- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 17 June 2014 15:56
- Hits: 2935
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Sideway - Up
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดคละ โดยนักลงทุนจับตา สถานะการณ์รุนแรงในอิรัก (กระทบราคาน้ำมันดิบและเงินเฟ้อโลก) และผลการประชุมเฟดวันพุธนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA CPI พ.ค. คาด 0.2%m-m (Vs 0.3%) ยอดขายบ้านใหม่ พ.ค. คาด 1036 k(Vs 1072k) Building permits พ.ค. คาด 1070k(Vs 1059k) เยอรมนี ZEW Index (Expectation) มิ.ย. คาด 35 (Vs 33.1)
-วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติขายอีก -1.18 พันลบ. (ขายสะสม 5 วัน รวม -3.34 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อต่อ +1.58 พันลบ.(ซื้อสะสม 2 วัน รวม +2.39 พันลบ.)
+การเมือง การพิจารณาโครงการภาครัฐ หลังคมนาคมปรับแผนโครงสร้างพื้นฐานเหลือ 2.4 ล้านล้านบาท คาดรู้ผลวันที่ 19 มิ.ย.
คาดดัชนีฯ วันนี้ sideway up แนวรับ 1460/1450 จุด แนวต้าน 1485/1500 จุด โดยดัชนีฯ กลับมามีโมเมนตัมบวก หลังวานนี้ขึ้นมาปิดทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 7 เดือน ตามการปรับขึ้นของกลุ่มพลังงาน หลังราคาน้ำมันดิบโลกสร้างจุดสูงสุดต่อในรอบ 6-9 เดือน รวมถึงการดีดกลับของหุ้นสื่อสารขนาดใหญ่ หลังลงแรงในช่วงก่อนหน้าตามข่าวการเพิ่มทุนของ TRUE
กลยุทธ์: เก็งกำไรหุ้นมีข่าวบวกจากโครงการรัฐฯ TASCO SCP SCC แนะนำสะสมหุ้น ADVANC SVOA DELTA CCET BBL KBANK (Window dressing) เก็งกำไรหุ้นกระแสบอลโลก (MINT CENTEL CPALL) และขายทำกำไร KKP M MEGA (SET50/100 Reshuffle Index) หลังประกาศรายชื่อจริงแล้ว
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 5.0%) ได้แก่ TCC TH SCP EPCO TSF DTAC GRAND GENCO BMCL หุ้นที่ลงกว่า 2.5% ได้แก่ EVER LPN PSL SUPER OCEAN SAWAD SITHAI
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ PTT+383 PTTEP+360 SCB+157 KBANK+151 ด้านขาย LH-128 DTAC-70
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 82 ADVANC 44 SCC 41
Market Outlook
คาดดัชนีฯ วันนี้ sideway up แนวรับ 1460/1450 จุด แนวต้าน 1485/1500 จุด โดยดัชนีฯ กลับมามีโมเมนตัมบวก หลังวานนี้ขึ้นมาปิดทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 7 เดือน ตามการปรับขึ้นของกลุ่มพลังงานหลังราคาน้ำมันดิบโลกทรงตัวในระดับสูง แนะเก็งกำไรหุ้นคาดรับผลบวกโครงการภาครัฐ
คาดดัชนีฯ วันนี้ Sideway Up โดยประเมินแนวต้านไว้ที่บริเวณ 1485/1500 จุด หุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 1/3 ของตลาดรวม ยังคงเป็นตัวแปรหลักต่อการหนุนดัชนีฯรอบนี้ (โดยเฉพาะกลุ่มต้นน้ำ PTTEP และกลุ่มพลังงานทดแทน) อิงโมเมนตัม บวกของราคาน้ำมันดิบ ที่ยังคงปรับขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 6-9 เดือน จากความรุนแรงในอิรัก (ในทางตรงกันข้าม ราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น จะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจไทย จากมูลค่านำเข้าพุ่งขึ้น และกดค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต่อไป รวมถึงเป็นผลลบต่อผู้ใช้น้ำมันดิบในปริมาณสูง เช่น ขนส่ง รับเหมาฯ)
ขณะที่ประเด็นบวกจากการเสนอแผนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.4 ล้านล้านบาทเพื่อรอการพิจารณาของ คสช. (คาดรู้รายละเอียดในสัปดาห์นี้) รวมถึงการทำ Window Dressing ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ความเสี่ยงขาลงของตลาดหุ้นไทยมีจำกัดใน 1-2 สัปดาห์นี้ ขณะที่ตลาดต่างประเทศ คาดว่าจะทรงตัว เพื่อรอพัฒนาการในอิรักและรอผลการประชุมเฟดในช่วงกลางสัปดาห์นี้
ปัจจัยต่างประเทศ นักลงทุนรอฟังผลการประชุมเฟด ในวันพุธนี้ ทั้งนี้ ตลาดคาดเฟดจะยังคงลดขนาด QEต่อเนื่องอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน นอกจากนี้ ตลาดยังจับตาความรุนแรงในอิรัก โดยที่วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และราคาน้ำมันดิบปิดทรงตัว ทั้งนี้ประเด็นนี้ยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเป็นลบต่อกลุ่มสายการบิน แต่สำหรับไทยจะเป็นผลบวกต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน (เลือกเก็งกำไร PTTEP AIE) (ดูรายละเอียดเรื่องความรุนแรงอิรักในหัวข้อประเด็นจับตา)
ปัจจัยในประเทศ จับตา การพิจารณาโครงการภาครัฐต่างๆ ที่คาดจะรู้รายละเอียดในสัปดาห์นี้ ทั้งการพิจารณา 8 โครงการ ที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านบาทในช่วง 16-18 มิ.ย. นี้ และประเด็นสำคัญคือการเสนอแผนโครงสร้างพื้นฐาน 2.4 ล้านล้านบาท โดยคาดจะรู้รายละเอียดในวันที่ 19 มิ.ย. ทั้งนี้ เราคาดว่า โครงการส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นและมีโอกาสที่จะได้รับความเห็นชอบให้เดินหน้า เช่น โครงการรถไฟรางคู่ โครงการพัฒนาระบบคมนาคมระหว่างเมือง เป็นต้น ซึ่งคาดจะมีการเก็งกำไรกลับเข้ามาในหุ้นรับผลบวกโครงการรัฐ นอกเหนือไปจากหุ้นในกลุ่มรับเหมาที่เก็งกำไรมาก่อนหน้านี้แล้ว แนะนำเก็งกำไร TASCO SCP SCC
SET50/SET100 reshuffle (เป็นไปตามคาดการณ์) วานนี้ประกาศรายชื่อ หุ้นที่ใช้ในการคำนวณ SET50/SET100 รอบ 1 ก.ค. -31 ธ.ค. 2557 โดย SET50 หุ้นเข้าใหม่ M KKP หุ้นถอดออก CK THAI ซึ่งเป็นไปตามคาด ส่วน SET 100 หุ้นเข้าใหม่ BJCHI EARTH M MC MEGA NOK NYT PSL THREL หุ้น
ถอดออก ASP CHG JMART MBK N-PARK SC SF SSI TFD แนะขายทำกำไร M และ KKP อิงสถิติ 6 ครั้งหลังสุดของรอบการคำนวณ หุ้นที่ได้เข้า SET50 จะให้ผลตอบแทนเป็นลบ -2.4% และ -1.4% ในช่วง 1 และ 2 สัปดาห์หลังวันประกาศรายชื่อ
ส่วน Events Play ที่จะมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทย ได้แก่
1. Window Dressing พบว่า กลุ่มอุตฯแบงก์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ ICT Health Care เป็นกลุ่มฯที่มีโอกาสปรับขึ้นสูงกว่าตลาดในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือน แนะนำ ADVANC SVOA DELTA CCET BBL KBANK
2. หุ้นเกาะกระแสฟุตบอลโลก ระหว่าง 12 มิ.ย. - 13 ก.ค. (เราพบว่า ผลกระทบต่อราคาหุ้นกลุ่ม ICT (ADVANC TRUE) กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค (CPALL MINT CENTEL) จะมีเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างการถ่ายทอดฟุตบอลโลก
กลยุทธ์ เก็งกำไรหุ้นคาดผลบวกโครงการรัฐฯ TASCO SCP SCC แนะนำสะสมหุ้น ADVANC SVOA DELTA CCET BBL KBANK (Window dressing) และขายทำกำไร KKP M MEGA (SET50/100 Reshuffle Index) หลังประกาศรายชื่อจริงแล้ว
ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการรัฐขนาดใหญ่
ประเด็นการเมือง (Update):
คตร. ตรวจสอบ 8 โครงการรัฐ 16-18 มิ.ย., เริ่ม "พัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ-แท็บเล็ต" คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) มอบหมายคณะอนุกรรมการ เริ่มตรวจสอบ 8 โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ที่มีวงเงิน ลงทุนเกิน 1 พันล้านบาท ระหว่างวันที่ 16-18 มิ.ย.นี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส คุ้มค่า และ เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
สตง. ชง 'ประยุทธ์' ยุบ 'กสทช.' สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ทำการตรวจสอบงบการเงินและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของ กสทช. จากการพิจารณา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่พบว่า ประเด็นหลักที่ทำให้การดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของสำนักงาน กสทช. ยังคงมีปัญหาในเรื่องการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินไม่ได้ประสิทธิภาพตามเจตจำนงแห่งรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ 1. การบริหารการใช้จ่ายเงินรายได้ที่จัดเก็บมีความเป็นอิสระแตกต่างจากองค์กรของรัฐทุกประเภท 2. รายได้ที่ได้จากทรัพยากรของชาติ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรของประชาชนชาวไทยทุกคนถูกกำหนดให้มีกลุ่มบุคคลทำการบริหารการใช้จ่ายโดยมิได้พิจารณาถึงความเหมาะสมอย่างเพียงพอและไม่มีการสอบทานการตั้งงบประมาณการใช้จ่ายจากองค์กรที่มีบุคลากรซึ่งมีความรู้และความชำนาญ 3. เงื่อนไขด้านอายุเรื่องคุณสมบัติอายุของ กรรมการ กสทช.เลขธิการ กสทช.
2. การประชุมกนง. และการประชุมเฟดวันที่ 18 (คาดไม่มีข่าวลบ ยกเว้นการส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ย)
การประชุมกนง. คาดคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.00% จากสำรวจล่าสุดของ Bloomberg นักเศรษฐศาสตร์ 21 รายส่วนใหญ่ (16 ราย) คาดกนง. คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.00% และอีก 5 รายคาดกนง. ลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 1.75% นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดกนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันปถึงไตรมาสแรกของปี 58 ก่อนปรับขึ้นเป็น 2.25% ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 58
การประชุมเฟดคาดลด QE อีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือนและจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในไตรมาส 3 ของปี 58 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดเฟดลดขนาด QE ลงเหลือ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน ในการประชุมครั้งนี้ โดยเป็นการซื้อ พันธบัตร 2.0 หมื่นล้านดอลลาร์ และ MBS อีก 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคาดเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 58 เช่นเดียวกับผลสำรวจครั้งก่อน
3.อิรัก- สรุปประเด็นเรื่องสถานการณ์ในอิรัก (หากยืดเยื้อ และรุนแรงกว่าคาด อาจส่งผลลบต่อกลุ่ม Cyclicaly Play และกลุ่มสายการบิน แต่เป็นบวกต่อผู้ผลิตกลุ่มต้นน้ำ PTTEP)
ความรุนแรงในอิรัก เกิดจากกลุ่มติดอาวุธ ISIS1 บุกยึดเมืองในแถบทางเหนือของประเทศ
สาเหตุที่กลุ่ม ISIS สามารถยึดหัวเมืองทางตอนเหนือได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากทหารส่วนมากของรัฐบาลอิรักนั้นเป็นทหารรับจ้าง เมื่อพบกับสถานการณ์ตึงเครียดและการข่มขู่กลุ่มกบฏที่สังหารเชลยทหารที่จับได้ จึงทำให้ทหารเหล่านี้ละทิ้งที่ตั้ง ประกอบกับประชากรในแถบนั้นป็นมุสลิมซุนนี่ย์2 เช่นเดียวกัน ทำให้ ISIS ยึดเมืองต่างๆมาได้โดยง่าย
อย่างไรก็ดี คาดว่าการรุกคืบของกลุ่ม ISIS น่าจะหยุดอยู่แค่หัวเมืองแถบเหนือ เนื่องจากเมืองทางภาคกลางและภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมชีอะฮ์
สิ่งที่ต้องจับตามองในระยะต่อไป ได้แก่
ท่าทีของสหรัฐฯ ในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งอาจใช้ทั้งวิธีทางทหาร (ส่งทหารหรืออย่างน้อยเครื่องบินรบเข้าโจมตีที่มั่นของกลุ่ม ISIS) และการทูต (มีความพยายามที่จะเจรจากับอิหร่านซึ่งเป็นชีอะฮ์เหมือนกัน และเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลอิรักในปัจจุบัน ให้เข้ามาช่วยเหลือทางการทหาร) โดยหากใช้กำลังทหารเป็นสำคัญ ก็อาจส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนและอาจกดดันราคาน้ำมันได้
ความรุนแรงของสถานการในอิรักว่าจะพัฒนาไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อจนกระทบกับการผลิตน้ำมันดิบหรือไม่ ดังที่เกิดกับประเทศซีเรียที่เคยผลิตน้ำมันดิบได้กว่า 400KBD (สี่แสนบาร์เรลต่อวัน) ก่อนที่จะเกิดความขัดแย้งในประเทศ และทำให้การผลิตน้ำมันในประเทศหยุดชะงัก โดยปัจจุบัน การผลิตลดลงเหลือเพียงไม่ถึง 50KBD เท่านั้น
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจะผ่านช่องทางราคาน้ำมันเป็นสำคัญ
ในเบื้องต้น ยังไม่พบว่า ปัญหาในอิรักจะกระทบการผลิตน้ำมันและการส่งออกน้ำมันของอิรัก เนื่องจากแหล่งผลิตส่วนใหญ่ อยู่ทางใต้ และคาดว่า ISIS คงไม่สามารถเข้าโจมตีได้ง่ายนักในระยะเวลาอันใกล้นี้ ประกอบกับการส่งออกน้ำมันเกือบทั้งหมดของอิรักผ่านท่าในเมือง Barsa ซึ่งอยู่ทางตอนใต้เช่นกัน
และยังไม่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบดังกล่าว
อย่างไรก็ดี ในระยะปานกลาง หากสถานการณ์รุนแรงและยืดเยื้อจนกระทบการผลิตของอิรักที่ปัจจุบันผลิตอยู่ได้ประมาณ 3MMBD (สามล้านบาร์เรลต่อวัน) นั้น ก็อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่ออุปทานน้ำมันของโลก และกดดันราคาน้ำมันดิบได้ เนื่องจากปัจจุบันกำลังการผลิตสำรองของกลุ่ม OPEC (OPEC spare capacity) ก็อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว (ตามรูป) หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียเร่งกำลังผลิตขึ้นเพื่อทดแทนลิเบีย ล่าสุด OPEC spare capacity อยู่ที่ประมาณ 2MMBD เทียบกับตอนราคาน้ำมัน $140/bbl เมื่อตอนปี 2008 ที่เหลืออยู่ต่ำกว่า 1MMBD
กลุ่มต่อต้านรัฐบาล ISIS หรือ The Islamic State in Iraq and the Levant (Levant อาจแปลว่า Syria ได้ด้วย) เป็นกลุ่มนักรบมุสลิมซุนนีย์ที่แยกมาจากกลุ่มก่อการร้าย Al-Qaeda สาขาอิรัก (AQI) โดยก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน ปี 2013 โดยสามารถขยายอำนาจในแถบตอนเหนือของซีเรีย (หรือทางตะวันตกของอิรัก)รวมถึงทางตอนเหนือของอิรักในปัจจุบันด้วย (ตามรูป) เพื่อต่อต้านรัฐบาลอิรักที่เป็นมุสลิมชีอะฮ์
ความขัดแย้งระหว่างมุสลิมซุนนีย์ (Sunni) และชีอะฮ์ (Shia) เกิดขึ้นภายหลังจากศาสดามุฮัมมัด (Muhammad) ถึงแก่กรรม โดยมุสลิมซุนนีย์เชื่อว่าศาสดามุฮัมมัดไม่ได้แต่งตั้งตัวแทนไว้เสียชีวิต ดังนั้นตำแหน่งผู้นำสืบทอดจึงเป็นหน้าที่ของมุสลิม ต้องเลือกกันเองตามความเหมาะสม และได้เลือกตั้งอบูบักร์ (Abu Bakr) พ่อตาของมุฮัมมัดขึ้นเป็นผู้นำ ส่วนมุสลิมชีอะฮ์นั้นเชื่อว่าศาสดามุฮัมมัดและในคัมภีร์ได้แต่งตั้งให้ลูกพี่ลูกน้องของมุฮัมมัดที่ชื่ออะลี (Ali) ขึ้นเป็นผู้นำศาสดาคนต่อไป ความแตกต่างด้านความเชื่อในการแต่งตั้งผู้นำนี้เอง ทำให้มุสลิมทั้งสองกลุ่มขัดแย้งกันตลอดมา
ปัจจุบัน ประชากรมุสลิมมีอยู่ราว 1700 ล้านคน โดยแบ่งซุนนีย์ประมาณร้อยละ 90 และชีอะฮ์ราวร้อยละ 10โดยมีเพียงไม่กี่ประเทศที่มีมุสลิมชีอะฮ์เป็นประชากรส่วนใหญ่ ในจำนวนนี้รวมถึงอิรักและอิหร่านด้วย โดยในอิรักนั้นมีมุสลิมชีอะฮ์อยู่ร้อยละ 65 ของประชากรทั้งหมด
4. หุ้นที่ยังซื้อขายที่ PBV ต่ำกว่า mean+0.5SD และมีอัพไซด์สูงกว่า 8% แนะทยอยสะสม TICON PTTEP BBL SCC TUF
5. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : จับตาผลประชุมเฟด และผลประชุมกนง.วันพุธ
อังคาร: USA CPI พ.ค. คาด 0.2%m-m (Vs 0.3%) ยอดขายบ้านใหม่ พ.ค. คาด 1036 k(Vs 1072k) Building permits พ.ค. คาด 1070k (Vs 1059k) เยอรมนี ZEW Index (Expectation) มิ.ย. คาด 35 (Vs 33.1)
พุธ: USA FOMC Meeting คาดคงดอกเบี้ยและลดขนาด QE ลงอีก $10bn. เหลือ $35bn. Japan:ส่งออก พ.ค. คาด -1.1%y-y(Vs 5.1%) Thai: ผลประชุมกนง คาดคงดอกเบี้ยที่ 2%
พฤหัสบดี: USA: Phil Fed Survey มิ.ย. คาด 14 (Vs 15.4) Leading Indicators พ.ค. คาด 0.6%m-m (Vs 0.4%) EU: EU group meeting
ศุกร์ : EU Ecofin meeting , Consumer Confidence มิ.ย. คาด -6.8 (Vs -7.1) Spain: Moody ทบทวนเรทติ้ง ไต้หวัน:ส่งออก พ.ค. คาด 7.6%y-y (Vs 8.9%)
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
เฟดนิวยอร์ค เผยดัชนีการผลิตเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน มิ.ย. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์คเปิดเผยดัชนีการผลิตเพิ่มขึ้นสู่ 19.28 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.2010 เพิ่มขึ้นจาก 19.01 ในเดือน พ.ค. นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คจะอยู่ที่ระดับ 15.00 ในเดือน มิ.ย.
เฟด เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน พ.ค. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่ม ขึ้น 0.6% ในเดือน พ.ค. หลังจากลดลง 0.1% ในเดือน เม.ย. และอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นสู่ 79.1% ในเดือน พ.ค. จากระดับ 78.9% ในเดือน เม.ย.
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกจากข่าว M&A
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้น 5.27 จุดหรือ 0.03% สู่ระดับ 16,781.01 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดบวกเล็กน้อย 1.62 จุด หรือ 0.08% สู่ระดับ 1,937.78 จุด และ Nasdaq ปิดเพิ่ม 10.45 จุด หรือ 0.24% สู่ระดับ 4,321.10 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ โดยได้แรงหนุนจากข่าวการควบรวมกิจการของบริษัทในกลุ่มเวชภัณฑ์ ขณะที่ความปั่นป่วนในอิรักหนุนราคาน้ำมันขึ้น และการซื้อขายหุ้นในตลาดเป็นไปอย่างผันผวนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นนำตลาด โดยดัชนี S&P
หุ้นกลุ่มพลังงานบวก 0.5% ขณะที่หุ้นกลุ่มการเงินร่วงลงมากที่สุดโดยติดลบ 0.4% สหรัฐเปิดเผยว่า กำลังพิจารณาการโจมตีทางอากาศและการร่วมมือกับอิหร่านเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลอิรักในการสู้รบกับกลุ่มหัวรุนแรง การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นไปในเชิงบวก โดยข้อมูลการผลิตเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค. และกิจกรรมการผลิตในรัฐนิวยอร์คเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือน มิ.ย.ซึ่งหนุนความหวังเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในไตรมาสนี้
- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดร่วงลจากกังวลปัญหาอิรัก และดอกเบี้ยอังกฤษ อาจปรับขึ้น
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วง FTSE ปิดลดลง 23.21 จุด หรือ -0.34% สู่ 6,754.64 จุด ดัชนี CAC40 ปิดร่วง 33.23จุด หรือ -0.73% สู่ 4,510.05 จุด และ DAX ปิดลดลง 28.89 จุด หรือ -0.29% สู่ 9,883.98 จุด ได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นจากการต่อสู้ในอิรัก แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอังกฤษ และหุ้นบริษัทบีที กรุ๊ปในกลุ่มโทรคมนาคมดิ่งลง เนื่องจาก นักลงทุนกังวลกับยอดขาดดุลในกองทุนเงินบำนาญของบีทีที่เพิ่มขึ้นสู
+ราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดขึ้น วิตกอุปทาน จากปัญหาอิรัก
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบกค. ซื้อขายวันสุดท้ายก่อนส่งมอบ ปิดสูงขึ้น 0.39ดอลลาร์ สู่ 113.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 112.75-114.69 ดอลลาร์ โดยระดับปิดวันจันทร์ถือเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2013
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือน ก.ค. ครบกำหนดส่งมอบในช่วงปิดตลาดวันจันทร์ ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์เดือนส.ค.ปรับขึ้น 48 เซนต์ มาปิดตลาด ที่ 112.94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของ วันที่113.28 ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ได้รับแรงหนุนจากการที่กลุ่มกบฏอิรักรุกเข้ายึดเมืองต่างๆ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า อิรักจะประสบปัญหา ขัดข้องในการส่งออกน้ำมัน โดยอิรักเป็นประเทศที่ส่งมอบน้ำ มันมากเป็นอันดับสองในบรรดาสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำ มัน (โอเปก)
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ชะลอการปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่รัฐบาลอิรักเสริมการรักษาความปลอดภัยและจัดส่งทหารไปป้องกันแหล่งน้ำมัน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่งพุ่งขึ้นกว่า 4 % ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2013
ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ค. พุ่งขึ้น 2.13 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 106.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปิดตลาดขยับลงในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเทขายทำกำไร หลังจากราคาน้ำมันดิบขึ้นไปแตะ 107.54 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐไม่ได้รับแรงหนุนมากนักจากปัญหาด้านอุปทานน้ำมันในอิรัก เพราะว่าปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
+ราคาทองคำ มีแนวโน้มผันผวนจากแรงขายทำกำไร หลังพุ่งแรงจากปัญหาอิรัก
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.20 ดอลล์ สู่ 1,275.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ราคาทองสปอตร่วง 5.21ดอลลาร์ สู่ 1,271.29 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเทขายทำกำไรออกมา หลังจากราคาทองขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 3 สัปดาห์ที่ 1,284.85ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยได้รับแรงหนุนจากเหตุการณ์รุนแรงในอิรัก ซึ่งช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ราคาทองปรับขึ้นในช่วงแรก หลังจากสหรัฐระบุว่า สหรัฐอาจจะดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มกบฏอิรักเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลอิรัก
ราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 4 % ในช่วง 7 วันทำการที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากเหตุการณ์รุนแรงในอิรักและความขัดแย้งในยูเครน เทรดเดอร์กล่าวว่า ผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธนี้อาจส่งผลกระทบต่อราคาทอง ในขณะที่นักลงทุนรอดูสัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด
- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ร่วงลงเป็นวันที่ 4
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดลดลงอีก 26 จุด หรือ -2.87% เป็น 880 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270