- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 13 May 2015 18:20
- Hits: 953
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ผลประกอบการ 1Q58 ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการที่จะต้องปรับลดประมาณการลง สำหรับหุ้น Top Pick วันนี้เลือกหุ้นที่มีผลประกอบการโดดเด่น และมีโอกาสปรับประมาณการขึ้นสวนตลาดได้แก่ RCL (FV@B 13.10) (สามารถอ่านรายละเอียดได้ใน Equity Talk)
ผลประกอบการงวด 1Q58 น่าผิดหวังตามภาวะเศรษฐกิจ
ขณะที่หุ้นในภาคการผลิตและบริการทยอยประกาศออกมาเริ่มรู้สึกผิดหวัง และดูเหมือนเป็นการสะท้อนเศรษฐกิจในประเทศที่ไม่ค่อยดีนัก ตัวอย่างบริษัทในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เช่น QH([email protected]) พบว่างวด 1Q58 กำไรสุทธิ 559 ล้านบาท ลดลง 11.5% yoy ทั้งนี้เป็นเพราะจากรายได้ขายอสังหาฯ ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายขายบริหารสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคาดหวังว่า แนวโน้มในช่วงเหลือของปีนี้จะดีขึ้น จากการส่งมอบคอนโดฯ ใหม่ 4 โครงการ โดยพบว่ายอด Presale สิ้น 1Q58 อยู่ที่ 4.8 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20% ของเป้าหมายปี 2558 ที่ 2.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่ปีนี้มีแผนเปิด 30 โครงการใหม่ มูลค่า 3.3 หมื่นล้านบาท หากพิจารณาราคาหุ้นลดลงจนทำให้ราคาปัจจุบันมีค่า Expected PER ต่ำเพียง 8 เท่า และยังมี upside สูง จึงเป็นระดับที่จูงให้ทยอยสะสมในภาวะตลาดตกต่ำ
ตามมาด้วยกลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะยอดขายมือถือพบว่าตกต่ำกว่าที่คาดมาก โดยมาเริ่มจากกลุ่ม SAMART พบว่าบริษัทย่อยคือ SIM (FV@B 2.28) (ถือหุ้นโดย SAMART 70%) พบว่างวด 1Q58 กำไรลดลง 48.6%yoy ตามยอดขายที่ลดลงจากการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจ ทั้งสมาร์ทโฟนระดับล่างจากจีน และค่ายมือถือ 3 ราย ที่เพิ่มการขายสมาร์ทโฟนของตนเองมากขึ้น และยังมีแนวโน้มกดดันยอดขายตลอดทั้งปีนี้ ฝ่ายวิจัยจึงปรับลดประมาณการกำไรลงเฉลี่ยปีละ 38% แต่ราคาปัจจุบันได้ปรับตัวลงมาสะท้อนประเด็นลบแล้ว จึงคงคำแนะนำ “ถือ”
ด้านบริษัทแม่คือ SAMART (FV@B 41) ประเด็นกดดันนอกจาก SIM ที่มีกำไรหดตัวดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยอดขาย Set top box และเสาอากาศของ SAMART ยังทำได้น้อยกว่าที่คาดไว้ ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างปรับประมาณการกำไรลงเช่นกัน
ยกเว้นกลุ่มให้บริการมือถือ เช่น INTUCH(FV@B113) กำไรงวด 1Q58 สดใส โดยมีกำไร 4.1 พันล้านบาท เติบโต 6.7%yoy (รวมกำไร พิเศษ FX ที่ 75 ล้านบาท) ทั้งนี้เป็นเพราะได้รับแรงหนุนจากบริษัทย่อย 2 แห่งคือ 1) ADVANC (ถือหุ้น 40.45%) ซึ่งสามารถรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้น 8.3%qoq สาเหตุหลักเกิดจากค่าใช้จ่ายขายบริหารลดลง 11%qoq และสามารถชดเชยรายได้ค่าบริการ (ไม่รวม IC) ที่เพิ่มขึ้น 4.6%yoy และ 2) THCOM (ถือหุ้น 41.14%) โดยมีการจัดทำงบการเงินรวม พบว่ามีกำไรปกติเพิ่ม 4%qoq เป็นผลจากการควบคุมค่าใช้จ่ายขายบริหารลดลง 7.6%qoq แม้ให้บริการดาวเทียมใหม่ไทยคม 7 เต็มไตรมาสแรก (เริ่ม พ.ย. 57) แต่ยังอยู่ในระดับที่คุ้มทุน(40%) ภาพรวมส่งผลให้กำไรปกติงวด 1Q58 แต่คาดกำไรงวด 2Q58-3Q58 อ่อนตัวลงจาก 1Q58 ซึ่งเป็นไปตามผลประกอบการของบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่งคือ ADVANC จะอ่อนตัวลงตาม แต่คาดว่าจะได้รับผลกำไรจาก THCOM ที่คาดว่าจะเพิ่มเป็นขั้นบันไดในงวด 2Q58-3Q58 มาชดเชย ภายใต้สมมติฐานการใช้งานไทยคม7 จะเพิ่มเป็น 100% (จาก 40% ใน 1Q58) โดยยังคงมูลค่าพื้นฐานตาม NAV (อิง Fair Value ของ ADVANC ที่ 285 บาท และ THCOM ที่ 51 บาท) ได้ Fair Value ที่ 113 บาท มี Upside 44.8% บวกกับ Div Yield เกิน 6.5% ต่อปี แนะนำทยอยซื้อสะสมเช่นเดิม
ส่วนหุ้นในกลุ่มที่อิงเศรษฐกิจโลก พบว่าอ่อนตัวตามฤดูกาล ได้แก่ KCE(FV@B60) พบว่า กำไรจากการดำเนินงานปกติอ่อนตัวลงเล็กน้อย แม้จะเห็นการเติบโตของรายได้รวมจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่าบางรายที่ผ่านการทดสอบสินค้าแล้ว แต่ gross margin กลับหดตัวต่ำกว่าคาดมาที่เพียง 28.9% จากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสำหรับโรงงานใหม่ที่ยังดำเนินการผลิตไม่ถึงจุดคุ้มทุน แต่คาดว่างวด 1Q58 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้ จากนี้ไปจะเห็นการเติบโตของผลการดำเนินงานที่เติบโตเร่งตัวขึ้นมาก หนุนด้วยปัจจัยบวกทั้งจากโรงงานใหม่ที่เริ่มคุ้มทุน และเริ่มเข้าฤดูกาลส่งออก และยังได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่พลิกกลับมาอ่อนค่า ฝ่ายวิจัยคงประมาณการกำไรปี 2558-59 แม้ได้ปรับสมมติฐานหลักๆ บางประการก็ตาม เพื่อให้สอดคล้องกัน โดยคาดว่ายังเห็นการเติบโตของกำไรสุทธิในปีนี้จะสูงถึง 27.4% yoy และ 19.2% yoy ตามลำดับ ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมีค่า PER 13.4 ในปี 2558 และ คาดว่าจะ ลดลลงเหลือ 11.2 เท่า ในปี 2559 และ 9.6 เท่าในปี 2560
OPEC เพิ่ม demand น้ำมันปีนี้ขึ้น หนุนหุ้นกลุ่มน้ำมัน
วานนี้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน OPEC ได้รายงานภาวะน้ำมันรายเดือน พ.ค. โดยมีการปรับคาดการณ์ปริมาณความต้องการต่อน้ำมันในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 1.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดือน เม.ย. ว่าจะเพิ่ม 1.17 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ซึ่งสูงกว่าความต้องการใช้น้ำมันปีที่แล้วที่เพิ่มขึ้น 0.96 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องมาจาก OPEC มองว่าปริมาณความต้องการของกลุ่มประเทศ OECD อเมริกาจะเพิ่มสูงขึ้น ในทิศทางเดียวกัน EIA ในรายงาน short-term energy outlook เมื่อวานนี้ที่คาดว่าปริมาณการใช้น้ำมันของโลกเฉลี่ยปีนี้จะอยู่ที่ 94.59 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สูงกว่าคาดการณ์ก่อนหน้า 1.49 ล้านบาร์เรล) และได้ปรับเพิ่มราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯเฉลี่ย จาก 52.48 เป็น 54.32 เหรียญดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทั้งนี้มองว่าปัญหาผลผลิตน้ำมันเกินความต้องการน่าจะค่อยๆลดลง และความต้องการใช้น้ำมันและปริมาณผลิตจะกลับมาสู่สมดุลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 65.56 เหรียญฯ และพบว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบจากต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 54.68 เหรียญฯ เมื่อเทียบกับสมมติฐานของ ASPS กำหนดราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปีนี้ที่ 70 เหรียญฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ราคาน้ำมันดิบดูไปเฉลี่ยต้องอยู่ที่ 79 เหรียญฯ ในภาวะที่ราคาน้ำมันดิบฟ& 63236;& 63252;นตัวทางฝ่ายวิจัยมองว่าน่าจะส& 63242;งผลดีต& 63242;อหุ& 63243;นกลุ่มน้ำมัน เช่น PTT (FV@B 402.5) และ PTTEP (FV@B 140)
กรีซอยู่ในวิกฤติความเสี่ยง แม้จ่ายชำระหนี้ IMF ทันเวลา
ที่สุดแล้วการประชุมรัฐมนตรีคลังยุโรปเพื่อแก้ปัญหานี้กรีซครั้งล่าสุดก็ยังหาข้อยุติไม่ได้เช่นเดิม ซึ่งกรีซได้รวบรวมเงิน 750 ล้านยูโร เพื่อจ่ายให้ IMF โดยระดมเงินมาจากธนาคารท้องถิ่น และนำเงินจากบัญชีฉุกเฉินออกมาใช้ แม้กรีซจะรอดพ้นการผิดนัดชำระหนี้ในครั้งนี้ไปได้ แต่กลับทำให้สถานภาพทางการเงินอยู่ในความเสี่ยงเป็นอย่างมาก โดยรัฐมนตรีคลังกรีซเองได้ยอมรับว่าวิกฤตการเงินอาจส่งผลให้กรีซล้มละลายในอีก 2 สัปดาห์นี้ หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ TROIKA ได้ เพื่อขอรับเงินความช่วยเหลือก้อนสุดท้าย 7,200 ล้านยูโร จากยอดเงินกู้ทั้งหมด 240,000 ล้านยูโร ก่อนที่จะถึงระยะช่วงเวลาสิ้นสุดการขยายความช่วยเหลือทางการเงินในเดือน มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ ปัญหาหนักที่รออยู่ คือ หนี้ก้อนใหญ่ที่กรีซยังมีกำหนดต้องชำระอีก 1,500 ล้านยูโร ให้แก่ IMF ในเดือนหน้า และอีก 3,000 ล้านยูโร ให้แก่ ECB ในเดือน ก.ค. และ ส.ค. วิกฤตที่เสมือนระเบิดเวลานี้ ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่กรีซอาจเกิดการผิดนัดชำระหนี้ และต้องออกจากยูโรโซน แม้หลายฝ่ายจะยังมองว่าท้ายที่สุดแล้วการเจรจาหนี้จะยุติได้ทันเวลาก็ตาม นับเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
ต่างชาติยังคงขายสุทธิในกลุ่ม TIP ต่อเนื่อง
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคแต่มูลค่าเล็กน้อยเพียง 13 ล้านเหรียญ โดยซื้อสุทธิยังคงเป็นตลาดหุ้นไต้หวัน 113 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 3) ตรงข้ามกับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิเป็นวันที่ 4 ราว 34 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับกลุ่ม TIP ทีถูกขายออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 26 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 3) และตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 30 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 5) ซึ่งเป็นตลาดที่ถูกขายสูงสุดในสัปดาห์ที่ผ่านมาราว 133 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นไทยกลับมาขายสุทธิอีกครั้งที่ 35 ล้านเหรียญ หรือ 1,198 ล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 701 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 3 วันทำการ)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 16,557 ล้านบาท ตรงข้ามกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 838 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 4) น่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดยล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.74 บาท/ดอลลาร์
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647