- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 27 May 2015 16:41
- Hits: 1153
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ Selective Buy
ตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ ยังคงเป็นภาพของการซึมตัวและแกว่งแคบ 1,505-1,515 จุด หุ้นที่ปรับตัวลงแรงวันก่อนหน้าจากความกังวลที่กระทรวงการคลังอาจขายหุ้น อย่าง PTT / AOT / THAI / KTB ฟื้นตัวเล็กน้อย ขณะที่การส่งออกเดือนเม.ย.ของไทยหดตัวน้อยกว่าคาด อย่างไรก็ตามเกิดแรงขายมากขึ้นในช่วงท้ายตลาด กดให้ SET INDEX หลุด 1,500 จุด มาอยู่ที่ 1,497.98 จุด ลบ 10.18 จุด มูลค่าการซื้อขาย 30,007 ล้านบาท
ด้านกระแสเงินทุนต่างชาติยังคงเป็นกลาง ซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 5 อีก 1,114 ล้านบาท Short สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 3 อีก 1,136 สัญญา แต่กลับมาซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 577 ล้านบาท ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่ากว่า 15 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย
ปัจจัยสำคัญวันนี้
ตัวเลขการส่งออกเดือนเม.ย.หดตัว 1.7% yoy หดตัวต่ำกว่าคาด ด้วยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์และชิ้นส่วนที่เติบโตเด่น
ครม.เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ วงเงิน 1.41 ล้านล้านบาท จำนวน 65 โครงการ
ติดตามประเด็นกรีซในวันนี้ กรีซจะเข้าหารือกับเจ้าหนี้ ส่วน ECB จะพิจารณาเงินช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์กรีซผ่านโครงการ ELA
มุมมองต่อตลาด
เราคงมุมมองเป็น "กลาง" วันที่ 42 พร้อมให้น้ำหนักกับการเกิด Technical Rebound เล็กน้อยสู่แนว 1,505-1,510 จุด เมื่อต่างชาติกลับมาสะสมหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมา แม้ว่าจะคงการ Short สุทธิใน SET50 Index Futures อาจตีความได้ว่า นักลงทุนต่างชาติใช้กลยุทธ์ Hedging ระหว่างตลาด spot และ futures
ด้านปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจ และพัฒนาการของแผนการลงทุนขนาดใหญ่ เราเริ่มเห็นสัญญาณเป็นกลางถึงบวก จากตัวเลขการส่งออกที่เริ่มหดตัวในอัตราที่ชะลอตัว ตัวเลขในเดือนพ.ค.จนถึงช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มฟื้นตัวกลับมาเป็นบวกได้ จากสัญญาณการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ฟื้นตัวเด่นในเดือนเม.ย. ขณะที่ครม.เริ่มพิจารณากรอบการลงทุนขนาดใหญ่ ทั้งมติเห็นชอบร่างกฎหมายร่วมทุนระหว่างรัฐ และ เอกชน (PPP) และกรอบการลงทุนให้เอกชนร่วมลงทุนกับกิจการรัฐ เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดประมูลโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ได้แก่รถไฟฟ้า / รถไฟความเร็วสูง / รถไฟรางคู่ / การบริหารจัดการน้ำ / มอเตอร์เวย์ เป็นต้น เราคาดว่า ครม.จะเริ่มทยอยอนุมัติโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่อเนื่องในช่วงนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปเตรียมการประมูลงาน มีความเป็นไปได้สูงที่จะเริ่มเปิดประมูลใน 4Q58
แต่แน่นอนว่า ประเด็นการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมในช่วงสั้น ขณะที่ตลาดคาดว่า กนง.จะมีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ย RP1 วันในการประชุมถัดไปวันที่ 10 มิ.ย. กดดันต่อภาพรวมกลุ่มธนาคารเป็นสำคัญ แรงกดดันดังกล่าวจะทำให้ SET INDEX มีความเปราะบางและอ่อนแอในช่วงสั้นนี้ จนกว่าจะเกิดความชัดเจนดังกล่าว และน่าจะทำให้ตลาดเริ่มทรงตัวได้ดี
ดังนั้นหุ้นปันผลระหว่างกาล หรือ หุ้นที่แนวโน้มจะได้เพิ่มเข้าในการคำนวณ SET50 / SET100 ซึ่งจะประกาศในช่วงกลางเดือนมิ.ย. น่าจะเป็นเป้าหมายของการเลือกเก็งกำไรรอบสั้นนี้
เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชีย (7.20 น.) Nikkei - Kospi เปิดลบเล็กน้อย จากแรงกดดันของ DJIA อย่างไรก็ตาม Nikkei ลบเล็กน้อย เพราะค่าเงินเยนที่อ่อนค่าช่วยภาคการส่งออกของญี่ปุ่น
กลยุทธ์การลงทุน
ดังนั้น เราแนะนำ "นักลงทุนทยอยสะสมหุ้นเป้าหมายเพิ่มอีกเล็กน้อย เพื่อรอขายทำกำไรรอบสั้นเมื่อเกิด Technical Rebound บริเวณ 1,505-1,510 จุด"
Top Pick in 2Q15: ITD / TASCO / TPIPL/ WHA
HOLD: ITD / TPIPL/ BJCHI/ ADVANC/ MONO / TASCO/ WHA/ THAI/ BCP
Accumulative Buy: IFEC
Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "ทยอยสะสม" ได้แก่
1. IFEC : ราคาปิด 10.80 บาท ราคาเหมาะสม 18.00 บาท
a) MBKET คงมุมมองเชิงบวกต่อ IFEC และคาดว่าราคาหุ้นจะตอบรับเชิงบวกต่อความคืบหน้าของโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมแห่งแรกที่ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 10 MW ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการผันตัวเข้าสู่ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงามลม
b) เนื่องจากการก่อสร้างมีความคืบหน้าไปมากแล้ว โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างติดตั้งชิ้นส่วนกังหันลม คาดว่าจะเสร็จสิ้นใน 2Q58 และเริ่มจ่ายไฟ (COD) ได้ตั้งแต่ 3Q58 เป็นต้นไป
c) ฐานกำไรใน 2H58 จะยกตัวขึ้นจากการรับรู้รายได้โครงการโซลาร์ฟาร์มในกัมพูชาแห่งแรกจำนวน 20 MW พร้อมทั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมแห่งแรกที่ปากพนัง
d) คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2558 เติบโต +238% yoy เป็น 459 ล้านบาท และ +282% yoy เป็น 1,753 ล้านบาท ในปี 2559
e) จะขึ้นเครื่องหมาย XW ในสัดส่วน 4 หุ้นเดิม ต่อ 1 Warrant ในวันที่ 25 มิ.ย. เป็นปัจจัยบวกระยะสั้นที่รออยู่
Fund Flow Analysis
und Flow in Emerging Markets
ตลาดหุ้นเอเชียซื้อสุทธิ US$194 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$66 ล้าน
Foreign Investors Action วานนี้
กระแสเงินทุนต่างชาติชะลอตัว
นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 5 อีก 1,114 ล้านบาท รวม 5 วันทำการ ซื้อสุทธิ 7,310 ล้านบาท กดดันให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิลดลงเหลือ 3,404 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures วานนี้ นักลงทุนต่างชาติคงการ Short สุทธิเป็นวันที่ 3 อีก 1,136 สัญญา รวม 3 วันทำการ Short สุทธิ 12,128 สัญญา ส่งผลให้ S50M15 คงปิดต่ำกว่า SET50 Index เป็นวันที่ 2 เท่ากับ 3.61 จุด แคบลงจากวันก่อนหน้า Discount กว้างถึง 5.75 จุด และผลักดันให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้มีสถานะเป็น Short สุทธิเพิ่มเป็น 18,915 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมาซื้อสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 577 ล้านบาท เทียบกับ 2 วันทำการก่อนหน้าขายสุทธิ 1,836 ล้านบาท ขณะที่ราคาพันธบัตรไทยกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงอีกครั้ง 2.06bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1.21bps ปิดล่าสุดที่ 2.811%
Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling ลดลงเหลือ 935 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 1,299 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8 เน้นสะสมกลุ่ม ICT และ ธนาคาร เป็นหลัก
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิ 895 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 581 ล้านบาท รวม 8 วันทำการซื้อสุทธิ 6,834 ล้านบาท สรุปภาพรวม NVDR ได้ดังนี้
1. กลุ่ม ICT ซื้อสุทธิสูงสุด 288 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคาร ซื้อสุทธิ 246 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 84 ล้านบาท กลุ่มขนส่ง ซื้อสุทธิ 181 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 200 ล้านบาท และกลุ่มพลังงาน ซื้อสุทิ 126 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 368 ล้านบาท
2. ส่วนกลุ่มค้าปลีก ถูกขายสุทธิสูงสุด 37 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
รองประธานเฟดเสนอให้เพิ่มน้ำหนักเศรษฐกิจโลกก่อนขึ้นอัตราดอกเบี้ย: นาย Fisher รองประธานเฟด ให้น้ำหนักักบเศรษฐกิจโลก หากเฟดเริ่มที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกให้ไม่เติบโตได้ ซึ่งจะส่ผลกระทบกลับมายัง
สหรัฐฯ
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นกลาง
ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือนเม.ย. หดตัว 0.5% mom น้อยกว่า Bloomberg consensus ลดลง 0.6% mom ขณะที่เดือนก่อนหน้า +5.1% mom ทั้งนี้คำสั่งซื้อสินค้า capital goods ที่ไม่รวมเครื่องบิน เพิ่มขึ้น 1.0% mom จากเดือนก่อนหน้าที่ +1.5% mom เป็นสัญญาณเชิงบวก
ดัชนี ราคาบ้าน S&P CS เดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 1.0% mom สูงกว่า Bloomberg consensus คาด +0.9% mom แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ +1.2% mom
ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ค. เท่ากับ 56.4 จุด ใกล้เคียง Bloomberg consensus คาด 56.5 จุด แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 57.8 จุด ถือเป็นการยืนเหนือ 50.0 จุด เป็นเดือนที่ 5 และเป็นระดับแข็งแกร่งสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2557
ยอดขายบ้านใหม่ เดือนเม.ย. เท่ากับ 0.517 ล้านหลัง ดีกว่า Bloomberg consensus คาด 0.509 ล้านหลัง และเดือนก่อนหน้าที่ 0.484 ล้านหลัง ยอดขายในตอนกลางของภาคใต้เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น 5.8% mom
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนพ.ค. เท่ากับ 95.4 จุด สูงกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 95.1 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 94.3 จุด การคาดการณ์รายได้ที่ดีขึ้น และแผนการใช้จ่ายที่สูงข้นเป็นสัญญาณบวกต่อความเชื่อมั่น
ยุโรป
สถานการณ์ในกรีซ ยังไม่คืบหน้า
กรีซ มีแผนที่จะเข้าหารือกับเจ้าหนี้ที่กรุงบรัสเซลในวันที่ 27 พ.ค.นี้ เพื่อหาข้อสรุปของแผนการรับเงินช่วยเหลือรอบถัดไป ก่อนที่หนี้ของ IMF จะครบกำหนดในวันที่ 5 มิ.ย. วงเงิน 1.6 พันล้านยูโร
การประชุม G-7 วันที่ 27 พ.ค.นี้ คาดว่าจะมีการหารือถึงสถานการณ์และแนวทางการเจรจาต่อรองกับกรีซ เพื่อให้ได้ข้อสรุป เพราะหากการล้มเหลว ผลกระทบจะเกิดขึ้นกับอียู และเศรษฐกิจโลก
ECB เตรียมหารือ ถึงสภาพคล่องทางการเงินของธนาคารพาณิชย์กรีซในวันที่ 27 พ.ค.นี้ รวมถึงมาตรการ Hair cut พันธบัตรบัตรรัฐบาลกรีซ ที่จะนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อรอรับเงินช่วยเหลือผ่านโครงการ ELA
จีน
IMF เชื่อว่าเงินหยวนจะ undervalued ได้อีกไม่นาน: เชื่อว่าจีนจะประสบความสำเร็จในการปรับอัตราแลกเปลี่ยนไปสู่การลอยตัว (Floating exchange rate) ภายใน 2-3 ปี ค่าเงินหยวนแข็งค่า 33% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สิ้นสุดเดือนมี.ค. 2558 ในแง่ของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง ทั้งนี้ IMF จะทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของจีนอย่างใกล้ชิดในการเพิ่มเงินสกุลหยวนเข้าไปในตะกร้าเงินสำรองระหว่างประเทศตามเกณฑ์ของ IMF
เอเชียแปซิฟิก
การประชุมกลุ่มโอเปคในสัปดาห์หน้า แนวโน้มคงกำลังการผลิต: ซาอุดิอาระเบีย ยืนยันที่จะให้กลุ่มโอเปคคงกำลังการผลิตเช่นเดิม เพื่อที่จะรักษาส่วนแบ่งตลาดน้ำมัน เมื่อสหรัฐฯ เร่งกำลังการผลิต Shale oil ดังนั้นประเด็นด้านราคาจึงขึ้นอยู่กับกำลังกาผลิตของสหรัฐฯ ไม่ใช่โอเปค ทั้งนี้โอเปคจะมีการประชุมในวันที่ 5 มิ.ย.นี้
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์หดตัวแรงสุดในรอบ 2 ปี: หดตัว 8.7% yoy ในเดือน เม.ย. นับเป็นการหดตัวแรงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2556 จากเดือน มี.ค.ที่หดตัว 5.5% yoy และเป็นการหดตัวแรงกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดหดตัว 3.6% yoy เป็นผลจากผลผลิตเวชภัณฑ์และ Semiconductor ที่ลดลง นอกจากนี้ยังเป็นการหดตัว 5.8% mom สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัว 1.1% mom
ไทย
เคาะ PPP เอกชนร่วมทุนรัฐ 1.4 ล้านล้าน 65 โครงการ: ครม.มีมติเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือพีพีพี พ.ศ.2558-2562 (ระยะ 5 ปี) เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐได้ดำเนินการตามที่จะมีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบการจัดทำโครงการนำร่อง ในกิจการโครงสร้างพื้นฐานรัฐ ภายใต้ร่างแผนยุทธศาสตร์ฯดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายฯกำกับดูแลรวมทั้งสิ้นจำนวน 20 กิจการ 65 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 1.41 ล้านล้านบาท
กระทรวงการคลังกู้ กสทช. 1.4 หมื่นล้าน จัดการน้ำ: ครม. มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังกู้ยืมเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. วงเงิน 14,300 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้จ่ายแทนกู้เงินบางส่วน ในโครงการกู้เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน ภายในกรอบวงเงิน 78,295 ล้านบาท โดยจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้เงินได้ถึงปีละประมาณ 560 ล้านบาท
ครม.เห็นชอบ MoC ไทย - ญี่ปุ่น: ครม.เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอซี) ด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคม ประเทศไทย กับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น โดยในข้อตกลงดังกล่าว ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งจะศึกษา สำรวจ และออกแบบโดยละเอียดร่วมกัน 2.โครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟแนวเศรษฐกิจด้านใต้ จ.กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ-จ.สระแก้ว และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง 3.โครงการพัฒนาเส้นทางแม่สอดมุกดาหาร 4.โครงการการให้บริการขนส่งสินค้าทางราง ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ไทยจะซื้อเทคโนโลยีรถไฟฟ้าจากญี่ปุ่น 5.ความร่วมมือในการสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ-จ.ระยอง 6.การให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ และ 7.การตั้งคณะทำงานเพื่อควบคุมการดำเนินงาน โดยมีรัฐมนตรีทั้ง 2 ประเทศ เป็นประธานร่วม ส่วนกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการทั้งหมดนี้จะต้องได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือน
ยอดส่งออกเดือน เม.ย.ของไทยหดตัวน้อยกว่าคาด: หดตัว 1.7% yoy ติดลบน้อยลงจากเดือน มี.ค. ที่หดตัว 4.45% yoy และเป็นการหดตัวน้อยกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดหดตัว 3.30% yoy ด้านยอดนำเข้าหดตัว 6.84% yoy ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลอยู่ที่ระดับ US$523 ล้าน ขาดดุลน้อยกว่าที่ตลาดคาดขาดดุล US$780 ล้าน ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าการส่งออกในปีนี้ขยายตัว 1.2% และคาดว่าส่งออกจะกลับมาเป็นบวก หลังปัจจัยบวกเริ่มเห็นชัด คู่ค้าเริ่มนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เผยเฉพาะสหรัฐฯ และยังได้อานิสงส์บาทอ่อน
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530