WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

May copyบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์วันนี้ Sideways
ตลาดหุ้นวานนี้:
      ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ที่ผ่านมา SET INDEX แกว่งในกรอบแคบ 1,490-1,500 จุด ระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างขึ้นเด่น ด้วยการคาดหวังเชิงบวกต่อโครงการถไฟรางคู่ อาจนำมาพิจารณาในการประชุมครม.สัปดาห์นี้ ขณะที่ผลของการบังคับใช้ MSCI ทำให้ SET INDEX ช่วงปิดตลาดขยับผิดปกติ ปิดที่ 1,496.05 จุด บวก 2.44 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 39,747 ล้านบาท
กระแสเงินทุนต่างชาติเป็นกลาง แม้ขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 3 อีก 260 ล้านบาท Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันแรกในรอบ 6 วันทำการ 5,276 สัญญา และขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 1.895 ล้านบาท

 

ปัจจัยสำคัญวันนี้
อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ของไทย Bloomberg consensus คาด -1.12% yoy จากเดือนก่อนหน้า -1.04% yoy
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยเดือนเม.ย.ฟื้นตัวอย่างช้าๆ และเปราะบาง ภาคการท่องเที่ยวยังคงเติบโตเด่น


สถานการณ์ของกรีซ ยังไม่พัฒนา

มุมมองต่อตลาด
เราคงมุมมองเป็น "กลาง" วันที่ 45 พร้อมประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX ระหว่าง 1,485/90 - 1,505/10 จุด พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายที่เบาบางต่อเนื่องจากช่วงก่อนหน้า เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงรอดูผลการประชุม กนง. ในวันที่ 10 มิ.ย. เพราะจะมีผลต่อทิศทางค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นต้นทุนหนึ่งของนักลงทุนต่างชาติ


สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจเดือนเม.ย. ของไทย พบว่า การท่องเที่ยวยังคงเติบโตโดดเด่น 18.3% yoy เป็น 2.29 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยวจีนและมาเลเซียเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัว 0.9% yoy ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.0% yoy โดยการลงทุนภาคก่อสร้างทรงตัว เพื่อรอดูแผนการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล ภาพรวมเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างช้าๆ และเปราะบางในความเห็นของธปท.


ขณะที่สถานการณ์ของกรีซ ยังไม่มีความคืบหน้า แม้ว่ากรีซยืนยันว่าหนี้ของ IMF ที่จะครบกำหนดในวันที่ 5 มิ.ย.จะไม่มีเงินมากพอต่อการชำระหนี้ก็ตาม แต่ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ทั้งนี้ติดตามการประชุม ECB วันพรุ่งนี้ อาจมีมาตรการเข้ามากดดัน หรือ ผ่อนคลายแรงกดดันสถาบันการเงินของกรีซได้


อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่าหุ้นปันผลระหว่างกาล หรือ หุ้นที่แนวโน้มจะได้เพิ่มเข้าในการคำนวณ SET50 / SET100 ซึ่งจะประกาศในช่วงกลางเดือนมิ.ย. น่าจะเป็นเป้าหมายของการเลือกเก็งกำไรรอบสั้น ขณะที่หุ้นหลักอาจได้รับอานิสงค์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิ.ย. เพื่อทำ Window dressing จากกองทุนในประเทศได้
เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชีย (7.22 น.) Nikkei เปิดบวกจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ Kospi เปิดย่อตัวเล็กน้อย

 

กลยุทธ์การลงทุน
ดังนั้น เราแนะนำ "นักลงทุนกลับมาซื้อเก็งกำไรหุ้นเป้าหมาย แบบจำกัดวงเงินบริเวณ 1,485-1,490 จุด" เพื่อรอขายทำกำไรรอบสั้นบริเวณ 1,500 จุด+/- เมื่อ SET INDEX ฟื้นตัว
Top Pick in 2Q15: ITD / TASCO / TPIPL/ WHA
HOLD: ITD / TPIPL/ BJCHI/ ADVANC/ TASCO/ WHA/ THAI/ BCP


Accumulative Buy: IFEC

Stock Pick of the Day

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "ทยอยสะสม" ได้แก่
1. IFEC : ราคาปิด 11.50 บาท ราคาเหมาะสม 18.00 บาท
a) MBKET คาดว่าราคาหุ้น IFEC จะตอบรับเชิงบวก หลัง IWIND (บริษัทย่อยของ IFEC) ประกาศเข้าซื้อหุ้น 100% ของบริษัท SGC ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานลม ที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีสัญญาขายไฟ (PPA) แล้ว จำนวน 8.965 MW โดยมี Adder 3.50 บาทระยะเวลา 10 ปี และจะเริ่มจ่ายไฟ (COD) ใน 1Q59
b) ส่งผลให้ IWIND มีสัญญา PPA ในมือเพิ่มขึ้นเป็น 18.965MW และมี MOU อีก 2 แห่งๆละ 90 MW ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
c) ฐานกำไรใน 2H58 จะยกตัวขึ้นจากการรับรู้รายได้โครงการโซลาร์ฟาร์มในกัมพูชาแห่งแรกจำนวน 20 MW พร้อมทั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมแห่งแรกที่ปากพนัง
d) มีประเด็นบวกระยะสั้นรออยู่ ได้แก่ การขึ้นเครื่องหมาย XW ในสัดส่วน 4 หุ้นเดิม ต่อ 1 Warrant ในวันที่ 25 มิ.ย.

 

Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets
ตลาดหุ้นเอเชียขายสุทธิ US$204 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$189 ล้าน

Foreign Investors Action วานนี้
กระแสเงินทุนต่างชาติเป็นผลของ MSCI Rebalance เป็นหลัก
นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 3 อีก 260 ล้านบาท รวม 3 วันทำการ ขายสุทธิ 1,775 ล้านบาท เทียบกับ 5 วันทำการก่อนหน้าซื้อสุทธิ 7,310 ล้านบาท ส่งผลให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิเท่ากับ 5,179 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures วานนี้ นักลงทุนต่างชาติกลับมา Long สุทธิเป็นวันแรกในรอบ 6 วันทำการ 5,276 สัญญา เทียบกับ 5 วันทำการก่อนหน้า Short สุทธิสูงถึง 41,284 สัญญา คาดว่าจะเป็นการปิดสถานะ Short ที่เปิดไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อ S50M15 คงปิดต่ำกว่า SET50 Index เป็นวันที่ 5 เท่ากับ 6.77 จุด เทียบกับวันก่อนหน้า Discount กว้างถึง 8.55 จุด ทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้มีสถานะเป็น Short สุทธิเท่ากับ 42,795 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมาขายสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 1,895 ล้านบาท เทียบกับ 3 วันทำการก่อนหน้าซื้อสุทธิ 2,291 ล้านบาท เมื่อราคาพันธบัตรไทยเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 4 ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงเป็นวันที่ 4 อีก 1.80bps จากวันก่อนหน้าลดลง 2.46bps ปิดล่าสุดที่ 2.766%

Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling ลดลงเล็กน้อยเป็น 1,596 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 1,890 ล้านบาท

 

NVDR Movement
NVDR กลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นการปรับน้ำหนักของ MSCI Thailand
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิเล็กน้อย 217 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 257 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลของการปรับน้ำหนักดัชนี MSCI Thailand และการเพิ่ม / ออก ของหุ้นขนาดกลางและเล็กใน MSCI Global Small Cap ทำให้ภาพรวมของ NVDR ไม่สะท้อนภาพการลงทุนที่แท้จริง สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มขนส่ง ซื้อสุทธิสูงสุด 468 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 107 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ซื้อสุทธิ 241 ล้านบาท กลุ่มไฟแนนซ์ ซื้อสุทธิ 135 ล้านบาท และกลุ่มอสังหาฯ ซื้อสุทธิ 100 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 137 ล้านบาท
2. ส่วนกลุ่มธนาคาร ถูกขายสุทธิสูงสุดอีกครั้ง 523 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่ม ICT ขายสุทธิ 245 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 183 ล้านบาท กลุ่มค้าปลีก ขายสุทธิ 108 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 109 ล้านบาท

 

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค

สหรัฐอเมริกา
ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาเป็นกลางถึงบวก
GDP ใน 1Q58 รอบสุดท้าย หดตัว 0.7% qoq ดีกว่า Bloomberg consensus คาดเล็กน้อยที่ -0.8% qoq แต่ไตรมาสก่อนหน้าขยายตัว 0.2% qoq เนื่องจากยอดการส่งออกที่ชะลอตัว จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่า
ดัชนี Consumer sentiment เดือนพ.ค.เท่ากับ 90.7 จุด ดีกว่า Bloomberg consensus คาดเล็กน้อยที่ 90.3 จุด แต่สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 88.6 จุด ทั้งนี้ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ช่วยผลักดันดัชนี แต่กลับมีแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ
รายได้ส่วนบุคคลเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 0.4% mom สูงกว่า Bloomberg consensus เพิ่มขึ้น 0.3% mom และเดือนก่อนหน้าที่ 0.0% mom จากค่าแรงและเงินเดือน


ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล เดือนเม.ย. ทรงตัว ขณะที่ Bloomberg consensus คาดเพิ่มขึ้น 0.2% mom และเดือนก่อนหน้าที่ 0.5% mom โดยการใช้จ่ายสินค้าคงทนและไม่คงทนชะลอตัว 0.7% mom และ 0.5% mom ตามลำดับ
ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค. เท่ากับ 54.0 จุด สูงกว่า Bloomberg consensus คาด 53.8 จุด แต่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 54.1 จุด โดยคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ต่ำสุดในรอบ 16 เดือน จากภาคการส่งออก
ดัชนี ISM ภาคการผลิต เดือนพ.ค.เท่ากับ 52.8 จุด สูงกว่า Bloomberg consensus คาด 51.8 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 51.5 จุด คำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น 2.3 จุด เป็น 55.8 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบปี แต่คำสั่งซื้อภาคการส่งออกกลับหดตัวลง
ยอดการใช้จ่ายก่อสร้าง เดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 2.2% mom ดีกว่า Bloomberg consensus คาด 0.7% mom และเดือนก่อนหน้า 0.5% mom

 

ยุโรป
การเลือกตั้งท้องถิ่นอิตาลี พรรคผู้นำรัฐบาลมีแนวโน้มสูญเสียที่นั่ง: การเลือกตั้งท้องถิ่นมากกว่า 1,000 แห่ง ด้วยจำนวนผู้ออกเสียงได้ 22 ล้านเสียง ในเขต 7 เขต มีความเป็นไปได้สูงที่พรรคของนายกฯ Renzi อาจไม่ได้ครองเสียงข้างมาก จากนโยบายการปรับ และ ปฎิรูปโครงสร้าง
ตัวเลขเศรษฐกิจอียู เป็นกลาง
ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือนพ.ค.เท่ากับ 52.2 จุด สูงขึ้นจากเดือนเม.ย.เล็กน้อยที่ 52.0 จุด แต่ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นเล็กน้อยที่ 52.3 จุด

 

จีน
ดัชนี PMI ภาคการผลิต - บริการปรับตัวดีขึ้น
ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค. เท่ากับ 50.2 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเม.ย.ที่ 50.1 จุด และสอดคล้องกับ Reuters poll
HSBC PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค. เท่ากับ 49.2 จุด ดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเม.ย.ที่ 49.1 จุด แต่ยังคงเป็นเดือนที่ 3 ที่ดัชนีต่ำกว่า 50.0 จุด

 

เอเชียแปซิฟิก
อัตราเงินเฟ้อเกาหลีใต้ขยายตัวมากกว่าคาดเล็กน้อย: เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 0.5% yoy จากเดือน เม.ย. +0.4% yoy ใกล้เคียงกับ Bloomberg Consensus คาดเพิ่มขึ้น 0.4% yoy ทั้งนี้ราคาแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น 50% yoy จากการปรับขึ้นภาษีตั้งแต่เดือน ม.ค. ขณะที่ค่าบริการด้านขนส่งและสื่อสารหดตัว 8.8% yoy และ 0.3% yoy ตามลำดับ

 

ไทย
ธปท.เตรียมปรับเป้าเศรษฐกิจปีนี้ลงในการประชุมกนง.ครั้งหน้า: ธปท. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 มีลักษณะคล้ายไตรมาส 1 โดยยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวช้าๆและเปราะบาง โดยยอมรับว่าจีดีพีทั้งปีจะต่ำกว่า 3.8% ซึ่งธปท.จะปรับลดประมาณการจีดีพีใหม่ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 10 มิถุนายนนี้ และประกาศในรายงานนโยบายการเงิน 19 มิถุนายนนี้ โดยหวังการเดินหน้าลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลเป็นตัวกระตุ้นความเชื่อมั่นเพราะการส่งออกจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้น้อยลง เนื่องจากสินค้าไทยไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดโลก แม้เศรษฐกิจโลกอาจจะมีแนวโน้มฟื้นตัวมากขึ้น


ธปท.รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย.การฟื้นตัวยังช้าและเปราะบาง: ภาคครัวเรือนและธุรกิจใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ด้านการส่งออกยังคงซบเซา ส่วนภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายลงทุนภาครัฐยังคงมีบทบาทช่วยพยุงเศรษฐกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจลดลงแรงอยู่ที่ 45.2 จุด จากเดือน มี.ค. ที่ 52.4 จุด และต่ำกว่า 50 จุด ดัชนีปรับลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะด้านการผลิต และผลประกอบการ เนื่องจากมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 54.4 เพิ่มขึ้นจาก 52.1 ที่สำรวจในเดือนก่อน


ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน เม.ย.เกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ US$1.11 พันล้าน ลดลงจากเดือนก่อนที่ US$2.22 พันล้าน แต่ดีกว่าที่ตลาดคาด US$50 ล้าน

Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!