- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 25 May 2015 16:27
- Hits: 1093
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เชื่อว่า SET Index ยังแกว่งตัวลง จากความเสี่ยงต่อการปรับลดกำไรตลาดยังมีอยู่ พรุ่งนี้ติดตามผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์ต่อตลาดทุนผ่าน IAA กลยุทธ์ยังเน้นเป็นรายหุ้นที่มีกำไรฟื้นตัวต่อเนื่องในปีนี้ (RCL, VNG, IRPC) วันนี้ยังเลือก VNG ([email protected]) Top Pick
ตลาดน่าจะตอบรับ FED มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุดภายในสิ้นปีนี้
วันศุกร์ที่ผ่านมาแถลงการณ์ของทางคุณ Yellen กล่าวว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นตามคาด อาจถึงเวลาเหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงปลายปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed ยังคงให้น้ำหนักความสำคัญที่อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงาน ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด ตัวเลขอัตราว่างงานเดือน เม.ย. ยังอยู่ที่ระดับ 5.4% ยังคงห่างจากเป้าหมายที่ Fed ตั้งไว้ที่ 5% รวมทั้งวันศุกร์ที่ผ่านมามีการรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือน เม.ย. ที่ -0.2% yoy (แม้หักราคาอาหารและพลังงานแล้ว ยังคงอยู่ที่ 1.8%) ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายที่ 2% โดยทาง ASPS ยังคงมองว่า Fed น่าจะยังคงดำเนินการนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อ และจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า โดยพรุ่งนี้จะมีการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นหนึ่งในดัชนี้ชี้นำภาคการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ Fed ยังมีความกังวลในส่วนนี้ (จากรายงานการประชุม Fed เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา) และตัวเลขการซื้อบ้านใหม่ (new house sale) เดือน เม.ย. ที่ต้องติดตามต่อ
SET ยังได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจ และการเมือง
เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยังอยู่ในแนวโน้มแกว่งตัวลง ทั้งนี้แม้หลังการรายงาน GDP Growth งวด 1Q58 ของไทยจะดีกว่าตลาดคาด (3%yoy แต่เป็นการปรับไปใช้วิธี Chain Volume Measures จากเดิมที่ใช้ ราคาคงทีในปี 2531) แต่ดูเหมือนตลาดหุ้นไทยมิได้มีการตอบรับทางด้านบวก โดยคาดว่าตลาดยังให้น้ำหนักต่อเศรษฐกิจและในช่วงที่เหลือของปีนี้ ว่าจะมีแนวโน้มฟื้นตัวในลักษณะเดียวกับตัวเลขที่แสดงในงวด 1Q58 แต่ก็เป็นที่สังเกตว่าขณะนี้มีนักเศรษฐศาสตร์บางค่ายได้เริ่มปรับลดประมาณ GDP Growth ลงต่ำกว่า 3% เพิ่มเติม จากที่ก่อนหน้า ASPS ได้มีการปรับลดลงจากเดิม 3.5% เหลือ 2.5% ในปลายเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา และ เช่นเดียวกับ ทางค่ายกสิกร ได้ประเมินไว้ที่ 2.8% ตั้งแต่ต้นปี 2558 โดยล่าสุด นักเศรษฐสาตร์ ของบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ ได้ปรับลด GDP Growth จากเดิม 3.3% เหลือ 2.8% (นักเศรษฐศาสตร์ ของบริษัทโกลแมนแซคส์ปรับลดเหลือ 2.9% จากเดิม 3.4%) ซึ่งเทียบกับเป้าหมายของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ประเมินไว้ค่อนข้างสูงคือในกรอบ 3-4% แม้ได้ปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 3.5%-4.5% ล่าสุดแล้วก็ตาม ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เดิมประเมินไว้ที่ 3.8% (19 มิ.ย. เตรียมแถลงการปรับมุมมอง GDP Growth) เป็นต้น
นอกจากนี้เชื่อว่ายังเป็นประเด็นทางการเมือง เพราะหลังจากที่ประชุมรัฐบาล มีมติให้ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว (ฉบับที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน) เพื่อเปิดทางให้สามารถจัดทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ แต่ก็มิได้เป็นการบังคับว่าต้องมีการจัดทำประชามติ โดยกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวจะต้องถูกพิจารณาโดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทั้งนี้หากสรุปให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และกระบวนการต่างๆ ไปด้วยความราบรื่น คาดว่าจะเห็นการจัดการเลือกตั้งในช่วงเดือน ก.ย.2559 แต่อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งอาจจะล่าช้ากว่า ก.ย. 2559 ได้ หากเกิดการสะดุดหรือมีตัวแปรที่อาจทำให้การเกิดขึ้นของการเลือกตั้งทั่วไปอาจล่าช้ากว่ากำหนด เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลงมติในขั้นตอนต่างๆ ว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ก็อาจจะทำให้กำหนดการต่างๆ ต้องเลื่อนออกไปอีก
ทั้งนี้เชื่อว่ามีเพียงประเด็นเดียวที่คาดว่าจะเป็นปัจจุบันหนุนตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น ๆ คือเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากมีการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน สหภาพยุโรป และ รวมถึงไทย ที่เชื่อว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยนโยบายต่ำกว่า 1.25% (ปัจจุบันอยู่ที่ 1.5%) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ทาง ASPS ได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ นั่นแสดงว่าโอกาสลดดอกเบี้ยฯ ยังมีอยู่อีก 1 ครั้งเป็นอย่างน้อยราว 0.25%
ต่างชาติซื้อหุ้นไทยสูงสุดในเดือน พ.ค.
วันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคอีกครั้งราว 370 ล้านเหรียญ แต่ยังขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศคือ ตลาดหุ้นอินโดนีเซียขายสุทธิราว 39 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่ถูกขายสุทธิ 14 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11) โดยยังซื้อสุทธิที่เหลืออีก 3 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ซื้อสุทธิกว่า 262 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 6) และตลาดหุ้นไต้หวันซื้อสุทธิเป็นวันแรกราว 90 ล้านเหรียญ (หลังจากถูกขายสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) และ ตลาดหุ้นไทยถูกซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สาม ราว 69 ล้านเหรียญ หรือ 2,302 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการซื้อสุทธิสูงสุดในรอบเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 361 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 12,739 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 792 ล้านบาท
แม้ดัชนีอ่อนตัวต่อ แต่คาดกองทุน LTF น่าจะพยุงหุ้น
แม้พิจารณาทางด้านพื้นฐานตลาดหุ้นไทย พบว่าปัจจุบันมีค่า Expected P/E ที่ 15.6 เท่า ถือว่าเป็นระดับที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านเป็นส่วนใหญ่ คือ ฟิลิปปินส์มีค่า Expected P/E 20.1 เท่า อินโดนีเซีย 16.6 เท่า มาเลเซีย 16.5 เท่า, จีน 18.7 เท่า และอินเดีย 15.9 เท่า และอาจเป็นแรงจูงใจนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อตลาดหุ้นไทยได้ทุกเมื่อ หลังจากได้ขายหุ้นไทยติดต่อกันเวลานานเกือบ 2 ปี จนปัจจุบันยังมีฐานะขายสุทธิจากต้นปีถึงปัจจุบัน แม้สถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี พบว่าต่างชาติมักจะขายสุทธิตลาดหุ้นไทยในเดือน มิ.ย. (ด้วยความน่าจะเป็น 70%) ต่อเนื่องจากขายสุทธิในเดือน พ.ค. ซึ่งสวนทางกับนักลงทุนสถาบันที่มักเป็นผู้ซื้อสุทธิในเดือน มิ.ย. (ด้วยความน่าจะเป็น 80%) ขณะที่ขายสุทธิในเดือน พ.ค.
กลยุทธ์การลงทุนยัง เน้นรายหุ้น ที่คาดว่าจะมีผลกำไรโดดเด่นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ และ กำไรทั้งปีจะเติบโตได้มากกว่าตลาด เช่น RCL, VNG, TUF, IRPC เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแนะนำหุ้นปันผลที่มีคุณสมบัติ Expected P/E ต่ำ หรือ EPS Growth โดยการใช้ ASP Smart (เป็น application เรื่องหุ้น และ warrant บนมือถือ) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคัดกรองหุ้น ซึ่งได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้ คือ
1) หุ้นที่มีค่า Expected P/E ต่ำกว่า 12 เท่า และ EPS Growth มากกว่า 27% คือ
VNG ([email protected]) Expected P/E 10 เท่า, EPS Growth 42.4%, Upside 25%
PTT ([email protected]) Expected P/E 10.3 เท่า, EPS Growth 86.1%, Upside 10.3%
PTTGC ([email protected]) Expected P/E 10 เท่า, EPS Growth 97.8%, Upside 2%
2) หุ้นที่มีค่า Expected P/E ต่ำกว่า 12 เท่า และ มี Dividend Yield สูงเกิน 4%
SPALI ([email protected]) Expected P/E 5.9 เท่า, Div.Yield 6.8%, Upside 68.2%
THANI ([email protected]) Expected P/E 7.5 เท่า, Div.Yield 8.1%, Upside 59.4%
AIT (FV@B53) Expected P/E 9.1 เท่า, Div.Yield 5.9%, Upside 53.6%
STPI ([email protected]) Expected P/E 7.9 เท่า, Div.Yield 4.8%, Upside 50.6%
ASK ([email protected]) Expected P/E 8.6 เท่า, Div.Yield 8.1%, Upside 45.4%
TVO (FV@B30) Expected P/E 10.6 เท่า, Div.Yield 7.9%, Upside 32.2%
BJCHI ([email protected]) Expected P/E 9.3 เท่า, Div.Yield 6.2%, Upside 28.7%
SITHAI([email protected]) Expected P/E 10.6 เท่า, Div.Yield 5.2%, Upside 32%
TISCO([email protected]) Expected P/E 7.6 เท่า, Div.Yield 6.6%, Upside 14.4%
TMT(FV@B10) Expected P/E 10. เท่า, Div.Yield 7.7%, Upside 15.7%
3) มี Dividend Yield สูงเกิน 5% และมี Expected P/E ระหว่าง 12-17 เท่า
INTUCH (FV@B113) Expected P/E 14.6 เท่า, Div.Yield 6.8%, Upside 44.4%
TTW ([email protected]) Expected P/E 14.8 เท่า, Div.Yield 5.9%, Upside 17.7%
TTW ([email protected]) Expected P/E 14.8 เท่า, Div.Yield 5.9%, Upside 17.7%
ADVANC (FV@B285) Expected P/E 16.9 เท่า, Div.Yield 5.9%, Upside 18.8%
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647