- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 18 May 2015 16:39
- Hits: 1598
บล.คันทรี่ กรุ๊ป : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ก่อน (11-15 พฤษภาคม 58)
SET สัปดาห์ที่ผ่านมาปิดทรงตัวจากสัปดาห์ก่อน โดยมีความผันผวนระหว่างสัปดาห์ก่อนบวกในช่วงท้ายสัปดาห์ จากภาพรวมที่ขาดปัจจัยที่โดดเด่น ท่ามกลางการอยู่ในช่วงการรายงานผลประกอบการ ปิดสัปดาห์ดัชนี SET Index อยู่ที่ 1512.19 จุด เปลี่ยนแปลง +1.60 จุด WoW
ปัจจัยสำคัญในสัปดาห์นี้
(+) ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐมีสัญญาณชะลอตัวหลังการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ สร้างความหวังว่า FED จะเลื่อนการพิจารณาการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไปจากการคาดหมายเดิมในช่วงปลาย
ไตรมาส 2
(+) ปลัดกระทรวงการคลัง เตรียมขยายสิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศจากไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี อาจขยายเพิ่มเป็น 30,000 บาทต่อปี
(-) อัตราผลตอบแทน Bond Yield สหรัฐยังคงทรงตัวในระดับสูง สร้างแรงกดดันต่อ Fund Flow ในสินทรัพย์เสี่ยง
(-) Moody ประเมินแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอ่อนแอ เนื่องจากการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศยังคงเปราะบาง, การลงทุนที่ล่าช้า และความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออกยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
(-) สศช.เตรียมปรับลดประมาณการ GDP จากเดิมที่คาดการณ์จะขยายตัว 3.5-4.5% ในปี 58 เหลือขยายตัวลดลงในกรอบ 3.5-4.0%
(+/-) การรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ของไทยในวันนี้เป็นปัจจัยที่สร้างความผันผวนเข้ามา โดยมีการคาดหมายการขยายตัวระดับ 3.4% YoY
(+/-) ปัญหาด้านสภาพคล่องของกรีซที่อยู่ในระดับต่ำเป็นตัวเร่งใน การเจรจากับเจ้าหนี้ให้ได้ข่อสรุปเร็วขึ้น
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
(+/-) การรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ของญี่ปุ่นในช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนการแถลงนโยบายเศรษฐกิจในการประชุม BOJ
(+/-) การรายงานผลการประชุม FED ในวันที่ 28-29 ของเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในวันพฤหัส
(+/-) ตัวเลขเศรษฐกิจ ตัวเลข CPI ของสหรัฐในช่วงปลายสัปดาห์
ความคิดเห็น
ประเมินภาพรวมดัชนีถูกกำหนดด้วยการรายงาน GDP ของไทยในช่วงต้นสัปดาห์ว่าตัวเลขที่รายงานออกมาจะสามารถทำได้ตามเป้าหรือไม่ ซึ่งจะมีผลต่อการประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 58 ที่เริ่มส่งสัญญาณการปรับประมาณการลงอีกครั้ง ขณะที่ภาพรวมในต่างประเทศสัปดาห์นี้ไม่ได้มีประเด็นสำคัญมากนัก ทำให้การเคลื่อนไหวของ Bond Yield สหรัฐจะมีบทบาทมากขึ้น เช่นเดียวกับการเจรจาหนี้ของกรีซ
กลยุทธ์การลงทุน
ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง พร้อมความเสี่ยงขาลงที่เปิดกว้าง ยังคงประเมินการดีดตัวขึ้นเป็นการลด Port ลงมากกว่า เน้นการเก็งกำไรในหุ้นอิงเศรษฐกิจโลก อย่างพลังงาน และหุ้นที่ได้รับผลดีจากนโยบายรัฐอย่าง ท่องเที่ยว และส่งออก
วิเคราะห์ SET ประจำสัปดาห์ 18 - 22 พ.ค. 58
SET กลับมาสร้างสัญญาณซื้อ
SET Closed 1,512.19 High: 1,520.49 Low : 1,478.90
Resistant : 1,532 , 1,540 Support : 1,505 , 1,495
กราฟ SET ผันผวนมากตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสร้างระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน แต่ช่วงท้ายสัปดาห์สามารถฟื้นตัวกลับมาสร้าง Buy signal ได้อีกครั้ง โดยสามารถดีดตัวผ่านแนวสามเหลี่ยม (Ascending) ขึ้นไปได้ เกิดเป็นสัญญาณซื้อ ขณะที่ RSI ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเป็น Buy signal สนับสนุนการ Rebound นี้เช่นกัน นอกจากนี้กราฟแท่งเทียนได้ปรับขึ้นตัดผ่านแนว Minor Down Trend แล้ว จะทำให้มีโอกาสมุ่งหน้าไปยัง 1,532 จุดได้ในสัปดาห์นี้
กลยุทธ์
1. เข้าซื้อได้ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ หากอ่อนตัวเข้าซื้อได้
2. ถือหุ้นยาวขึ้นอย่าเล่นสั้นเกินไป ลุ้นต้าน 1532 หรือสูงกว่า
3. ยกเลิกการถือหุ้นหาก SET หลุด 1,500 จุด
หุ้นเด่นประจำสัปดาห์ By CGS
BANPU ราคาปิด 28.00 บาท ราคาเป้าหมายปี 58 ที่ 32.75 บาท
แนวต้าน 29, 30.50 แนวรับ 27.25
* มองผ่านจุดต่ำของปีไปใน 1Q58 ซึ่งถูกกดดันจากขาดทุน FX
* โรงไฟฟ้าหงสาที่ลาว (กำลังผลิต 1,800 MW) เตรียม COD หน่วยผลิตแรกในเดือน มิ.ย.
* ประเมินราคาถ่านหินมี Downside Risk จำกัดจากปัจจัยต้นทุนของเหมืองถ่านหิน
* มองบวกต่อแผนการจดทะเบียนบ้านปูเพาเวอร์ ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า
กราฟ BANPU ลงสู่แนวรับสำคัญ ซึ่งเป็นแนวต่ำสุดของเดือนมีนาคม แต่ในครั้งนี้ค่า RSI ลงลึกถึง Oversold ขณะที่แท่งเทียนดีดตัวขึ้นท้ายสัปดาห์ หนีการหลุดแนวสำคัญนี้ขึ้นมาได้ โดยจะขึ้นทดสอบเส้น Minor down trend ที่ 29 บาทเพื่อไปทดสอบ 30.50 บาทต่อไป เรามองเป็นเพียง technical rebound
คำแนะนำ
1. เข้าซื้อได้ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ไปขายที่ 30.50 บาท
2. เมื่อราคาผ่าน 29 บาท ให้กำหนดจุด stop profit ที่ 28 บาท
3. หากราคาไม่หลุด 27.25 บาท ไม่ต้อง cut loss
ฝ่ายวิเคราะห์ฯ