- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 21 May 2015 17:35
- Hits: 1576
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
"ยังแกว่ง...หลุด 1510 ควรลดพอร์ตตาม"
Top Picks-Fund
May 2015 : Fundamental : AP, KBANK, MINT, TTCL, WHA Dark Horse: RCL, SAMTEL
Top Picks -Fund Today: -
Top Picks-High Div Yield : ADVANC, INTUCH, BTS, DCC, DELTA, DTAC, AP, QH, SPALI, SRICHA, MODERN, TISCO, TMT, BTSGIF, JASIF, CPNRF, TRUEIF
Shot Sell-Prev : ERW 76%, KTIS 42%
Technical View ภาพระยะสั้นเป็นลบเล็กๆ การรีบาวด์น่าจะมีระยะทางจำกัด
Support Resistance Stop loss
SET ซื้อค่าบวก 1530,1540 ต่ำกว่า 1510
SET50 ซื้อค่าบวก 1015-1020 ต่ำกว่า 1000
Top Picks-Tech Today : TRC, GL, TGCI, SMT, PTTGC, LIT, CBG, TKS
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวานนี้ตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงต่อเพราะความกังวลกับความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์หลัง KBANK นำร่องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.125% และหนี้ด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ลดลงเพราะภาวะอุปทานล้นเกินกดดันหุ้นกลุ่มพลังงานหลัก เช่น PTTEP, PTT, TOP แต่แรงซื้อในกลุ่มอื่นๆ ยังช่วยพยุงไว้บ้าง ปิดตลาดดัชนี -5.85 จุดที่ 1520.11 จุด นักลงทุนสถาบันในประเทศและรายย่อยนำขายสุทธิ พอร์ตบล.ซื้อสุทธิเล็กน้อย 100 กว่าล้านบาท ส่วนต่างชาติพลิกเป็นซื้อสุทธิเกือบ 2 พันล้านบาท
ตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่มีนัยสำคัญเข้ามา โดยรายงานการประชุมเฟดของเดือนเม.ย.58 บ่งชี้ว่าสหรัฐยังไม่น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในกลางปีนี้ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ (โดยกระแสช่วงหลังๆ มองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจยืดออกไปเป็นต้นปี 59) สิ่งที่จับตาต่อ คือ ถ้อยแถลงของประธานเฟดในวันศุกร์นี้ ว่าจะมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ส่วนในประเทศ กลุ่มธนาคารยังมีแรงกดดันจาก NIM ที่จะอ่อนลงเพราะการปรับลดอัตราดอกเบี้ย & ลูกหนี้ค้างชำระมีมากขึ้น ทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับลดลง & ต้องตั้งสำรองค่าเผื่อฯเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะยังไม่จัดชั้นเป็น NPL ให้เห็นก็ตาม นอกจากนั้นคาดว่าธนาคารจะทยอยออกมาปรับลดเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อ & รายได้ในปีนี้ลงเพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าคาด ส่วนกลุ่มอื่นๆ เป็นการเลือกซื้อหุ้นที่จะมีแนวโน้มผลประกอบการดีและ Valuation ไม่สูงมาก โดยขณะนี้ถึงเดือนมิ.ย.เป็นช่วงที่บจ.จัดการประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สำหรับผลประกอบการ 1Q58 ออกมาตามคาด คือ กำไรสุทธิของตลาดเติบโตไม่มาก (+2%YoY) กลยุทธ์ เลือกซื้อจังหวะอ่อนตัว
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณเป็นลบเล็กๆ โดยหากมีรีบาวด์ก็น่าจะมีระยะทางจำกัด เพราะถูกกดันจากภาพระยะกลางของ SET Index ที่ยังอยู่ในแดนลบ กรอบแนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1530, 1540 แนะนำซื้อเก็งกำไรตามด้วยค่าบวก ค่าลบดูไม่ดี แนะนำให้ Wait & See ต่ำกว่า 1510 ให้ Stop Loss สำหรับการ SCAN หาหุ้นที่มีโอกาสปรับขึ้นที่เข้ามาใหม่ คือ TRC, UNIQ, SCN, AOT, CSS หุ้นที่อยู่ใน List ต่อ คือ AUCT, SAMCO, RCL ส่วนหุ้นที่แนะนำไปแล้วและให้หาจังหวะขายทำกำไรระยะสั้น คือ PTT, DTAC, SYNEX, BA
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
+ สหรัฐ : เฟดยังไม่น่าปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.ที่ชะลอลง ทั้งนี้คณะกรรมการเฟดหลายคนในการประชุมประจำเดือนเม.ย.เห็นว่าข้อมูลเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.ของสหรัฐอาจไม่แข็งแกร่งมากพอที่จะทำให้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งความเห็นสอดคล้องกับประธานเฟด สาขาชิคาโกที่เห็นว่าเฟดยังไม่ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงต้นปี 59 หรือไม่ปรับขึ้นจนกว่าเชื่อมั่นได้ว่าจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ได้ภายใน 1-2 ปี จับตาถ้อยแถลงของประธานเฟดในวันศุกร์นี้ (21 พ.ค.58) เพื่อดูว่าธนาคารกลางสหรัฐจะส่งสัญญาณเรื่องอัตราดอกเบี้ยหรือไม่
/+ กรีซ : อยู่ระหว่างเจรจากับเจ้าหนี้ EU และ IMF เพื่อหาทางบรรลุข้อตกลงแผนปฎิรูปก่อนที่จะมีปัญหาสภาพคล่องตึงตัวรุนแรง ทั้งนี้กรีซมีหนี้ครบกำหนดชำระ IMF ในเดือนมิ.ย.58 มูลค่า 1.5 พันล้านยูโร
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดอ่อนลงเล็กน้อย : ดัชนี DJIA ลดลง 0.15% ดัชนี S&P 500 อ่อนลง 0.09% แต่ดัชนี Nasdaq ขยับขึ้น 1.71% ปัจจัยที่ยังช่วยพยุงตลาด คือ กระแสคาดการณ์ว่าเฟดยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็ว และ Asset Class อื่นๆ ยังไม่น่าจูงใจมากนัก ส่วนปัจจัยเสี่ยง คือ ตลาดหุ้นปรับขึ้นมามากและมี Valuation อยู่ในโซนแพงแล้ว
+ ราคาน้ำมันดิบรีบาวด์หลังร่วงแรง โดยสัญญา WTI และ BRENT ส่งมอบมิ.ย.ปิด +0.99 และ +1.01 ดอลลาร์ ที่ 58.98 และ 65.03 ดอลลาร์/บาร์เรล แม้ว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ก่อนจะเพิ่ม 2.7 ล้านบาร์เรลเป็น 482.2 ล้านบาร์เรลมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลง 1.1 ล้านบาร์เรลก็ตาม
ราคาทองคำปิดขยับขึ้นเล็กน้อย ก่อนการเผยแพร่รายงานประชุมเฟดเดือนเม.ย.58 ปิดตลาดสัญญาทองคำ COMEX +2 ดอลลาร์ที่ 1,208.70 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศและหุ้นเด่น
ตลาดหุ้นไทย : กำไรสุทธิ 1Q58 เติบโต 1.9%YoY เป็น 2.27 แสนล้านบาท เป็นไปตามคาด โดยยอดขายลดลง 11%YoY เป็น 2.5 ล้านล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้น 22.0% และอัตรากำไรสุทธิ 9.0% หากเทียบกับ 4Q57 พบว่ายอดขายลดลง 11%YoY กำไรสุทธิเพิ่ม 232%QoQ เนื่องจากช่วง 4Q57 มีผลขาดทุนจากสต็อกของธุรกิจโภคภัณฑ์สูงมาก กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีรายได้ กำไร และความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น 5 อันดับแรก คือ ขนส่ง & โลจิสติกส์, ธนาคารพาณิชย์, พาณิชย์, เงินทุนหลักทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์
+ SPF ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน (Passenger Service Charge) ในส่วนผู้โดยสารต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 600 บาท/คนเป็น 700 บาท/คน ซึ่งในส่วนของ SPF จะมีรายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นจาก 320 บาท/คน เป็น 340 บาท/คน ซึ่งคิดเป็น 1% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 58 ยังคำแนะนำซื้อ ทั้งนี้แนวโน้มธุรกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังไปได้ดี โดย Traffic ของเดือนเม.ย.58 เพิ่มขึ้น 5%YoY จุดเด่น คือ จ่ายปันผลสูง คาดการณ์ Dividend Yield ปี 58 เท่ากับ 7% (จ่ายทุกไตรมาส) ทาง DBS ให้ราคาพื้นฐานเท่ากับ 18.80 บาท
/- กลุ่มธนาคารพาณิชย์: วิเคราะห์ผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งนี้ KBANK นำร่องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.13-0.25% ด้าน SCB ประกาศปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.1-0.3% ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แต่คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไว้ทำให้ NIM จะลดลง โดยหากให้ธนาคารอื่นๆมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับ KBANK พบว่าธนาคารที่จะได้รับผลกระทบมาก คือ KTB โดย NIM จะลดลงจากคาดการณ์เดิม 0.09% และคาดการณ์กำไรสุทธิต่ำลง 3.5% ส่วนธนาคารที่คาดการณ์กำไรสุทธิลดลงน้อยที่สุด คือ KBANK โดยลดลงเพียง 0.6% โดย NIM ลดลง 0.03%
อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่ NIM ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะลดลงมากกว่านี้ เพราะจำนวนหนี้ค้างชำระระดับ 1-2 งวดเพิ่มขึ้น (ซึ่งหนี้ดังกล่าวไม่ถูกจัดเป็น NPL เพราะค้างชำระไม่เกิน 3 งวด จึงไม่ปรากฎใน NPL แต่เป็นสินเชื่อที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยน้อยลง) - ซึ่งส่วนนี้เราได้กล่าวไปแล้วใน Daily Trading Focus เมื่อวานนี้ (20 พ.ค.58)
แรงกดดันเรื่องการด้อยค่าของคุณภาพสินทรัพย์ และความสามารถในการทำกำไรที่ชะลอตัวลงยังกดดันหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม เรายังเชื่อมั่นในปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคงและคาดว่าธนาคารจะผ่านพ้นปัญหาและความกดดันไปได้ด้วยดี ในเชิงกลยุทธ์ลงทุนเป็นการซื้ออ่อนตัว โดยควรรอให้ราคาหุ้นเริ่มยก Low ได้ก่อน หุ้นเด่น คือ KBANK
/+ ชาติตะวันตกเร่งสร้างความร่วมมือกับอาเซียน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตสูง ล่าสุดมีข่าวว่าสหภาพยุโรปจะเร่งสร้างสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงกับอาเซียน โดยหัวหน้านโยบายต่างประเทศของ EU ได้ยื่นแถลงการณ์สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียนให้รัฐสภายุโรปและสภายุโรปพิจารณา เพื่อให้เกิดความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การบิน และความมั่นคงมากขึ้น
ความเห็น Retail Research : เรามองว่าส่วนนี้เป็นแผนกลยุทธ์เพื่อรักษาสถานะความสำคัญของสหภาพยุโรปในอาเซียนไว้หลังจากจีนและญี่ปุ่นกำลังรุกเข้ามาจับมือในด้านต่างๆกับประเทศในอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะไทยและ CLMV ขณะเดียวกันการเปิด AEC ก็นำมาซึ่งมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอีกเป็นจำนวนมาก เราเชื่อว่าสหรัฐเองก็กำลังดำเนินการเรื่องการสร้างความสัมพันธ์กับอาเซียนอยู่เช่นกัน ส่วนสัมพันธ์กับไทยอาจเห็นภาพภายนอกไม่ชัด เพราะสหรัฐมีเงื่อนไขบางประการเกี่ยวกับการที่ไทยยังไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม เป็นโอกาสของจีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปที่จะเข้ามาสร้างสัมพันธ์กับไทยมากขึ้นในช่วงนี้
ทางด้านไทย ในขณะนี้ก็ได้จับมือกับจีนในการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ (กรุงเทพ-แก่งคอย, แก่งคอย-มาบตาพุด, แก่งคอย-โคราช, โคราช-หนองคาย รวม 873 กม.) และจับมือกับญี่ปุ่นปรับปรุงเส้นทางรถไฟเดิม+สร้างเส้นใหม่ (เส้นกรุงเทพ-กาญจนบุรี, กรุงเทพ-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-แหลมฉบัง รวม 574 กม. และเส้นตาก-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร 718 กม.)
เรายังมีมุมมองที่เป็นบวกกับกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง-วัสดุก่อสร้าง-พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในระยะกลางและยาว โดยคาดว่าโครงการลงทุนต่างๆ จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นตั้งแต่ 2H58 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี การเข้าลงทุนใหม่ควรพิจารณาสภาพตลาดโดยรวมประกอบด้วย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในความผันผวน การซื้อจึงเน้นทยอยสะสมในจังหวะที่ราคาหุ้นอ่อนตัว หุ้นเด่นในกลุ่มดังกล่าว เป็น CK, STEC, TTCL, SEAFCO, SCC, PREB,
AP, QH เป็นต้น หุ้นเก็งกำไร ได้แก่ ITD, TRC เป็นต้น
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]