- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 25 May 2015 16:53
- Hits: 1142
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
"แกว่งไม่หลุด 1510 ยังมีลุ้น 1530-1540"
Stock Picks- May 2015 : Fundamental : AP, KBANK, MINT, TTCL, WHA Dark Horse: RCL, SAMTEL
Fundamental Pick -Today: QH
Top Picks-High Div Yield : ADVANC, INTUCH, BTS, DCC, DELTA, DTAC, AP, QH, SPALI, SRICHA, MODERN, TISCO, TMT, BTSGIF, JASIF, CPNRF, TRUEIF
Shot Sell-Prev : KTIS 24%, BIGC 21%, BAY 21%, BJC 16%, GLOW 14%,SCB 12%
Technical View ภาพระยะสั้นเป็นลบเล็กๆ แต่มีสิทธิรีบาวด์ก่อนลงต่ำต่อ
Support Resistance Stop loss
SET ซื้อค่าบวก 1530,1540 ต่ำกว่า 1510
SET50 ซื้อค่าบวก 1015-1020 ต่ำกว่า 1000
Technical Picks- Today : TRC, GL, INTUCH, SCN, CENTEL, RCL, AUCT, TIPCO
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวันศุกร์ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัว และปิดอ่อนลงเล็กน้อย (-2.39 จุด ปิดที่ 1523.86 จุด) โดยรอดูข่าวใหม่จากถ้อยแถลงของประธานเฟดและตัวเลขเงินเฟ้อเดือนเม.ย.ของสหรัฐ การลงทุนยังเป็น Selective Buy หุ้นเป็นรายตัว ปัจจัยที่กดดันเล็กๆ คือ การที่รมว.คลังมีแนวคิดที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นเพื่อนำเงินไปชดเชยผลขาดทุนในโครงการภาครัฐ (หลักๆ คือ โครงการรับจำนำข้าว) ทำให้ราคาหุ้นที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ร่วงลง เช่น PTT, KTB, AOT เป็นต้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2.3 พันล้านบาท สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 361 ล้านบาท พอร์ตบล.และรายย่อยขายสุทธิ
ถ้อยแถลงของประธานเฟดบ่งชี้ว่าเฟดมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้นั้นไม่ได้ Surprise ตลาด แต่ขณะเดียวกันก็ไม่มีปัจจัยบวกใหม่มากระตุ้น และการขยับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ของสหรัฐก็หนุนทิศทางอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวด้วย ดัชนีตลาดหุ้นจึงแกว่งในกรอบแคบ ด้านกรีซก็กำลังเร่งเจรจาให้บรรลุข้อตกลงเพราะในวันที่ 6 มิ.ย.นี้มีหนี้ครบกำหนดชำระ IMF อีก 1.5 พันล้านยูโร ส่วนในประเทศ ยังกังวลกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ก็มีพัฒนาการที่ดีในเรื่องของการลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นถึง 24%QoQ ใน 1Q58 และคาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งเรามีมุมมองที่เป็นบวกกับกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการลงทุน เช่น รับเหมาก่อสร้าง (หุ้นเด่น CK, STEC, SEAFCO, TTCL, STPI, SYNTEC), วัสดุก่อสร้าง (หุ้นเด่น SCC), พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (หุ้นเด่น AP, QH, CPN, WHA) เป็นต้น
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณเป็นลบเล็กๆ แต่มีสิทธิรีบาวด์ก่อนลงต่ำต่อได้ กรอบแนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1530, 1540 แนะนำซื้อเก็งกำไรตามด้วยค่าบวก ค่าลบดูไม่ดี แนะนำให้ Wait & See ต่ำกว่า 1510 ให้ Stop Loss สำหรับการ SCAN หุ้นมีสัญญาณบวกทางเทคนิคหรือมีโอกาสทำ New high เป็นดังนี้ หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ AUCT, CSS, TGCI, SMT, LIT หุ้นที่เข้ามาใหม่ คือ UNIQ, CENTEL, INTUCH หุ้นที่หลุด List คือ SAMCO
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
เยอรมนี : เศรษฐกิจ 1Q58 เติบโต 0.3%QoQ จากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน แต่อัตราการเติบโตน้อยลงจาก 4Q57 ที่ 0.7%QoQ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนพ.ค.58 ยังอยู่ในเกณฑ์ดีที่ 108.5 ใกล้เคียงกับเดือนเม.ย.ที่ 108.6
กรีซ : กำลังเร่งหาทางออกเพื่อรับความช่วยเหลือด้านการเงิน การเจรจานอกรอบระหว่างนายกฯเยอรมนี, ปธน.ฝรั่งเศส และนายกฯกรีซปลายสัปดาห์ก่อนยังไม่มีทางออกเรื่องการให้เงินช่วยเหลือกรีซ นายกรัฐมนตรีกรีซเองก็กำลังหาแรงหนุนทางการเมืองเพื่อให้บรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ และหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งในวันที่ 5 มิ.ย.มีหนี้ครบกำหนดชำระ IMF จำนวน 1.5 พันล้านยูโร
สหรัฐ : ประธานเฟดระบุมีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ โดยถ้อยแถลงเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าระบุว่า เกณฑ์ 2 อย่างของเฟดในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย คือ การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของตลาดแรงงาน และอัตราเงินเฟ้อดีดกลับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 2% ในระยะปานกลาง ทั้งนี้นางเยลเลนคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวระดับปานกลางในช่วงที่เหลือของปี 58 และในปี 59 เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคที่อยู่อาศัยชะลอลง, การลงทุนในกลุ่มพลังงานลดลง และเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า โดยเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวเฉลี่ย 2.5% ต่อปีในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
/- สหรัฐ : อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อเป็นเดือนที่ 3 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 0.1%MoM ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน ปรับตัวขึ้น 0.3%MoM ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2556
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดลดลง (DJIA ลดลง 0.3%) โดยมีแรงขาย Sell on fact ออกมาหลังจากประธานเฟดมีถ้อยแถลงว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้หากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาเป็นไปตามที่ประเมินไว้
- ราคาน้ำมันดิบอ่อนลง เนื่องจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยสัญญา WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 1 ดอลลาร์ ปิดที่ 59.72 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ลดลง 1.17 ดอลลาร์ ปิดที่ 65.37 ดอลลาร์/บาร์เรล
ราคาทองคำทรงตัว โดยสัญญา COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 1204 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ซึ่งเป็นผลจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์หลังถ้อยแถลงของนางเยลเลนระบุว่าเฟดมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
ปัจจัยในประเทศและหุ้นเด่น
MSCI Review ประจำรอบพ.ค.58 จะมีผลบังคับใช้ 29 พ.ค. ซึ่งในรอบนี้ไม่มีการเปลี่ยนหุ้นใน MSCI Thailand Index, MSCI Thailand Large Cap Index และ MSCI Thailand Mid Cap Index แต่มีการเพิ่มหุ้นใน MSCI Thailand IMI Index คือ BA, MTLS, CBG, IFEC, EPG, UEC, IMPACT, PTG, BEAUTY, WORK ส่วนหุ้นที่เพิ่มน้ำหนักลงทุน คือ BDMS, WHA, UNIQ, CPF และหุ้นที่ถูกตัดออกเป็น TPIPL และ JMART
DBS คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้โต 3.2% และมีโอกาสลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% โดยการเติบโตของ GDP ใน 1Q58 ที่ 1.4%QoQ นั้นอ่อนแอลงจากเฉลี่ยใน 4 ไตรมาสก่อนที่ 3.1% อย่างชัดเจน และคาดว่าในไตรมาสที่เหลือของปีนี้จะขยายตัวไม่มาก เพราะการบริโภคยังซบเซาและภาคส่งออกฟื้นตัวช้า (ส่งออก 1Q58 -4.7%YoY) สิ่งที่ดีขึ้นใน 1Q58 คือ การลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้น (+24%QoQ) และคาดว่าจะอยู่ในระดับสูงถึงสิ้นปีงบประมาณ 58 ในเดือนก.ย.
/- กระทรวงการคลังจะออกกฎหมายพิเศษล้างหนี้วงเงินกว่า 7.2 แสนล้านบาท โดยรมว.คลังกล่าวว่าส่วนใหญ่เป็นหนี้โครงการรับจำนำข้าวกว่า 5.2 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นหนี้ของรฟท., ขสมก. และหนี้กองทุนประกันสังคม คาดใช้เวลา 2 เดือนในการออกกฎหมายแล้วจะนำเสนอครม.และสนช.พิจารณาต่อไป ส่วนแหล่งที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการล้างหนี้มาจากการออกพันธบัตรและการขายเงินลงทุนที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่
ความเห็น Retail Research : เราได้รวบรวมหุ้นที่กระทรวงการคลังถือหุ้นที่อาจจะถูกลดสัดส่วนการลงทุนลง ซึ่งประกอบด้วย AOT 70.0%, MCOT 65.8%, THAI 51.03%, PTT 51.11%, TMB 25.98%, NEP 20.45%, MFC 16.67%, PDI 13.81%, BCP 9.98%, THL 1.98% อย่างไรก็ตาม คาดว่าหากกระทรวงการคลังจะมีการขายหุ้นก็น่าจะเป็นลักษณะของการทำ Block Trade ในราคาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นในตลาดมากเกินไป ดังนั้นผลกระทบในช่วงสั้นนี้จึงเป็นลักษณะปัจจัยจิตวิทยาเชิงลบมากกว่า หมายเหตุ : ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน KTB คือ กองทุน FIDF โดยถือ 55.07%
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ : Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือ BBL, KTB, KBANK, SCB โดยอันดับเครดิตสากลระยะยาวของ BBL, KBANK และ SCB คงไว้ที่ BBB+ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวเป็น AA ส่วนอันดับเครดิตสากลระยะยาวของ KTB คงไว้ที่ BBB และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวเป็น AA+ แนวโน้ม Stable
ความเห็น Retail Research : มุมมองเชิงกลยุทธ์เห็นว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดลงมารับข่าวและความกังวลเรื่องการเพิ่มขึ้นของหนี้ด้อยคุณภาพ (SM & NPL) ไปพอควรแล้ว แต่ราคาหุ้นอาจปรับขึ้นจำกัด จนกว่าจะเห็นตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนดีขึ้น เราให้น้ำหนักการลงทุน Neutral กลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยยังคงให้ KBANK เป็นหุ้น Top Pick
กลุ่มเช่าซื้อและลิสซิ่ง : เน้นเรียกเก็บหนี้สูญ สถานการณ์หนี้ด้อยคุณภาพช่วงเม.ย.-พ.ค.58 ทรงตัว-เพิ่มเพียงเล็กน้อย หลังเพิ่มมากใน 2 ไตรมาสก่อน แต่คุณภาพจะยังไม่ดีขึ้นเร็วเพราะภาระหนี้ภาคครัวเรือนที่สูง ส่วนการปล่อยสินเชื่อใหม่ใช้ความเข้มงวดมากขึ้น ทำให้การเติบโตของสินเชื่อหลังจากนี้จะไม่มาก โดยในบางเดือนหนี้ที่หมดสัญญามากกว่าสินเชื่อที่ปล่อยใหม่ สิ่งที่เน้นคือการเรียกเก็บคืนหนี้สูญ ทำให้ธุรกิจแฟคตอริ่งจะขยายตัวดี รวมทั้งบริษัทเช่าซื้อที่มีฐานลูกค้าในต่างประเทศ เช่น GL ที่พอร์ตสินเชื่อในกัมพูชาขยายตัวก้าวกระโดดมาก และแทบไม่มี NPL
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]