- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 28 April 2015 17:49
- Hits: 1078
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
"เลือกซื้อหุ้นพื้นฐานดีจังหวะอ่อนตัว"
Top Picks-Fund Apr 2015 : Fundamental : BTS, INTUCH, KBANK, RATCH, TRUEIF Dark Horse: GL, SYNTEC
Top Picks -Fund Today: MINT
Top Picks-High Div Yield : ADVANC, INTUCH, BTS, DCC, DELTA, DTAC, AP, MK, SPALI, MODERN, TISCO, TMT, BTSGIF, CPNRF, TRUEIF
Shot Sell-Prev : ROBINS 31%, KCE 18%, VGI 11%
Technical View ภาพระยะสั้นกลับมาเป็นลบ แต่ก็มีสิทธิเด้งจากการซื้อเก็งกำไรรอบสั้น
Support Resistance Stop loss
SET ซื้อตามค่าบวก 1560-1570 ค่าลบ
SET50 ซื้อตามค่าบวก 1030-1040 ค่าลบ
Top Picks-Tech Today : KTB, TGCI, SAMART, BAFS, BRR, PLANB, MINT, PTTGC
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวานนี้ SET Index ปิดลดลง 6.63 จุด ที่ 1548.83 โดยการซื้อขายอยู่ในระดับปานกลาง หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ถูกขายทั้งจาก Sell on Fact และความกังวลเรื่อง NPL ที่อาจจะเพิ่มขึ้นต่อในไตรมาส 2/58 รวมถึงการเติบโตของสินเชื่อที่ซบเซา ราคาน้ำมันดิบผันผวนไปตามเหตุการณ์ความไม่สงบในเยเมน ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานแกว่งตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 1/58 ยังช่วยพยุงดัชนีไม่ให้ร่วงแรง รายย่อยซื้อสุทธิ ส่วนอีก 3 กลุ่มที่เหลือขายสุทธิ นำโดยการขายสุทธิของต่างชาติ 1.6 พันล้านบาท
ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ตลาดจับตาผลการประชุมเฟด (28-29 เม.ย.) และผลประชุมกนง. (29 เม.ย.) รวมถึงการทำ Preview & รายงานกำไรบจ.ซึ่งเราคาดว่าสหรัฐจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็ว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง และการชะลอตัวของการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. ทาง DBS Group Research คาดว่าธนาคากลางสหรัฐจะเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยใน 4Q58 สำหรับกนง.คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75% ในการประชุมรอบนี้ ด้านกรีซ ยังอยู่ในช่วงของการให้ข่าวกดดัน+เจรจาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ (กรีซ) ซึ่งเชื่อว่าจะตกลงกันได้ในที่สุดและกรีซจะไม่ออกจากยูโรโซน โดยกรีซมีกำหนดชำระหนี้ IMF รอบต่อไปในวันที่ 12 พ.ค.58 สำหรับหุ้นพื้นฐานที่แนะนำซื้อวันนี้เป็น MINT
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากสัญญาณเปลี่ยนเป็นลบแต่ยังไม่ทิ้งการเด้ง/รีบาวด์สั้นจากการซื้อเก็งกำไรผลประกอบการและช้อนซื้อหุ้นลงแรง การซื้อใหม่จึงควรตามด้วยค่าบวกของดัชนีและราคาหุ้น ให้แนวต้านระยะสั้นไว้ที่ 1560-1570, 1580 จุด ค่าลบควรชะลอ หรือ Stop Loss ในกรณีที่มีหุ้นมากและเงินสดเหลืออยู่น้อย สำหรับการ Scan หาหุ้นสัญญาณบวกทางเทคนิคและมีโอกาสทำ New high พบว่าหุ้นที่เข้ามาใหม่ คือ BH, SAMTEL, TGCI ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ CBG, CENTEL, SIRI, GLOBAL, BLA, IRPC, ESSO และหุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take profit คือ SYNTEC สำหรับหุ้นที่หลุด List ได้แก่ CWT, S11, EPCO
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
/- สหรัฐ : มาร์กิตเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นภาคบริการของสหรัฐร่วงลงเป็น 57.8 ในเดือนเม.ย. (จาก 59.2 ในเดือนมี.ค.) แต่ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 จุดซึ่งบ่งชี้ถึงการเติบโต MoM
สหรัฐ : คาดเฟดไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็ว ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลงในเดือนมี.ค.-เม.ย.รวมถึงเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 2 เดือนต่อเนื่องเมื่อเทียบ MoM ทำให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงเดือนก.ย.58 สำหรับ DBS Group Research เราประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบนี้ใน 4Q58
กรีซ : มีการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่คณะเจรจาของกรีซ ที่จะเข้าเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ในยุโรปและ IMF และกรีซมีนัดประชุมกับรัฐมนตรีคลังยูโรโซนอีกรอบในวันที่ 11 พ.ค.58 แต่ก่อนถึงวันประชุมก็มีเจรจานอกรอบกันเป็นระยะ ซึ่งเราประเมินความเสี่ยงสูงสุดของกรีซไว้ที่ผิดนัดชำระหนี้บางส่วนแต่ไม่รุนแรงถึงขั้นต้องออกจากยูโรโซน
ยูโรโซน : เตรียม Plan B เพื่อรองรับความเสี่ยงกรีซ โดยขณะนี้ทางกลุ่มยูโรโซนยังปฎิเสธการพบกันครึ่งทางในการทำแผนปฎิรูปเพื่อรับความช่วยเหลือรอบใหม่ของกรีซด้วยการให้เงินกู้เพิ่มเติมบางส่วน และยืนยันให้กรีซเร่งเสนอแผนปฎิรูปฉบับสมบูรณ์ตามที่ได้ตกลงกันไว้
-/ สหรัฐ : ตลาดหุ้นสหรัฐอ่อนตัวลงก่อนการประชุมเฟด (28-29 เม.ย.) & มีแรงกดดันจาก PMI ภาคบริการที่ชะลอตัวลง โดยดัชนี DJIA ลดลง 0.23% และดัชนี S&P 500 ลดลง 0.41% อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ตลาดยังมีปัจจัยกระตุ้นจากการซื้อเก็งกำไรผลประกอบการในบริษัทที่รายงานกำไรดีกว่าคาด
- ญี่ปุ่น: ฟิทช์ เรทติ้งส์ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือญี่ปุ่นลงสู่ระดับ A (เดิม A+) เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง, สัดส่วนหนี้สาธารณะในระดับสูง และรัฐบาลไม่ได้มีการปฎิรูปงบประมาณเพื่อควบคุมหนี้สินภาครัฐเท่าที่ควร
สัญญาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวกรอบแคบ โดย WTI ส่งมอบมิ.ย.ลดลง 16 เซนต์ ปิดที่ 56.99 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ลดลง 45 เซนต์ ปิดที่ 64.83 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้ตลาดน้ำมันยังมีปัจจัยกดดันจากอุปทานที่สูง และรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลงในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. ส่วนปัจจัยกระตุ้นคือเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ : สำหรับหุ้นกลุ่มพลังงาน ได้ปรับขึ้นมารอรับผลประกอบการไตรมาส 1/58 ไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว โดยคาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นจากไตรมาส 4/57 ที่ขาดทุนจากสต็อกจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องระวังแรงขายจาก 1) Sell on Fact หรือ 2) ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัว
+/ สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้นแรง 28.2 ดอลลาร์ หรือ +2.40% ปิดที่ 1,203.20 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยมาจากการซื้อเพื่อชดเชยการทำชอร์ตเซล แต่สิ่งที่ควรระวังคือความผันผวนจากแรงขายทำกำไรที่อาจจะตามมา
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
-/+ ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันลดลงแต่คาดการณ์ว่าจะดีขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน โดยอยู่ที่ 87.7 (เดือนก.พ.เท่ากับ 88.9) อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นเป็น 100.4 (เดือนก.พ.อยู่ที่ 99.2) เพราะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะกระเตื้องขึ้นในไตรมาส 3/58 หลังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มเห็นผล ทำให้ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดกลาง-ใหญ่ดีขึ้น
-/+ มูลค่าส่งออกรวมเดือนมี.ค.58 ร่วง 4%YoY ตั้งเป้าปีนี้โตเพียง 1%...แต่ส่งออกยานยนต์มี.ค.58 เติบโตดี 12.6%YoY (127,619 คัน) สำหรับ 3M58 ปริมาณส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้น 12.6%YoY (328,323 คัน) ส่วนมูลค่าส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้น 7.7%YoY (146,884 ล้านบาท) โดยตลาดหลักอยู่ในเอเชีย, ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง ซึ่งคิดเป็น 68% ของทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ตลาดที่เติบโตดีเป็นอเมริกาเหนือ-กลาง-ใต้, ยุโรป และออสเตรเลีย โดยเป็นการนำเข้ารถโอโคคาร์ สำหรับยอดขายรถยนต์ในประเทศ 3M58 ลดลง 11.8%YoY (74,117 คัน)
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ : นับเป็นข่าวดีที่เห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้นของกลุ่มยานยนต์ส่งออก ซึ่งช่วยให้ยอดขายชิ้นส่วนและการผลิตรถยนต์ในปีนี้ไม่ได้ลดลงมากแม้ว่าปริมาณการขายในประเทศจะยังชะลอตัว เราคาดว่าจะเห็นการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ดีขึ้นในปี 59 เป็นต้นไป ในเชิงกลยุทธ์การลงทุน แนะนำทยอยซื้อสะสมเพื่อลงทุนระยะยาว โดยหุ้นเด่นในกลุ่มนี้เป็น AH, SAT และ STANLY
/- NPL ของสถาบันการเงินในไตรมาส 1/58 เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเช่าซื้อรถยนต์, SME ขนาดเล็ก และที่พักศัย ซึ่งธปท.รายงานว่า ณ สิ้นมี.ค.58 ระดับ Gross NPL เพิ่มขึ้น 2.1 หมื่นล้านบาทเป็น 2.98 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.92% ของสินเชื่อทั้งระบบ (จาก 2.15% ในสิ้นปี 57) อย่างไรก็ตาม ระดับ NPL รอบนี้ไม่ได้พุ่งขึ้นรวดเร็ว และสถาบันการเงินต่างๆก็เร่งปรับโครงสร้างหนี้ตั้งแต่เริ่มเห็นปัญหาสภาพคล่องของลูกค้า ทำให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองค่าเผื่อฯสะสมไว้สูง ณ สิ้นมี.ค.58 อยู่ที่ 142% ของ NPL
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ : การเพิ่มขึ้นของ NPL เป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์หลังรายงานกำไรไตรมาส 1/58 เราและตลาดประเมินว่าระดับ NPL จะขยับขึ้นต่อในไตรมาส 2/58 รวมถึงธนาคารมีแนวโน้มที่จะกันสำรองค่าเผื่อฯเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่แต่ละธนาคารมีอยู่ในระดับสูงจะรองรับความเสี่ยงในรอบนี้ได้ ในแง่ของกลยุทธ์ จึงแนะนำให้ทยอยซื้อเพื่อลงทุนระยะกลาง-ยาว โดยเฉพาะจังหวะราคาหุ้นอ่อนตัว แบงค์ใหญ่ให้ KBANK เป็น Top Pick ส่วนแบงค์กลาง-เล็กให้ TMB เป็นหุ้นเด่น
EXIM Bank กล่าวว่าเริ่มเห็นความเสี่ยงการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น จากการชำระเงินล่าช้า (เพิ่มจากเดิมเป็นเท่าตัว) และการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกซบเซาและสถานะของบริษัทคู่ค้าที่อ่อนแอลง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่มาขอรับค่าสินไหมทดแทนกรณีไม่ได้รับเงินค่าซื้อสินค้ายังต่ำที่ 13.93 ล้านบาท ทางออก คือ ผู้ส่งออกควรทำประกันความเสี่ยง
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829
[email protected]