าจะมีการพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ในช่วงปลายปีนี้
ส่วนทางฝั่งยุโรป พบว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังบ่งชี้การฟื้นตัวที่ดี กล่าวคือ ดัชนี PMI มาร์กิต เดือน พ.ค. ปรับตัวมาอยู่ที่ 52.2 สุงสุดในรอบ 11 เดือน (แม้จะต่ำกว่ากว่าที่คาดการณ์เล็กน้อยที่ 52.3) สอดคล้องกับตัวเลขความเชื่อมั่นภาคเศรษฐกิจ และทางภาคบริการและอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวดีขึ้นจากที่รายงานก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการใช้มาตรการ QE ที่เริ่มใช้เมื่อปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาถึงเดือน ก.ย.2559 โดยขณะนี้อัดฉีดเงินเข้าระบบแล้ว 2.38 แสนล้านยูโร
ตรงข้ามกับฝั่งจีน พบว่าตัวเลข PMI ภาคการผลิต (รายงานจาก HSBC) เดือน พ.ค.อยู่ที่ระดับ 49.2 (ต่ำกว่า 50 ต่อเนื่อง 3 เดือน) แม้จะปรับตัวสูงขึ้นจากเดือน เม.ย. ที่ระดับ 48.9 แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงการหดตัวทางภาคการผลิตอยู่ ซึ่งทำให้เชื่อว่าจีนยังมีความจำเป็นที่จะต้องออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติม ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกเพียงประการเดียวที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นในเอเซีย
ต่างชาติขายหุ้นไทยต่อเนื่องวันที่ 3 และขายเพื่อนบ้าน
วันจันทร์ที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดหุ้นไทยได้ปิดทำการเนื่องจากวันวิสาขบูชา แต่ตลาดเพื่อนบ้านยังคงเปิดทำการ โดยภาพรวมแล้วพบว่านักลงทุนต่างชาติ ได้ขายสุทธิเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ ขายสุทธิ 208.95 ล้านเหรียญฯ (เทียบกับที่ซื้อสุทธิในวันศุกร์) ทั้งนี้พบว่าโดยมีการขายสุทธิหนักในไต้หวัน ขายสุทธิ 282 ล้านเหรียญฯ (เทียบกับที่ขายสุทธิ 3.68 ล้านเหรียญฯ ในวันศุกร์ที่ผ่านมา) ขณะที่ขายอินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์เล็กน้อยราว 1.87 ล้านเหรียญฯ และ 0.92 ล้านเหรียญฯ
ส่วนวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่านักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 228 ล้านเหรียญ โดยซื้อสุทธิอยู่ 2 ประเทศ แต่ที่ซื้อหนักคือเกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 236 ล้านเหรียญ (นับตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาพบว่า เกาหลีใต้ยังเป็นตลาดที่ถูกซื้อสะสมสุทธิสูงที่สุดในภูมิภาคราว 1,659 ล้านเหรียญ) และฟิลิปปินส์ถูกซื้อเป็นวันแรกราว 18 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 15 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศถูกขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 13 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และ ไต้หวันสลับมาขายสุทธิเป็นวันแรกราว 4 ล้านเหรียญ (หลังจากถูกซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) ส่วนตลาดหุ้นไทยถูกขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สามราว 8 ล้านเหรียญ หรือ 260 ล้านบาท ซึ่งต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 921 ล้านบาท
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 16,006 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 895 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 33.72 บาท/ดอลลาร์
คาดตลาดเดือน มิ.ย. น่าจะทรงตัวถึงแกว่งตัว เท่านั้น
ผ่านไปอีก 1 เดือน พบว่าเดือน พ.ค. ตลาดหุ้นไทยลดลงไป 2% จากเดือนก่อนหน้า โดยพบว่าหุ้นที่ถูกขายหนักคือหุ้นที่มี market cap ขนาดใหญ่ ทั้งธนาคารพาณิชย์ ลดลง 4.8% พลังงาน -3.8% อสังหาริมทรัพย์ -3.2% และ ICT -2.2% ส่วนหุ้นขนาดกลาง ได้แก่ กลุ่มบันเทิง ลดลง 5.4% การเงินขนาดย่อย -3.5% และประกันลดลงไป 2.2% และหากพิจารณาจากต้นปี 2558 จนถึงปัจจุบันพบว่าตลาดหุ้นไทยแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นปี 2557 แต่หากพิจารณารายกลุ่มพบว่า หุ้นรายอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนและให้ผลตอบแทนชนะตลาด เป็นหุ้นขนาดกลาง ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนฯ เพิ่มขึ้น 23.4% ตามมาด้วย ปิโตรเคมี 22.1% การเงินรายย่อย 20.3% วัสดุก่อสร้าง 17.4% รับเหมาฯ 13.3% โรงพยาบาล 11.7% โรงแรม 8.6% ตรงกันข้าม หุ้นที่ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าตลาดคือ ธนาคารพาณิชย์ลดลง 13.4% บันเทิง ลดลง 12.6% เกษตร ลดลง 7.4% ICT 4.7% อสังหาริมทรัพย์ ลดลง 4.5% และ อาหารลดลง 3.4% (ที่เหลือให้ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด) ดังปรากฏในภาพข้างต้น
สำหรับแนวโน้มเดือน มิ.ย. ตลาดหุ้นจะมีแนวโน้ม
อย่างไร เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่น่าจะให้ความสนใจ ทั้งนี้หากพิจารณาปัจจัยที่รอบด้านเชื่อว่ายังไม่มีน้ำหนัก หรือประเด็นบวกพอที่จะหนุนตลาดหุ้นให้อยู่ในทิศทางขาขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของผลประกอบการ หรือกำไรของบริษัทจดทะเบียนฯ ภายหลังการรายงานงบงวด 1Q58 จบเชื่อว่า การปรับลดประมาณการรายบริษัทยังมีอยู่ โดยเฉพาะกับหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ เช่นหุ้นสื่อสาร ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS กำลังจะทำการปรับลดในวันนี้คือ TRUE และตามมาด้วย DTAC เป็นต้น นอกจากนี้หากพิจารณาด้านผู้ซื้อ โดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดทิศทางตลาดรายหนึ่ง พอๆ กับนักลงทุนสถาบันในประเทศ (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และพอร์ตลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์) คาดว่าจะยังซื้อสลับขายเช่นที่ผ่านมา (จากต้นปีจนถึงปัจจุบันขายสุทธิ 5.18 พันล้านบาท และเป็นการขายสุทธิต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 หลังจากขายสุทธิในปี 2556 กว่า 1.93 แสนล้านบาท และ 3.6 หมื่นล้านบาท) เพราะนอกจากสาเหตุหลักยังมาจากเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวล่าช้า และยังเติบโตน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเซียทุกแห่งแล้ว และเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่ายังเป็นอุปสรรคอีกประการ ทั้งนี้สอดคล้องกับพฤติกรรมในอดีต โดยหากพิจารณาสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี พบว่าเดือน มิ.ย. นักลงทุนต่างชาติมักจะขายหุ้นไทย ด้วยความน่าจะเป็น 60% (โอกาสซื้อมีเพียง 40%)
และหากพิจารณาการเคลื่อนไหวรายอุตสาหกรรม พบว่ากลุ่มฯ ที่จะให้ผลตอบแทนชนะตลาด และมีความน่าจะเป็นสูงเกิน 60% ได้แก่ กลุ่มอาหาร ให้ผลตอบแทนราว0.7% ด้วยความน่าจะเป็นราว 70% ตามมาด้วยกลุ่มประกัน ราว 1.6% ด้วยความน่าจะเป็นราว 60% กลุ่มโรงพยาบาล ให้ผลตอบแทนราว 1.5% ด้วยความน่าจะเป็นราว 60% ยานยนต์ ให้ผลตอบแทนราว 0.7% ด้วยความน่าจะเป็นราว 60%
ตามมาด้วย กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่ความน่าจะเป็นเพียง 50% ได้แก่ ธนาคาร ให้ผลตอบแทน 2.2% ตามมาด้วย กลุ่ม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 1.9% ICT 1.47% ปิโตรเคมี 0.9% เกษตร 0.8% และ ค้าปลีก 0.5% ท่องเที่ยว 0.4%
นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล