- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 30 April 2015 18:22
- Hits: 1036
บล.กรุงศรี : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
บทวิจัยตลาดทุนกรุงศรี (Morning Brief Package)
ภาวะตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ยังคงมีทิศทางขาลง และตลาด TIPs + Malaysia ปรับตัวลง โดย SET แกว่งตัวทางลงในกรอบ 15.87 จุด เปิดตลาด -9.98 จุด และรีบาวด์ในระหว่างวัน ทำจุดสูงสุดของวันที่ 1529.29 จุด และต่ำสุดที่ 1513.42 จุด ปิดตลาดที่ 1522.47 จุด (-9.06 จุด, -0.59%) SETHD ลดลงมากสุด (-1.53%) ตามด้วย SET50 (-0.83%) และ SET100 (-0.78%) สะท้อนถึงแรงขายยังอยู่ในหุ้นกลุ่มหลัก โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน วัสดุก่อสร้าง อสังหา ธนาคาร พาณิชย์ เป็นต้น มีแรงซื้อขายเก็งกำไรในหุ้นใหญ่ในกลุ่มหลักรายตัวมีการขึ้นลงสลับ ค่าเงิน US$ Index อ่อนลงเหลือ 95.97 แต่ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องและอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับ 5 สกุลหลัก (32.847 บาท/ US$) สะท้อนทุนยังไหลออกจากนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิค่อนข้างมากและต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 อีก 2.9 พันล้านบาท ขณะที่กองทุนประเทศกลับเข้าซื้อสุทิ 564 ล้านบาท หลังจากสุทธิต่อเนื่อง 5 วันทำการ
แนวโน้มวันนี้:
แนะนำซื้อเก็งกำไรคาดการณ์ตลาดรีบาวด์ หลังการปรับตัวลงแรงถึง 33 จุด (-2.1%) ใน 3 วันทำการที่ผ่านมา หรือหลีกเลี่ยงหาก SET ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1520 จุด ประเมินกรอบแนวรับ/ต้าน 1520-1540 จุด
กลุ่มธนาคารหลังถูกแรงขายอย่างต่อเนื่อง 9 วันทำการคิดเป็น -9.4% ซึ่งวานนี้เริ่มมีสัญญานการฟื้นตัวและเริ่มดีดกลับ เชื่อว่าจะเป็นการรับรู้ปัจจัยลบจาก Sell-on-fact ผลประกอบการ 1Q58, การปรากฎของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs), ตลอดจนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของทางการลงอีก 0.25% (มีผลต่อต้นทุนการเงินและ NIMs ของกลุ่มธนาคารที่แตกต่างกัน (ซื้อ BBL) ภาคส่งออกไทยมีแนวโน้มอาจไม่เติบโตในปีนี้, การบริโภคในประเทศที่จะเติบโตต่ำ, แต่ภาคบริการมีแนวโน้มเติบโตสูงโดยเฉพาะการกลับมาของจำนวนนักท่องเที่ยวท่องเที่ยวต่างชาติ (สัดส่วนรายได้นักท่องเที่ยวประมาณ 10% ของจีดีพีไทย) โรงแรม, โรงพยาบาล และ อาหาร เราแนะนำหุ้นพื้นฐานเช่น ERW, BDMS, อาหารเช่น TUF, CPALL พลิกฟื้นของผลประกอบการ SAT สื่อสารเช่น THCOM
ปัจจัยที่มีผลกระทบ
สหรัฐประกาศตัวเลขประมาณการจีดีพีครั้งแรกในไตรมาส 1/58 ขยายตัวเพียง +0.2% ต่ำกว่า Bloomberg consensus ที่ +1% และต่ำกว่า +2.2% ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว เฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0-0.25%
สศค. ปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยจาก 3.9% เหลือ 3.7% ในปีนี้ แต่ยังมีปัจจัยบวกจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังจากนักท่องเที่ยวเชื่อมั่นต่อการเมืองในประเทศ ขณะที่การใช่จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มสูงขึ้นจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารจัดการน้ำ และการสร้างถนนในต่างจังหวัด กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปีนี้ 0.2% ส่งออกขยายตัว 0.2% นำเข้าหดตัว 0.2% (เกินดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ US$17,800 ล้าน หรือเกินดุล 4.6% ของจีดีพี
กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากเดิม 1.75% เหลือ 1.50% มีผลทันที ประเด็นที่ กนง. ให้ความสำคัญคือเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราที่ต่ำกว่าที่เคยประเมิน แม้การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐจะเพิ่มขึ้นและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีต่อเนื่อง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัวมากในไตรมาสที่ 1 การตัดสินใจของคณะกรรมการ เสียงส่วนใหญ่ประเมินว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาวะที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ธปท. จะแถลงมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออกเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน หลังจากที่ผ่านมาเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าและคู่แข่งด้านการส่งออก