WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
        จีนลดดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง เชื่อว่าน่าจะสร้าง sentiment เชิงบวกต่อตลาด ยังเน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า    (HANA/KCE/VNG) รวมถึงหุ้นที่ถูกกดดันจากสหภาพยุโรปเข้มงวดการนำเข้าสินค้าประมงจากไทย แต่ถือว่าผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนไทยจำกัด และราคาหุ้นได้ปรับฐานสะท้อนประเด็นดังกล่าวแล้ว วันนี้เลือก Top pick คือ TUF(FV@B26)

 

ตลาดหุ้นเอเซียน่าจะได้รับ sentiment เชิงบวกหลังจีนลดดอกเบี้ยฯ อีกครั้ง
      เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของจีน ได้มีการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่ม โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 5.1 % เป็นครั้งที่ 3 (นับจากเดือน พ.ย. ที่ลดลงลงแล้ว 2 ครั้ง รวมลดลง 0.5%) หลังจากที่ลด RRR (อัตราการกันสำรองเงินฝากของธนาคารพานิชย์) ลงอีก 1% ในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา โดยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก(ระยะ 1 ปี) ลงมาอยู่ที่ 5.1% และ 2.25% ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ ของผู้บริโภค CPI และ ของผู้ผลิต PPI ที่รายงานเมื่อศุกร์ที่ผ่านมาออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ คือ ขยายตัว 1.5% (เทียบกับตลาดคาด 1.6%) และ หดตัว -4.6% (ลดลงต่อเนื่อง 38 เดือน) ตามลำดับ

    รวมถึงตัวเลข การส่งออกเดือนเมษายนที่หดตัวลง -6.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (จากที่คาดว่าจะขยายตัว 1.6%) โดยรวมทำให้ธนาคารกลางกังวลว่าต่อเศรษฐกิจอาจจะไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7% (หลังจาก IMF ประมาณการเมื่อเดือน เมษายนที่ผ่านมาว่า จีนจะขยายตัวได้เพียง 6.8 % ในปีนี้) โดยภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในภาวะซบเซา คือ ภาคอสังหาฯ, วัสดุก่อสร้าง และการก่อสร้าง ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราว 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศ (GDP) ของ จีน นอกจากนี้ยังช่วยลดผลกระทบจากหนี้เสีย (China bank bad loan) ที่เพิ่มขึ้นราว 2.6%qoq ในงวด 4Q58
     ด้วยความกังวลต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจ ประกอบกับผลตอบแทนสุทธิ (ดอกเบี้ยนโยบาย หักเงินเฟ้อ) ยังคงเป็นบวกอยู่มาก ทำให้คาดว่าธนาคารกลางจีน น่าจะมีโอกาสลดดอกเบี้ยนโยบายได้อีกหลายครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุน ตลาดหุ้นจีนให้ฟื้นตัวอีกระลอก หลังจากพักฐาน (ปรับตัวลง 7 %) ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามหากพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นจีนในช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมาคือ ตั้งต้นเดือน ก.พ. ถึง ปลายเดือน เม.ย. 2558 พบว่าให้ผลตอบแทนไปแล้วกว่า 45% เป็นไปได้ที่จะเห็นดัชนีหุ้นจีนผันผวน แต่ยังคงเป็นในแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งน่าจะสร้าง sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยได้เช่นกัน

 

ตลาดแรงงานสหรัฐฟื้นตัวช่วงสั้น แต่เชื่อยังใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อ
       สหรัฐ : ตลาดแรงงานกลับมาฟื้นตัวได้หลังจากชะลอลงเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่ง (จาก 126,000 ตำแหน่ง เมื่อเดือน มี.ค. แต่น้อยกว่าที่คาด 228,000 ตำแหน่ง) ด้วยแรงหนุนจากภาคบริการและการก่อสร้าง ขณะที่อัตราว่างงาน เดือน เม.ย. ลงมาตามคาดที่ 5.4% จาก 5.5% นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2551 สวนทางกับอัตราค่าจ้างกลับชะลอตัวลง เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจที่อ่อนแอในงวด1Q58 ทั้งนี้หากพิจารณาเป้าหมายที่ Fed ได้กำหนดอัตราการว่างงานไว้ที่ 5% ซึ่งตัวเลขล่าสุดยังห่างจากเป้าหมาย จึงเชื่อว่า Fed ซึ่งให้ความสำคัญกับภาคแรงงานเป็นลำดับต้นๆ ยังจะไม่รีบเรงขึ้นดอกเบี้ยในระยะสั้นนี้
ยุโรป : วันนี้ (11 พ.ค.) จะมีการประชุมรัฐมนตรีคลังยุโรปที่กรุงบรัสเซลส์ ประเด็นหลักที่หารือกันคือ การพิจารณาแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของกรีซ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เนื่องจากกรีซมีกำหนดที่จะต้องชำระหนี้แก่ IMF กว่า 750 ล้านยูโร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาการเจรจายังไม่คืบหน้าเนื่องจากกรีซยังขัดแย้งกับเจ้าหนี้ TROIKA ที่ต้องการให้มีการตัดลดการใช้จ่ายด้านต่างๆดังนั้น หากการเจรจาในวันนี้ยังหาข้อยุติไม่ได้ ก็อาจกลับมาเป็นประเด็นกดดันตลาดอีกครั้ง


       ราคาน้ำมันโลก ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องและทรงตัวระดับสูงเป็นสัปดาห์ที่ 8 โดยคาดว่าได้รับแรงหนุนมาจากการลดลงของแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐที่ลดลงทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2553 ซึ่งจากการสำรวจของ Baker Hughes พบว่า ล่าสุด จำนวนแท่นลดลงอีก 11 แห่ง มาอยู่ที่ 668 แห่ง ซึ่งสาเหตุมาจากการทยอยปิดตัวของผู้ผลิตและสำรวจน้ำมันที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้นอกจากนี้ สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ความกังวลด้าน supply ที่ล้นตลาดค่อยๆผ่อนคลายลงไป จึงเชื่อว่าราคาน้ำมันโลกน่าจะยังทรงตัวได้ในระดับสูงในช่วงนี้ ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุนหุ้นในกลุ่มน้ำมันโดยเฉพาะ PTT, PTTEP

ต่างชาติขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 7


วันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคอีกครั้งราว 42 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิเพียงประเทศเดียวคือ ตลาดหุ้นไต้หวัน 89 ล้านเหรียญ ที่เหลืออีก 4 ประเทศยังคงถูกขายสุทธิ โดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ขายสุทธิเป็นวันที่สองราว 4 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับกลุ่ม TIP ที่ถูกขายออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์สลับมาขายสุทธิวันแรกราว 21 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 8 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นไทยถูกขายสุทธิ 14 ล้านเหรียญ หรือ 472 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 7) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิกว่า 2,378 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2 ซึ่งสอดคล้องกับสถิติในอดีต (6 ปีจาก 10 ปี) พบว่าสถาบันไทยมักจะซื้อสุทธิในเดือน พ.ค) และเป็นที่สังเกตว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2558 จนถึง วันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่า ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดเดียวในภูมิภาคที่มียอดขายสะสมสุทธิกว่า 267 ล้านเหรียญ โดยที่เหลือส่วนใหญ่ ยังคงซื้อสะสมสุทธิ


ส่วนทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 18,269 ล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 1,369 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยกดดันให้เงินบาทแข็งยังอยู่ในทิศทางแข็งค่า

เน้นหุ้นได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อน : KCE/HANA/VNG/CPF/TUF


ท่ามกลางเงินโลกผันผวน โดยเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ในทิศทางแข็งค่า สวนทางกับเงินยูโรอ่อนค่า ขณะที่เงินเงินบาทยังคงอ่อนค่ามากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จากภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง และความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยนโยบายยังมีอยู่ เช่นเดียวกับในจีนในสถานการณ์นี้น่าจะดีต่อ ผู้ส่งออกที่มีโครงสร้างรายได้ส่วนใหญ่เป็นเงินต่างประเทศ แต่ต้นทุนบางส่วนเป็นเงินบาทไทย ดังที่เคยนำเสนอแล้ว คือ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (พบว่า ทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่า จะส่งผลให้ประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มฯ ในปี 2558 ปรับเพิ่มขึ้น 5.4% จากเดิม รายบริษัทคือ HANA (FV@B48) คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 6.2% รองลงมาคือ DELTA (FV@B78) บาทที่อ่อนค่าจะทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 5.7% และ KCE (FV@B60) คาดจะทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 5.5%) โดยคาดว่า Fair Value ของทั้ง 3 บริษัทมีโอกาสเพิ่มขึ้น 3.168 บาท 5.38 บาท และ 4.41 บาท หากเงินบาทอ่อนค่าลง 1 บาทต่อดอลลาร์


เช่นเดียวกับ ผู้ส่งออก Particle board เช่น VNG([email protected]) ซึ่งมี โครงสร้างรายได้มาจากการส่งออก 70% vs ต้นทุนสินค้านำเข้า 40% ขณะที่คาดว่าในงวด 1Q58 ผลกำไรจะโดดเด่น เนื่องจากสามารถผลิตและส่งออกสินค้าที่มี margin สูงได้เพิ่มขึ้น เพราะความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศ (เกาหลี และ ตะวันออก) ขณะที่ Supply ใหม่ในเอเซียมีจำกัด และ ต้นทุนการผลิตหลัก เช่น เศษไม้ยางฯ และกาว ปรับตัวลดลง โดยรวมตลอดปี 2558 คาดว่ากำไรสุทธิน่าจะเติบโตสูงถึง 42%YoY


ส่วนในกลุ่มผู้ส่งออกอาหาร แม้ขณะนี้ยังคงได้รับแรงกดดันจากการที่สหภาพยุโรปให้ใบเหลืองฯ แก่ประเทศไทยด้วยเหตุผลที่มีการใช้แรงงานผิดกฏหมาย ซึ่งรัฐบาลไทยมีเวลาในแก้ไขปัญหาประมงไทยจนถึงเดือน ต.ค. 2558 โดยคาดว่าผู้ประกอบการไทยที่จะไม่ได้รับผลกระทบครั้งนี้น่าจะเป็นผู้ส่งออกกุ้ง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ผลผลิตจากการเลี้ยงในฟาร์ม คือ CFRESH([email protected]) ตามมาด้วย


CPF(FV@B32) ปัจจุบันมีฐานรายได้หลักมาจากผลิตสัตว์บก อาหารสัตว์ และการลงทุนในต่างประเทศกว่า 59% ของรายได้รวมขณะที่มีรายได้จากการส่งออกกุ้งเพียง 2% และในจำนวนนี้เป็นการกุ้งส่งออกไปยุโรปเพียง 0.2% ของรายได้รวม อย่างไรก็ตามในงวด 1Q58 คาดว่าผลประกอบการจะประสบภาวะขาดทุนจากดำเนินปกติ เพราะราคาสัตว์บกในประเทศตกต่ำ และธุรกิจต่างประเทศอยู่ในช่วง Low season แต่คาดว่าสถานการณ์ต่าง ๆ จะดีขึ้นในงวด 2Q58 และหากพิจารณาราคาตลาดปัจจุบัน ถึอว่าได้ตอบรับข่าวร้ายไปเยอะแล้ว โดยราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงราว 7.8% ในช่วงที่ผ่านมาจนปัจจุบันมี upside 30%


ส่วน TUF(ซื้อ:FV@B26) พิจารณาโครงสร้างรายได้แล้วเหมือนจะได้รับผลกระทบมากสุด กล่าวคือ รายได้จากผลิตและส่งออกปลาทูน่าคิดเป็น 44% ของรายได้รวม และกุ้ง 22% ของรายได้รวม แต่หากพิจารณาในรายละเอียดคาดว่าจะได้รับผลกระทบในวงจำกัดกล่าวคือบริษัทเปิดเผยว่า วัตถุดิบปลาทูน่ามาจากเรือประมงต่างประเทศ และบริษัทไม่ส่งเสริมการทำประมงที่ผิดกฏหมาย และหากพิจารณาโครงสร้างจากการส่งออกรายประเทศ พบว่า ทั้งปลาทูและกุ้งส่งออกไปยุโรป คิดเป็นเพียง 7% ของรายได้ หรือประมาณ 8.5 พันล้านบาท และหากคิดเป็นกำไรราว 340 ล้านบาท ซึ่งหากมองโลกในด้านเลวร้าย หากตัดกำไรส่วนนี้หายไปคาดว่าในปี 2558 กำไรสุทธิของ TUF จะลดลงเหลือ 5,600 ล้านบาท หรือกำไรสุทธิต่อหุ้น 1.02 บาท ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อ Fair Value 7.8% หรือจะทำให้ Fair Value หลังคำนึงถึงผลกระทบดังกล่าวจะลดลงไปเหลือ 24 บาท ซึ่งราคาหุ้นปัจจุบันยังมี upside ประมาณ 14%


นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!