- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 28 April 2015 17:21
- Hits: 1032
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เชื่อว่าการรายงานงบ 1Q58 ของ Real sector ยังเป็นปัจจัยหนุนหุ้นรายตัว เฉพาะที่มีผลกำไรโดดเด่น โดยยังชื่นชอบ VNG([email protected]), RCL([email protected]) เลือก RCL เป็น Top Pick คาดกำไรงวด 1Q58 ดีกว่า 4Q57 และ 2Q58 จะทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปี
กรุงเทพโพลล์คาด กนง. ยืนดอกเบี้ย 1.75%
ผลการสำรวจของกรุงเทพโพลล์ ล่าสุด สรุปว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ราว 76.2% คาดว่า GDP Growth ของไทยในปี 2558 จะขยายตัวไม่ได้ 3.9% ที่ประเมินไว้โดยกระทรวงการคลัง แต่คาดว่าจะขยายได้เพียง 3% ขณะที่ส่วนน้อยราว 9.5% ของผู้ตอบคาดว่าจะเติบโตได้ตามเป้าหมาย ส่วนทิศทางดอกเบี้ยนโยบายนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 เม.ย. นี้คาดว่านักเศรษฐศาสตร์ 84.1% ของผู้ตอบคาดว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยไว้ที่เดิมที่ 1.75% และมีเพียง 4.8% เท่านั้นที่คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1.5%
ทั้งนี้ ผลการสำรวจถือว่าสอดคล้องกับทาง ASP ที่ได้ปรับลด GDP Growth ลงจากเดิม 1% เหลือ 2.5% (อ่านรายละเอียด ในย่อหน้าถัดไป) ทั้งนี้อยู่บนสมมติฐานเงินเฟ้อที่ไม่เกิน 1% จึงทำให้คาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปี 2558 จะอยู่ที่ 1.25% หรือลดลง 0.5% จากปัจจุบัน โดยประเมินว่า ในการประชุม กนง. ที่เหลืออีก 5 ครั้งที่ภาย สิ้นปี 2558 น่าจะมีการลดดอกเบี้ยฯ อีก 2 ครั้งๆ ละ 0.25% จึงเป็นไปได้ที่การประชุม กนง. ที่จะถึง 29 เม.ย. 2558 นี้ กนง. อาจจะยืนดอกเบี้ยนโยบายหรือ ขึ้นดอกเบี้ย ฯ โดยมีความน่าจะเป็นเท่าๆ กัน คือ 50/50 แต่เชื่อว่าประเด็นน่าอาจจะไม่มีน้ำหนักต่อตลาดมาก โดยนักลงทุนน่าจะให้น้ำหนักต่อผลประกอบการของ real sector เป็นหลัก
ปรับลด GDP Growth ปีนี้ลงเหลือ 2.5% ขาดปัจจัยขับเคลื่อน
ASP ได้ปรับลด GDP Growth ปี 2558 ลง 1% เหลือ 2.5% (จากเดิม 3.5%) โดยเป็นการปรับลดตัวแปรหลัก ๆ เกือบทุกตัว ยกเว้น การใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออก-นำเข้าบริการ คงเดิม ภายสมมติฐานใหม่ปรากฎในตารางถัดไป เนื่องจากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลกต่ำกว่าที่คาด สะท้อนจาก IMF ปรับลด GDP Growth ปี 2558 เหลือ 3.5% (จากเดิม 3.8%) และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในงวด 1Q58 ยังไม่มีสัญญานฟื้นตัวที่ดีนัก ขณะที่ในปี 2559 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 3.5%
โดยกำหนดอัตราเงินเฟ้อสิ้นปีที่ 1% ภายใต้สมมติฐาน ราคาน้ำมันดิบไปจะขึ้นไปแตะที่ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขณะที่คาดว่า ดอกเบี้ยนโยบายสุทธิปัจจุบัน (ดอกเบี้ยนโยบาย ลบ เงินเฟ้อ) ยังมีแนวโน้มบวกเพิ่มขึ้นเกิน 2% ทำให้มีโอกาสสูงที่ กนง. อาจจะลดดอกเบี้ยฯ ลงเพิ่มเติมดังกล่าวข้างต้น หลังจากที่ลดลงไปแล้ว 1 ครั้ง 0.25% เหลือ 1.75% เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา (ติดตามอ่านรายละเอียด Economic Outlook วันนี้)
ให้น้ำหนักหุ้นรายตัวที่มีผลกำไรเด่น งวด 1Q58
การรายงานงบหุ้น real sector เริ่มออกมาให้เห็นบ้างในช่วงนี้ เริ่มจาก DTAC (FV@B97) ประกาศกำไรสุทธิงวด 1Q58 ดีกว่าคาด 8.2% แต่หากไม่รวมกำไรจาก FX จะทำให้กำไรปกติเป็นไปตามคาด ซึ่งเติบโต 21.3%qoq (แต่ลดลง 36%yoy) ผลจากค่าใช้จ่ายในการขาย-บริหารและต้นทุนบริการ (ไม่รวม IC) ลดลงตามต้นทุนส่วนแบ่งรายได้ที่ปรับตัวลง หลังโอนลูกค้าจากระบบ 2G มา 3G เพิ่มเป็น 83% (จาก 72% ในงวด 4Q57) และลดลงในอัตราที่สูงกว่าการลดลงของรายได้ค่าบริการ (ไม่รวม IC) ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการงวด 2Q58 คาดว่าจะทรงตัวจากงวด 1Q58 และฟื้นตัวเล็กน้อยใน 2H58 เมื่อเทียบกับ 1H58 แม้ DTAC จะเร่งพัฒนา 4G บนคลื่น 1800 MHz แต่เป็นการลงทุนบนสัมปทานที่ต้นทุนสูงกว่าใบอนุญาต จึงมีความเสี่ยงที่อาจต้องปรับลดกำไรปี 2558-59 ลงราว 5%-10% ราคาปิดวานนี้มี upside 11.51% ขณะที่มีเงินปันผล 5.1% จึงแนะนำ ถือ
ส่วนการทำประมาณผลการดำเนิน งวด 1Q58 หุ้น real sector ที่เหลือที่นักวิเคราะห์ ASP ได้ทยอยออกรายงานเพิ่มเติม (ติดตามจาก Equity Talk วานนี้) ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการ ยืนประมาณการเดิม และลดประมาณการ คือ
กลุ่มที่มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการ เริ่มจาก
TOP (FV@B54) คาดการณ์ผลกำไรงวด 1Q58 พลิกกลับมาเป็นกำไรสุทธิกว่า 4.3 พันล้านบาท ซึ่งทำจุดสูงสุดของปี หลังจากขาดทุนในงวด 4Q57 กว่า 6.5 พันล้านบาท โดยได้รับแรงหนุนมาจากสต็อกน้ำมันรวม LCM ที่พลิกกลับมาเป็นกำไร และค่าการกลั่นปรับขึ้นตามผลของฤดูกาล รวมทั้งได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งหากทำได้ตามคาด กำไรสุทธิงวด 1Q58 จะสูงถึง 61% ของประมาณการเดิม ฝ่ายวิจัยจึงปรับเพิ่มประมาณการปี 2558-59 ขึ้นจากเดิม 44% และ 15% ตามลำดับ โดยปรับเพิ่มสมมติฐานค่าการกลั่นขึ้นเป็น เป็น 5.5 และ 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากเดิม 4.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล ทั้ง 2 ปี ตามลำดับ เพราะได้ประโยชน์จากต้นทุนราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง ส่วน Fair Value ปรับเพิ่มจากเดิม 12.5% แต่ราคาตลาดได้สะท้อนพื้นฐานไปแล้ว จึงแนะนำ ถือ รับเงินปันผล 4.1%
AP ([email protected]) คาดการณ์ผลกำไรงวด 1Q58 เติบโตถึง 92% yoy (แต่ลดลง 18% qoq) จากคาดการณ์บันทึกรายได้การขายอสังหาฯ ที่ 5.05 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการโอนโครงการแนวราบ จาก Backlog ที่มี ณ สิ้นงวด 1Q58 (ก่อนหักส่วนบันทึกรายได้) ประมาณ 4.58 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือมาจากยอดโอนฯ คอนโด ซึ่งมีการส่งมอบโครงการเดิมต่อเนื่องจากปีก่อน สำหรับแนวโน้ม กำไรช่วงที่เหลือของปีคาดเติบโตมากขึ้นตาม Presale แนวราบ และจากคอนโดฯ ที่มีกำหนดสร้างเสร็จจะเริ่มโอนรวม 4 โครงการ และมีแนวโน้มปรับเพิ่มประมาณการปี 2558 เพื่อสะท้อนฐานกำไรที่คาดเติบโตต่อเนื่องเป็นขั้นบันได
ส่วนหุ้นที่ยังคงประมาณการ คือ
ROBINS (FV@B64) คาดกำไรงวด 1Q58 ลดลง 10% qoq จากผลของฤดูกาล และทรงตัว yoy โดยยอดขายโดยรวมยังทรงตัวเนื่องจากยอดขายสาขาเดิมคาดว่าจะลดลง และไม่สามารถชดเชยด้วยยอดขายจากการเปิดสาขาใหม่ที่เพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตามแนวโน้มครึ่งปีหลังรายได้จากการขายน่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้น จากยอดขายสาขาเดิมที่คาดว่าจะกลับมาเติบโตอีกครั้งราว 3% yoy และ การเปิดสาขาใหม่อีก 3 แห่ง โดยรวมคาดว่ากำไรปีนี้จะกลับมาเติบโตราว 17% yoy
ICHI (FV@B27) คาดกำไรงวด 1Q58 เติบโตถึง 52% yoy หลักๆ มาจากรายได้ที่เติบโตตามการจัดโปรโมชั่นที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี รวมทั้งอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 70% ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุด แม้ต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มในการจัดโปรโมชั่นแต่ยอดขายเพิ่มขึ้นช่วยหักล้างไปได้ ขณะที่คาดการณ์งวด 2Q58 รายได้จะขึ้นทำจุดสูงสุดของปี ตามช่วงฤดูการขายที่อากาศที่ร้อนจัดและการเปิดตัวสินค้าใหม่อย่างไบเล่ อย่างไรก็ตาม ICHI ยังต้องรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนในปีนี้จากบริษัทย่อยที่ว่าจ้างผลิตสินค้าส่งออกไปอินโดนีเซียก่อนถึงจุดคุ้มทุนในปี 2560 โดยรวมฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการเดิม คาดกำไรปกติปี 2558 เพิ่มขึ้น 11.4% yoy
หุ้นที่มีโอกาสปรับลดประมาณการ
STEC ([email protected]) คาดการณ์กำไรสุทธิงวด 1Q58 ลดลง 18%QoQ และลดลง 7%YoY เนื่องจากงวด 1Q58 STEC เพิ่งได้รับงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า SPP และยังอยู่ในช่วงของการเตรียมงาน จึงทำให้จังหวะการรับรู้รายได้ขาดช่วงไป ส่วนการเปิดประมูลโครงการทั้งภาครัฐและเอกชนล่าช้ากว่ากำหนด จึงต้องรองานประมูลที่น่าจะออกมาครึ่งปีหลัง ขณะที่ Gross Margin มีแนวโน้มลดลง จากการรับรู้รายได้งานที่มี margin ต่ำ ส่งผลให้มีความเสี่ยงต้องปรับประมาณการกำไรลง ฝ่ายวิจัยจึงแนะนำเพียง ถือ
ต่างชาติหุ้น TIP หนัก โดยเฉพาะอินโดฯ แต่ยังซื้อสลับขายหุ้นไทย
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 8 ยอดรวมกว่า 713 ล้านเหรียญ แต่การซื้อกลับไปเน้นที่ 2 ตลาดเท่านั้น คือ ตลาดหุ้นไต้หวัน ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 5 สูงถึง 738 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 15 มูลค่ากว่า 219 ล้านเหรียญ ตรงข้ามกับประเทศกลุ่ม TIP ที่วานนี้ถูกขายสุทธิออกมาทั้งสิ้น โดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียขายสุทธิวันที่ 4 สูงถึง 173 ล้านเหรียญ (ยอดขายสูงสุดนับตั้งแต่ 24 ธ.ค. 2557) ส่งผลให้ตลาดหุ้นจาการ์ตาวานนี้ลดลงถึง 3.5% เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์วานนี้สลับกลับมาขายสุทธิ 17 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นไทยสลับกลับมาขายสุทธิเช่นกันที่ราว 50 ล้านเหรียญ หรือ 1,635 ล้านบาท
ทางด้านตลาดตราสารหนี้ วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับกลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งที่ 1,496 ล้านบาท แต่ทว่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 32.62 บาท/ดอลลาร์ กระแสเงินที่ไหลออกน่าจะเกิดจากนักลงทุนรอผลการประชุม Fed วันที่ 28-29 เม.ย. รวมถึงการประชุม กนง. ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 29 เม.ย. นี้
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
มาราพร กี้วิริยะกุล