WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

"เลือกซื้อจังหวะอ่อนตัว"
Top Picks-Fund May 2015 : Fundamental : AP, KBANK, MINT, TTCL, WHA Dark Horse: RCL, SAMTEL

Top Picks -Fund Today: WHA
Top Picks-High Div Yield : ADVANC, INTUCH, BTS, DCC, DELTA, DTAC, AP, MK, SPALI, MODERN, TISCO, TMT, BTSGIF, CPNRF, TRUEIF

Shot Sell-Prev : TICON 69%, KKP 59%, MC 35%, NOK 12%, ROBINS 11%

Technical View ภาพระยะสั้นเป็นลบ แต่การลงเร็วจึงอาจมีรีบาวด์ทางเทคนิคได้


Support Resistance Stop loss
SET 1510-1500 1530-1540,1550 ค่าลบ
SET50 990+/- 1010-1020,1030 ค่าลบ
Top Picks-Tech Today : KTB, KBANK, WHA, BCP, PTTGC, TIPCO

หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
      ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวันที่ 30 เม.ย.58 ตลาดหุ้นไทยปิดบวกเล็กน้อย 4.27 จุดที่ 1526.74 จุด โดยกลุ่มพลังงานได้รับอานิสงค์จากราคาน้ำมันดิบที่แกว่งขึ้น และกลุ่มส่งออก โดยเฉพาะอิเลคทรอนิกส์ได้รับผลดีจากเงินบาทอ่อนค่าหลังกนง.มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% และธปท.ประกาศผ่อนคลายมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้าย

       การขาดดุลการค้าเดือนมี.ค.58 ที่สูงเกินคาดของสหรัฐกดดัน GDP ไตรมาส 1/58 โดยอาจจะแย่ลงเป็นติดลบ QoQ จากประมาณการครั้งแรกที่เป็นบวกเล็กน้อย (+0.2%QoQ) ซึ่งประเด็นนี้กดดันให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง และทำให้การอ่อนค่าของเงินบาทอาจจำกัดกว่าที่คาดการณ์ไว้ สำหรับความกังวลเรื่องกรีซก็ยังมีต่อ โดยกรีซจะมีประชุมร่วมกับรัฐมนตรีคลังยูโรโซนเรื่องแผนปฎิรูปฯในวันที่ 11 พ.ค.นี้ และกรีซมีหนี้ครบกำหนดชำระ IMF ในสัปดาห์หน้ามูลค่า 750 ล้านยูโร อย่างไรก็ดี เชื่อว่าความเสี่ยงเรื่องกรีซจะไม่รุนแรงถึงขั้นออกจากยูโรโซน สำหรับในประเทศ สัปดาห์นี้จับตารายงานผลประกอบการไตรมาส 1/58 ที่จะออกมาจนถึงปลายสัปดาห์หน้า กลยุทธ์การลงทุน เลือกซื้อเป็นรายบริษัท โดยหุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น WHA

การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณเป็นลบ แต่ก็มีสิทธิรีบาวด์จากภาวะขายมากเกินไปในกราฟรายนาที กรอบแนวต้านอยู่ที่ 1530-1540, 1550 จุด แนวรับ 1510-1500, 1480-1460 จุด แนะนำซื้อเก็งกำไรแบบหวัง Gap สั้น สำหรับการ Scan หาหุ้นสัญญาณบวกทางเทคนิคและมีโอกาสทำ New high พบว่าหุ้นที่เข้ามาใหม่ คือ BJCHI, WHA, TOP, BCP ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ TRC, THCOM, RCL และหุ้นที่หลุด List เป็น TGCI

 

Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
+ สหรัฐ : กระแสสนับสนุนเฟดไม่ต้องรีบปรับขึ้นดอกเบี้ยมีมากขึ้น ล่าสุดเป็นประธานเฟดชิคาโก้ ซึ่งประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวในอัตราที่อ่อนแอไปจนถึงไตรมาส 1/59 เมื่อพิจารณาจากกำลังซื้อภายใน และเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง สำหรับ DBS Group Research ยังคงประเมินไว้ในช่วงเวลาเดิมว่าเฟดจะเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยในไตรมาส 4/58
+ สหรัฐ : ยอดสั่งซื้อใหม่ของภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.เพิ่มดีเกินคาด โดย +2.1% ซึ่งเป็นการเพิ่มครั้งแรกหลังลดลงมา 7 เดือนต่อเนื่อง
- สหรัฐ : เดือนมี.ค.ขาดดุลการค้าเพิ่มมาก โดยพุ่งขึ้นเป็น 5.14 จาก 3.59 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนก.พ. เพราะการนำเข้าเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนนี้อาจกดดัน GDP Growth ไตรมาส 1/58 ให้ติดลบ QoQ (จากประมาณการครั้งที่ +0.2%QoQ)
สหรัฐ : จับตาตัวเลขภาคแรงงาน ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ที่จะรายงานคืนวันนี้ (เวลาไทย) และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.ที่จะเปิดเผยศุกร์ที่ 8 พ.ค.นี้
- กรีซ : มีหนี้ครบกำหนดชำระ IMF สัปดาห์หน้า 750 ล้านยูโร ขณะที่ยังไม่บรรลุข้อตกลงเรื่อแผนปฎิรูปกับเจ้าหนี้เพื่อขอรับความช่วยเหลือรอบใหม่ ทังนี้จะมีประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนกันในวันที่ 11 มี.ค.นี้
- จีน : ภาคการผลิตซบเซาต่อเนื่อง เห็นได้จากดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย.ของ HSBC Holdings ที่ลดลงเป็น 48.9 (ดัชนีต่ำกว่า 50 คือการหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า) ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี
- ตลาดหุ้นสหรัฐ : ลงมาปิดต่ำกว่า 18,000 จุด...กังวลขาดดุลการค้าเพิ่ม และปัญหาหนี้กรีซ นับว่าตลาดหุ้นสหรัฐยังผันผวนจากข่าวที่เข้ามาใหม่ โดยวันก่อนหน้าได้รับแรงหนุนจากยอดสั่งซื้อใหม่ภาคอุตสาหกรรมที่ดีขึ้น แต่มาถูกกดดันจากตัวเลขยอดขาดดุลการค้ามี.ค.ที่สูงเกินคาด
+ ราคาน้ำมันดิบ : แกว่งขึ้นบนอุปทานที่สูง ล่าสุด WTI และ BRENT อยู่ที่ 60.40 และ 67.52 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ตามลำดับ โดยปัจจัยหนุน คือ ข่าวการประท้วงปิดท่อส่งน้ำมันในลิเบีย อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่จำกัดการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน คือ อุปทานของสหรัฐที่สูง สัปดาห์ก่อน EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐอยู่ที่ 490.0 ล้านบาร์เรล ซึ่งเพิ่มจากปีก่อนถึง 91.5 ล้านบาร์เรล ด้านอิรักก็ส่งออกน้ำมันดิบในเดือนเม.ย.58 เพิ่มเป็น 3.8 ล้านบาร์เรล/เดือน เพิ่มจาก 2.8 ล้านบาร์เรล/เดือนในเดือนมี.ค.58 สำหรับการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน ระยะสั้นควรระวัง Sell on Fact หลังราคาหุ้นสะท้อนผลประกอบการไตรมาส 1/58 ที่คาดว่าจะ Turnaround จากที่ย่ำแย่มากๆ ในไตรมาส 4 ปีก่อนไปแล้ว
ราคาทองคำ COMEX : แกว่งขึ้นปิดที่ 1,193.20 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ซึ่งก็ต้องดูว่าจะผ่านแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,200 ดอลลาร์ขึ้นไปและยืนได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ลุ้นถือต่อ

 

ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
      อัตราเงินเฟ้อไทย : อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ช่วยให้ทางการไทยใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายได้ต่อเนื่อง ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนเม.ย.ลดลง 1.04%YoY แต่ขยับขึ้นเล็กน้อย 0.02%MoM ทั้งนี้ดัชนีได้ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยหลักมาจากราคาพลังงานที่ต่ำลงจากปีก่อน โดยดัชนีหมวดอาหาร&เครื่องดื่มเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 0.6%YoY และเพิ่ม 0.63%MoM ส่วนหมวดที่ไม่ใช่อาหาร & เครื่องดื่มลดลง 1.93%YoY และลดลง 0.31%MoM สำหรับอัตราเงินเฟ้อช่วงม.ค.-เม.ย.ปีนี้อยู่ที่ -0.65% อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังคงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ไว้ที่ 0.6-1.3% ภายใต้สมมติฐานเศรษฐกิจเติบโต 3-4% ราคาน้ำมันดิบดูไบ 50-60 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 32-34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
       ความเห็น Retail Research : การลดลงของดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นไปตามที่ตลาดประเมินไว้ และยังคงเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อปีนี้จะต่ำ ซึ่งช่วยหนุนให้ทางการไทยใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายได้ต่อไป อย่างไรก็ดี ผลดีจากการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมยังเกิดขึ้นได้ไม่เต็มที่เพราะหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูงและรายได้ของเกษตรกรซบเซา แต่เรื่องนี้ก็ Price in ในตลาดไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว โดยเห็นได้จาก Domestic demand ที่อ่อนแอในช่วงไตรมาส 1/58 และความต้องการใช้เงินกู้จากบริษัทไฟแนนซ์ที่ให้บริการผู้มีรายได้ปานกลาง-น้อยมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณที่ดีขึ้นในบางเรื่อง เช่น ระดับ NPL ของกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เริ่มทรงตัว ยอดขายชิ้นส่วนยานยนต์ขยับตัวดีขึ้นตามตลาดส่งออกรถยนต์


สิ่งที่ควรจับตาและเป็น Downside Risk คือ ระดับ NPL ของบริษัทไฟแนนซ์ที่เน้นกลุ่มรากหญ้ากำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่เพิ่งเข้ามาทำธุรกิจและระบบการจัดการด้านความเสี่ยงยังไม่ลงตัวนัก


เงินบาทอ่อนค่า...แต่อาจจำกัดจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนลงหลังตัวเลขขาดดุลการค้าเดือนมี.ค.สูงเกินคาดมาก เงินบาทของไทยอ่อนค่าเป็น 33.3-33.4 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จาก 32.6-32.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หลังกนง.มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เป็น 1.50% และธปท.ประกาศผ่อนคลายมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้าย กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากบาทอ่อน คือ ส่งออก (อิเลคทรอนิกส์, อาหารส่งออก, ชิ้นส่วนยานยนต์, อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น) แต่กลุ่มที่เสียประโยชน์คือ กลุ่มที่นำเข้าวัตถุดิบมาก เช่น TVO และมีหนี้ต่างประเทศสูง เช่น THAI อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินบาทอาจจำกัดจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีโอกาสจะแข็งค่าได้น้อยกว่าคาด และอ่อนลงในระยะสั้นเพราะผลขาดดุลการค้าที่สูงมากในเดือนมี.ค.กดดันการเติบโตของเศรษฐกิไตรมาส 1/58 โดยมีโอกาสที่จะติดลบ QoQ


/- ขอปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเสนอปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 360 บาท/วัน หรือปรับขึ้นประมาณ 20% จากปัจจุบัน…ภาคเอกชนมองว่าขอเพิ่มมากเกินไป ด้านส.อ.ท.เห็นว่าหากตกลงเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงงานกันไม่ได้ ก็ควรจะปล่อยให้เป็นอัตราค่าแรงงานลอยตัว โดยขึ้นกับความต้องการใช้แรงงาน คุณภาพและฝีมือแรงงาน และจำนวนแรงงานอย่างแท้จริง


ความเห็น Retail Research : หากมีการปรับขึ้นอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำอีก 20% ก็ถือว่าแรง เมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยอาจมี SME ขนาดเล็กอีกหลายแห่งที่จะเดินหน้าธุรกิจต่อไปไม่ได้ แม้ว่าการปรับขึ้นค่าแรงจะทำให้รายได้ประชาชนและการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ผลประโยชน์ก็จะตกไปอยู่กับธุรกิจขนาดใหญ่ สายป่านยาว มีสัดส่วนต้นทุนที่เป็นแรงงานต่ำ (ใช้เครื่องจักรในการผลิตเป็นหลัก)
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!