- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 27 May 2015 16:50
- Hits: 1134
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA -190.48, NASDAQ -56.61, S&P -21.86, FTSE -82.73, CAC -33.63 และ DAX -189.88 ภายใต้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ล่าสุดออกมาแข็งแกร่ง เช่น (1) ยอดขายบ้านใหม่ – เมย. เพิ่มขึ้น 6.8%MoM อยู่ที่ 517,000 ยูนิต ชี้ถึงการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัย (2) ดัชนีราคาบ้าน – มีค. เพิ่มขึ้น 5.04%YoY ต่อเนื่องจากที่เพิ่มขึ้น 4.99% เมื่อกพ. และสูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.60% และ (3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค – พค. เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 95.4 จากระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อเมย. ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ นอกจากนี้ยังทำให้เงินสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทส่งออก
…..ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ค. -US$1.69 อยู่ที่ US$58.03 ต่อบาร์เรล ภายใต้ปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่จะมีการประชุมโอเปคในวันที่ 5 มิย.นี้ เพื่อตัดสินใจว่าจะลดปริมาณการผลิตเพื่อหนุนราคาน้ำมันหรือไม่ อย่างไรก็ตามคาดว่าโอเปกจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ
.ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. -US$17.1 อยู่ที่ US$1,186.9 ต่อออนซ์ ภายใต้ปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น โดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.89% อยู่ที่ 97.24 ซึ่งการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +1,114 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -3,406 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
(+/?) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขส่งออก – เมย. ลดลง 1.70%yoy ดีกว่าที่คาดว่าจะลดลง 3.2 – 3.3% และดีขึ้นจากมีค. ที่ลดลง 4.45%ขณะที่ 4M/58 ลดลง 3.99% และยังคงเป้าหมายทั้งปี’58 คาดเพิ่มขึ้น 1.2% ทำให้คาดยอดส่งออกในช่วงที่เหลือของปีต้องไม่ต่ำกว่า 20,000ล้านUSD/เดือน
ทิศทางตลาด
ทิศทางตลาด : ผันผวน? คาดมีโอกาสลดลงตามต่างประเทศ ภายใต้ความไม่แน่นอน (1) ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ทำให้มีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามถ้อยแถลงล่าสุดของประธานเฟดเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (2) สถานการณ์กรีซ โดยเฉพาะปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งหากกรณีเลวร้ายสุดอาจส่งผลกระทบต่อกรีซและอาจลุกลาม
ไปยังประเทศต่างๆ ใน EU หากไม่สามารถเจรจาข้อตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ได้ โดยกรีซมีหนี้ที่ครบกำหนดชำระต่อ IMF ในเดือนมิ.ย. จำนวน 4 งวด รวมประมาณ 1,600 ล้านยูโร ซึ่งชำระงวดแรก จำนวน 300 ล้านยูโร ในวันที่ 5/6/58 ทำให้คาดยังเป็นปัจจัยที่กดดันภาพรวมตลาดต่อเนื่อง
.....ทางด้านปัจจัยในประเทศ คาดยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ๆ แต่คาดยังได้รับ Sentiment ที่ดีจาก Fund Flow หลังต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเพิ่มอีกกว่า 1,100 ล้านบาท และตัวเลขส่งออกล่าสุดที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเดิมที่คาดกดดันอยู่ เช่น (1) ความกังวลต่อทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ที่คาดผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มสื่อสาร และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งยังไม่เหมาะที่จะเข้าเก็งกำไรในช่วงนี้ รวมถึงกลุ่มธนาคาร จากประเด็นความกังวล NPL หลัง KTB มีการตั้งสำรองเพิ่ม และ (2) ประเด็นที่กระทรวงการคลังจะขายหุ้น ที่คาดเป็น Sentiment ลบ ต่อหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่ เช่น PDI, MFC, TMB, NEP, MCOT, THAI, PTT, BCP, AOT และ THL
.....ขณะที่ยังแนะติดตามกลุ่มโรงกลั่น เช่น TOP, PTTGC, IRPC และ BCP จากค่าการกลั่นที่อยู่ในระดับสูง รวมถึง (1) กลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่คาดยังคงได้รับประโยชน์จากโครงการภาครัฐ เช่น CK, ITD, SEAFCO, TRC และ UNIQ (2) ค่าเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่าอีกครั้ง โดยเคลื่อนไหวบริเวณ 33.76 – 33.78 คาดส่งผลดีต่อส่งออก และหุ้นในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เช่น DELTA, HANA, SMT (3) กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น SCC และ TASCO เป็นต้น
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.08 อยู่ที่ 2.14% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) +1.93 อยู่ที่ 14.06
หุ้นแนะนำ : VNG
ประเด็นที่ต้องติดตาม (27 - 29 พค.’58)
27/5/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) สต็อกน้ำมัน
28/5/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (2) ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) - เมย.
29/5/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ประมาณการ GDP – 1Q/58 (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก - พค.(3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้าย - พค.
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788