- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 29 April 2015 18:29
- Hits: 985
บล.กรุงศรี : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
บทวิจัยตลาดทุนกรุงศรี (Morning Brief Package)
ภาวะตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงแทบทุกตลาด (ยกเว้นญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย และอิตาลี) ตามดัชนีดาวน์โจนส์ปิดลบเมื่อคืนที่ 18037.97 จุด (ดาวน์โจนส์ฟิวเจอร์ซื้อขายแดนลบ -0.17%) ราคาน้ำมันและทองคำทรงตัวลดลงเช่นกัน และค่าเงิน US$ Index อ่อนลงเหลือ 96.68 สะท้อนภาวะลดการถือสินทรัพย์เสี่ยงและถือเงินสด โดย SET ปรับตัวลดทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลกแต่เป็นการปรับตัวลงที่ค่อนข้างมากกว่า เช้าเปิดตลาดทรงตัวบวก 0.4 จุด และไหลลงทำจุดต่ำสุดที่ 1525.92 จุด (-23 จุด) และท้ายตลาดทรงตัวขึ้นเล็กน้อยปิดที่ 1531.53 (-17.30 จุด, -1.12%) ปรับตัวลงแทบทุกกลุ่ม ยกเว้น Healthcare, Home, IMM, และ Fashion. ลดลงมากสุดจะเป็นกลุ่มปัจจัยภายในคือรับเหมา ธนาคาร อสังหาฯ สื่อสาร และอาหาร มูลค่าการซื้อขายเพิ่มเป็น 48,748 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติและกองทุนในประเทศขายสุทธิหนัก 2.65 พันล้านและ 2.84 พันล้านบาทตามลำดับ
แนวโน้มวันนี้:
จากแรงขายที่มากเมื่อวานส่งผลให้ตลาดปรับตัวลงค่อนข้างลึก เชื่อว่าสะท้อนปัจจัยลบระยะสั้น 3 ปัจจัยคือ 1) ความกังวลภาคการส่งออกที่อาจไม่เติบโตในปีนี้ 2) หนี้ NPL อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องจับตามอง ซึ่งอาจจะสะท้อนภาคหนี้ครัวเรือนยังไม่หยุดเพิ่ม 3) การประชุมเฟดและกนง ในเชิงพื้นฐานเรายังเชื่อว่าจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจถดถอยจะเห็นในครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลังจะเป็นจุดฟื้นตัว วันนี้เราเชื่อว่าแรงขายเมื่อวานตลาดได้รับรู้ไปในระดับมากพอสมควร (ภาพเทคนิค Oversold) และคาดหวังการรีบาวด์แนะนำซื้อเก็งกำไร กลุ่มธนาคาร Sentiment ยังดูไม่ดีในระยะสั้นรอจังหวะซื้อกลับในหุ้นหลัก (KBANK, BBL, SCB) พลังงานและปิโตรเคมี (PTT, PTTGC, เพิ่ม PTTEP) ยังมีผลประกอบการ 1Q58 ที่ดีรอ สื่อสาร ยังมีปัจจัยบวกจากการประมูล 4G (ADVANC, INTUCH)
ปัจจัยที่มีผลกระทบ
ตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ (PMI) ลดลงเหลือ 57.8 ในเดือน เม.ย. 58 ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์และปรับตัวลดลงจาก 59.2 ในเดือน มี.ค. 58 ส่วนดัชนีการผลิตของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. 58 ปรับลดลงเช่นกันเหลือ 57.4 ซึ่งต่ำกว่าเดือน มี.ค. 58 ที่อยู่ที่ระดับ 59.2
ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ที่จัดขึ้นในวันที่ 28-29 เม.ย. นี้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Fed Funds Rate) หรือไม่ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ได้คงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำที่ร้อยละ 0 - 0.25 มานานกว่า 6 ปี หากเฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น จะส่งแรงกดดันต่อราคาน้ำมันดิบให้ปรับลดลง
ก.พาณิชย์รายงานส่งออกไทยเดือนมี.ค. 58 มีมูลค่า US$18,886 ล้านลดลง -4.45%QoQ (ดีขึ้นจาก -6.0% ในเดือนก.พ. 58) และในไตรมาส 1/58 ส่งออก มีมูลค่า US$53,365 ล้าน ลดลง -4.69%YoY ส่วนการนำเข้าเดือนมี.ค. มีมูลค่า US$17,391 ล้านลดลง (5.89%) และไตรมาส 1/58 มีมูลค่า US$51,936 ล้านบลดลง 6.43% ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนมี.ค.58 เกินดุล US$1,495 ล้านและไตรมาส 1/58 เกินดุล US$1,429 ล้าน ก.พาณิชย์ ปรับลดเป้าการส่งออกปี 58 จากเติบโต 4.0% เหลือ 1.2% สมมติฐานเศรษฐกิฐโลกครึ่งปีหลังฟื้นตัว ราคาน้ำมันที่ 70 เหรียญ ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.6-33.4 บาท
รายงานประจำวันนี้
SAT | ซื้อ/ มูลค่าพื้นฐาน 21.40 บาท
Company Update: คาดผลประกอบการ 1Q15 ฟื้นตัว YoY